Skip to main content
sharethis
Event Date

กำหนดการงาน

ข้าวข้ามแดน: วัฒนธรรม พันธุกรรมพื้นบ้าน และความมั่นคงอาหาร                    

วันที่ 2-3 เมษายน 2555  ณ อาคารสถาบันศิลปวัฒนธรรมอีสาน  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 
 
ความเป็นมา
 
ความมั่นคงของคนชนบท เป็นความมั่นคงจากความร่วมมือกัน อยู่ด้วยการแบ่งปัน มั่นคงเพราะวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน  ดำรงชีวิตแบบพี่น้องพึ่งพากัน ฮักแพง แบ่งปัน เกื้อกูล ซึ่งในอดีตระบบการเกษตรของไทยเป็นการผลิตแบบเพื่อกินเพื่อใช้ เป็นระบบการเกษตรแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย มีการปลูกพืชผัก ไว้บริโภค มีการเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้แรงงานในไร่นา การวางแผนการผลิตเกษตรกรจะเป็นผู้กำหนดเองทั้งสิ้น การขยายพันธุ์ การเพาะพันธุ์ทั้งพืชและสัตว์จะทำด้วยตนเอง หรือในท้องถิ่น มีการหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นป่าหัวไร่ปลายนา  ห้วย หนอง คลอง บึง ซึ่งสังคมไทยมีการผลิตอย่างนี้มาช้านาน นับตั้งแต่มีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตทางการเกษตรแบบทันสมัย ถูกนำมาโฆษณาให้เกษตรกรตกเป็นทาส ปรับระบบการผลิตเพื่อขายทำให้มีความจำเป็นในการขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง ซื้อเมล็ดพันธุ์จากบริษัท ทำการเกษตรเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ ทำให้เกษตรกรตกเป็นหนี้ จำนวนมากต้องล้มละลาย ระบบนิเวศน์มลภาวะและสภาพแวดล้อมเป็นพิษได้ขยายตัวออกไปอยู่ในระดับวิกฤตดินฟ้าอากาศแปรปรวนฝนแล้งน้ำท่วม
 
ภายใต้นโยบายภาครัฐที่ส่งเสริมและพัฒนาการเพื่อตอบสนองการค้าและการตลาดส่งออกเป็นหลักอำนาจผูกขาดตกอยู่กับกลุ่มทุน และบริษัทข้ามชาติซึ่งการค้าเมล็ดพันธุ์เป็นการทำกำไรให้ผู้ประกอบการอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ในประทศไทยมีการค้าเมล็ดพันธุ์โดยเฉพาะพันธุ์ผักมานานหลายทศวรรษ ใช้เทคโนโลยีในการคัดเลือกพันธุ์ที่ทันสมัย มีการคัดเลือกสายพันธุ์ มีการผสมพันธุ์พืชชนิดใหม่ ๆ ที่ให้ผลตอบสนองต่อปุ๋ยเคมีสูง คุณภาพอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน มีการขยายหรือส่งเสริมการปลูกพืชชนิดใหม่ออกไป โดยภาครัฐเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ และบริษัทเอกชนเป็นผู้เข้าควบคุมระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ มีการนำเอาข้าวพันธุ์ใหม่แนะนำมาแลกเปลี่ยนกับพันธุ์ข้าวดั้งเดิมของเกษตรกร รวมทั้งชี้นำเจตนารมณ์ในการเพาะปลูกเพื่อขายตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้พันธุกรรมข้าวที่หลากหลาย สูญหายจากพื้นที่ พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่ถูกยึดครองโดยพันธุ์ข้าวที่ทางราชการส่งเสริม
 
กระบวนการทำลายความมั่นคงอาหารของชุมชน ด้วยกระบวนการผลิตที่ใช้สารเคมี การควบคุมทางเทคโนโลยี การครอบงำปัจจัยการผลิต การควบคุมการตลาด การเปลี่ยนพื้นที่อาหารสู่การปลูกพืชพลังงาน  จนถึงจุดวิกฤตทั้งเรื่องราคาอาหารที่แพงขึ้นคนจนที่มีรายได้น้อยเข้าถึงได้อยาก และการเปลี่ยนมือของผู้ครอบครองอาหารจากเกษตรกรสู่บริษัททุน  สถานการณ์เช่นนี้ภาคอีสานยังอยู่ในขบวนการเปลี่ยนแปลงตามทิศทางนโยบายการพัฒนาการเกษตรที่เป็นอยู่ในปัจจุบันรุนแรงมากขึ้น
 
เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน(ประเทศไทย) มูลนิธิชีววิถีและ ชุดโครงการเสริมสร้างอธิปไตยทางอาหารด้วยกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น (สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น Node เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสานตอนกลาง) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดประชุมเวทีวิชาการชาวบ้านกับการจัดการความรู้พันธุกรรมพื้นบ้านความมั่นคงทางอาหาร ในระหว่างวันที่ ๒-๓ เมษายน ๒๕๕๕ ณ สถาบันศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามโดยร่วมกับสถาบันศิลปวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โครงการฮักแพงเบิ่งแญงคนสารคาม คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  เครือข่ายเกษตรพันธะสัญญา เครือข่ายสามาคมเกษตรกรไทย ภาคอีสาน  โครงการข้าวปลา อาหาร อีสานมั่นยืน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กลไกวิจัยเพื่อท้องถิ่นภาคอีสาน (สกว.) และศูนย์วิจัยข้าวในภาคอีสาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้การจัดการพันธุกรรมพื้นบ้าน จากองค์กรภาครัฐ เอกชน และชุมชนท้องถิ่น เพื่อเสนอผลงานองค์ความรู้และรูปธรรมทางเลือกพันธุกรรมกับความมั่นคงทางด้านอาหาร เพื่อวิเคราะห์
 
กฎหมายและนโยบายด้านพันธุกรรมพื้นบ้านกับความมั่นคงทางอาหารในระดับชาติ และเพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเมล็ดพันธุ์ โดยชุมชน กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย เวทีวิชาการ  นิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม ตลาดนัดเมล็ดพันธุ์  ตลาดนัดสีเขียว การแสดงจากลูกหลานเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกรการประกวดการตำข้าว และซุ้มพันธุกรรม การแข่งขันการทำอาหารท้องถิ่น และแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์
 
วัตถุประสงค์
 
1.     เพื่อรวบรวมข้อมูลและองค์ความรู้การจัดการพันธุกรรมพื้นบ้าน จากองค์กรภาครัฐ เอกชน และชุมชนท้องถิ่น
2.     เพื่อเสนอผลงานองค์ความรู้และรูปธรรมทางเลือกความมั่นคงทางด้านอาหาร
3.     เพื่อวิเคราะห์กฎหมายและนโยบายด้าน วัฒนธรรม พันธุกรรมพื้นบ้าน กับความมั่นคงทางอาหารในระดับชาติ
4.    เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเมล็ดพันธุ์ โดยชุมชน
 
กำหนดการ
 
วันที่ 2 เมษายน 2555
 
09.00-09.30 น.
ลงทะเบียน ชมนิทรรศการและเอกสาร โปสเตอร์วิชาการ
    
09.30-10.00 น.
โหมโรง “กลองยาวบ้านดอนแดง” หมอลำวิถีวัฒนธรรมชาวนา
ชม “ตลาดนัดสีเขียว” และ  “ลานศิลปะ ดนตรี กวี ข้าว และชาวนา”
 
10.00 - 10.30 น.
เปิดงาน โดย ผศ.ดร.ศุภชัย สมัปปิโต  อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กล่าวรายงานโดย ผศ.ดร.ปฐม  หงส์สุวรรณ ผอ.สถาบันศิลปะแลวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ชี้แจงวัตถุประสงค์ ความเป็นมา และกำหนดการ โดย นายสุเมธ ปานจำลอง   ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
 
