Skip to main content
sharethis

ประชาไท 8 กุมภาพันธ์ 2548 - นักวิชาการหวั่นผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าหากรัฐบาลกำหนดนโยบายเปิดรับการปลูกพืชจีเอ็มโอ พร้อมทั้งเสนอทางออกให้รัฐทบทวนนโยบายอย่างเร่งด่วนเพราะกลุ่มผู้บริโภคสินค้าในตลาดยุโรปไม่ต้องการอาหารและเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนด้วยสารจีเอ็มโอ

กรีนพืช เผยผลสำรวจเรื่อง "ไม่มีตลาดสินค้าติดฉลากจีเอ็มโอในยุโรป" กรีนพืชได้จัดทำแบบสอบถามผู้ค้าปลีกและบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มชั้นนำ 60 แห่งในยุโรป พบว่า 49 บริษัทมีนโยบายปลอดจีเอ็มโอในสินค้าที่ส่งขายทั่วยุโรป และในตลาดหลักที่บริษัทนั้นๆมียอดขายมากกว่า 80 % โดยขายรวมของบริษัทที่มีนโยบายปลอดจีเอ็มโอสูงถึง 646 พันล้านยูโร หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 60 % ของยอดขายสินค้าบริโภคทั้งหมดในยุโรปที่มีมูลค่า 1,069 พันล้านยูโร ( 53 ล้านบาท )

กรีนพืชจัดทำรายงานฉบับนี้เพื่อสำรวจผลและเตรียมความพร้อมของผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในยุโรป เพื่อรองรับกฎหมายใหม่ว่าด้วยเรื่องการติดฉลากและระบบการย้อนกลับ ( labeling regislation and treacility systems) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อ 18 เมษายน 2547 โดยในการสำรวจใน 10 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปพบว่าสินค้าที่ติดฉลากจีเอ็มโอจำนวน 77 รายการ ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ป่น และเกาหลี วางขายในประเทศเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเชค เยอรมนี ฝรั่งเศส และสโลวาเกีย อย่างไรก็ตามขณะนี้สินค้าดังกล่าวได้ถอนตัวออกจากตลาดแล้วจำนวน 21 รายการ สืบเนื่องมาจากการไม่ยอมรับของผู้บริโภค

ผลการสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มสามารถปฏิบัติตามกฏการติดฉลากได้ทั้งด้านเทคนิคและด้านราคา ถึงแม้ว่าบริษัทในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาที่มักมีข้ออ้างว่าไม่สามารถติดฉลากได้ เพราะมีปัญหาด้านเทคนิคและทำให้ราคาสินค้าสูงขื้น ก็ยังสามารถติดฉลากจีเอ็มโอของตนเอง แล้วส่งไปขายในยุโรปเพื่อทำกำไร แม้ว่าในตลาดยุโรปจะไม่ยอมรับก็ตาม และแน่นอนว่าเมื่อกลุ่มผู้บริโภคและผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มในสหภาพยุโรปมีนโยบายและมาตรการผลิตสินค้าปลอดจีเอ็มโอเช่นนี้แล้ว จะไม่มีวันที่สหภาพยุโรป หวนกลับไปยอมรับสินค้าจีเอ็มโอ

ภัสน์วจี สรีสุววรณ์ เจ้าหน้าที่รรรงค์ด้านพันธวิศกรรม กรีนพืชเอเวียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า ตลาดยุโรปปิดตายสำหรับอาหารจีเอ็มโอ หากรัฐบาลมีนโยบายให้มีการทดลองพืชจีเอ็มโอในพื้นที่เปิด และอนุญาตให้ปลุกพืชจีเอ็มโอได้เท่ากับว่าทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่ความเสี่ยงทั้งการปนเปื้อนจีเอ็มโอต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้ประเทศไทยสูญเสียมูลค่าตลาดอาหารและเครื่องดื่มมูลค่ามหาศาล

วัลลัภ พิชญ์พงศ์ศา สมาชิกเครือข่ายธุรกิจปลอดจีเอ็มโอ กล่าวว่า การอนุญาตให้ขายสินค้าที่มีส่วนผสมของจีเอ็มโอในยุโรป แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค และในอีกสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องตระหนักก็คือ ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มและห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่ยุโรปมีนโยบายชัดเจนที่จะไม่ใช้ผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอในแบรนด์ของตนเอง ดังนั้นประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตและส่งออกสินค้าการเกษตรกรรมและอาหารต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการดำเนินนโยบายเกี่ยวกับจีเอ็มโอ และรัฐบาลชุดที่แล้วได้ทำถูกต้องที่สุดแล้ว ที่ให้มีการทบทวนนโยบายที่จะอนุญาตเปิดให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย

จันทร์สวย จันเป็ง
ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net