Skip to main content
sharethis

วันนี้ (27 ..) นักวิชาการ 137 คน ออกแถลงการณ์เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไปให้พ้นการเมืองแบบ 2ขั้ว (รัฐธรรมนูญของประชาชนต้องมาจากประชาชน) มีเนื้อหาเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ อันเนื่องมาจากผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชาชน ซึ่งมีแนวโน้มที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงหรือการใช้อำนาจนอกระบบเป็นข้ออ้างเพื่อยุติความรุนแรง


ทังนี้แถลงการณ์นักวิชาการ 137 คน ได้เสนอหลักการสำคัญ 4 ประการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการที่สันติ สร้างรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบอบประชาธิปไตย และทำให้สังคมไทยหลุดพ้นจากสภาวะตีบตันทางการเมืองโดยเร็ว


ประการแรก การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นการนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ มิใช่เป็นเพียงการแก้ไขในมาตราหนึ่งมาตราใดเท่านั้น


ประการที่สอง ต้องมีการตั้งคณะทำงานหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญอิสระที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากกลุ่ม องค์กรต่างๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องมิใช่เป็นองค์กรของข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจ นักการเมือง หากต้องประกอบไปด้วยกลุ่มคนอันหลากหลายทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เพศและชาติพันธุ์ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย


ประการที่สาม ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต้องเปิดให้กับการมีส่วนร่วมจากประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ผลักดัน แลกเปลี่ยน ข้อมูลและความต้องการของแต่ละกลุ่มให้เป็นไปอย่างเสรีและกว้างขวางที่สุด เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นจากฐานของสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ด้วยบรรยากาศของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยและการเปิดพื้นที่ให้กับทุกฝ่ายให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสื่อมวลชนทุกประเภท


ประการที่สี่ หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จสิ้นลงต้องเปิดให้มีการลงประชามติโดยไม่มีการแทรกแซงจากทุกฝ่ายเช่นครั้งที่ผ่านมา











แถลงการณ์ 137 นักวิชาการ ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ไปให้พ้นการเมืองแบบ 2ขั้ว


(รัฐธรรมนูญของประชาชนต้องมาจากประชาชน)


เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2550 ประสบความล้มเหลวอย่างยิ่งในการสร้างกติกาทางการเมืองขึ้นใหม่ภายหลังการล้มล้างรัฐธรรมนูญ พ.. 2540 ไป ไม่เพียงเท่านั้น รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังนำมาซึ่งความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เกิดขึ้นและสืบเนื่องมาจนกระทั่งปัจจุบัน รวมทั้งมีแนวโน้มที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงหรือการใช้อำนาจนอกระบบเข้ามาภายใต้ข้ออ้างเพื่อยุติความรุนแรง


ขณะที่พรรคพลังประชาชนพยายามที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้น แต่การดำเนินการดังกล่าวก็อาจกลายเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้ความขัดแย้งเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากข้อเสนอในการแก้ไขของพรรคพลังประชาชนมุ่งให้ความสำคัญกับปัญหาความยุ่งยากที่พรรคของตนกำลังประสบอยู่และไม่รับฟังข้อท้วงติงจากฝ่ายอื่นๆ


แม้ข้อเสนอของพรรคพลังประชาชนจะเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในรัฐธรรมนูญที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข แต่ถ้าหากการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังคงจำกัดประเด็นเอาเฉพาะที่เอื้อประโยชน์ต่อเพียงพรรคการเมือง และโดยอาศัยขั้นตอนที่อยู่ในอำนาจของนักการเมืองแต่เพียงอย่างเดียว การแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ก็จะขาดการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมจากสังคมที่กว้างขวางเพียงพอต่อการสร้างความชอบธรรมและการสร้างบทบัญญัติที่ดีให้กับรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญในลักษณะเช่นนี้ย่อมง่ายต่อการที่จะถูกแก้ไขหรือฉีกทิ้งไปได้อีก ที่สำคัญก็คือจะไม่ได้เป็นกระบวนการที่ช่วยแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอยู่ในห้วงเวลาปัจจุบันของสังคมไทยแต่อย่างใด


