Skip to main content
sharethis

ประชาไท—19 ก.ค. 48 นายอัษฎา ชัยนาม อดีตทูตไทยประจำสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ และที่ปรึกษาสภาเพื่อมนุษยชนและการพัฒนาแห่งเอเชีย (ฟอรั่ม เอเชีย) แนะนำให้ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติขิงพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฟ้องร้องต่อองค์การสหประชาชาติ เนื่องจากมาสามารถพึ่งพาระบบยุติธรรมในประเทศได้


 


อดีตทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกากล่าวว่า ถึงวันนี้รัฐบาลได้เดินทางมาไกลจากเรื่องการก่อร้ายที่ระยะแรกประกาศตัวเป็นกลาง จนกระทั่งบัดนี้มีกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้น


 


ทั้งนี้ นายอัษฎากล่าวว่า ในทางระหว่างประเทศแล้ว ดูเหมือนไทยทำให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น และการตราพระราชกำหนดฉบับนี้ก็เป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ไทยได้ลงนามไปแทบทั้งสิ้น


 


นายอัษฎากล่าวดักคอว่า หากพูดไปเช่นนี้ ตนก็คงถูกกล่าวหาว่าไม่รักชาติหรือเป็นพวกประชาธิปัตย์อีก


 


"คนเราก็รักชาติกันทุกคน แต่ถ้าพึ่งพารัฐบาลของตนเองไม่ได้ ก็ต้องหันไปพึ่งที่อื่น" นายอัษฎากล่าว


 


นายธนบูย์ จิรานุวัฒน์ อดีตอัยการกองคดีอาญา และอาจารย์พิเศษสาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า แม้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน 2548 จะบัญญัติยกเว้นความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐในการละเดต่อสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน แต่ประชาชนก็ยังมีช่องที่ที่จะฟ้องร้องให้รัฐบาลไทยต้องรับผิดต่อองค์กรยุติธรรมระหว่างประเทศ ตามกฎหมายระหว่างประเทศได้ 4 ช่องทาง ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน องค์การสหประชาชาติ, ศาลสิทธิมนุษยชนยุโรป, ศาลอาชญากรระหว่างประเทศ และทุกศาลในประเทศสหรัฐอเมริกา


 


โดยนายธนบูลย์อธิบายว่า มีตัวอย่างหลายคดีที่ประชาชนในประเทศอื่นถูกรัฐบาลละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ศาลสหรัฐรับฟ้อง เนื่องจากเข้าองค์ประกอบกฎหมายของสหรัฐอเมริกา


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net