Skip to main content
sharethis


วันที่ 12 ..50  จากกรณีที่มีการจับกุมตัวนักท่องเว็บบอร์ด 2 รายที่เชื่อว่าคือบุคคลที่ใช้นามแฝงว่า "พระยาพิชัย" และ "ท่อนจัน" โดย "พระยาพิชัย" ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวเมื่อวันที่ 24 .. ด้วยความผิดตามมาตรา 14 (1) และ (2)  ของ พ...ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 และได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 6 ..ที่ผ่านมา ขณะที่ "ท่อนจัน" ถูกบุกจับกุมตัวในวันเดียวกัน ได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 17 ..ที่ผ่านมา โดยศาลอาญามีคำสั่งให้ทั้งสองมารายงานตัวที่ศาลอีกครั้งในวันนี้ (12 ..)

 


ล่าสุด บุคคลทั้งสองไปรายงานตัวที่ศาลอาญากรุงเทพฯ ในเช้าวันนี้ โดยจีรนุช เปรมชัยพร ผู้จัดการเว็บไซต์ประชาไท กล่าวว่า ติดตามเรื่องนี้มาตลอดและทราบว่าศาลได้นัดให้บุคคลทั้งสองมารายงานตัวในวันนี้ จึงเดินทางมากับ สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) เพื่อติดตามข้อมูล พบว่าทางศาลได้แจ้งให้ผู้ต้องหาทั้งสองว่า ในวันนี้เป็นวันครบกำหนดฝากขังและครบกำหนดเวลาที่ทางอัยการจะต้องยื่นฟ้อง แต่จนถึงตอนนี้ ทางอัยการมิได้ดำเนินการใดๆ


 


จวกรัฐใช้ กม.ไม่โปร่งใส สร้างบรรยากาศแห่งความกลัว


ด้านสุภิญญา กลางณรงค์ กล่าวว่า 2 คดีนี้ สร้างความตกใจให้อย่างมาก เพราะกฎหมายเพิ่งประกาศใช้ไม่นาน ก็มีการจับกุมคนแล้ว การจับกุมพระยาพิชัยและท่อนจันนั้น รัฐอาจคิดว่าจะทำได้อย่างเงียบๆ แต่ก็มีคนค้าน มีองค์กรระหว่างประเทศให้ความสนใจ ทำให้รัฐรู้ตัวว่า สิ่งที่ทำไม่ถูกต้องชอบธรรม มีกระบวนการจับกุมที่ไม่ถูกกฎหมาย และข้อกล่าวหาไม่ชัดเจน นับว่า เป็นบทเรียนให้รัฐบาลไทย ที่กระทำการโดยไม่คิดหน้าคิดหลัง


 


"สิทธิของคนสองคนที่เสียไประหว่างถูกควบคุมตัวอยู่ 2 อาทิตย์ใครจะรับผิดชอบ ซ้ำยังมีอายุความของคดีค้างอยู่ 10 ปีอีกด้วย" สุภิญญากล่าวและว่า แม้ด้านหนึ่งรู้สึกดีใจ แต่ก็ไม่สบายใจที่มีการใช้กฎหมายเล่นงาน มีกระบวนการที่ไม่โปร่งใสและปิดลับ ไม่เป็นข่าว จับแล้วก็ปล่อย สร้างความหวาดผวา ทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจในกติกาของสังคม


 


"แม้ไม่ถึงขนาดเอาเป็นเอาตาย เพียงแค่ให้ติดคุก แต่ก็สร้างบรรยากาศแห่งความกลัว และทำให้เห็นว่าหลักการ rule of law ไม่ชัดเจน"


 


อย่างไรก็ตาม จากกรณีดังกล่าว สุภิญญา แสดงความเห็นว่า การตื่นตัวของประชาคมในอินเทอร์เน็ต มีการโพสต์ข้อความในบล็อกและเว็บไซต์ การระดมทุน รวมทั้งส่งอีเมลแจ้งข่าวสารข้อมูลกันอย่างรวดเร็ว จนองค์กรด้านสิทธิต่างๆ ออกแถลงการณ์ และทั่วโลกจับตา ทำให้เรื่องนี้ปิดไม่ลับ และกรณีนี้โชคดีที่มีข่าวต้นทาง มีญาติแจ้งมา ทำให้เรารู้ชื่อ ต่อไปไม่รู้ว่าจะมีใครโชคดีอีกไหม ทั้งนี้ เชื่อว่า ต่อไปถ้ามีอีก และชุมชนออนไลน์รวมทั้งสื่อขยายผล รัฐก็จะระวังไม่ใช้อำนาจเกินเหตุ


