นักวิชาการชี้รามเกียรติ์เข้ากับสมัยปัจจุบันที่สุด

ฮินดูสถาน ไทมส์ - นักวิชาการชื่อดังจากนานาประเทศยอมรับว่า การสอนเรื่องรามเกียรติ์ มหากาพย์อันเป็นที่เชื่อถือของชาวฮินดูนับล้านคนมาเป็นเวลายาวนาน และเนื้อหาด้านสังคมการเมืองที่บรรจุอยู่ในเรื่องนั้นเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันมากว่าที่เคยเป็นมาในอดีต

ในการประชุมทางวิชาการนานาชาติ เป็นเวลา 2 วัน เรื่อง "รามเกียรติ์ ในบริบทของของโลก" (Ramayana in Global Context) ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันรามเกียรติ์นานาชาติ แห่งอเมริกาเหนือ ร่วมกับ มหาวิทยาลัย นอร์ทเทิร์น อิลลินอยส์ ได้ข้อสรุปว่า การสอนมหากาพย์เรื่องรามเกียรติ์นั้นสอดคล้องกับยุคสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัตน์ ระบบครอบครัวแตกแยก และ คุณค่าความเป็นมนุษย์กำลังลดน้อยลง

การประชุมดังกล่าว มีนักวิชาการชั้นแนวหน้าเข้าร่วมประชุม 31 คน จาก ประเทศ แคนาดา สาธารณรัฐ เชค อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ตรินิแดด และสหรัฐอเมริกา ที่ได้มานำเสนอแง่มุมต่างๆในเรื่องรามเกียรติ์ใน 7 หัวข้อ อาทิ บทบาทหญิงชายและการเมืองในมุมมองรามเกียรติ์ การศึกษาและการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับมหากาพย์เรื่องรามเกียรติ์ อิทธิพลของรามเกียรติ์ต่อวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆ รามเกียรติ์ กับการการปฎิสัมพันธ์ และอิทธิพลต่อธรรมรัฐ

สุภาส ปันเดย์ ประธานสถาบันรามเกียรติ์นานาชาติแห่งอเมริกาเหนือกล่าวว่า นี่เป็นการประชุมนักวิชาการที่โดดเด่นมากที่เน้นถึงเรื่องบทบาทที่ลึกซึ้งของของมหากาพย์รามเกียรติ์ต่อศิลปะ วัฒนธรรม สังคมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมคุณธรรมของมนุษย์

ในการปราศรัยหลัก แซลลี โกลด์แมน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์จาก เบิร์กลีย์ ได้พูดถึงการวางบทบาทหญิงชายของฤษีวาลมิกิโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ บทบาทของภรรยา ในขณะที่นักวิชาการคนสำคัญอีกท่าหนึ่ง แคธี โฟเลย์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แห่ง ซานตา คลารา ได้พูดในประเด็น การเปลี่ยนรูปของรามเกียรติ์ในเอเชียอาคเนย์และปฏิกิริยาสะท้อนกลับของอินเดีย กับการสาธิตการใช้หน้ากากในการแสดงเรื่องรามเกียรติ

ส่วนเดวิด เคอร์สนาร์ จากลุ้คกิ้ง กลาส ซึ่งเป็นบริษัททางด้านการละครในชิคาโกก็ได้พูดถึงละครเรื่อง สีดา ราม ซึ่งเป็นละครที่พัฒนามาจากเรื่องรามเกียรติ์

พันเดย์ กล่าวว่า นักวิชาการคนแล้วคนเล่าได้นำเสนอ ที่ลงลึกไปในรายละเอียดของรามเกียรติ์ว่า ได้ช่วยในการพัฒนาคุณธรรมของมนุษย์ และคุณค่าทางวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง แถลงการณ์ของพระรามหลังจากที่ต้องออกไปบำเพ็ญตนในป่าเป็นเวลา 14 ปีแล้วกลับมาขึ้นครองราชย์ในกรุง
อโยธยานั้นยังคงเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในทุกวันนี้

"นี่จะเป็นการช่วยนำสันติสุขและความมั่งคั่งของโลกทั้งผอง" สัตยา วรัต ศาสตรี นักวิชาการที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลกเรื่องรามเกียรติ์ซึ่งได้รับการมอบหมายมาเป็นพิเศษจากสภาวัฒนธรรมสัมพันธ์ของอินเดียให้มาร่วมประชุมในครั้งนี้

พร้อมๆไปกับการประชุมดังดังกล่าวทางผู้จัดก็ยังได้จัดให้ให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการของครูในหัวข้อ รามเกียรติ์: ประตูสู่วัฒนธรรมเอเชีย (Ramayana: A Gateway to Asia Culture) เป็นการนำเสนอเรื่องรามเกียรติ์และเรื่องราวที่แตกสาขาออกไปของรามเกียรติ์ เพื่อให้ครูได้ใช้สอนในห้องเรียน

สถาบันรามเกียรติ์นานาชาติแห่งอเมริกาเหนือก่อตั้งขึ้นในปี 2000 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเรื่องรามเกียรติ์ สถาบันดังกล่าวได้จัดการประชุมนานาชาติครั้งแรกในปี 2001 โดยมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆในสหรัฐอเมริกา และจากประเทศต่างๆ อาทิ อินเดีย อินโดนีเซีย ไทย ฝรั่งเศส เบลเยียม และ พม่าเข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้น

พันเดย์ซึ่งจริงๆแล้วเป็นนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ไม่มีเทพนิยายปรัมปราเรื่องไหนจะสามารถอวด อ้างได้ว่าสามารถกระจายแพร่หลายและก่อให้เกิดผลกระทบในศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี ของหลายๆประเทศได้เท่านี้อีกแล้ว ในแต่ละประเทศที่รามเกียรติ์กระจายไปถึงนั้น รามเกียรติ์เป็นแรงบันดาลใจให้กับทั้ง กวี นักเขียน ครู นักปั้น ช่างสี นักดนตรี นักเต้น นักแสดงหุ่น และนักร้อง

เขายังย้ำว่าว่าผ่านมาหลายยุคหลายสมัย มหากาพย์ดังกล่าวก็ยังคงเป็นที่นิยมและคนก็คงใช้เรื่องนี้เป็นแนวทางอยู่ และเห็นว่า มหากาพย์เรื่องนี้ได้ชี้นำพฤติกรรมในอุดมคติของมนุษย์ในทุกชนชั้นเลยทีเดียว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท