"วิษณุ" แจง 16 คำถาม พ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน

 


*การแถลงข่าวและตอบข้อซักถามของผู้สื่อข่าว ต่อแนวทางการใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี  พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์  รองนายก

รัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ วันที่ 19 ก.ค.2548

 

 

พล.ต.อ.ชิดชัย - โดยหลักการผมก็ยืนยันมาตลอดว่าเราจะใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้น้อยที่สุด ให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพน้อยที่สุด แต่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ที่พูดกันไปท่านคงมีข้อมูลกันไม่ครบถ้วน บางทีก็อ่านยังไม่ละเอียด ตีความกันไปต่างๆ นานา วันนี้จึงมีการแถลงเป็นทางการให้เข้าใจชัดเจนตรงกัน

 

สาระสำคัญของพ.ร.ก. เป็นอย่างไร

 

วิษณุ - พ.ร.ก.ฉบับนี้ลงประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 ก.ค. และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 ก.ค. เมื่อออกมาใช้บังคับก็ไปยกเลิกกฎหมายเก่าคือ พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ปี 2495 โดยเอาสาระสำคัญของพ.ร.บ.ปี 2495 บวกกับบางส่วนที่อยู่กับกฎหมายอื่นมารวมไว้ในที่เดียวกัน เรียกว่าเป็นการ "บูรณาการบทบัญญัติทางกฎหมาย"

 

ก่อนหน้านี้เคยให้เจ้าหน้าที่ไปบูรณาการเอง โดยสนธิกำลังจากทหาร ตำรวจ พลเรือน แต่บูรณาการอย่างนั้นไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจ ทำไปตามที่เห็นสมควร ผ่านไประยะหนึ่งเห็นว่าการทำเองตามมีตามเกิดมีปัญหา เพราะข้าราชการก็มาจากต่างหน่วย ต่างผู้บังคับบัญชา และกอดกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งให้ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

 

กฎหมายฉบับนี้โดยหลักแล้วคือให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่ได้ประกาศโดยอำเภอใจ ต้องผ่าน 2-3 ด่าน

 

ด่านแรกคือ คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องเป็นคนแนะนำว่าควรประกาศหรือยัง และถ้าประกาศควรใช้มาตรการอะไรบ้าง เพราะมีตั้งแต่ "ไม้นวม" จนถึง "ไม้แข็ง" ซึ่งมีนักการเมืองอยู่คนเดียวคือพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกฯ ที่นายกฯ มอบหมาย นอกนั้นก็มีรัฐมนตรีมหาดไทย กลาโหม ยุติธรรม แล้วยังมีปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

เมื่อคณะกรรมการฯ เสนอแนะแล้วยังจะต้องนำมาเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบจึงออกประกาศได้ อำนาจนายกฯ ก็คือการลงนามในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้นเอง  

 

ไม่ใช่ไปติดหนวดติดเขี้ยวอะไร อย่างที่หลายท่านเข้าใจ

 

อีกอย่างหนึ่งเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการไปในฐานะฝ่ายการเมือง รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบต่อสภา สภาสามารถตั้งกระทู้ถาม ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ ไม่เหมือนกับเมื่อครั้งที่ประการกฎอัยการศึก

 

การประการกฎอัยการศึก ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2457 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น ตามมาตรา 4 แค่ผู้บังคับการกองพัน ก็สามารถประกาศกฎอัยการศึกได้ในพื้นที่ของตัว ซึ่งเมื่อประกาศอย่างนั้นแล้วก็ยากจะดึงฝ่ายการเมืองลงไปรับผิดชอบ

 

พอประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ใด ให้มีระยะเวลาเพียง 3 เดือน ถ้าจะต่ออายุก็ได้ทีละ 3 เดือนเท่านั้น และคนจะต่อได้คือคณะรัฐมนตรี

 

ประกาศแล้วก็ไม่ใช่จะเกิดผลตามมาอะไรมากมาย อย่างที่คิดกันว่าติดเขี้ยว ติดหนวด กันน่ากลัว ประกาศไปอย่างนั้นเอง แต่ถ้าจะเอามาตรการอะไรมาใช้ ซึ่งมีอยู่ 6 มาตรการก็ต้องให้นายก รัฐมนตรีสั่งทีละมาตรการอีกครั้ง ถ้าไม่สั่งก็คือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแช่เอาไว้อย่างนั้นเอง

 

เพราะว่ามันมีความหมายในแง่ป้องปราม ทำให้บางคนเข็ดหลาบหวาดกลัวไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เป็นผลทางจิตวิทยา

 

แต่ถ้าสถานการณ์ใดที่มีการก่อการร้ายมีการฆ่ามีการทำร้ายคน ก็แสดงว่าไม่ใช่สถานการณ์ฉุกเฉินธรรมดาแล้ว เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรีก็จะใช้มาตรการฉุกเฉินอีกมาตราหนึ่ง โดยประกาศให้สถานการณ์นั้นเป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรงหนักขึ้นไปอีกได้ ซึ่งในต่างประเทศเขาเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีแดง เราไม่ได้ให้สีแต่กระโดดจากสถานการณ์ฉุกเฉินธรรมดา เป็นฉุกเฉินร้ายแรง

 

พอประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ก็จะมีการประกาศซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่าให้นำมาตรการใดมาใช้เพิ่ม  ซึ่งมีอยู่ตั้ง 10 มาตรการก็เลือกเอา

 

ขอเรียนว่า 6 มาตรการที่เป็นร้ายแรงธรรมดา กับ 10 มาตรการที่เป็นร้ายแรงอย่างยิ่ง รวมกันเป็น 16 มาตร การ ขอเรียนให้ทราบเพราะหลายคนไม่เข้าใจคิดว่าเหมือนมาตรา 17 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ถ้าจะพูดอย่างนั้นต้องย้อนไปดูก่อนว่ามาตรา 17 เขียนอย่างไร เทียบกันได้หรือไม่

 

มาตรา 17 สมัยจอมพลสฤษดิ์นั้นให้นายกรัฐมนตรีสั่งแล้วมีผลทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ตามมาตรา 17 นั้นสั่งแก้กฎหมายที่รัฐสภาออกมาก็ยังได้ กลับคำพิพากษาศาลที่ศาลตัดสินออกมาก็ยังได้ เหมือนที่มีกรณีจับได้ว่ามีคนวางเพลิงตลาดพลู มาตรา 17 ให้อำนาจนากยกรัฐมนตรีในเวลานั้นไปสอบสวนเอง ได้ความว่าผิดก็ตัดสินเองโดยไม่ต้องนำตัวส่งศาล แล้วก็สั่งยิงเป้าเอง แล้วก็ลอยกระดูกลอยอังคารเองจบ นั่นคือมาตรา 17

 

