Skip to main content
sharethis

กรุงเทพฯ - 10 พ.ค. 48 ครม.อนุมัติ บมจ.กฟฝ.แล้ววันนี้ เร่งระดมเงินทุนจดลงทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ 60,000ล้านบาท ขายหุ้น 6,000 ล้านหุ้น

นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการเปลี่ยนทุนเป็นเรือนหุ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟฝ.) และจัดตั้ง บมจ. กฟฝ. จำกัด ( มหาชน ) ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ (กนท.) ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ดังนี้

ประการที่หนึ่ง ให้แปลงทุนของ กฟฝ. เป็นหุ้นเรือนหุ้น และจัดตั้งบริษัท กฟฝ. จำกัด (มหาชน) โดยมีทุนจดทะเบียนจำนวน 60,000 ล้านบาท ประกอบด้วย หุ้นจำนวน 6,000 ล้านหุ้น ตีราคาหุ้นละ 10 บาท และให้โอนกิจการ สิทธิ หนี้ ความรับผิดชอบ และทรัพย์สินของ กฟฝ. ไปยัง บมจ.กฟฝ. เพื่อให้การดำเนินการต่อเนื่อง และเห็นชอบข้อมูลตัวเลขทรัพย์สิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2547 ประกอบด้วย สินทรัพย์ 424,725,952,348 บาท หนี้สิน 226,225,174,735 บาท และทุน 198,500,777,613 บาท

ประการที่สอง ในวันที่มีการจดทะเบียนจัดตั้ง กฟฝ.จะโอนสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ จำนวน 21 แห่ง รวมถึงที่ดินบริเวณเขื่อนและอ่างเก็บน้ำให้แก่กระทรวงพลังงาน มูลค่า 23,605 ล้านบาท

ประการที่สาม กำหนดให้คณะกรรมการกิจการไฟฟ้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ กิจการผลิตไฟฟ้าจะดูแลกำหนดเขตสายไฟ และเชื่อมโยงไฟฟ้า และบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำต่างๆ มุ่งเน้นการชลประทาน และคณะกรรมการกิจการกำกับดูแลการไฟฟ้า เพื่อดูแลกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าและวางมาตราการควบคุมผู้บริโภค และวางกำหนดการแข่งขันทั้งหมด รวมทั้งดูแลการพัฒนาระบบไฟฟ้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ

โดยคณะกรรมการกิจการกำกับดูแลการไฟฟ้ามีทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 คน และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นกรรมการและเลขานุการ

ประการที่สี่ ให้โอนพนักงานทั้งหมด ซึ่งรวมถึงผู้บริหารสูงสุดขององค์กร ผู้รับจ้าง ลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และลูกจ้าสงแบบมีกำหนดเวลา ไปเป็นลูกจ้างของ บมจ. โดยรับเงินเดือน ค่าจ้าง และสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าที่ได้รับอยู่เดิม ให้ถือว่าเวลาการทำงานของพนักงานดังกล่าวใน กฟผ. เป็นเวลาการทำงานใน บมจ. กฟผ. และนับอายุงานต่อเนื่อง

นายวิเศษ กล่าวว่า การกระจายหุ้นให้ประชาชนไทย นักลงทุน และสถาบันแก่ประชาชนก่อนเป็นอันดับแรก ไม่ตำกว่า 25 % และรัฐบาลถือหุ้นไม่ตำกว่า 75 % สำหรับนำลงทุนต่างประเทศสามารถถือครองหุ้นไม่เกิน 5 % เพื่อป้องกันต่างชาติถือครองกิจการของเรา โดยจะใช้วิธีแบบจับสลาก

ด้านนายไกรสีห์ กรรณสูต ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การดำเนินงานระยะ 5 ปี โดยใช้เงินลงทุนประมาณ 200,000 ล้านบาท และจัดหาเงินกู้มาลงทุนต่อไป ในเบื้องต้นน่าจะใช้งบประมาณราว 30,000 - 40,000 ล้านบาท

จันทร์สวย จันเป็ง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net