ท่ามกลางสถานการณ์การเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายต่างๆ การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่จะนำไปสู่การคลี่คลายความขัดแย้งและเป็นหนทางไปสู่การสร้างกติกาซึ่งได้รับการยอมรับ จะบังเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาจากการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของทั้งสังคมในการแสดงความคิดเห็น ถกเถียง แลกเปลี่ยนกันอย่างเสรี ซึ่งต้องเปิดโอกาสให้ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ไม่ว่าจะมีความเห็นที่แตกต่างกันอย่างไร ก็สามารถที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ ดังที่ได้เคยปรากฏขึ้นในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ พ.. 2540


นักวิชาการ 137 คน ขอเสนอหลักการสำคัญ 4 ประการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ดังต่อไปนี้


ประการแรก การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นการนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับ มิใช่เป็นเพียงการแก้ไขในมาตราหนึ่งมาตราใดเท่านั้น


ประการที่สอง ต้องมีการตั้งคณะทำงานหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญอิสระที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากกลุ่ม องค์กรต่างๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องมิใช่เป็นองค์กรของข้าราชการระดับสูง นักธุรกิจ นักการเมือง หากต้องประกอบไปด้วยกลุ่มคนอันหลากหลายทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เพศและชาติพันธุ์ที่ดำรงอยู่ในสังคมไทย


ประการที่สาม ในกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต้องเปิดให้กับการมีส่วนร่วมจากประชาชนในการแสดงความคิดเห็น ผลักดัน แลกเปลี่ยน ข้อมูลและความต้องการของแต่ละกลุ่มให้เป็นไปอย่างเสรีและกว้างขวางที่สุด เพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เกิดขึ้นจากฐานของสังคมอย่างแท้จริง ซึ่งจะเป็นไปได้ก็ด้วยบรรยากาศของสังคมที่เป็นประชาธิปไตยและการเปิดพื้นที่ให้กับทุกฝ่ายให้สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสื่อมวลชนทุกประเภท


ประการที่สี่ หลังจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เสร็จสิ้นลงต้องเปิดให้มีการลงประชามติโดยไม่มีการแทรกแซงจากทุกฝ่ายเช่นครั้งที่ผ่านมา


นักวิชาการจำนวน 137 คน ดังมีรายชื่อข้างท้ายนี้ จึงใคร่ขอเรียกร้องสังคมไทยให้ร่วมกันกดดันให้เกิดกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามหลักการ 4 ข้อข้างต้น เพื่อนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการที่สันติ เพื่อสร้างรัฐธรรมนูญที่เอื้อต่อการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจในระบอบประชาธิปไตย และทำให้สังคมไทยหลุดพ้นจากสภาวะตีบตันทางการเมืองโดยเร็วที่สุด




+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


ผู้ลงชื่อแล้วประกอบด้วย


.รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดร. ชยันต์ วรรธนะภูติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.ฉลาดชาย รมิตานนท์ ข้าราชการเกษียณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ.ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา


รศ.วิระดา สมสวัสดิ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ.ดร. กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล


ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล


รศ.ดร.ธเนศ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ. ดร.วีระ สมบูรณ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รศ.ดร.ปาริชาติ สถาปิตานนท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ดร. สุดา รังกุพันธุ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รศ. ดร. สมบูรณ์ ศิริประชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดร.อรศรี งามวิทยาพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รศ.ใจ อึ้งภากรณ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผศ. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


. วรศักดิ์ มหัทธโนบล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รศ. ดร. วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร. อภิญญา เฟื่องฟูสกุล คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร.ประภาส ปิ่นตกแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รศ.ดร.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ. สมเกียรติ ตั้งนโม มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร. เดชา ตั้งศรีฟ้า คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์


ดร. พัฒนา กิตอาสา มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์


รศ.อังสนา ธงไชย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ. สมโชติ อ๋องสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร.ชยันต์ ตันติวัสดาการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


รศ.ดร.เนาวรัตน์ พลายน้อย คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ดร.ศุภกาญจน์ พงศ์ยี่หล้า ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


รศ. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


รศ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ดร.นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ผศ. ดร. ชาญณรงค์ บุญหนุน คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


รศ. ดร.อรทัย อาจอ่ำ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล


ดร. ทพญ.ศศิธร ไชยประสิทธิ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร. อุดมโชค อาษาวิมลกิจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ.ดร.โกสุม สายจันทร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ.ดร.เยาวนิจ กิตติธรกุล คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ผศ. ดร.นงเยาว์ เนาวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร. พรพิมล ตั้งชัยสิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร. วสันต์ ปัญญาแก้ว คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ. ดร. ศิวาลักษ์ ศิวารมณ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ. ดร. ไพโรจน์ คงทวีศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ดร. มาลี สิทธิเกรียงไกร สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ.ดร. เสาวลักษณ์ ชายทวีป คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้


