สวีเดนหนุนเชียงใหม่จัดการน้ำเสีย เทศบาลเพิ่มความสามารถระบบบำบัด เตรียมจัดเก็บ "ภาษีสิ่งแวดล้อม"

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

 

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการจัดการน้ำเสียในประเทศไทย  เป็นโครงการความช่วยเหลือทาง
การเงินจากรัฐบาลสวีเดน
  ผ่านทาง  Swedish  International  Development  Cooperation  Agency 
(SIDA)  เพื่อสนับสนุนโครงการเพิ่มความสามารถในการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืนสำหรับเทศบาล
และชุมชนขนาดเล็กริมแม่น้ำในประเทศไทย
  ซึ่งดำเนินการโดยกรมควบคุมมลพิษ 
ร่วมกับเทศบาลนครเชียงใหม่ 

ทั้งนี้ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่  ดำเนินการโดยสำนักการช่าง  เทศบาลนครเชียงใหม่  โดยรัฐบาลสวีเดน
สนับสนุนงบประมาณดำเนินการทั้ง 2 โครงการ  รวมทั้งสิ้น 9.7 ล้านโคลน์สวีเดน  (53 ล้านบาท) 
ประกอบด้วยโครงการของกรมควบคุมมลพิษจำนวน 3.3 ล้านโคลน์สวีเดน  (18 ล้านบาท) 
และโครงการของเทศบาลนครเชียงใหม่ 6.4 ล้านโคลน์สวีเดน  (35 ล้านบาท)  โดยมีบริษัท 
Carl  Bro  Internation
al  AB  ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคนิคจากสวีเดน

นายอดิศักดิ์  ทองไข่มุกต์  รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ  เปิดเผยว่า  ปัญหาหลักของการบำบัดน้ำเสียคือ
การขาดบุคลากรผู้ชำนาญการ
  ที่ผ่านมาระบบบำบัดน้ำเสียบางแห่งมีการลงทุนหลายล้านบาท 
แต่ขาดบุคลากร  ทำให้การบำบัดเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ 

ปัญหาอีกประการหนึ่งสำหรับน้ำเสียคือการขยายตัวของชุมชน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนริมน้ำ  
ซึ่งหลายแห่งมีการระบายน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง  รวมทั้งมีการทิ้งขยะลงสู่แหล่งน้ำด้วย 
อีกประการหนึ่งได้แก่เงินทุนสำหรับการเดินระบบ  ซึ่งรัฐบาลกลางมีนโยบายให้มีการ
จัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย
  ซึ่งตอนนี้ควรได้เวลาแล้วที่ผู้ใช้น้ำทุกคนต้องตระหนักว่าตนเอง
มีส่วนต่อการทำให้เกิดน้ำเสีย
 
และต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการบำบัดน้ำเสียด้วย




โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางแผนการปรับปรุง  ฟื้นฟู  เดินระบบและบำรุง
รักษาระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนของเทศบาลให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน  ตามที่ได้ออกแบบก่อสร้างไว้
รวมถึงจัดทำแผนและระบบการจัดเก็บค่าบริการบำบัดน้ำเสีย  และแนวทางการนำน้ำที่ผ่านการบำบัด
แล้วมาใช้ประโยชน์
  จัดทำรูปแบบการจัดการน้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับชุมชนขนาดเล็กริมแม่น้ำ
ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างความพร้อมให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในการบริหารงาน
ระบบบำบัดน้ำเสีย
  พร้อมทั้งรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างจิตสำนึกและความร่วมมือจากประชาชน 
ให้มีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสีย  และมีความยินดีในการจ่ายค่าบริการบำบัดน้ำเสีย

นายวิชัย  คุณารัชตสกุล  ผู้อำนวยการสำนักการช่าง  เทศบาลนครเชียงใหม่  กล่าวว่า  
ปัจจุบันเกิดปัญหาคุณภาพในแหล่งน้ำธรรมชาติเสื่อมโทรมลงอย่างมาก  การจัดการด้านน้ำเสียยังคงอยู่
ในขั้นตอนของการพัฒนาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  ตั้งแต่ปี 2544  รัฐบาลสวีเดนได้มีนโยบาย
สนับสนุนประเทศไทยในการดำเนินโครงการจัดการน้ำเสีย
  ผ่านทางหน่วยงานผู้ให้การสนับสนุน
ด้านการเงินอย่าง
  SIDA  โดยการสนับสนุนดังกล่าวอยู่ในรูปของ  Concessionary  Credit 
เป็นจำนวนเงิน 200 ล้านโคลน์สวีเดน 

