Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ประชาไท- แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่านมแม่นั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการใช้เลี้ยงทารก แต่บริษัทผลิตนมผงหลายแห่งในบังคลาเทศกลับใช้วิธีการขายที่ขาดจริยธรรมโดยใช้วิธีจูงใจหมอและพยาบาลให้แนะนำบรรดาแม่ๆทั้งหลายให้หันมาใช้นงผงแทนนมแม่


 


การกระทำที่ขาดจริยธรรมของบริษัทผลิตนมผงสำหรับเลี้ยงทารกนั้นกำลังท้าทายต่อพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยระเบียบการใช้นมผงทดแทนนมแม่ โดยในกฤษฎีการะบุว่า ห้ามเสนอของขวัญหรือรางวัลใดๆให้กับแพทย์ ในโรงพยาบาล คลินิก หรือ ศูนย์บริการทางการแพทย์อื่นเพื่อทำการส่งเสริมการขายนมผงสำหรับใช้เลี้ยงทารก เพื่อว่าแพทย์จะได้ออกใบสั่งให้แม่ทั้งหลายซื้อผลิตภัณฑ์จากนั้นๆเองมาเลี้ยงทารก


 


นอกจากนั้น ในกฤษฎีกาดังกล่าวก็ยังมีข้อบังคับเกี่ยวกับการโฆษณานมผงเลี้ยงทากรผ่านสื่อด้วย


 


ทว่า 8 บริษัทที่จำหน่ายนงผงสำหรับเลี้ยงทารกที่ดำเนินกิจการอยู่ในบังคลาเทศนั้นกลับหากลยุทธ์แข่งขันกันเพื่อเอาชนะใจ กุมารแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆ เพื่อให้ไปแนะนำให้แม่ๆทั้งหลายใช้ผลิตภัณฑ์จากบริษัทของตัวเองเพื่อเลี้ยงทารก


 


ตัวแทนจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และมูลนิธิเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของบังคลาเทศ (BBFF) เห็นว่า นโยบายการขายเชิกรุกที่บริษัทเหล่านี้ได้กระทำลงไปนั้นกำลังนำเด็กแรกเกิดไปเสี่ยงกับการติดเชื้อและสร้างความยุ่งยาก


 


องค์การอาหารและการเกษตร ( FAO) และ WHO เตือนว่า ผงแป้งที่ผลิตนมนั้นไม่ได้ฆ่าเชื้อมาสำเร็จรูปและบางทีอาจส่งผลให้เกิดโรคบางชนิด เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบในเด็ก


 


"หลังคลอดเด็ก เราพยายามที่จะบอกกับแม่ๆทั้งหลายให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่บ่อยครั้งที่พยาบาลได้ชี้นำแม่เหล่านี้ไปผิดๆโดยการโฆษณาชวนเชื่อใช้ให้นมผงสำหรับเป็นอาหารของเด็ก" ศ.อบิด โฮสเซ็น โมเลาะห์ หัวหน้าภาควิชากุมารเวช วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ ธากา พยาบาลกล่าว


 


"ถ้าแม่ได้เริ่มให้นมลูกด้วยนมผงครั้งหนึ่งแล้ว เธอก็จะต้องให้ต่อไปเรื่อยๆจนกว่านมจะหมดจากภาชนะที่ใส่จะว่าง และในขณะเดียวกันก็เป็นการให้ทั้งแม่และลูกติดนิสัยที่จะใช้นมผง" ศ. อบิดกล่าว


 


เขากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขวดนมที่มีหัวนมยางนั้นเด็กสามารถดูดได้ง่าย และเมื่อเด็กคุ้นเคยกับการดูดแบบนั้น เด็กก็ไม่ต้องการที่จะดูดนมแม่อีกเพราะว่าการดูดนมแม่นั้นต้องออกแรงมากกว่า"


 


บริษัทผลิตนมผงได้จ้างพนักงานฝ่ายขายไปประจำอยู่ตามโรงพยาบาลและคลินิกต่างๆเพื่อไปส่งเสริมการขาย ไปกระตุ้น หรือผลักดันให้พยาบาลและหมอให้แนะนำ ให้ใช้สิ่งทดแทนนมแม่ และในบางครั้งพวกพนักงานขายเหล่านั้นก็แนะนำตัวเองว่าเป็นหมอ และให้ออกใบสั่งยาให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทของตนเอง


 


ศ. อบิด ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สถานการณ์ในคลินิกเอกชนยิ่งแย่กันไปใหญ่ที่นั่นมีข่าวลือว่าพยาบาลจะได้รับของกำนัลเล็กๆน้อยๆ และถูกดึงดูดด้วยแผ่นปลิวแนะนำสินค้าที่มีข้อมูลเท็จอยู่จำนวนมาก


 


มีบางบริษัทที่ทำตามเงื่อนไขที่ว่าต้องมีข้อมูลสรรพคุณพิมพ์ไว้ที่ภาชนะบรรจุ แต่ได้พิมพ์เอาว่า "ผลิตภัณฑ์นมชนิดนี้ดีสำหรับอาการท้องร่วง" เป็นข้อกล่าวอ้างที่ขัดต่อกฤษฏีกาอย่างยิ่ง" เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิ BBFF กล่าว


 


ศ. อบิด กล่าวว่าหลังคลอด ทารกจะใช้เวลาดูดนมประมาณครึ่งชั่วโมง เด็กที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผงอาจจะมีโอกาสแพ้โปรตีนในนมวัว เนื่องจากมีโปรตีนแข็งอยู่นมซึ่งทำให้ทารกย่อยได้ยาก


 


นอกจากนั้นยังสร้างความยุ่งยากให้กับระบบการทำงานของกระเพาะและลำไส้ซึ่งจะทำให้ อาเจียน ท้องผูก หรือ ท้องเสียได้ โรคหอบหืดในเด็กก็อาจเกิดขึ้นได้หากเด็กไม่ได้รับนมแม่


 


แหล่งข่าวจากโรงพยาบาลศิชุยอมรับว่า ในกรณีที่มารดาของเด็กแรกเกิดป่วย หรือมีเหตุผลอื่นใดที่ไม่อาจให้นมลูกได้ เด็กก็จะถูกเลี้ยงด้วยนมผง แต่เขาก็แนะนำว่าให้ใช้นมของญาติเลี้ยงทารกแทนดีกว่า


-------------------------------------------


ที่มา: Banggladesh-web.com


http://www.bangladesh-web.com/news/view.php?hidDate=2005-08-04&hidType=BAE&hidRecord

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net