16 มาตรการสำหรับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งธรรมดาและร้ายแรง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนข้อใดข้อหนึ่ง เช่น สั่งไม่ให้มีการขายหนังสือ ขายซีดีอะไรก็ตามแล้วฝ่าฝืนขาย ไม่สามารถทำอะไรได้เลย นอกจากจับตัวส่งตำรวจ ส่งอัยการแล้วฟ้องศาลทุกคดีไป แล้วศาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 18 ในพ.ร.ก.นี้พิจารณาสืบพยาน ตรวจสอบว่าเข้าเงื่อนไขหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าไม่มีปัญหาอะไรศาลก็ยกฟ้องได้

 

แม้แต่การดักฟังก็ไม่ใช่นึกจะดักก็ดัก ในมาตรา 11 ต้องปฏิบัติตามกฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษ ที่ให้ยื่นเรื่องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ที่กรุงเทพฯ แล้วอธิบดีเรียกมาไต่สวน ถ้าเห็นสมควรก็อนุญาต

 

พระราชกำหนดพอออกมาแล้วก็ไม่ใช่จะทำอะไรได้มากมายก่ายกอง มันมีอะไรต้องทำต่ออีกเยอะและบัดนี้ครม.ได้อนุมัติแล้ว

 

สิ่งที่ครม.อนุมัติ มีอะไรบ้าง

 

วิษณุ - สิ่งที่ครม.อนุมัติ 1.โดยเหตุที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ไปก่อนหน้าแล้ว เรื่องการประกาศกฎอัยการศึกนี่ก็แปลก เวลาจะประกาศผู้บังคับการกองพันก็ประกาศได้ แต่เวลายกเลิกต้องอาศัยพระบรมราชโองการเท่านั้น เป็นไปตามมาตรา 5

 

ครม.จึงมีมติตามข้อเสนอของพล.ต.อ.ชิดชัย และคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินว่าให้ออกประกาศพระบรมราชโองการยกเลิกกฎอัยการศึกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วันนี้คงจะทำเสร็จและถวายในวันนี้แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อใด

 

2. โดยเหตุที่ตามพ.ร.ก.ต้องแต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งในคณะกรรมการ มีรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) อัยการสูงสุด

 

คณะรัฐมนตรีมีมติตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นประธานกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

 

3. ครม.มีมติตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีว่ามอบอำนาจของนายกรัฐมนตรีให้กับรองนายกฯ ชิดชัย ในการที่จะสั่งการตามมาตรการต่างๆ ตามพ.ร.ก.ต่อไป ในส่วนที่เกี่ยวกับการเยียวยา ฟื้นฟู บูรณะ จ่ายเงินค่าชดเชย ช่วยเหลือให้ความเป็นธรรม มอบรองนายกฯ จาตุรนต์ ฉายแสง ถ้าในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายก็ให้รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ร่วมเป็นที่ปรึกษาด้วยอีกคนหนึ่ง

 

4. ครม.เห็นชอบให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมกันนั้นให้ประกาศให้ 3 จังหวัดเป็นดินแดนที่มีการประกาศสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง เพราะเราถอนเอากฎอัยการศึกษาออกไปหมดทุกอำเภอแล้ว จึงต้องเข้าไปแทนที่ด้วยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ซึ่งจะมีอายุไป 3 เดือน

 

พร้อมกันนั้นมีมติที่สำคัญว่า ไม่ได้ให้นำมาตรการทั้ง 16 มาตรการไปใช้ เรื่องการห้ามเผยแพร่อะไรก็ยังไม่ได้ห้าม แม้ครม.จะมีความรู้สึกก็ตามว่าเรื่องของสื่อมวลชนไม่ได้คิดจะเข้าไปทำอะไร แต่ในส่วนของซีดีหรือวีดีโอเทปตัดคอในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในอิรัก มีการนำมาเผยแพร่โดยมีการตัดต่อปนกับเหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ ซึ่งคนที่ดูแล้วอาจจะแยกไม่ออกว่าเกิดขึ้นที่ใด แต่ขณะนี้ก็คิดว่ายังอยู่ในวิสัยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะควบคุมได้ จึงไม่ประกาศมาตรการข้อนี้

 

ทั้งหมดนี้ต้องมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากแถลงข่าวก็ต้องประชุมกับกฤษฎีกาและฝ่ายความมั่นคงทำประกาศ แล้วให้นายกฯ ลงนาม

 

มาตรการที่ครม.อนุมัติ

 

วิษณุ - มาตราการที่สั่ง มีดังนี้ 1. การควบคุมตัวบุคคลที่สามารถควบคุมตัวไว้ได้ 7 วันรวมแล้วไม่เกิน 30 วัน รวมทั้งการค้น การยึดการอายัดของบางอย่าง และการควบคุมการมีไว้ในครอบครองหรือการใช้ซึ่งวัสดุเคมีภัณฑ์ เพราะฝ่ายความมั่นคงเพิ่งรายงานเมื่อเช้านี้ว่า เคมีภัณฑ์บางอย่างต้องมีการควบคุม รวมถึงซิมการ์ดด้วย

 

ลงในละเอียดก็คือ ในมาตรา 9 กรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินธรรมดา

 

(1) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด....    ไม่นำมาใช้

 

(2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย....   ไม่นำมาใช้

 

(3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ....ไม่นำมาใช้

 

(4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ  .....  ไม่นำมาใช้

 

(5) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ  ......   ไม่นำมาใช้

 

(6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน   .....   ไม่นำมาใช้

 

ในส่วนของมาตรา 11 ที่เป็นมาตรการที่ใช้ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง

 

(1) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน.....     ครม.ให้นำมาใช้

 

(2) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน  ....   ให้นำมาใช้

 

(3)ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน   ....   ให้นำมาใช้

 

(4) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรง....   ครม.อนุมัติให้นำมาใช้เฉพาะการค้นเท่านั้น

 

(5) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง.....  ไม่นำมาใช้

 

(6) ประกาศห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน   ......    ไม่นำมาใช้

 

(7) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศ ......  ไม่นำมาใช้

 

(8) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน.....   อนุมัติให้นำมาใช้

 

(9) ห้ามให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือการก่อการร้าย.......    อนุมัติให้นำมาใช้

 

(10) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ตามเงื่อนไขเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด และไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึก  .....   อนุมัติให้นำมาใช้

 

 

ในส่วนของมาตรการที่ครม.ประกาศเพิ่มเติมนอกเหนือจากพ.ร.ก.

