Skip to main content
sharethis

เขตปกครองพิเศษ เป็นรูปแบบพิเศษของการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยจัดตั้งขึ้นด้วยความแตกต่างในด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ของพื้นที่นั้นๆ โดยที่ส่วนกลางจะมอบอำนาจในการจัดการบริหารตัวเองให้แก่เขตปกครองพิเศษ ในการกะทำการใดๆ โดยการออกเป็นกฎหมาย ตราเป็นพระราชบัญญัติ โดยที่ไม่ขัดต่อกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ มีการเลือกตั้งผู้บริหารในท้องถิ่นของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นการกระจายอำนาจอย่างแท้จริงของรัฐบาลกลางสู่ท้องถิ่น

การใช้ระบบเขตปกครองพิเศษในประเทศอื่นๆ

หลายๆ ประเทศ ทั่วโลก ใช้ระบบการปกครองท้องถิ่นแบบเขตปกครองพิเศษ ทั้งนี้นอกจากจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลของความแตกต่างด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมแล้ว ยังมีเหตุและปัจจัยอื่นๆ อีกไม่ว่าจะเป็นระบอบในการปกครองประเทศ เหตุทางด้านประวัติศาสตร์ วิสัยทัศน์ของผู้นำ การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง และส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยหะกระจายลงสู่ประชาชนในระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง เพราะการใช้เขตปกครองพิเศษนั้น เป็นการให้อำนาจแก่ชุมชน หรือพื้นที่นั้นๆ ในการบริหารตนเอง โดยที่มีการเลือกตั้งผู้บริหารในท้องที่เป็นของตนเอง เขตปกครองพิเศษที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นไปด้วยเหตุผลใด ล้วนยังอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกันกัน คือรัฐบาลกลาง และมีรัฐธรมนูญฉบับเดียวกันในการใช้เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ

ข้อมูลประกอบการเขียน

ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 2 ฉบับที 3 กรกฎาคม - กันยายน 2547
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น , สมคิด เลิศไพฑูรย์ รศ.ดร. , คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พฤษภาคม 2547
เว็บไซต์ กระทรวงการต่างประเทศ www.mfa.co.th
เว็บไซต์ www.vacationzone.com
เว็บไซต์ www.sac.or.th

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net