Skip to main content
sharethis
Event Date
กำหนดการ ดู(หนัง)มินดาเนา คิดสันติภาพ
12.30 - 18.00 น. วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม 2557 
ณ โรงภาพยนตร์ อาคารศูนย์การเรียนรู้ ไทยพีบีเอส 
 
12.30 ลงทะเบียน
13.00 ฉายหนังจากชายแดนใต้ “สันติแค่ภาพ/ One Day Soon” (8 นาที)
ฉายหนังจากมินดาเนา “War is a Tender Thing” (ซับไตเติลไทย – 75 นาที) 
14.30 เสวนาท้ายฉายหนัง 
• อัดจานี อารุมปัก (ผู้กำ กับ War is a Tender Thing)
• สมัชชา นิลปัทม์ (อาจารย์คณะวิทยาการสื่อสาร มอ.ปัตตานี/DSW)
• ผู้ดำ เนินรายการ : ก้อง ฤทธิ์ดี 
17.00 รับประทานอาหารเย็น 
18.00 ปิดกิจกรรม
 
ภูมิหลัง
 
สิ่งที่สงครามและความรุนแรงกระทำ ต่อผู้คนนั้นไม่ได้จำ กัดแต่เฉพาะเรื่องทางกายภาพ บ่อยครั้งเมื่อยืดเยื้อนานเข้า สงครามยังผูกขาดเรื่องเล่าเกี่ยวกับความขัดแย้งมากเสียจนผู้คนไม่มีเรี่ยวแรงที่จะจินตนาการถึงวิธีการเผชิญหน้ามันด้วยหนทางอื่น ความขัดแย้งที่พัฒนาเป็นการใช้ความรุนแรงในมินดาเนาทางตอนใต้ของฟิลิปปินส์ก็เช่นกัน สงครามระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มกบฎชาวโมโรที่ต้องการแยกตัวเป็นอิสระซึ่งปะทุขึ้นกว่า 40 ปีในพื้นที่แห่งนั้นไม่เพียงแต่ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายหลายพันคน และทำ ให้มีผู้พลัดที่นาคาที่อยู่หลายแสนคนเท่านั้น แต่ยังสร้างความร้าวลึกระหว่างผู้คนสองศาสนา – คริสเตียนและมุสลิม – อีกด้วย กระบวนการสันติภาพที่มีขึ้นอย่างลุ่มๆ ดอนๆ ตลอดครึ่งหนึ่งของช่วงเวลาดังกล่าวได้ฝ่าฟันอุปสรรคจนกระทั่งรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้บรรลุข้อตกลงสันติภาพกับแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร (MILF) ในปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แม้จะสันติภาพจะมีความคืบหน้าไปมาก แต่ก็ยังมีความท้าทายอีกหลายประการในการแปรผลในทางปฏิบัติ
 
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “War is a Tender Thing” หรือ “อันสงครามนั้นเปราะบาง” ของอัดจานี อรุมปัก ได้ฉายเรื่องเล่าของผู้คนในครอบครัวของเธอ (ซึ่งมีพ่อเป็นมุสลิม และมีแม่เป็นคริสเตียน) ที่ผูกโยงเรื่องราวในชีวิตของผู้คนเข้ากับพัฒนาการของความขัดแย้งดังกล่าวข้ามชั่วอายุคน เรื่องราวในอดีตและความกังวลต่ออนาคตของสันติภาพได้ถูกฉายภาพให้เห็นความจำ เป็นของการอยู่ร่วมกันระหว่างผู้คน และแน่นอน รวมไปถึงความจำ เป็นของกระบวนการสันติภาพอีกด้วย
 
การเรียนรู้บทเรียนของพวกเขาน่าจะมีประโยชน์ต่อคิดถึงกระบวนการสันติภาพในชายแดนใต้/ปาตานีอย่างใคร่ครวญ เสียงสะท้อนจากผู้คนที่เชื่อมโยงกับภาพรวมที่กำ ลังเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นสิ่งที่ควรฟัง เพราะชีวิตของผู้คนจำ นวนมากหลากหลายภูมิหลังที่เข้าไปพัวพันในความขัดแย้งเป็นสิ่งยืนยันความจำ เป็นของการแสวงหาทางออกด้วยวิธีการอันสันติ
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net