 

1. เมื่อมีการบูรณาการกฎหมายเป็นของใหม่ ครม.เห็นว่าสมควรที่กอ.สสส.จชต.ควรจะมีการอบรม ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้รู้ว่าพ.ร.ก.นี้ไม่ได้ให้อำนาจอะไรมากมาย อย่าทำอะไรที่ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าเหตุ ถ้าจำเป็นอาจต้องพิมพ์เป็นคู่มือแจกเจ้าหน้าที่ด้วย

 

2. สิทธิประโยชน์ที่ข้าราชการในพื้นที่เคยได้เมื่อมีการประกาศกฎอัยการศึกให้คงไว้ต่อไป

 

3. เมื่อคืนนี้ท่านอานันท์ มาพบนายกฯ และเสนอแนะว่า หากมีการล้วงล้ำสิทธิเสรีภาพประชาชน ประชาชนควรมีช่องทางที่จะร้องเรียน ควรตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาสักชุดเพื่อคุ้มครอง ตรวจสอบการร้องเรียน ซึ่งนายกฯ ได้เสนอครม.ให้เห็นชอบในหลักการตั้งคณะกรรมการดังกล่าว โดยที่ไม่จำเป็นต้องมาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

และอาจเรียกได้ว่าเป็นคณะกรรมการของฝ่ายบริหารที่จะมารับลูกต่อจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการสอบสวนเรื่องต่างๆ ที่กรรมการสิทธิฯ ส่งมา  เพราะที่ผ่านมาเมื่อกรรมาการสิทธิฯ ส่งเรื่องร้องเรียนใดมา ก็ขาดกลไกในการดำเนินการต่อ ขณะนี้ตัวบุคคลอยู่ระหว่างการทาบทามตัวบุคคล

 

4. ครม.เห็นชอบให้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีลงนามแล้ว ให้มีการตั้ง กองทุนสมานฉันท์ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ และนายกฯ อานันท์เป็นประธานกองทุน ซึ่งจะรับบริจาคจากภายนอก ไม่ใช่งบประมาณแผ่นดิน เพื่อช่วยเหลือทั้งฝ่ายรัฐและประชาชนที่ประสบภัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

มีเหตุผลอย่างไร ที่พิจารณาถึงขั้นเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง

 

พล.ต.อ.ชิดชัย  -  จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาก็มีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเหตุระเบิด การซุ่มยิงเจ้าหน้าที่ การยิงราษฎร ครู การวางเพลิง การก่อกวนต่างๆ รวมทั้งสถานการณ์หลังสุดที่ยะลา ทำให้มองเห็นว่าหากให้สถานการณ์อยู่ต่อไปอย่างนี้แล้วจะยากต่อการควบคุมจำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษออกมา ซึ่งก็เรียนว่าเราจะเลือกใช้แต่น้อยที่สุดในพื้นที่ที่จำเป็นเท่านั้น

 

มันไม่ได้รุนแรงทุกหมู่บ้าน แต่ขณะเดียวกันพื้นที่ที่บอกว่าไม่มีแกนอยู่ บุคคลเหล่านั้นก็สามารถมาดำเนินการในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์เบาบางได้ จึงจำเป็นต้องประกาศทุกหมู่บ้านใน 3 จังหวัด

 

และผอ.กอ.สสส.จชต. จะมีอำนาจดำเนินการในพื้นที่

 

หากต้องการประกาศมาตรการเพิ่มเติมจากนี้มีกระบวนการอย่างไร

 

วิษณุ  -  ก็ไม่มีอะไร ก็กลับมาใช้กระบวนการอย่างวันนี้

 

เรื่องมาตรา 17 ที่เจ้าพนักงานไม่ต้องมีความรับผิดชอบทางแพ่งและทางอาญา เมื่อวานมีการประชุมที่กระทรวงการต่างประเทศ และนักการทูตได้แสดงความกังวลว่ามาตรานี้จะเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ที่จะใช้ความรุนแรงโดยไม่ต้องรับผิดชอบ

 

วิษณุ  -  เรื่องนี้น่าจะรัดกุมพอ เพราะสุดท้ายก็ต้องไปที่ศาล สมมติว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำอะไรที่เรารู้นึกว่าผิด แม้ว่าถึงสุดท้ายปลายทางเขาอาจจะรอดตามมาตรา 17 แต่ตอนต้นเราไม่รู้หรอกว่าเข้ามาตรา 17 ไหม แต่เมื่อเห็นเขายิงคน เราก็ควรจะฟ้องเขา ฟ้องเขาเลยไม่ต้องสนใจมาตรา 17 เขามีหน้าที่ยกข้อต่อสู้ในศาลว่า 1. ไม่ควรต้องรับผิดเพราะปฏิบัติหน้าที่ในการระงับการกระทำผิดกฎหมาย

 

ศาลก็ต้องตรวจสอบว่าจริงไหม ถ้ากินเหล้าในตำรวจไปกินเหล้าในตลาดเมาแล้วชักปืนยิงคน แล้วหาว่าปฏิบัติหน้าที่ มันไม่จริงก็ไม่เข้าเงื่อนไขทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แต่ถ้าระหว่างนอนอยู่ในกองร้อย มีผู้ก่อการร้ายบุกเข้ามาปล้นปืนเลยมีการยิงต่อสู้กันจนคนตาย เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่

 

ข้อทดสอบของศาลก็จะมีต่อไปว่า เป็นการกระทำที่สุจริตไหม เลือกปฏิบัติไหม และไม่เกินสมควรแก่เหตุไหม ถ้าศาลบอกไม่สุจริต หรือเลือกปฏิบัติก็ผิดอยู่ดี ศาลต้องพอใจในเงื่อนไขทั้งหมด มากกว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีข้อทดสอบข้อเดียวว่าสมควรแก่เหตุหรือไม่

 

อันนี้พูดก็พูดว่าคือสิ่งที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเขาเรียกร้องมานานแล้ว เราคุ้มครองใครต่อใครมากและเราไม่ได้คุ้มครองการกระทำของเจ้าหน้าที่เลย

 

แต่ต่อให้คนตายเป็นฝ่ายผิด ก็ควรมีการชดเชยเยียวยา ก็เขียนลงไปด้วยว่าไม่ตัดสิทธิ์ที่จะเรียกเอาค่าเสียหายจากราชการ

 

เรื่องการห้ามเสนอข่าว จำหน่ายสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดอันอาจทำให้ประชาชนหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  อันนี้ใครจะเป็นคนนิยาม นายกรัฐมนตรีคนเดียวหรือไม่

 

วิษณุ  -  เริ่มต้นตอนที่จะใช้ฝ่ายบริหารใช้ก่อน ก็ต้องนิยามก่อน แต่การนิยามนั้นไม่สิ้นสุดยุติ พอถึงเวลาเข้ามันก็จะไปศาล แล้วศาลจะนิยามซ้ำ และการนิยามของศาลเป็นขั้นสุดท้าย ถ้ามีผู้ฝ่าฝืนก็ต้องจับเพราะฝ่าฝืนข้อห้ามที่นายกรัฐมนตรีห้าม ส่งอัยการ ถ้าอัยการสั่งไม่ฟ้องก็จบ แต่ถ้าฟ้องก็ต้องฟ้องศาลในท้องที่เกิดเหตุ ซึ่งก็ต้องมีการไต่สวนกัน หรือถ้าศาลสงสัยว่ามาตรา 9 (3) น่าจะขัดรัฐธรรมนูญ ก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความต่อไปได้

 

อันนี้หมายถึงสามารถปิดหนังสือพิมพ์ หรือปิดการเผยแพร่ทางวิทยุโทรทัศน์

 

วิษณุ  -  ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 39 การสั่งปิดหนังสือพิมพ์ทำไม่ได้และไม่มีข้อยกเว้น

 

 

ในประกาศที่ครม.ออกมีเรื่องการตักเตือนสื่อตามที่รองนายกฯ ชิดชัยให้สัมภาษณ์หรือไม่

 

วิษณุ  -  ไม่มี แต่เรามีพ.ร.บ.การพิมพ์ของเราอยู่ ซึ่งเตือนได้ตั้งแต่แม่สะเรียงถึงเจ๊ะห์เหอยู่แล้ว

 

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2453 จะยังอยู่ และแก้ไขอะไรหรือไม่

 

วิษณุ - ยังอยู่ และในพื้นที่อื่นใน 20 จังหวัดที่มีการประกาศกฎอัยการศึกยังมีอยู่ ส่วนความคิดที่จะแก้ไขต้องมอบให้ฝ่ายทหารแยกออกมาดำเนินการต่างหาก

 

ทหารยังมีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก

 

แน่นอน การประกาศกฎอัยการศึก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเช่น มาตรา 51 ก็ให้ทำได้

 

เหตุใดจึงไม่รวม 4 อำเภอของจ.สงขลาตามที่พล.ต.อ.ชิดชัยเสนอ

 

วิษณุ - ครม.ไม่เห็นชอบ เพราะไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องขยายไปถึงขั้นนั้น เลิกกฎอัยการศึกและใช้พ.ร.ก.เฉพาะ 3 จังหวัดภาคใต้

 

พล.ต.อ.ชิดชัย  -  4 อำเภอ เดิมเราคิดว่ามันเป็นเขตติดต่อ แต่ถ้าเปรียบเทียบยังไม่มีความรุนแรงเท่าสถานการณ์ใน 3 จังหวัด ประเด็นนี้เราก็เห็นด้วยกับครม.

 

เรื่องเนรเทศจะมีการใช้อย่างไร

 

วิษณุ  -  ใช้เฉพาะในบริเวณที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่จริงๆ กฎหมายไม่ได้ใช้คำว่าเนรเทศ เพราะมันต้องมีกระบวนการของการเนรเทศ แต่สั่งให้ผู้ที่ "ไม่มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร" แต่สัญชาติไทยสั่งออกไปนอกไม่ได้ ผิดรัฐธรรมนูญ

 

พล.ต.อ.ชิดชัย -  มันเป็นการคิดเผื่อไว้ เชื่อว่าคงไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของคน แต่จริงๆ แล้วถึงไม่มีข้อนี้ ตม.ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว แล้วมาตรการนี้ก็จะอุดช่องว่างที่ยกเลิกกฎอัยการศึก ไม่อย่างนั้นคนจะทะลักเข้ามาตามชายแดน และทหารจะทำหน้าที่ไม่ได้

 

ทางการมีมาตรการป้องกันหรือคุ้มครองผู้บริสุทธิ์อย่างไร

 

วิษณุ  -  โดยสรุปมีหลักประกันตามพ.ร.ก.นี้อยู่ 4 หลักประกันคือ เมื่อจะควบคุมตัวต้องขอศาล 2. ระหว่างนั้นไม่ให้ปฏิบัติต่อผู้ถูกควบคุมเสมือนหนึ่งเป็นผู้ต้องหา 3. ไม่ให้ควบคุมตัวไว้ในทัณฑสถาน ฉะนั้นสถานีที่อาจจะเป็นบ้าน วัด หรือศาสนสถาน อันสุดท้ายเพิ่งมีในกฎหมายนี้ และอาจต้องขยายต่อในกฎหมายอื่นด้วยคือ ในระหว่างนั้นต้องทำบัญชีรายชื่อ ประกาศสภาพ ถ่ายรูป วงศาคณาญาติต้องมาตรวจสอบเยี่ยมเยียนได้ ไม่ใช่ว่าถูกอุ้มหายไปไหน

 

หลักประกันนอกพ.ร.ก ก็อย่างคณะกรรมการตรวจสอบตามที่ท่านอานันท์เสนอ ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมาธิการ สื่อมวลชน

 

หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับมาตรการนี้ คิดอย่างไร

 

ต้องทำความเข้าใจ

 

จะมีการเปิดสภาวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเร็วหรือไม่

 

อยู่ระหว่างประสานเป็นการภายใน ยังไม่ถึงกับการยกระดับเป็นทางการว่าจะมีความเป็นไปได้เพียงใด เพราะการเปิดสมัยวิสามัญมันมีเงื่อนไขหลายอย่างที่ต้องคิด เช่น สมาชิกสภาอยู่กันไหมจะครบองค์ประชุมไหม และการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อเปิดประชุมสมัยวิสามัญนั้นจะต้องใช้เวลาเพียงใด เพราะหากประจวบใกล้กับเปิดสามัญอยู่แล้วก็ไม่มีประโยชน์อะไร

 

 

 

พล.ต.อ.ชิดชัย - โดยหลักการผมก็ยืนยันมาตลอดว่าเราจะใช้อำนาจตามพระราชกำหนดนี้น้อยที่สุด ให้กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพน้อยที่สุด แต่มุ่งหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการรักษาความสงบเรียบร้อยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ที่พูดกันไปท่านคงมีข้อมูลกันไม่ครบถ้วน บางทีก็อ่านยังไม่ละเอียด ตีความกันไปต่างๆ นานา วันนี้จึงมีการแถลงเป็นทางการให้เข้าใจชัดเจนตรงกัน

 

สาระสำคัญของพ.ร.ก. เป็นอย่างไร

 

วิษณุ - พ.ร.ก.ฉบับนี้ลงประกาศในพระราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 ก.ค. และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 ก.ค. เมื่อออกมาใช้บังคับก็ไปยกเลิกกฎหมายเก่าคือ พ.ร.บ.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ปี 2495 โดยเอาสาระสำคัญของพ.ร.บ.ปี 2495 บวกกับบางส่วนที่อยู่กับกฎหมายอื่นมารวมไว้ในที่เดียวกัน เรียกว่าเป็นการ "บูรณาการบทบัญญัติทางกฎหมาย"

 