ดร. ชูศักดิ์ วิทยาภัค ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ. ดร. สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


วิภา ดาวมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ผศ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


.ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


.เชษฐา พวงหัตถ์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


.สัญชัย สูติพันธ์วิหาร คณะสิ่งแวดล้อมฯ มหาวิทยาลัยมหิดล


.อัจฉริยา เนตรเชย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


.ยอดพล เทพสิทธา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร


พระมหาสุทธิ อาภากโร คณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย


ผศ. สุชาติ เศรษฐมาลินี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยพายัพ


.สุขทวี สุวรรณชัยรบ คณะการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ม.อเมริกานา นิคารากัว


ผศ.ชูพินิจ เกษมณี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ


. ทวีศักดิ์ เผือกสม สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


.สุภิญญา กลางณรงค์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อ


สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระ


เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน


วรดุลย์ ตุลารักษ์ นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน โครงการสิทธิมนุษยชน ม.เที่ยงคืน


. กมลวรรณ ชื่นชูใจ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


. วาทิศ โสตถิพันธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.ไพสิฐ พาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


. บุญชู ณ ป้อมเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


. ศักดิ์ชาย จินะวงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


. อำนวย กันทะอินทร์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.ชัชวาล ปุญปัน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.ชาญกิจ คันฉ่อง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ.อำพล วงศ์จำรัส คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ.ปราณี วงศ์จำรัส คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.เอกกมล สายจันทร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


. พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.วีระพันธ์ จันทร์หอม หลักสูตรสื่อศิลปะ ฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.ทัศนัย เศรษฐเสรี หลักสูตรสื่อศิลปะฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.ชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการกฎหมาย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


ผศ.สุวิมล รุ่งเจริญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักวิชาการอิสระ โครงการสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระ


ทพ. วิชัย วิวัฒน์คุณุปการ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยฮาวาย สหรัฐอเมริกา


.ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


. ศรันย์ สมันตรัฐ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


. ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


. จันทร์จุฑา สุขี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


. นิภา มหารัชพงศ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา


. พนิดา อนันตนาคม สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ.กัญญณัฐฐา อิทธินิติวุฒิ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


รศ.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


. รัตนา โตสกุล คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


กรรณิการ์ กิจติเวชกุล สื่อมวลชนอิสระ นักแปล และผู้สนใจประเด็นสาธารณสุข


ผศ. วงกต วงศ์อภัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


. กิ่งกาญจน์ สำนวนเย็น คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


. อนุสรณ์ งอมสงัด คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


. ญาเรศ อัครพัฒนานุกูล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


ครู ณัฐทินี สอนประสิทธิ์ ครูการศึกษานอกโรงเรียน


อริศรา สิทธิปัน กองห้องสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้


.ธนพรรณ กุลจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.ผุสดี นนทคำจันทร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ผศ.ลัดดา รุ่งวิสัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ นักวิชาการอิสระ กลุ่มเพื่อนประชาชน


.ดุลยภาค ปรีชารัชช วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


. พฤกษ์ ยิบมันตะสิริ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ นักวิชาการอิสระ กลุ่มเพื่อนประชาชน


สุชาติ ตระกูลหูทิพย์ นักวิชาการอิสระทางด้านกฎหมาย (ประเด็นแรงงาน)


ศศินันท์ งามธุระ นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


วรรณสิริ ทิพยมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


นิฐิณี ทองแท้ นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


อาจารย์ สามารถ ศรีจำนงค์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ชำนาญ ยานะ นักศึกษาปริญญาโท สถาบันวิจัยภาษาฯ มหาวิทยาลัยมหิดล


.สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี


ผศ. วรรณา ประยุกต์วงศ์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


ผศ.ธวัชชานนท์ สิปปภากุล คณะศิลปกรรมและออกแบบฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน


ผศ. ศรวณีย์ สุขุมวาท ภาควิชาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


.คำรณ คุณะดิลก นักวิชาการอิสระและอาจารย์พิเศษ, สำนักข่าวแประชาธรรม


. พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


. เนตรดาว เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net