Skip to main content
sharethis

----------------------------------------------------

ศูนย์ข่าวภาคใต้--3 ม.ค.48-- เมื่อเวลา 18.00น.วันที่ 2 มกราคม 2548 ที่สำนักงานอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา นางนฤมล อรุโนทัย ผู้จัดการโครงการวิจัยนำร่องอ่าวอันดามัน สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึงศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวมอร์แกน เดินทางไปพบกบนายนฤทธิ์ สมิตินันท์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เพื่อสอบถามแนวทางการให้ความช่วยเหลือชาวมอร์แกน ที่พักอาศัยอยู่ในเขตอุทยานฯ และได้รับความเดือดร้อนจากคลื่นยักษ์ซึนามิ

นายนฤทธิ์ กล่าวว่า ชาวมอร์แกนที่อาศัยอยู่ในอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ สามารถกลับไปอยู่อาศัยในที่อยู่เดิมได้เหมือนเดิม เพราะถือว่าชาวมอร์แกนเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งทางอุทยานจะเตรียมเรือขนย้ายชาวมอร์แกนกลับไปอยู่เกาะได้ทันที่ขอให้ติดต่อมา

นางนฤมล กล่าวกับ"ประชาไท"ว่า ชาวมอร์แกนต้องการกลับไปอยู่ที่เกาะโดยเร็ว เนื่องจากการพักอาศัยที่ศูนย์พักพิงชั่วคราว ทำให้ชาวมอร์แกนรู้สึกอึดอัด ในขณะที่ไม่คุ้ยเคยกับอาหารกระป๋องและนมกล่อง จนทำให้เกิดอาการท้องเสียแล้ว 2คน

"ถ้ากลับไปตอนนี้ก็ไม่รู้จะอยู่อย่างไร เนื่องจากไม่มีบ้านอยู่ และไม่มีเรือสำหรับออกหาปลา ขอให้รัฐเข้ามาดูแลด้วย" นายนฤมลกล่าว

นายนิล ปล่าทะเล ตัวแทนชาวมอร์แกน กล่าวว่า ตอนนี้อยู่สบายดี แต่ถ้ากลับไปอยู่เกาะได้ก็จะไป แต่ถ้าไปตอนนี้ไม่รู้จะอยู่อย่างไร เพราะบ้านไม่มี เรือก็ไม่มี ที่อยากได้ตอนนี้ก็คือ หม้อ ไว้ปรุงอาหาร ส่วนเสื้อผ้านั้นมีมากแล้ว ส่วนเรื่องบ้านกับเรื่องเรือ มีเจ้าหน้าที่มาสอบถามแล้ว แต่ไม่รู้ว่า จะได้เมื่อไหร่

ชาวมอร์แกน เป็นชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยตามหมู่เกาะต่างๆ ในทะเลอันดามัน และได้รับความเดือด ร้อนจากคลื่นยักษ์สึนามิ สำหรับชาวมอร์แกนที่อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะสุรินทร์ มีจำนวน180 คน ขณะนี้พักอาศัยอยู่ที่ศูนย์พักพิงชั่วคราวผู้ประสบภัยซึนามิ วัดสามัคคีธรรม ตำบลคุระบุรี อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื่องจากบ้านพักอาศัย 40 หลัง และเรือประมงทั้ง 4 ลำ ได้รับความเสียหายทั้งหมด สูญหาย 1 คน ทั้งนี้

ก่อนหน้านี้เคยมีข่าวว่า อุทยานแห่งชาติต้องการไล่ชาวมอร์แกนนออกจากเขตอุทยาแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ โดยอาจจะอาศัยช่วงเวลาที่ชาวมอร์แกนเดือดร้อน ห้ามเข้ามาอาศัยตามเดิม

ด้านนายมณี ประโมงกิจ ชาวบ้านประมงแหลมตุ๊กแก หมู่ 4ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า สิ่งของบรรเทาทุกข์ที่คนไทยมอบให้ เพียงพอแล้ว แต่ที่ชาวเลที่นี่อยากได้มากตอนนี้ คือหม้อทำกับข้าวเพราะไม่มีเหลืออีกแล้ว ถูกคลื่นซัดไปหมด

นายมณี กล่าวอีกว่า ส่วนเรือประมงของชาวเลที่นี่ เสียหาย จำนวน 40 ลำ ซึ่งทางตำรวจบอกให้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ ซึ่งตนคิดว่า ถ้าให้ชาวบ้านไปกันเองคงไม่สะดวก แต่ถ้าตำรวจมารับแจ้งความที่หมู่บ้านเลย จะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับชาวบ้านมาก และจะได้แจ้งความครบทุกหลัง ชาวบ้านจะได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และรวดเร็ว

มูฮำหมัด ดือราแม
ศูนย์ข่าวภาคใต้รายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net