Skip to main content
sharethis
Event Date

โครงการเวทีวิชาการ เรื่อง
สู่เศรษฐกิจสีเขียว - การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน 
(Green Economy: A Just Transition)
วันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2559
โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ถนนราชปรารภ-ดินแดง กทม
จัดโดย มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท(FES)

ความเป็นมา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และการลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพเป็นประเด็นความท้าทายร่วมสมัยที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก  นานาประเทศต่างเห็นพ้องกันว่าจะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกร้อนดังกล่าว โดยได้กำหนดไว้ใน“เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ปี 2558 และ “ข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ” ปี 2558 ในส่วนของประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนข้อตกลงทั้งสอง และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเน้นกลยุทธ์การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Growth) หรือเศรษฐกิจสีเขียว(Green Economy)นับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (2540-44) จนถึงปัจจุบัน

ในการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น มีการประเมินว่าจะส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานและการจ้างงาน ทั้งด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้คาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จะทำให้เกิดตลาดแรงงานใหม่ๆและเป็นโอกาสสำหรับการจ้างงาน แต่ในอีกด้าน ปัจจุบันยังมีอุตสาหกรรมจำนวนมากที่ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนเข้มข้น และเป็นแหล่งจ้างงานของแรงงานจำนวนมากถึงร้อยละ 38 ของแรงงานทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ  และมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบ เช่น ว่างงานหรือมีรายได้น้อยลง

ในสถานการณ์ดังกล่าวนี้ ขบวนการแรงงานในระดับสากลตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโลกร้อน แต่ก็มีความกังวลว่าการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในการจ้างงาน รวมทั้งการดำรงชีวิตของแรงงานและครอบครัว จึงได้ร่วมกันพัฒนากรอบแนวคิด “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” หรือ just transition  และประสบความสำเร็จเบื้องต้นในการรณรงค์ให้  “ข้อตกลงปารีสว่าด้วยสภาพภูมิอากาศ” ยอมรับว่าจะต้องคำนึงถึงประเด็นนี้ รวมทั้งการสร้าง “งานที่มีคุณค่า” และงานที่มีคุณภาพ

เยอรมนีเป็นประเทศที่อยู่ในลำดับต้นๆในการจัดอันดับความเป็นเศรษฐกิจสีเขียวระดับโลก (Global Green Economy Index) มีเส้นทางการพัฒนาที่ยาวนานและผ่านการถกเถียงที่เข้มข้นก่อนจะมาถึงจุดปัจจุบัน ในกระบวนการนี้ ขบวนการแรงงานเยอรมันเป็นตัวแสดงที่สำคัญและทำงานเคียงคู่กับภาคส่วนอื่นๆมาโดยตลอด สมาพันธ์แรงงานเยอรมัน ซึ่งเป็นองค์กรแรงงานระดับชาติขนาดใหญ่ที่สุด มีหน่วยงานวิชาการเฉพาะด้านเพื่อทำหน้าที่รณรงค์ผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจที่เน้นการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ คำนึงถึงสภาพการจ้างงานที่ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสิทธิของผู้บริโภค

มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท เป็นองค์กรเยอรมันที่ไม่แสวงผลกำไร มีเป้าหมายหลักในการทำงานประการหนึ่งคือ การส่งเสริมมิติทางสังคมในการพัฒนาเศรษฐกิจ มูลนิธิฯ เห็นว่ากรอบแนวคิดและประสบการณ์ของขบวนการแรงงานเยอรมัน เรื่อง “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน”  ทั้งความสำเร็จและไม่สำเร็จ น่าจะเป็นบทเรียนที่เป็นประโยชน์สำหรับสังคมไทย จึงได้เชิญผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้มาเสวนาแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อนำเสนอกรอบแนวคิด “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” ประสบการณ์และบทเรียนของต่างประเทศ
2. ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากภาคส่วนที่หลากหลาย เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้แนวคิดนี้กับบริบทของสังคมไทย
3. ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการทำงานในอนาคต

กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนประมาณ 70 คน ประกอบด้วย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง แรงงานในระบบ แรงงานนอกระบบ องค์กรพัฒนาเอกชนด้านแรงงานและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ ผู้ประกอบการธุรกิจ สื่อมวลชนและผู้สนใจ

สถานที่  ห้องแซฟไฟร์ ชั้น 2 โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค ดินแดง กทม.

หน่วยงานผู้จัด
มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท  

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เครือข่ายผู้สนใจประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวและการสร้างความเป็นธรรม
- แนวทางการทำงานในอนาคต

กำหนดการ
08.30  ลงทะเบียน

09.15  กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์
  Ms. Stine Klapper ผู้อำนวยการมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

09.30 นำเสนอ “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” – กรอบแนวคิดและประสบการณ์ของเยอรมัน
Mr. Daniel Schneider  ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ
สมาพันธ์แรงงานเยอรมัน *

10.00  ถาม-ตอบ และอภิปรายทั่วไป

10.15  พักรับประทานอาหารว่าง

10.30 เสวนา – “การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมต่อแรงงาน” ในบริบทของสังคมไทย
  ประเด็นการอภิปราย
1. สถานการณ์และแนวโน้ม: ตลาดแรงงานในภาคส่วนใดน่าจะได้รับผลกระทบทางบวกหรือทางลบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบาย/มาตรการในการจัดการกับผลกระทบต่อตลาดแรงงานมากน้อยแค่ไหน อย่างไร
2. กรณีตัวอย่าง: ความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและการจ้างงาน และแนวทางแก้ไข
3. กรอบแนวคิดนี้น่าจะมีประโยชน์แค่ไหนในบริบทสังคมไทย และจะสามารถประยุกต์ใช้ได้หรือไม่ อย่างไร
  ผู้ร่วมเสวนา
ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม **
ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย **
ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน **
คุณวิสุทธิ์ เรืองฤทธิ์ สหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย
คุณพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธ์ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ
ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. นภาพร อติวานิชยพงศ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

12.00  ถาม-ตอบและอภิปรายทั่วไป

12.30  อาหารกลางวัน

13.30  แนวทางการทำงานในระยะต่อไป
  การพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว – ประเมินข้อมูลและข้อสังเกตจากบางพื้นที่
  คุณเกรียงศักดิ์  ธีระโกวิทขจร นักวิชาการแรงงาน

13.40  กลุ่มย่อย - แนวทางการทำงานในระยะต่อไป
1. มุมมองของแรงงานและกลุ่มที่ทำงานด้านแรงงานต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว
2. มุมมองของกลุ่มที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมต่อประเด็นการมีงานทำ
3. กรอบแนวคิดนี้มีประโยชน์และควรนำมาประยุกต์ใช้หรือไม่ อย่างไร
4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการทำงานในระยะต่อไปควรเป็นอย่างไร

14.30  นำเสนอและอภิปรายทั่วไป
ดำเนินรายการโดยคุณเกรียงศักดิ์  ธีระโกวิทขจร

15.30  สรุปและปิดการประชุม

หมายเหตุ
* มีล่ามแปลภาษาอังกฤษ-ไทย
** กำลังติดต่อ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net