Skip to main content
sharethis

Sarah Boseley
The Gardian (30 Dec 2004)

------------------------------------------------

ตามที่ WHO (World Health Organization) ออกมาประกาศเตือนว่าเชื้อโรคอาจจะทำให้ผู้รอดชีวิตจากมหันตภัยซึนามิตายเพิ่มเป็น 2 เท่าได้นั้น สาเหตุอาจไม่ใช่เพราะศพจำนวนมากฝังไม่ทันและเริ่มเน่า แต่เป็นเพราะขาดแคลนน้ำสะอาด และปัญหาโรคระบาดที่มากับน้ำ

ผู้เชี่ยวชาญใน WHO กล่าวว่าโรคอหิวาตกโรค ไทยรอยด์ และท้องร่วง ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นแล้วในบางพื้นที่ที่ประสบภัย จะระบาดอย่างรวดเร็วในที่พักชั่วคราวของเหล่าผู้รอดชีวิตที่สิ้นเนื้อประดาตัว อีกทั้งยังวิตกกังวลว่า "ยุง" ที่เป็นพาหะนำโรคมาลาเรีย จะแพร่พันธุ์อย่างมากมายตามแหล่งน้ำขังใต้ซากปรักหักพังที่กระจัดกระจายอยู่เต็มพื้นที่

"ความคิดที่ว่าศพเป็นอันตราย เพราะเป็นแหล่งกำเนิดโรค ถือเป็นมายาภาพที่ใหญ่ที่สุด ศพโดยตัวของมันเองไม่ใช่ต้นเหตุของการเกิดโรค เนื่องจากไวรัสส่วนใหญ่จะมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียสเท่านั้น" จอร์จ ฮาร์ตล โฆษกของ WHO กล่าว และว่าคนที่อุ้มศพทันทีหลังจากตายควรป้องกันด้วยการสวมถุงมือ แต่มันก็ไม่ใช่อันตรายต่อสุขภาพของสาธารณะ

การศึกษาของ Oliver Morgan จากวิทยาลอนดอนพบว่า ท่ามกลางภัยธรรมชาติ ผู้คนมักจะตายเพราะการบาดเจ็บ และมันก็ไม่เหมือนความสกปรกที่เป็นสาเหตุของโรคระบาด อีกทั้งมันมีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่การกำจัดศพอาจจะเปิดโอกาสให้ติดเชื้อโรคเช่น ตับอักเสบบีและซี เอชไอวี และวัณโรค แต่ก็เป็นการปลอดภัยที่จะสวมถุงมือและล้างมือให้สะอาด

Jost van der Meer เจ้าหน้าที่จากเนเธอแลนด์ เชื่อว่า การแพร่ระบาดของโรคท้องร่วงเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่สุด เพราะน้ำสะอาดและโครงสร้างสุขอนามัยต่างๆ ล้วนถูกทำลายไปหมด

ขณะที่ Linda Doull ผู้อำนวยการด้านสุขภาพจากเมอร์ลิน กล่าวว่า เด็กๆ จะเป็นส่วนแรกที่ถูกเชื้อโรคท้องร่วงโจมตี และผู้ใหญ่จะเป็นรายต่อไป ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ

"มันฟังดูเหมือนละคร แต่ย้อนกลับไปที่โกมาในปี 1994 ผู้คนกว่า 20,000 คนตายเพราะโรคอหิวาห์" Linda กล่าวถึงเหตุการณ์ของผู้อพยพจากรวันดาที่จบลงในที่พักซึ่งไม่มีสุขอนามัย

เธอกล่าวอีกว่าน้ำสะอาดควรจะนำไปบริการในทุกที่เท่าที่เป็นไปได้ และควรจะทำให้ปลอดภัยด้วยคลอรีน แต่นั่นเป็นปัญหาระยะไกลกว่าเรื่องบ่อน้ำซึ่งหลงเหลือหลังจากน้ำลดจะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงอย่างรวดเร็ว ทั้งในอินโดนีเซีย และศรีลังกา และผู้คนที่อาศัยด้านนอกหรือภายในเต็นท์ชั่วคราวโดยไม่มีมุ้ง ย่อมกลายเป็นเหยื่อของยุง

WHO เห็นว่ามาลาเรียเป็นโรคที่อันตรายเป็นพิเศษ และมันจะเริ่มขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ตามวงจรการผสมพันธุ์ของยุง "มุ้ง" จึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่คลีนิกให้การรักษาเบื้องต้นถูกทำลายหมด

เธอกล่าวด้วยว่า การเข้าถึงน้ำสะอาด ที่พักที่กันยุงได้ และการดูแลสุขภาพในเบื้องต้นเป็นเรื่องที่ต้องทำเป็นอันดับแรก "แต่เรื่องการอาหารกลับกลายเป็นประเด็นสำคัญ" อีกทั้งผู้คนก็ต้องการความช่วยเหลือในการฟื้นฟูที่ดินให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

สรุปความจากhttp://www.guardian.co.uk/tsunami/story/0,15671,1380727,00.html

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net