Skip to main content
sharethis
Event Date

วันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2557 
ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          การขยายตัวรุนแรงของวิกฤตการเมืองภายในประเทศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารในหลายมิติ ตั้งแต่ระดับนโนบายรัฐ รูปแบบการประกอบอาชีพเกษตรกรรม กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการกำหนดนโยบายประชานิยมที่หวังผลระยะสั้น

          กระนั้นพลังการตรวจสอบและถ่วงดุล (check and balance) ของภาคประชาสังคมก็ยังคงดำรงอยู่ได้ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ประชาชนสามารถเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้อง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือยุตินโยบายและโครงการต่างๆ ที่ผิดพลาดผ่านกลไกในรัฐสภาและท้องถนน

          ทว่าปัจจุบันสถานการณ์การเมืองการปกครองกลับสร้างความอ่อนแอแก่ภาคประชาสังคมโดยรวมเมื่อพลังการตรวจสอบและถ่วงดุลของประชาชนถูกจำกัดจากการห้ามเคลื่อนไหวทวงถามเพื่อพิทักษ์สิทธิเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยที่สุดท้ายจะเกิดผลกระทบรุนแรงต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทยที่จะตกอยู่ในสภาวะเปราะบางอย่างมากจากการกำหนดนโยบายและโครงการต่างๆ บนฐานอำนาจรัฎฐาธิปัตย์ (sovereign) ของคณะรัฐประหารที่ตัดขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน

          การประชุมนี้จึงมุ่งนำเสนอเวทีสาธารณะเพื่อนำเสนอทางเลือก/ทางรอดของระบบเกษตรกรรมและอาหาร ดังเช่นเวที 1) การกำหนดนโยบายข้าวซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของเกษตรกรหลายล้านครัวเรือนและส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตผู้บริโภคที่ต้องการความเป็นธรรรมและยั่งยืนทางการบริหารจัดการมากกว่าจะเป็นแค่นโยบายหาเสียงแบบประชานิยมดังก่อนหรือเบ็ดเสร็จสำเร็จรูปจากกลุ่มผู้นำที่ขาดความโปร่งใสดังปัจจุบัน 2) การกำหนดท่าทีของรัฐกับบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารระดับชาติและข้ามชาติที่ต้องการความชัดเจนของแนวทางและรูปแบบความร่วมมือเชิงนโยบายที่จะต้องไม่เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน (conflict of interest) แก่กลุ่มนโยบายภายใต้อำนาจเด็ดขาดทางกฎหมาย หรือเอื้อประโยชน์แก่บรรษัทบนความสูญเสียของประชาชนคนเล็กคนน้อย และ3) การกำหนดนโยบายรัฐรองรับการเปิดประตูประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และการเจรจาเขตการค้าเสรี (FTA) ที่ต้องรอบคอบ แทนที่จะมุ่งแต่ประโยชน์เศรษฐกิจจนละเลยมิติสังคม สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มเปราะบางทางสังคมที่มักถูกละเมิดเนืองนิตย์

          ดังนั้นขอเรียนเชิญเพื่อนมิตรสื่อมวลชนร่วมทำข่าวการประชุมสมัชชาความมั่นคงทางอาหาร 2557 ‘ความมั่นคงทางอาหารในวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจ’ เพื่อผนึกพลังสังคมไทยร่วมกัน



สมัชชาความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2557

‘ความมั่นคงทางอาหาร: โอกาสในวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจ’

ระหว่างวันที่ 8 - 9 กรกฎาคม 2557 ณ อาคารวชิรานุสรณ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

วันที่ / เวลา

 

กิจกรรม

 
 
 
 

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม 2557

 
 

08.00 - 09.00 น. 

09.00 - 09.20น.       

 

ลงทะเบียน

ชมวีดีทัศน์เรื่อง ‘กินเปลี่ยนโลก’

 
 

09.20 - 10.10 น.

 

การรายงานสถานการณ์และการคาดการณ์ผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร

1) สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารภายใต้บริบท AEC และFTA

โดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

2) วิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มเปราะบางทางสังคม (ภาคเมือง)

โดย อรุณี ศรีโต ประธานเครือข่ายบำนาญภาคประชาชน(คบช.)/ ผู้แทนแรงงานนอกระบบ

3) วิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของกลุ่มเปราะบางทางสังคม (ภาคชนบท)

โดย อุบล อยู่หว้า ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน

4) สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยทางอาหารจากการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

โดย ปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)

5) ความมั่นคงทางอาหารในสถานการณ์การขยายพื้นที่เพาะปลูกยางพารา

โดย รศ.ดร.สมบูรณ์ เจริญจิระตระกูล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

 
 

10.10 - 10.30

 

การกล่าวปาฐกถาเรื่อง ‘ความมั่นคงทางอาหาร: โอกาสในวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจ’

โดย วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BioThai)

 
 

10.30 - 12.30 น.