ก่อนหน้านี้เคยให้เจ้าหน้าที่ไปบูรณาการเอง โดยสนธิกำลังจากทหาร ตำรวจ พลเรือน แต่บูรณาการอย่างนั้นไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจ ทำไปตามที่เห็นสมควร ผ่านไประยะหนึ่งเห็นว่าการทำเองตามมีตามเกิดมีปัญหา เพราะข้าราชการก็มาจากต่างหน่วย ต่างผู้บังคับบัญชา และกอดกฎหมายคนละฉบับ ซึ่งให้ใช้ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน

 

กฎหมายฉบับนี้โดยหลักแล้วคือให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่ก็ไม่ได้ประกาศโดยอำเภอใจ ต้องผ่าน 2-3 ด่าน

 

ด่านแรกคือ คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องเป็นคนแนะนำว่าควรประกาศหรือยัง และถ้าประกาศควรใช้มาตรการอะไรบ้าง เพราะมีตั้งแต่ "ไม้นวม" จนถึง "ไม้แข็ง" ซึ่งมีนักการเมืองอยู่คนเดียวคือพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกฯ ที่นายกฯ มอบหมาย นอกนั้นก็มีรัฐมนตรีมหาดไทย กลาโหม ยุติธรรม แล้วยังมีปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการเหล่าทัพ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นกรรมการและเลขานุการ

 

เมื่อคณะกรรมการฯ เสนอแนะแล้วยังจะต้องนำมาเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบจึงออกประกาศได้ อำนาจนายกฯ ก็คือการลงนามในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้นเอง  

 

ไม่ใช่ไปติดหนวดติดเขี้ยวอะไร อย่างที่หลายท่านเข้าใจ

 

อีกอย่างหนึ่งเมื่อนายกรัฐมนตรีได้สั่งการไปในฐานะฝ่ายการเมือง รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบต่อสภา สภาสามารถตั้งกระทู้ถาม ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินได้ ไม่เหมือนกับเมื่อครั้งที่ประการกฎอัยการศึก

 

การประการกฎอัยการศึก ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2457 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น ตามมาตรา 4 แค่ผู้บังคับการกองพัน ก็สามารถประกาศกฎอัยการศึกได้ในพื้นที่ของตัว ซึ่งเมื่อประกาศอย่างนั้นแล้วก็ยากจะดึงฝ่ายการเมืองลงไปรับผิดชอบ

 

พอประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ใด ให้มีระยะเวลาเพียง 3 เดือน ถ้าจะต่ออายุก็ได้ทีละ 3 เดือนเท่านั้น และคนจะต่อได้คือคณะรัฐมนตรี

 

ประกาศแล้วก็ไม่ใช่จะเกิดผลตามมาอะไรมากมาย อย่างที่คิดกันว่าติดเขี้ยว ติดหนวด กันน่ากลัว ประกาศไปอย่างนั้นเอง แต่ถ้าจะเอามาตรการอะไรมาใช้ ซึ่งมีอยู่ 6 มาตรการก็ต้องให้นายก รัฐมนตรีสั่งทีละมาตรการอีกครั้ง ถ้าไม่สั่งก็คือประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแช่เอาไว้อย่างนั้นเอง

 

เพราะว่ามันมีความหมายในแง่ป้องปราม ทำให้บางคนเข็ดหลาบหวาดกลัวไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เป็นผลทางจิตวิทยา

 

แต่ถ้าสถานการณ์ใดที่มีการก่อการร้ายมีการฆ่ามีการทำร้ายคน ก็แสดงว่าไม่ใช่สถานการณ์ฉุกเฉินธรรมดาแล้ว เป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง นายกรัฐมนตรีก็จะใช้มาตรการฉุกเฉินอีกมาตราหนึ่ง โดยประกาศให้สถานการณ์นั้นเป็นสถานการณ์ที่มีความร้ายแรงหนักขึ้นไปอีกได้ ซึ่งในต่างประเทศเขาเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีแดง เราไม่ได้ให้สีแต่กระโดดจากสถานการณ์ฉุกเฉินธรรมดา เป็นฉุกเฉินร้ายแรง

 

พอประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ก็จะมีการประกาศซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่าให้นำมาตรการใดมาใช้เพิ่ม  ซึ่งมีอยู่ตั้ง 10 มาตรการก็เลือกเอา

 

ขอเรียนว่า 6 มาตรการที่เป็นร้ายแรงธรรมดา กับ 10 มาตรการที่เป็นร้ายแรงอย่างยิ่ง รวมกันเป็น 16 มาตร การ ขอเรียนให้ทราบเพราะหลายคนไม่เข้าใจคิดว่าเหมือนมาตรา 17 สมัยจอมพลสฤษดิ์ ถ้าจะพูดอย่างนั้นต้องย้อนไปดูก่อนว่ามาตรา 17 เขียนอย่างไร เทียบกันได้หรือไม่

 

มาตรา 17 สมัยจอมพลสฤษดิ์นั้นให้นายกรัฐมนตรีสั่งแล้วมีผลทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ตามมาตรา 17 นั้นสั่งแก้กฎหมายที่รัฐสภาออกมาก็ยังได้ กลับคำพิพากษาศาลที่ศาลตัดสินออกมาก็ยังได้ เหมือนที่มีกรณีจับได้ว่ามีคนวางเพลิงตลาดพลู มาตรา 17 ให้อำนาจนากยกรัฐมนตรีในเวลานั้นไปสอบสวนเอง ได้ความว่าผิดก็ตัดสินเองโดยไม่ต้องนำตัวส่งศาล แล้วก็สั่งยิงเป้าเอง แล้วก็ลอยกระดูกลอยอังคารเองจบ นั่นคือมาตรา 17

 

16 มาตรการสำหรับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั้งธรรมดาและร้ายแรง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนข้อใดข้อหนึ่ง เช่น สั่งไม่ให้มีการขายหนังสือ ขายซีดีอะไรก็ตามแล้วฝ่าฝืนขาย ไม่สามารถทำอะไรได้เลย นอกจากจับตัวส่งตำรวจ ส่งอัยการแล้วฟ้องศาลทุกคดีไป แล้วศาลจะใช้อำนาจตามมาตรา 18 ในพ.ร.ก.นี้พิจารณาสืบพยาน ตรวจสอบว่าเข้าเงื่อนไขหรือไม่ ถ้าศาลเห็นว่าไม่มีปัญหาอะไรศาลก็ยกฟ้องได้

 

แม้แต่การดักฟังก็ไม่ใช่นึกจะดักก็ดัก ในมาตรา 11 ต้องปฏิบัติตามกฎหมายการสอบสวนคดีพิเศษ ที่ให้ยื่นเรื่องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา ที่กรุงเทพฯ แล้วอธิบดีเรียกมาไต่สวน ถ้าเห็นสมควรก็อนุญาต

 

พระราชกำหนดพอออกมาแล้วก็ไม่ใช่จะทำอะไรได้มากมายก่ายกอง มันมีอะไรต้องทำต่ออีกเยอะและบัดนี้ครม.ได้อนุมัติแล้ว

 

สิ่งที่ครม.อนุมัติ มีอะไรบ้าง

 

วิษณุ - สิ่งที่ครม.อนุมัติ 1.โดยเหตุที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ไปก่อนหน้าแล้ว เรื่องการประกาศกฎอัยการศึกนี่ก็แปลก เวลาจะประกาศผู้บังคับการกองพันก็ประกาศได้ แต่เวลายกเลิกต้องอาศัยพระบรมราชโองการเท่านั้น เป็นไปตามมาตรา 5

 

ครม.จึงมีมติตามข้อเสนอของพล.ต.อ.ชิดชัย และคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินว่าให้ออกประกาศพระบรมราชโองการยกเลิกกฎอัยการศึกใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วันนี้คงจะทำเสร็จและถวายในวันนี้แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อใด

 

2. โดยเหตุที่ตามพ.ร.ก.ต้องแต่งตั้งรองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งในคณะกรรมการ มีรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) อัยการสูงสุด

 

คณะรัฐมนตรีมีมติตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ เป็นประธานกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

 

3. ครม.มีมติตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีว่ามอบอำนาจของนายกรัฐมนตรีให้กับรองนายกฯ ชิดชัย ในการที่จะสั่งการตามมาตรการต่างๆ ตามพ.ร.ก.ต่อไป ในส่วนที่เกี่ยวกับการเยียวยา ฟื้นฟู บูรณะ จ่ายเงินค่าชดเชย ช่วยเหลือให้ความเป็นธรรม มอบรองนายกฯ จาตุรนต์ ฉายแสง ถ้าในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายก็ให้รองนายกฯ วิษณุ เครืองาม ร่วมเป็นที่ปรึกษาด้วยอีกคนหนึ่ง

 

4. ครม.เห็นชอบให้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมกันนั้นให้ประกาศให้ 3 จังหวัดเป็นดินแดนที่มีการประกาศสถานการณ์ที่มีความร้ายแรง เพราะเราถอนเอากฎอัยการศึกษาออกไปหมดทุกอำเภอแล้ว จึงต้องเข้าไปแทนที่ด้วยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ซึ่งจะมีอายุไป 3 เดือน

 

พร้อมกันนั้นมีมติที่สำคัญว่า ไม่ได้ให้นำมาตรการทั้ง 16 มาตรการไปใช้ เรื่องการห้ามเผยแพร่อะไรก็ยังไม่ได้ห้าม แม้ครม.จะมีความรู้สึกก็ตามว่าเรื่องของสื่อมวลชนไม่ได้คิดจะเข้าไปทำอะไร แต่ในส่วนของซีดีหรือวีดีโอเทปตัดคอในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะในอิรัก มีการนำมาเผยแพร่โดยมีการตัดต่อปนกับเหตุการณ์กรือเซะ ตากใบ ซึ่งคนที่ดูแล้วอาจจะแยกไม่ออกว่าเกิดขึ้นที่ใด แต่ขณะนี้ก็คิดว่ายังอยู่ในวิสัยที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะควบคุมได้ จึงไม่ประกาศมาตรการข้อนี้

 

ทั้งหมดนี้ต้องมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา หลังจากแถลงข่าวก็ต้องประชุมกับกฤษฎีกาและฝ่ายความมั่นคงทำประกาศ แล้วให้นายกฯ ลงนาม

 

มาตรการที่ครม.อนุมัติ

 

วิษณุ - มาตราการที่สั่ง มีดังนี้ 1. การควบคุมตัวบุคคลที่สามารถควบคุมตัวไว้ได้ 7 วันรวมแล้วไม่เกิน 30 วัน รวมทั้งการค้น การยึดการอายัดของบางอย่าง และการควบคุมการมีไว้ในครอบครองหรือการใช้ซึ่งวัสดุเคมีภัณฑ์ เพราะฝ่ายความมั่นคงเพิ่งรายงานเมื่อเช้านี้ว่า เคมีภัณฑ์บางอย่างต้องมีการควบคุม รวมถึงซิมการ์ดด้วย

 

ลงในละเอียดก็คือ ในมาตรา 9 กรณีที่มีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินธรรมดา

 

(1) ห้ามมิให้บุคคลใดออกนอกเคหสถานภายในระยะเวลาที่กำหนด....    ไม่นำมาใช้

 

(2) ห้ามมิให้มีการชุมนุมหรือมั่วสุมกัน ณ ที่ใดๆ หรือกระทำการใดอันเป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย....   ไม่นำมาใช้

 

(3) ห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือทำให้แพร่หลายซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ....ไม่นำมาใช้

 

(4) ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ หรือกำหนดเงื่อนไขการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ  .....  ไม่นำมาใช้

 

(5) ห้ามการใช้อาคาร หรือเข้าไปหรืออยู่ในสถานที่ใดๆ  ......   ไม่นำมาใช้

 

(6) ให้อพยพประชาชนออกจากพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยของประชาชน   .....   ไม่นำมาใช้

 

ในส่วนของมาตรา 11 ที่เป็นมาตรการที่ใช้ในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง

 

(1) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน.....     ครม.ให้นำมาใช้

 

(2) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หรือมาให้ถ้อยคำหรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์ฉุกเฉิน  ....   ให้นำมาใช้

 

(3)ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัดอาวุธ สินค้า เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอื่นใด ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้หรือจะใช้สิ่งนั้นเพื่อการกระทำหรือสนับสนุนการกระทำให้เกิดเหตุสถานการณ์ฉุกเฉิน   ....   ให้นำมาใช้

 

(4) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งค้น รื้อ ถอน หรือทำลายซึ่งอาคาร สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งกีดขวาง ตามความจำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อระงับเหตุการณ์ร้ายแรง....   ครม.อนุมัติให้นำมาใช้เฉพาะการค้นเท่านั้น

 

(5) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งตรวจสอบจดหมาย หนังสือ สิ่งพิมพ์ โทรเลข โทรศัพท์ หรือการสื่อสารด้วยวิธีการอื่นใด ตลอดจนการสั่งระงับหรือยับยั้งการติดต่อหรือการสื่อสารใด เพื่อป้องกันหรือระงับเหตุการณ์ร้ายแรง.....  ไม่นำมาใช้

 

(6) ประกาศห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เท่าที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยของประชาชน   ......    ไม่นำมาใช้

 

(7) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ใดออกไปนอกราชอาณาจักร เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าการออกไปนอกราชอาณาจักรจะเป็นการกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความปลอดภัยของประเทศ ......  ไม่นำมาใช้

 

(8) ประกาศให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งการให้คนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักร ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าเป็นการสนับสนุนการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน.....   อนุมัติให้นำมาใช้

 

(9) ห้ามให้การซื้อ ขาย ใช้ หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธ สินค้า เวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ หรือวัสดุอุปกรณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งอาจใช้ในการก่อความไม่สงบหรือการก่อการร้าย.......    อนุมัติให้นำมาใช้

 

(10) ออกคำสั่งให้ใช้กำลังทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจระงับเหตุการณ์ร้ายแรง ตามเงื่อนไขเงื่อนเวลาที่นายกรัฐมนตรีกำหนด และไม่เกินกว่ากรณีที่มีการใช้กฎอัยการศึก  .....   อนุมัติให้นำมาใช้

 

 

ในส่วนของมาตรการที่ครม.ประกาศเพิ่มเติมนอกเหนือจากพ.ร.ก.

