Skip to main content
sharethis

นางผกาวรรณ จุฬามณี คณะกรรมการแม่น้ำโขง ( MRC) ประเทศไทยระบุว่า สมาชิกของคณะ
กรรมการแม่น้ำโขง 3 ประเทศ คือ ลาวตอนใต้ เวียดนาม และกัมพูชา ให้สนใจปลาโลมาหางดาบมากกว่าปลาบึก เพราะเห็นว่า ปลาโลมามีความสำคัญต่อการท่องเที่ยว

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ( 4 มิ.ย.) คณะอนุกรรมาธิการความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ วุฒิสภา (กมธ.) ร่วมกับจังหวัดเชียงราย มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืชแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ฯ กลุ่มรักษ์เชียงของ ชมรมปลาบึก และกลุ่มแม่หญิงลุ่มน้ำโขง จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง "รักษ์ปลาบึก รักษ์แม่น้ำโขง" ในพื้นที่ อ.เชียงของ จ.เชียงราย

ตัวแทนMRC ระบุว่า สมาชิกMRC ต่างก็มีประเด็นและความคาดหวังที่ต่างกัน อาทิ กัมพูชาจะจะให้น้ำหนักกับการอนุรักษ์ทะเลสาบเขมร เวียดนามสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อมริมฝั่ง ซึ่งเมื่อนำเข้าสู่เวทีประชุมก็มีความแตกต่างหลากหลาย

ทั้งนี้คณะกรรมการแม่น้ำโขง ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2500 โดยมีสมาชิกคือ ไทย สาธารณรัฐประชาธิป
ไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) กัมพูชา และเวียดนาม มีภารกิจที่ดำเนินเกี่ยวทรัพยากรน้ำในด้านต่างๆ เช่น สิ่งแวดล้อม การใช้น้ำ วางแผนการพัฒนาน้ำ จัดการน้ำท่วม แผนการเดินเรือ การไฟฟ้าพลังน้ำ การท่องเที่ยว การจัดการลุ่มน้ำ และการประมง

นายวิวัฒน์ ร้อยแก้ว ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า MRC เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องปลาบึก เพราะดูแลหลายด้านรวมทั้งระบบนิเวศแม่น้ำโขง
น่าจะรับผิดชอบการอนุรักษ์พันธ์ปลาบึกในแม่น้ำโขง เพราะมีตัวแทนของหลายประเทศลุ่มแม่น้ำโขง คือประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว ประเทศเวียดนาม ประกัมพูชา และประเทศไทย

ดันเวทีร่วมดูแลปลาบึก

นายบุนมี สุวันนะลังสี หัวหน้าแผนกกสิกรรม - ป่าไม้แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนชนลาว กล่าวว่า รัฐบาลลาวจะสนับสนุนการอนุรักษ์ปลาบึกและแม่น้ำโขงควบคู่กับการพัฒนาแม่น้ำโขงอย่างสมดุลซึ่งกันและกัน และเสนอให้มีจัดประชุมทางวิชาการระดับท้องถิ่น และระดับประเทศเพื่อนำไปสู่แผนการพัฒนาระดับประเทศที่มีการกำหนดกฎระเบียบต่างๆ เช่น ระยะเวลา บริเวณของการล่าปลาบึก รวมถึงมาตรการด้านที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการคุ้มครอง

นางเตือนใจ ดีเทศน์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ เปิดเผยว่า กมธ.จะนำข้อเสนอต่างๆ ที่ได้รับแนวทางไปผลักดันเชิงนโยบายในการอนุรักษ์ปลาบึกและแม่น้ำโขง สำหรับแนวทางการอนุรักษ์ปลาบึกและแม่น้ำโขงนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือ การสร้างกระ บวนการสื่อสารให้ประชากรในลุ่มแม่น้ำโขง 60 - 80 ล้านคนให้เข้าใจถึงระบบนิเวศของแม่น้ำโขงเป็นการแสวงหาความรู้ร่วมของประชากรใช้น้ำแม่โขง ส่วนประเด็นการอนุรักษ์ปลาบึกและแม่น้ำโขงควรดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จันทร์สวย จันเป็ง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net