10.30 -12.00 น.
เสวนา “บทเรียนและการขยายผลการดำเนินงานแหล่งพันธุกรรมชุมชน”
วิทยากร โดย
1. นายดาวเรือง พืชผล ศูนย์ข้าวชุมชน กลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมพื้นบ้านยโสธร
2. นายวีระยุทธ สุวัตร ศูนย์ข้าวชุมชน กลุ่มเกษตรอินทรีย์อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด
3. นายภาคภูมิ อินแป้น     ศูนย์ข้าวชุมชน เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกสุรินทร์
4. น.ส.นุจนาด โฮมแพน  ผู้ประสานงานประเด็นพันธุกรรมพื้นบ้านเครือข่าย เกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
5. อาจารย์บุญรัตน์  จงดี   ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี
 
ผู้ร่วมเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนแหล่งพันธุกรรมชุมชน
โดย   ดร.วีระชัย  นาควิบูลย์วงศ์  เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม       
          ดร.อมรา เวียงวีระ       นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ     กรมการข้าว        
 
ดำเนินรายการ โดยนายอุบล อยู่หว้า  ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
 
12.00 -13.00 น.
รับประทานอาหารเที่ยง
 
13.00 -15.00 น.
นำเสนอองค์ความรู้การจัดการพันธุกรรมพื้นบ้านในห้องย่อย


ห้องที่ 1“วัฒนธรรม พันธุกรรมพื้นบ้าน กับความมั่นทางคงอาหาร”
วิทยากร โดย
1. ผศ.ดร.ปฐม หงส์สุวรรณ ผอ.สถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. นายสมทรง โชติชื่น นักวิชาการชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยข้าว จ.ปทุมธานี
3. นายสุเมธ ปานจำลอง ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
4. นายบุญส่ง  มาตขาว ประธานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน
ดำเนินรายการโดย นางสุภา ใยเมือง มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)
 
 
ห้องที่ 2 การปรับตัวภายใต้ภัยพิบัติของเกษตรกรกับพันธุกรรม
วิทยากร โดย
1. ดร.วิเชียร เกิดสุข มหาวิทยาลัยขอนแก่น
2. นายพิชิตพล  แสนโคตร กลุ่มข้าวไร่บ้านทิพโสต
3. นายฉัฐ ภักดี กลุ่มพัฒนาอาชีพบ้านขี้เหล็ก
4. นางจริยา  เซรัมย์ กลุ่มข้าวไร่บ้านหนองจาน
5. นายวรรณา ทองน้อย กลุ่มอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้านยโสธร
ดำเนินรายการ โดย นางสาวพรพิตา คลังภูเขียว ผู้ช่วยผู้ประสานงานโหนดเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อท้องถิ่น
 
 
ห้อง 3 คุณค่าโภชนาการ มูลค่าทางเศรษฐกิจของพันธุกรรมพื้นบ้าน
วิทยากร โดย
1. ผศ.ดร.พีระยศ  แข็งขัน คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
2. ดร.ทนงศักดิ์ ตรีมูล คณะเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัย   มหาสารคาม
3. ดร.อัศวิน อมรสินธ์ คณะเทคโนโลยี สาขาเทคโนโลยีอาหาร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4. นายอนนท์ งิ้วลาย กลุ่มอนุรักษ์ข้าวพื้นบ้านยโสธร
5. นางพรรณี  เชษฐสิงห์ สมาคมอีสานชีววิถี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด      
ดำเนินรายการ โดย อาจารย์วิยะดา รัตนเพชร สถาบันวิจัยศิลปะ และวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
 
15.00 – 16.00 น.
- เลาะ “ชิมข้าวพื้นบ้าน”
- การแสดงกลุ่มตลาดนัดสีเขียว บ้านหนองคู-ศรีวิไล
- การแข่งขันส้มตำลีลา
- นิทรรศการแสดงภาพถ่าย การประกวดซุ้มพันธุกรรม
                               
16.00 – 21.00 น.
เวทีแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม / พาแลง ตามอัธยาศัย
1. การแสดงจากกลุ่มเกษตรกรภาคอีสานชุดเดี่ยวพิณเดี่ยวแคน
2. การแสดงจากกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ
3. การแสดงจากกลุ่มเกษตรกรภาคใต้
4. การแสดงจากกลุ่มกลุ่มลูกหลานชาวนา
5. การแสดงจากวงลำนำอีสาน จากจังหวัดอุบลราชธานี
 
21.00 น. 
พักผ่อน
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net