 

1. เมื่อมีการบูรณาการกฎหมายเป็นของใหม่ ครม.เห็นว่าสมควรที่กอ.สสส.จชต.ควรจะมีการอบรม ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้รู้ว่าพ.ร.ก.นี้ไม่ได้ให้อำนาจอะไรมากมาย อย่าทำอะไรที่ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของประชาชนเกินกว่าเหตุ ถ้าจำเป็นอาจต้องพิมพ์เป็นคู่มือแจกเจ้าหน้าที่ด้วย

 

2. สิทธิประโยชน์ที่ข้าราชการในพื้นที่เคยได้เมื่อมีการประกาศกฎอัยการศึกให้คงไว้ต่อไป

 

3. เมื่อคืนนี้ท่านอานันท์ มาพบนายกฯ และเสนอแนะว่า หากมีการล้วงล้ำสิทธิเสรีภาพประชาชน ประชาชนควรมีช่องทางที่จะร้องเรียน ควรตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นมาสักชุดเพื่อคุ้มครอง ตรวจสอบการร้องเรียน ซึ่งนายกฯ ได้เสนอครม.ให้เห็นชอบในหลักการตั้งคณะกรรมการดังกล่าว โดยที่ไม่จำเป็นต้องมาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

และอาจเรียกได้ว่าเป็นคณะกรรมการของฝ่ายบริหารที่จะมารับลูกต่อจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติในการสอบสวนเรื่องต่างๆ ที่กรรมการสิทธิฯ ส่งมา  เพราะที่ผ่านมาเมื่อกรรมาการสิทธิฯ ส่งเรื่องร้องเรียนใดมา ก็ขาดกลไกในการดำเนินการต่อ ขณะนี้ตัวบุคคลอยู่ระหว่างการทาบทามตัวบุคคล

 

4. ครม.เห็นชอบให้ออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรีลงนามแล้ว ให้มีการตั้ง กองทุนสมานฉันท์ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์ และนายกฯ อานันท์เป็นประธานกองทุน ซึ่งจะรับบริจาคจากภายนอก ไม่ใช่งบประมาณแผ่นดิน เพื่อช่วยเหลือทั้งฝ่ายรัฐและประชาชนที่ประสบภัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

มีเหตุผลอย่างไร ที่พิจารณาถึงขั้นเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง

 

พล.ต.อ.ชิดชัย  -  จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาก็มีการประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่องในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเหตุระเบิด การซุ่มยิงเจ้าหน้าที่ การยิงราษฎร ครู การวางเพลิง การก่อกวนต่างๆ รวมทั้งสถานการณ์หลังสุดที่ยะลา ทำให้มองเห็นว่าหากให้สถานการณ์อยู่ต่อไปอย่างนี้แล้วจะยากต่อการควบคุมจำเป็นต้องมีมาตรการพิเศษออกมา ซึ่งก็เรียนว่าเราจะเลือกใช้แต่น้อยที่สุดในพื้นที่ที่จำเป็นเท่านั้น

 

มันไม่ได้รุนแรงทุกหมู่บ้าน แต่ขณะเดียวกันพื้นที่ที่บอกว่าไม่มีแกนอยู่ บุคคลเหล่านั้นก็สามารถมาดำเนินการในพื้นที่ที่มีเหตุการณ์เบาบางได้ จึงจำเป็นต้องประกาศทุกหมู่บ้านใน 3 จังหวัด

 

และผอ.กอ.สสส.จชต. จะมีอำนาจดำเนินการในพื้นที่

 

หากต้องการประกาศมาตรการเพิ่มเติมจากนี้มีกระบวนการอย่างไร

 

วิษณุ  -  ก็ไม่มีอะไร ก็กลับมาใช้กระบวนการอย่างวันนี้

 

เรื่องมาตรา 17 ที่เจ้าพนักงานไม่ต้องมีความรับผิดชอบทางแพ่งและทางอาญา เมื่อวานมีการประชุมที่กระทรวงการต่างประเทศ และนักการทูตได้แสดงความกังวลว่ามาตรานี้จะเป็นการให้สิทธิพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ที่จะใช้ความรุนแรงโดยไม่ต้องรับผิดชอบ

 

วิษณุ  -  เรื่องนี้น่าจะรัดกุมพอ เพราะสุดท้ายก็ต้องไปที่ศาล สมมติว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทำอะไรที่เรารู้นึกว่าผิด แม้ว่าถึงสุดท้ายปลายทางเขาอาจจะรอดตามมาตรา 17 แต่ตอนต้นเราไม่รู้หรอกว่าเข้ามาตรา 17 ไหม แต่เมื่อเห็นเขายิงคน เราก็ควรจะฟ้องเขา ฟ้องเขาเลยไม่ต้องสนใจมาตรา 17 เขามีหน้าที่ยกข้อต่อสู้ในศาลว่า 1. ไม่ควรต้องรับผิดเพราะปฏิบัติหน้าที่ในการระงับการกระทำผิดกฎหมาย

 

ศาลก็ต้องตรวจสอบว่าจริงไหม ถ้ากินเหล้าในตำรวจไปกินเหล้าในตลาดเมาแล้วชักปืนยิงคน แล้วหาว่าปฏิบัติหน้าที่ มันไม่จริงก็ไม่เข้าเงื่อนไขทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แต่ถ้าระหว่างนอนอยู่ในกองร้อย มีผู้ก่อการร้ายบุกเข้ามาปล้นปืนเลยมีการยิงต่อสู้กันจนคนตาย เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่

 

ข้อทดสอบของศาลก็จะมีต่อไปว่า เป็นการกระทำที่สุจริตไหม เลือกปฏิบัติไหม และไม่เกินสมควรแก่เหตุไหม ถ้าศาลบอกไม่สุจริต หรือเลือกปฏิบัติก็ผิดอยู่ดี ศาลต้องพอใจในเงื่อนไขทั้งหมด มากกว่าประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 การป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีข้อทดสอบข้อเดียวว่าสมควรแก่เหตุหรือไม่

 

อันนี้พูดก็พูดว่าคือสิ่งที่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติเขาเรียกร้องมานานแล้ว เราคุ้มครองใครต่อใครมากและเราไม่ได้คุ้มครองการกระทำของเจ้าหน้าที่เลย