 

การปฏิรูประบบเกษตรกรรมและอาหาร

1) ข้อเสนอของสภาพัฒน์เพื่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืน

โดย ลดาวัลย์ คำภา รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

2) การปฏิรูปกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสถานการณ์ปฏิรูปการเมือง

โดย รศ.บำเพ็ญ เขียวหวาน สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3) การปฏิรูประบบการจัดการสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและความปลอดภัยทางอาหาร

โดย ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

4) การปฏิรูปที่ดินเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม

โดย ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

5) การปฏิรูปทรัพยากรน้ำเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม

โดย ชูเกียรติ บุญมี นายกเทศมนตรีตำบลบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา

5) การปฏิรูประบบสนับสนุนส่งเสริมการปฏิรูประบบเกษตร

โดย วิฑูรย์ ปัญญากุล ประธานสหกรณ์กรีนเนท

6) ข้อเสนอเพื่อการควบคุมการผูกขาดของบรรษัทเกษตรอุตสาหกรรม

โดย กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี(BioThai)

ดำเนินการอภิปรายโดย  

ดร.กฤษฎา บุญชัย นักวิชาการอิสระ

 

 
 

12.30 - 13.30 น.

 

 พัก/ อาหารกลางวัน

 

 
 

13.30 - 16.30 น.

 

ห้องที่ 1: นโยบายการผลิตและการตลาดข้าวที่ยั่งยืน

อภิปรายโดย

    เสน่ห์ วิชัยวงษ์ 

    รองเลขาธิการสภาเกษตรกรแห่งชาติ

     รศ.ดร.สมพร อิศวิลานนท์

    สถาบันคลังสมองของชาติ

     ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง

    สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)

    ประสิทธิ์ บุญเฉย

     นายกสมาคมชาวนาไทย

     วิเชียร พวงลำเจียก

     นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย

      ดาวเรือง พืชผล

      ชาวนาเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก

ดำเนินการอภิปรายโดย 

     รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง

     คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 

 

ห้องที่ 2: การผลิตและการตลาดข้าวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

1) การตลาดข้าวชาวนา

โดย ศจินทร์ ประชาสันติ์ นักวิชาการอิสระ

2) การบริหารโรงสีชุมชนและตลาดข้าวนครสวรรค์

โดย นพดล มั่นศักดิ์

      มูลนิธิการจัดการความรู้และเครือข่ายโรงเรียนชาวนา

      จ.นครสวรรค์

3) ตลาดข้าวอินทรีย์

โดย ส้มป่อย จันทร์แสง

        สหกรณ์เกษตรอินทรีย์กองทุนข้าวสุรินทร์ จ.สุรินทร์

4) เกษตรแบ่งปัน: มิติใหม่สำหรับคนปลูก-คนกิน

โดย กรรณิการ์ รัตนปรีดากุล

      กลุ่มจิตอาสา ‘คนกินข้าวช่วยคนปลูกข้าว’

5) เครือข่ายความสัมพันธ์เกษตรกร-ผู้บริโภค

โดย นภนีรา รักษาสุข โครงการผูกปิ่นโตข้าว

ดำเนินการอภิปรายโดย

      สุภา ใยเมือง

      ผู้อำนวยการมูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย)

 

 
 

 

 

อาหารว่างระหว่างการประชุม

 

 
 

วันพุธที่ 9 กรกฎาคม 2557  

 
 

08.00 - 09.00 น.

 

ลงทะเบียน

 
 

09.00 - 12.00 น.

 

ห้องที่ 1: ข้อเสนอการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายความมั่นคงทางอาหารในระดับพื้นที่

1) ยุทธศาสตร์จังหวัดด้านเกษตรกรรมยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร

โดย อุบล อยู่หว้า จ.ยโสธร

        สามารถ สะกวี จ.สงขลา

        ดร.ชมชวน บุญระหงษ์

       วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

2) เมืองเกษตรสีเขียว (Green Agriculture City) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โดย บุบผา ภู่ละออ

      ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร 

      สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)

ดำเนินการอภิปรายโดย ทัศนีย์ วีระกันต์

     ผู้จัดการโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนสู่อาหารเพื่อสุขภาวะ

 

ห้องที่ 2: การจับตาบทบาทบรรษัทในการผูกขาดและควบคุมระบบอาหารในภูมิภาคอาเซียน

1) การลงทุนภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียนของบรรษัทอุตสาหกรรมเกษตร/โมเดิร์นเทรด และระบบการกระจายอาหาร

โดย Ms.Kartini Samon Researcher, GRAIN, Asia  

2) การคุ้มครองผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน

โดย รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์

      ประธานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)

3) บทบาทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ในระบบเกษตรกรรมและอาหาร

โดย กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา

      รองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BioThai)

ดำเนินการอภิปรายโดย กรรณิการ์ กิจติเวชกุล

     ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (FTA Watch)

 

 
 

12.30 - 13.30 น.

 

พัก/ อาหารกลางวัน

 
 
               
 

 

ผู้ประสานงานสมัชชาความมั่นคงทางอาหาร ประจำปี 2557

ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ โทร.02-985-3838, 085-219-1881 โทรสาร 02-985-3836 อีเมล์ bhanubet@biothai.net

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net