Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ประเทศเนปาลหรือที่รู้จักกันดีว่า เป็นดินแดนแห่งมรดกของโลกโดยเฉพาะป่าจิตตวัน หรืออุทยานแห่ง
ชาติแห่งแรกของเนปาลที่องค์การยูเนสโก ได้รวมเข้าเป็นมรดกของโลก เมื่อปี 2527 และเป็นดินแดนที่ มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนเนื่องจากลุมพินี เป็นสถานที่ประสูติ ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสังเวชนียสถาน 1 ใน 4 แห่ง ที่เหล่าพุทธศาสนิกชนต่างเดินทางมาเพื่อสักการบูชา

นอกจากนี้ยังมียอดเขาที่สวยที่สุดและสูงที่สุดในโลก นั่นก็คือเทือกเขาหิมาลัย และยอดเขาเอเวอร์เรส ซึ่งครั้งหนึ่งในชีวิตนักผจญภัยต่างมุ่งหวังที่จะพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกนี้

เนปาล มีจำนวนประชากร 23 ล้านคน ประชากรเนปาลกว่า 90% นับถือศาสนาฮินดู 8% นับถือศาสนาพุทธ และ 2% นับถือศาสนาอื่นๆ อาทิ คริสต์ และ อิสลาม

ประชากรของเนปาลแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มที่ได้รับการยกย่อง และมีอำนาจมากที่สุด ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพทย์ กลุ่มที่สำคัญรองลงมา คือ ชาวเผ่าต่างๆ ที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในประเทศเนปาล ทั้งนี้การแบ่งกลุ่มดังกล่าวข้างต้นทำให้เกิดบทบาทสำคัญ ที่ส่งผลต่อสังคมและการเมืองของเนปาล อันได้แก่ความแตกต่างทางขนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา และวัฒนธรรม ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแบ่งแยก ได้แก่ ปัจจัยทางด้านเผ่าพันธุ์ วรรณะ และสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์

เนปาล เป็นประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2545 กษัตริย์เนปาลองค์ปัจจุบันได้ทำการยุบสภา ยึดอำนาจการปกครองทั้งหมด และประกาศตั้งรัฐบาลชั่วคราวภายใต้การปกครองของกษัตริย์ขึ้น ทำให้การเลือกตั้งไม่สามารถเกิดขึ้นได้

พรรคการเมืองเนปาล ทั้ง 5 พรรคจึงได้เสนอชื่อผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนนายก
รัฐมนตรีหุ่นที่กษัตริย์ตั้งขึ้น แต่กลับไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลและกษัตริย์ จนกระทั่งวันที่ 9 เม.ย.
47 ทั้ง 5 พรรคการเมืองได้จัดชุมนุมใหญ่เพื่อเรียกร้องให้กษัตริย์คืนอำนาจให้ประชาชน เป็นผลให้มีประชาชนถูกจับกุมมากถึง 20,000 คน รวมทั้งผู้นำพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรค แต่ประชาชนยังออกมาเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง ทำให้กษัตริย์ได้ปล่อยตัวผู้ถูกจับกุมในเวลาต่อมา แต่การต่อต้านยังคงขยายลุกลามไปทั่วประเทศ ไม่มีกลุ่มใดสนับสนุนรัฐบาลที่ตั้งขึ้นจากการยึดอำนาจ แม้แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักวิชาการ สหภาพแรงงาน นักศึกษา ทุกกลุ่มต่างสามัคคีกันเพื่อที่จะล้มรัฐบาลชุดนี้

ต่อมาพรรคการเมืองทั้ง 5 พรรคได้ถูกกษัตริย์แบ่งแยก โดยยื่นข้อเสนอให้เข้าพบเป็นรายพรรค และเสนอผลประโยชน์ให้ในระดับต่าง ๆ จนทำให้พรรคการเมืองทั้ง 5 แตกแยกกันในที่สุด จากการกดดันอย่างหนักหน่วงประชาชน ทำให้กษัตริย์แต่งตั้งนายดีฟบราจากพรรคคองเกรสใหม่เป็นนายกรัฐมน
ตรีชั่วคราว แต่ต่อมาได้เข้ายึดอำนาจอีกครั้งเมื่อปกครองได้เพียง 6 เดือนโดยกษัตริย์ กียาเนนดรา ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินทั้งประเทศ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548