 

แต่ต่อให้คนตายเป็นฝ่ายผิด ก็ควรมีการชดเชยเยียวยา ก็เขียนลงไปด้วยว่าไม่ตัดสิทธิ์ที่จะเรียกเอาค่าเสียหายจากราชการ

 

เรื่องการห้ามเสนอข่าว จำหน่ายสิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดอันอาจทำให้ประชาชนหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉินจนกระทบความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  อันนี้ใครจะเป็นคนนิยาม นายกรัฐมนตรีคนเดียวหรือไม่

 

วิษณุ  -  เริ่มต้นตอนที่จะใช้ฝ่ายบริหารใช้ก่อน ก็ต้องนิยามก่อน แต่การนิยามนั้นไม่สิ้นสุดยุติ พอถึงเวลาเข้ามันก็จะไปศาล แล้วศาลจะนิยามซ้ำ และการนิยามของศาลเป็นขั้นสุดท้าย ถ้ามีผู้ฝ่าฝืนก็ต้องจับเพราะฝ่าฝืนข้อห้ามที่นายกรัฐมนตรีห้าม ส่งอัยการ ถ้าอัยการสั่งไม่ฟ้องก็จบ แต่ถ้าฟ้องก็ต้องฟ้องศาลในท้องที่เกิดเหตุ ซึ่งก็ต้องมีการไต่สวนกัน หรือถ้าศาลสงสัยว่ามาตรา 9 (3) น่าจะขัดรัฐธรรมนูญ ก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความต่อไปได้

 

อันนี้หมายถึงสามารถปิดหนังสือพิมพ์ หรือปิดการเผยแพร่ทางวิทยุโทรทัศน์

 

วิษณุ  -  ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 39 การสั่งปิดหนังสือพิมพ์ทำไม่ได้และไม่มีข้อยกเว้น

 

 

ในประกาศที่ครม.ออกมีเรื่องการตักเตือนสื่อตามที่รองนายกฯ ชิดชัยให้สัมภาษณ์หรือไม่

 

วิษณุ  -  ไม่มี แต่เรามีพ.ร.บ.การพิมพ์ของเราอยู่ ซึ่งเตือนได้ตั้งแต่แม่สะเรียงถึงเจ๊ะห์เหอยู่แล้ว

 

พ.ร.บ.กฎอัยการศึก พ.ศ. 2453 จะยังอยู่ และแก้ไขอะไรหรือไม่

 

วิษณุ - ยังอยู่ และในพื้นที่อื่นใน 20 จังหวัดที่มีการประกาศกฎอัยการศึกยังมีอยู่ ส่วนความคิดที่จะแก้ไขต้องมอบให้ฝ่ายทหารแยกออกมาดำเนินการต่างหาก

 

ทหารยังมีอำนาจประกาศกฎอัยการศึก

 

แน่นอน การประกาศกฎอัยการศึก รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเช่น มาตรา 51 ก็ให้ทำได้

 

เหตุใดจึงไม่รวม 4 อำเภอของจ.สงขลาตามที่พล.ต.อ.ชิดชัยเสนอ

 

วิษณุ - ครม.ไม่เห็นชอบ เพราะไม่เห็นความจำเป็นว่าต้องขยายไปถึงขั้นนั้น เลิกกฎอัยการศึกและใช้พ.ร.ก.เฉพาะ 3 จังหวัดภาคใต้

 

พล.ต.อ.ชิดชัย  -  4 อำเภอ เดิมเราคิดว่ามันเป็นเขตติดต่อ แต่ถ้าเปรียบเทียบยังไม่มีความรุนแรงเท่าสถานการณ์ใน 3 จังหวัด ประเด็นนี้เราก็เห็นด้วยกับครม.

 

เรื่องเนรเทศจะมีการใช้อย่างไร

 

วิษณุ  -  ใช้เฉพาะในบริเวณที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่จริงๆ กฎหมายไม่ได้ใช้คำว่าเนรเทศ เพราะมันต้องมีกระบวนการของการเนรเทศ แต่สั่งให้ผู้ที่ "ไม่มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร" แต่สัญชาติไทยสั่งออกไปนอกไม่ได้ ผิดรัฐธรรมนูญ

 

พล.ต.อ.ชิดชัย -  มันเป็นการคิดเผื่อไว้ เชื่อว่าคงไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของคน แต่จริงๆ แล้วถึงไม่มีข้อนี้ ตม.ก็สามารถทำได้อยู่แล้ว แล้วมาตรการนี้ก็จะอุดช่องว่างที่ยกเลิกกฎอัยการศึก ไม่อย่างนั้นคนจะทะลักเข้ามาตามชายแดน และทหารจะทำหน้าที่ไม่ได้

 

ทางการมีมาตรการป้องกันหรือคุ้มครองผู้บริสุทธิ์อย่างไร

 

วิษณุ  -  โดยสรุปมีหลักประกันตามพ.ร.ก.นี้อยู่ 4 หลักประกันคือ เมื่อจะควบคุมตัวต้องขอศาล 2. ระหว่างนั้นไม่ให้ปฏิบัติต่อผู้ถูกควบคุมเสมือนหนึ่งเป็นผู้ต้องหา 3. ไม่ให้ควบคุมตัวไว้ในทัณฑสถาน ฉะนั้นสถานีที่อาจจะเป็นบ้าน วัด หรือศาสนสถาน อันสุดท้ายเพิ่งมีในกฎหมายนี้ และอาจต้องขยายต่อในกฎหมายอื่นด้วยคือ ในระหว่างนั้นต้องทำบัญชีรายชื่อ ประกาศสภาพ ถ่ายรูป วงศาคณาญาติต้องมาตรวจสอบเยี่ยมเยียนได้ ไม่ใช่ว่าถูกอุ้มหายไปไหน

 

หลักประกันนอกพ.ร.ก ก็อย่างคณะกรรมการตรวจสอบตามที่ท่านอานันท์เสนอ ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมาธิการ สื่อมวลชน

 

หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยกับมาตรการนี้ คิดอย่างไร

 

ต้องทำความเข้าใจ

 

จะมีการเปิดสภาวิสามัญเพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเร็วหรือไม่

 

อยู่ระหว่างประสานเป็นการภายใน ยังไม่ถึงกับการยกระดับเป็นทางการว่าจะมีความเป็นไปได้เพียงใด เพราะการเปิดสมัยวิสามัญมันมีเงื่อนไขหลายอย่างที่ต้องคิด เช่น สมาชิกสภาอยู่กันไหมจะครบองค์ประชุมไหม และการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อเปิดประชุมสมัยวิสามัญนั้นจะต้องใช้เวลาเพียงใด เพราะหากประจวบใกล้กับเปิดสามัญอยู่แล้วก็ไม่มีประโยชน์อะไร

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท