Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

ประชาไท- มลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ของจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นหนึ่งในตัวการใหญ่ที่ทำให้ผู้คนต้องล้มตายลงปีละหลายแสนคน


 


องค์การอนามัยโลก(WHO)รายงานว่า  ควันไฟที่ปกคลุมบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเดือนนี้นั้นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่มองเห็นได้ของปัญหาที่ใหญ่กว่านี้มากที่เป็นตัวการคร่าชีวิตผู้คนในภูมิภาคนี้ไปนับแสนคนต่อปี


 


"มลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ๆในจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ติดอันดับอยู่ในกลุ่มที่แย่ที่สุดในโลกและได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึงปีละ ประมาณ 500,000 คน" มิคาอิล คริซาโนวากิ ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพอากาศ แห่งศูนย์ยุโรปเพื่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ขององค์การอนามัยโลกที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมนีกล่าว


 


ควันไฟจากไฟไหม้ป่าในอินโดนีเซียจนเป็นเหตุให้ประเทศมาเลเซียต้องประกาศภาวะฉุกเฉินในสองพื้นที่ใกล้ๆกลับกรุงกัวลาลัมเปอร์ และประกาศปิดโรงเรียนและที่ทำงาน ประเทศไทยบางส่วนก็ถูกปกคลุมด้วยควันเช่นกัน


 


ภาวะฉุกเฉินในมาเลเซียยุติลงในสองสามวันต่อมาเมื่อฝนตกลงมาและได้ช่วยลดหมอกควันลง กระนั้นทางอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ว่า จะมีเมฆก้อนใหม่ที่จะเข้ามาปกคลุมบางส่วนของมาเลเซีย อีกครั้งและอาจรวมถึงสิงคโปร์ด้วยในสัปดาห์นี้


 


เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาเลเซียกล่าวว่า ทางโรงพยาบาลได้รายงานว่ามีผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องระบบทางเดินหายใจเพิ่มขึ้นถึง 150%  และมีคนที่เคยมีประวัติมีปัญหาระบบทางเดินหายใจเสียชีวิตไป 7 คน ในระหว่างที่มีหมอกควันเข้ามา แต่ว่ารัฐบาลก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่า สาเหตุการเสียชีวิตของคนทั้ง 7 นั้นมาจากควันในอากาศ


 


ควันเกิดขึ้นเนื่องจาก การเผาป่าในหน้าแล้งซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเพื่อจะเคลียพื้นที่บนเกาะสุมาตราซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทุกปี มีปัญหาเกิดขึ้นหนักที่สุดในปี 1997-98 เมื่อประเทศต่างๆในภูมิภาคต้องถูกปกคลุมอยู่ใต้ควันกันอย่างทั่วหน้าและก็ได้บ่นออกมาดังๆ


 


ไมเคิล เบราเออร์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริทิช โคลัมเบีย ผู้ศึกษาปัญหานี้กล่าวว่า การศึกษาจากในช่วงเวลาขณะนั้นพบว่า ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากควันส่วนใหญ่มีรายงานว่ามียอดผู้ป่วยนอกที่ต้องมาพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น และเหตุการณ์ครั้งนั้นมาเลเซียพบว่า มียอดผู้เสียชีวิตสูงสุดในวันที่มีควันหนาทึบที่สุด


 


รัฐบาลมาเลเซียและรัฐบาลประเทศอื่นๆในภูมิภาคต่างพยายามหาทางที่จะลดผลกระทบทางสุขภาพที่เกิดขึ้นจากควัน เนื่องจากเกรงว่าจะอาจจะเป็นผลเสียต่อการท่องเที่ยว


 


ในขณะนี้ไม่มีข้อมูลที่จะบอกถึงผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว อันเนื่องจากเหตุการณ์ไฟไหม้ป่า ปี 1997-98 ได้ แต่อาศัยข้อมูลทั่วๆไปเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศแล้ว เบราเออร์บอกว่า ในคนบางคนอาจจะต้องเตรียมการเพื่อรองรับปัญหาสุขภาพที่อาจจะขยายออกมากขึ้นได้


 