โดยอ้างว่า ได้ทำตามรัฐธรรมนูญของประเทศ ที่ให้อำนาจกษัตริย์ล้มรัฐบาลได้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศ ด้วยเหตุผลว่ารัฐบาลไม่สามารถจัดการเลือกตั้ง และไม่สามารถเจรจากับกลุ่มเหมาอิส ( Maoist) ในการรักษาความสงบเรียบร้อยได้ ซึ่งกลุ่มเหมาอิสนี้เป็นกลุ่มที่ขัดแย้งกับรัฐบาล และเดิมเป็นกลุ่มหัวรุนแรงในพรรคคอมมิวนิสต์ที่ได้แยกตัวออกไป

ความขัดแย้งนี้มีสาเหตุมาจากความไม่ยุติธรรมทางสังคม ระบบชนชั้น ความด้อยโอกาส และความยากจน ทำให้เหมาอิสได้รับการยอมรับในหัวเมืองชนบทต่างๆ เนื่องมาจากการต่อต้านความอยุติธรรมต่าง ๆ แต่การยึดอำนาจของกษัตริย์เมื่อวันที่ 1 ก.พ.48 ส่งผลให้วิกฤติการณ์ทางการเมืองของเนปาลยิ่งขยายวงกว้างและลึกมากขึ้น ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ประชาชนเนปาลได้ทนทุกข์กับความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งการโจมตีประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเหมาอิส( Maoist) และอิทธิพลของระบบศักดินาดั้งเดิม เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มวิกฤติ ที่จะทำให้เกิดความรุนแรงต่อทั้งสองฝ่ายเพิ่มมากขึ้น

และในทันทีที่มีการประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศขึ้น ส่งผลให้เกิดการจับกุม คุมขัง นักการเมือง นักศึกษา เยาวชน รวมทั้งการใช้กำลังกดดัน ขบวนการเพื่อสันติภาพทางการเมือง และขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งต่างเชื่อว่าการก้าวเข้ามาแก้ปัญหาโดยการเข้ามาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ใช้อำนาจผ่านกองกำลังทหาร จะผลักดันให้ประเทศเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการจำกัดสิทธิของแรงงาน สหภาพแรงงาน ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน

สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสิทธิมนุษยชน สตรี คนงาน และสิทธิของสหภาพแรงงาน คือ จะมีการบีบบังคับและกำหนดโทษเมื่อมีการต่อต้าน หรือการต่อสู้เพื่อสิทธิตามระบอบประชาธิปไตยของประชาชน คนงานและสหภาพแรงงาน ซึ่งการประกาศภาวะฉุกเฉินในครั้งนี้ทำให้เห็นว่า

1. กษัตริย์ซึ่งอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ได้เริ่มลงมือควบคุมรัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย พรรคการ เมือง
และองค์การต่าง ๆ การทำกิจกรรมทั้งหมดต้องอยู่ในความควบคุมอย่างใกล้ชิด

2. ถ้อยแถลงของกลุ่มเคลื่อนไหวและคำขวัญที่แสดงความยินดีต่อการกระทำที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรม นูญ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลักดันประเทศเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นยุคป่าเถื่อนภายใต้การปกครองของกษัตริย์ที่โหดเหี้ยม

3. บุคคลที่ต่อต้านระบบประชาธิปไตยอันมีพรรคการเมืองที่หลากหลาย และเป็นผู้รับใช้ในราชวังจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีโดยอยู่ภายใต้การควบคุมของกษัตริย์

4. สื่อต่าง ๆ ถูกสั่งปิด การสื่อสารเป็นอัมพาต ทั้งโทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ รวมถึงบริการส่งจดหมายทางอินเตอร์เน็ต ถูกควบคุมโดยทหารและกษัตริย์

5. ที่ทำการสหภาพแรงงานตกอยู่ภายใต้การควบคุมและการแทรกแซงของทหาร

6. การจับกุมและคุมขังไม่เพียงเฉพาะผู้นำทางการเมือง นักหนังสือพิมพ์ นักสิทธิมนุษยชนเท่านั้น แต่กรรมการสหภาพแรงงานก็ถูกตั้งข้อหาและจับกุม ซึ่งยิ่งทำให้สถานการณ์รุนแรงยิ่งขึ้น

เหตุการณ์ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548 สถานการณ์ยังคงเป็นเช่นเดิม แม้แต่เพื่อน หรือคนรู้จักจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมผู้ต้องหา และไม่อนุญาตให้อ่านหนังสือพิมพ์และข่าว จนกระทั่งบัดนี้ยังไม่มีสัญญาณใด ๆ ที่บ่งบอกว่าจะได้รับการปล่อยตัว ซึ่งจำนวนผู้ที่ถูกจับกุมมีทั้งหมด 387 คน เป็นนักสหภาพฯ 23 คน และเป็นผู้นำหญิง 2 คน