 


ชี้การแสดงออกเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ถ้าใครเสียหายก็ฟ้องหมิ่นประมาทได้


สุภิญญากล่าวว่า ต่อไป สิทธิเสรีภาพในสื่อออนไลน์จะเข้มข้นขึ้น ขณะที่รัฐพยายามปิดกั้น ประชาชนก็อยากจะแสดงออก เพราะเขารู้แล้วว่า การแสดงออกเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ในมาตรฐานสากล การพูด ไม่ว่าพูดเบาหรือพูดดัง แต่ถ้ายังไม่ได้ไปทำอะไรใคร ก็เป็นแค่การแสดงออกอย่างหนึ่ง ถ้ามีใครเสียหายก็ฟ้องร้องหมิ่นประมาทเอา ไม่ใช่ห้ามพูดสิ่งที่คิด ซึ่งจะสวนกระแสความจริงในอนาคต


 


อย่างไรก็ตาม สุภิญญา กล่าวว่า สิ่งที่ต้องทำเฉพาะหน้า คือ เฝ้าระวังและให้ความช่วยเหลือกรณีอื่นที่อาจจะเกิดขึ้นอีก ควรมีทนาย ที่ปรึกษาทางกฎหมาย และกองทุนเพื่อช่วยเหลือ มีการติดตามนำเสนออย่างต่อเนื่อง


 


และต่อไป เมื่อในสังคมพูดเรื่องนี้กันมากขึ้น ถกเถียงกันมากขึ้น ถึงเวลาต้องถกเถียงว่าแล้วว่า เรื่องไหนพูดได้ เพราะรัฐก็ไม่ได้ห้าม แต่เราพูดกันเองว่าเรื่องนี้ห้ามพูด ทำให้กระอักกระอ่วนกันไปหมด จะฝ่าความอึมครึมไปได้อย่างไร ทุกฝ่ายต้องหารือร่วมกัน


 



แนะรัฐ เลิกจับตาใครพูด-เขียนอะไร นี่ไม่ใช่ "อาชญากรรม"


สุดท้าย สำหรับ พ...ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ..2550 สุภิญญา กล่าวว่า สาเหตุที่มีการจับกุมคนทั้งสอง เพราะผู้ใช้กฎหมายสับสนว่า อะไรคืออาชญากรรม อะไรไม่ใช่ เพราะคลุมเครือก็เลยเกิดปัญหา


 


"ในมาตรฐานสากล การเป็นบล็อกเกอร์ ทำเว็บไซต์ ดาวน์โหลด เขียนข้อความ ส่งข้อมูล เป็นสิทธิเสรีภาพของสื่ออินเทอร์เน็ต ประเทศประชาธิปไตยทั่วไปยอมรับว่าเป็นสิทธิเสรีภาพ ขณะที่อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ การปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์ การจารกรรมข้อมูลบัตรเครดิต ก็ต้องพูดให้ชัด เพราะตั้งแต่ออก พ... มา รัฐบาลไม่พูดเลยว่า มีกี่รายที่ลักลอบทำบัตรเครดิตปลอม ที่ปล่อยไวรัส แต่กลับมาจับตาว่า ใครจะพูดอะไรเขียนอะไร ทั้งที่ ทั่วโลกไม่ได้มองว่านี่เป็นอาชญากรรม"


 


สุภิญญา เสนอว่า อยากให้รัฐไปมุ่งเน้นที่การปราบปรามไม่ให้ใครมาละเมิดสิทธิในอีเมลของเรา ไม่ให้ใครมาปล่อยไวรัส หรือจารกรรมข้อมูล ให้มีมาตรการเป็นรูปธรรม ว่าจะจัดการอย่างไร จะมีวิธีการตรวจสอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อย่างไร มีผู้เชี่ยวชาญด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ


 


"ประเทศอื่นที่มีกฎหมายแบบนี้ เขาไม่ได้มาดูว่าใครพูดอะไร เขาจับอาชญากรรมจริงๆ"


 


"มาตรฐานสากลไม่น่าจะยอมรับแบบนี้ สื่ออินเทอร์เน็ต เป็นสื่อที่เข้าถึงกันทั่วโลก รัฐบาลต้องพลวัตมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลด้วย" สุภิญญา กล่าว 


 


 



ทั้งนี้ พ...ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ..2550 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


 


(1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน


 


(2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net