"เมื่อระดับหมอกควันเพิ่มขึ้นเราก็เห็นว่าตัวเลขการตายของคนที่เกิดจากโรคทางเดินหายใจและโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นด้วย และคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษทางอากาศมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่อาศัยอยู่ที่ที่มีมลพิษน้อยกว่า" เบราเออร์กล่าว


 


คริซาโนวาสกี แห่ง WHO  กล่าวว่า อนุภาคเล็กๆ รวมทั้งสิ่งอื่นๆที่ไฟปล่อยออกมา เป็นตัวการหลักที่ก่อให้เกิดปัญหาโรคทางเดินการใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ผู้สูงอายุ และ ผู้คนที่กำลังป่วยอยู่ เขากล่าวว่า มีการรายงานการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นในช่วงที่มีหมอกควันปรากฏอยู่ แต่ว่ามลพิษที่เจออยู่ทุกวันก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญมากขึ้น


 


" แม้ว่าในช่วงที่เกิดควันจากไปไหม้ป่านั้นมันจะรุนแรงและมองเห็นได้  แต่ว่า ควันแบบนั้นก็สามารถควบคุมได้ ส่วนมลพิษอันเกิดจากการจราจร อุตสาหกรรม และการเผาไม้ ถ่านหิน และวัสดุแข็งๆต่างๆอย่างผิดกฎหมาย นั้นก่อให้เกิดมลพิษอยู่ในระดับสูงอย่างถาวร" คริซาโนวสกี กล่าว


 


คนที่เป็นโรคหอบหืดมีแนวโน้มที่จะได้ถูกทำร้ายได้มากขึ้นในวันที่มลพิษมากขึ้นและอากาศสกปรกสามารถทำให้เกิดติดเชื้อในโรคระบบทางเดินหายใจได้อย่างเฉียบพลัน  ซึ่งสิ่งนี้เป็นตัวการใหญ่ในการคร่าชีวิตเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศกำลังพัฒนา คริซาโนวาสกี กล่าวด้วยว่า คนที่มีปัญหาเรื่องหลอดเลือดหัวใจนั้นจะมีความเสี่ยงสูงขึ้นเพราะว่ามลพิษสามารถจะไปทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตหยุดชะงักลง


 


รายงานจากสถาบันผลกระทบทางสุขภาพจากสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า มลพิษภายในบ้านก็เป็นปัญหาใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้ ประชากร ร้อยละ 60-80จากครอบครัวทั้งหมด ครอบครัว ใช้เชื้อเพลิงอย่างเช่น ไม้ หรือ ถ่านในการปรุงอาหารหรือให้ความร้อน


 


ขณะนี้ประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังทำงานเพื่อแก้ปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นกันอยู่ และในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ได้มีการประกาศตั้งผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาช่วยกันสู้กับไฟป่าแล้ว


 


เดเนียล มูรดียาร์โซ แห่งศูนย์เพื่อการวิจัยป่าไม้นานาชาติในอินโดนีเซีย กล่าวว่า ควันไฟดับได้ยากเพราะว่ามีการใช้ไฟและมีการใช้ไฟเผาเพื่อการจัดการที่ดิน คนก็ทำงานกันหนักมากแต่มันก็ไม่ค่อยจะได้ผลเลย"


 


ด้านคริซาโนวาสกี กล่าวว่า วิกฤตหมอกควันในทศวรรษที่ 1950 ในลอนดอนนั้นได้คร่าชีวิตผู้คนไปถึง 4,000 คน และ ได้มีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อย่างทันทีทันใดให้ปฎิบัติตามยุทธศาสตร์เรื่องมลพิษในระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาในทุกแง่มุม  


 


" ในเรื่องมลพิษทางอากาศนั้นจะต้องมองไปถึงความเป็นไปได้ของผลร้ายที่จะเกิดขึ้น และ สิ่งที่เป็นส่วนที่เป็นที่เหลือจากการพัฒนา  เราอาจจะต้องเรียนรู้บทเรียนเหล่านั้นจากสิ่งที่เกิดขึ้นในยุโรปเมื่อหลายปีก่อนหน้านี้"


 


------------------------------------------------------


ที่มา : AP


http://www.theglobeandmail.com/servlet/story/RTGAM.20050819.wair0819/BNStory/International/


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net