ความเกี่ยวข้องกับขบวนการแรงงาน

จากการจับกุมประชาชนจำนวนมากอย่างไม่มีเหตุผล ปราศจากหลักฐาน และการตักเตือน พวกเขาถูกจับกุมด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคงของประเทศ ตามกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง ปี 1990 ซึ่งอนุญาตให้จับกุมคุมขังสูงสุดได้ 90 วัน ผู้นำแรงงานของสภาแรงงานเนปาล( GEFONT) ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2548 คือ Mr. Dharmanan da Pant ซึ่งเป็นประธาน ของ สภาแรงงานเนปาล( GEFONT) ถูกจับกุมภายในบ้านโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายความมั่นคง โดยมีสาเหตุมาจากการที่เขาได้กล่าวตะโกนคำขวัญว่าต้องการสันติภาพ ประชาธิปไตยและสิทธิการรวมตัวกันเป็นสหภาพแรงงาน ในการประชุมระดับชาติของสภาแรงงานเนปาล ( GEFONT Zonal) ที่ผ่านมา

กษัตริย์จะจับกุมทุกคนที่เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุม ทั้งประเด็นทางการเมือง หรือขบวนการเคลื่อน ไหวทางสังคม โดยใช้กำลังตำรวจเข้าปราบปราม การประกาศภาวะฉุกเฉินเป็นกฎและข้อบังคับ ที่ส่ง ผลกระทบต่อการทำงานสหภาพฯ และเป็นการทำลายสิทธิขั้นพื้นฐานของสหภาพแรงงาน ในการดำเนินกิจกรรมอย่างอิสระ เนื่องจากมีการสั่งห้ามไม่ให้มีการชุมนุม เกินกว่า 5 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล รวมทั้งการเข้ายึดครองที่ทำการสหภาพแรงงานและมีการตรวจตราอย่างเข้มงวด

การบีบบังคับเช่นนี้เป็นการต่อต้านสิทธิขั้นพื้นฐานในการจัดตั้งและการรณรงค์โดยเสรีเพื่อปกป้อง
สมาชิก นอกจากนี้สหภาพแรงงานไม่สามารถทำหน้าที่ได้โดยอิสระและปราศจากความกลัว รวมทั้งผู้นำสหภาพแรงงานต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ความหวาดระแวงและความเสี่ยงต่อการถูกจับกุม

นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อผู้หญิงและขบวนการเคลื่อนไหวคนงานสตรี ส่งผลต่อสิทธิและเสรีภาพที่จะช่วยปกป้องผู้หญิงต้องถูกจำกัดลง การห้ามชุมนุมหรือรวมกลุ่ม ทำให้เกิดผลตามมาคือ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม วันสตรีสากลที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการขออนุญาตเดินขบวน ในเบื้องต้นได้รับอนุญาตให้มีการเดิน
ขบวนเพื่อแสดงความยินดีในวันสตรีสากล แต่ต่อมาถูกยกเลิกอย่างกะทันหันในวันที่ 7 มีนาคม 2548 ก่อนการเดินขบวนเพียง 1 วัน

แต่นักกิจกรรมเหล่านี้ยังคงมีการเคลื่อนไหว เดินขบวนต่อไป ทำให้ผู้นำสตรีต้องถูกจับกุมในงานชุมนุม ซึ่งการจับกุมในครั้งนี้สังเกตได้ว่า เป็นการจับกุมผู้นำหลักที่มีความสำคัญต่อองค์กร คือ Bidya Devi Bandawas ซึ่งเป็นประธานสมาคมผู้หญิงเนปาล และผู้นำคนอื่น ๆ พร้อมกันด้วย และเป็นการจับกุมโดยปราศจากข้อหา ในขณะที่พวกเขาได้เดินขบวนในวันสตรีสากล ซึ่งพวกเขาได้ร้องตะโกนต่อต้านกษัตริย์ที่ไม่ดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย และการถดถอยของประชาธิปไตยจากการประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548

ทั้งนี้จุดยืนของสหภาพแรงงานและกลุ่มองค์กรสตรี ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและ ความต้องการของพวกเขามีดังนี้

1. ให้ยกเลิกการประกาศภาวะฉุกเฉิน และใช้อำนาจเผด็จการ
2. ขอให้ปล่อยผู้ถูกจับกุมทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข
3. กลับมาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุขที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
4. เคารพในสิทธิมนุษยชน สิทธิในการพูด การแสดงความคิดเห็น การสมาคมและการชุมนุม
5. สร้างหลักประกันว่าสื่อต่าง ๆ จะสามารถดำเนินงานได้โดยอิสระ

การเรียกร้องประชาธิปไตยพื้นฐานของเนปาลในครั้งนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยความเข้ม แข็ง และพลังจากสังคมระหว่างประเทศ กลุ่มองค์กร และประชาสังคมต่าง ๆ เพื่อร่วมผลักดัน ให้มีการคืนอำนาจประชาธิปไตยให้กับประชาชน การช่วยเหลือและสนับสนุนของทุกท่านเป็นสิ่งสำคัญ เป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ซึ่งจะส่งผลให้เนปาล มีโอกาสได้รับประชาธิปไตยกลับคืนมาอีกครั้ง ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากท่านให้ร่วมส่งจดหมายร้องเรียนตามที่แนบมานี้ ไปยังกษัตริย์ของเนปาล และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์การเมืองของเนปาล อันจะแสดงให้เห็นถึงความสมานฉันท์ ร่วมกันโดยไม่มีการแบ่งแยก พรมแดน เชื้อชาติ และภาษา

ท่านสามารถส่งจดหมายเป็นภาษาอังกฤษ ตามตัวอย่างของจดหมายที่แนบมาให้นี้ โดยอีเมล์ไปยัง homehmg@wlink.com.np; fmo@mofa.gov.np; fso@mofa.gov.npหรือส่ง แฟกซ์ไปยัง +977-99-521109 และสำเนาส่งมายัง clist@loxinfo.co.th นอกจากนี้ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่ 0-1822-9477 และ 0-6878-2466 หรือหากท่านไม่สะดวกในขั้นตอนการส่งจดหมาย สามารถแจ้งความจำนงในการร่วมลงนามในการส่งจดหมายประท้วง กลับมายัง อีเมล์ clist@workers-voice.org เพื่อให้ทางศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงานเป็นผู้ส่งจดหมายแทนในนามของท่าน

(ตัวอย่างจดหมายต้นฉบับ)
Centre for Labour Information Service and Training
(กรุณาระบุชื่อที่อยู่องค์กรของท่าน)

166/23 Mooban Nathakan 3 Paholyothin 52 Rd. Klongthanon, Saimai Bangkok10220

April 2 0 , 2005(วันที่ส่งจดหมาย)
His Majesty Gyanendra
King of Nepal

Your Majesty Gyanendra:

8 April 2005 was the most historical day in Nepal and Nepali people. In the 15 years ago, the people power of Nepal successfully gained its people power and restore the democratic civilian rules in Nepal. Its our sadness to write to you today about the dead of democracy in Nepal due to Your Majesty" s action who disrespect the spirits if people power 18 April of Nepal.

On behalf of the Centre for Labour Information Service and Training (ระบุชื่อองค์กรของท่าน) , we wish to express our deep concerns about the serious violation of democratic rights, human rights, and labor rights in your country as a result of the declaration of state of emergency on February 1, 2005. We condemn your unconstitutional seizure of executive powers, as this denies all forms of freedoms /fundamental rights for the Nepali people and is against all principles of democracy.

It is our understanding that following the dismissal of the Royal Government of Nepal, you issued a decree, which basically suspended all trade union rights and banned meetings of more than five persons. In addition to this decree, we are informed by our counterparts in Nepal that key union leaders and activists are included in the list of more than 1,400 persons currently targeted for arrest or close surveillance.

These actions are clearly unacceptable and clearly a violation of all internationally recognized trade union rights.

We are aware of the difficult problems Nepal faces; however, declaration of martial law and forced seizure of power is not the answer resolve these problems. Restoring all democratic and trade union rights is indispensable to put the country back on the path to full democracy.

We strongly urge you :
1. Repeal unconstitutional Royal proclamation and end the state emergency
2. The King should return to the constitutional monarch
3. Restore the multi party system and democracy
4. To release unconditionally all the trade union, women, students, human rights , media ,political activists and all arrested people
5. Lift all measures that deny fundamental human rights, democracy, press/media freedom and trade union rights

We will continue monitor the situation and protest until full democracy is restored in Nepal.

" Respect Nepali People Power Spirits of 8 April 1990! Respect people power" !

Yours si ncerely,
Pitikan Sondi (ระบุชื่อและองค์กรของท่าน)
Centre for Labour Information Service and Training .

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net