สำหรับเป็นเงินกู้ก่อสร้างโครงการ  และเป็นเงินอุดหนุนให้เปล่าสำหรับความช่วยเหลือด้านเทคนิคต่อ
โครงการจัดการน้ำเสียของจังหวัดเชียงใหม่อีก
9.7 ล้านโคลน์สวีเดน  ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีการใช้เงิน
Concessionary  Credit  และการดำเนินโครงการจัดการน้ำเสียของจังหวัดเชียงใหม่ 
ได้มีการเริ่มดำเนินการไปแล้วบางส่วนด้วยเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไทย  และต่อมาทาง  SIDA 
ได้ให้การสนับสนุนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการจัดการน้ำเสียในประเทศไทย 
ซึ่งประกอบด้วยโครงการ 2 ส่วน  ได้แก่  โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำเสียฝนเทศบาล
นครเชียงใหม่
  และโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพสำหรับการจัดการน้ำเสียอย่างยั่งยืนในเขตเทศบาล
และชุมชนขนาดเล็กริมแม่น้ำในประเทศไทย

ทั้งนี้  เทศบาลนครเชียงใหม่  กรมควบคุมมลพิษ  และ  SIDA ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ
เมื่อวันที่
9  ธันวาคม  2546  หลังจากนั้น 1 ปี  ในวันที่ 8  ธันวาคม  2547  ได้มีการลงนาม
ในสัญญาระหว่างเทศบาลนครเชียงใหม่
  และบริษัทที่ปรึกษาสวีเดน
คือ  บริษัท  Carl  Bro  International  AB  และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1  กุมภาพันธ์  2548 
หลังได้รับความเห็นชอบจาก  SIDA  และเริ่มดำเนินงานในวันที่ 1  มีนาคม  2548 
โดยการสนับสนุนโครงการของทีมที่ปรึกษาสวีเดน  ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆที่เกี่ยวข้อง 
โปรแกรมการฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ  และการฝึกปฏิบัติการ  โดยทีมผู้เชี่ยวชาญสวีเดนจะ
ดำเนินงานในรูปของ
  "การเสริมสร้างความสามารถ"  ให้กับโครงการทั้งสอง 
นายออเก้  นีลสันส์ 
(Mr.Ake  Nilsons)  ผู้แทนจาก  SIDA  ในความรับผิดชอบของกระทรวงการต่างประเทศ  รัฐบาลสวีเดน 
กล่าวว่า  ในปัจจุบันรัฐบาลสวีเดนได้ให้การสนับสนุนมากกว่า 6,000 โครงการ  ใน 20 ประเทศทั่วโลก 
เป็นมูลค่ากว่า 22,000 ล้านโคลน์สวีเดน 
(ประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท) 

สำหรับการเข้ามาสนับสนุนโครงการ  จะใช้บุคลากรและบริษัทเอกชนจากสวีเดนเข้ามาร่วมดำเนินการ 
ในปัจจุบันผู้คนทั่วโลกจำนวนมากยังคงขาดสุขาภิบาลที่เหมาะสม  โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา 
การประชุมที่โยฮันเนสเบิร์กได้ลงมติให้สนับสนุนเพื่อช่วยเหลือด้านการสุขาภิบาลแก่ประเทศต่างๆ
ทั่วโลก
  ในส่วนของ  SIDA  ได้ให้การสนับสนุนด้านสุขาภิบาลเชิงนิเวศ  (Ecological  Sanitation) 

 

โดยที่ผ่านมาเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับตะกอนบำบัด  ซึ่งเป็นตะกอนจุลินทรีย์ที่สามารถนำกลับมา
ใช้ประโยชน์ได้
  และได้ให้การสนับสนุนเชิงองค์กรใน 2 ระดับ  ได้แก่  ระดับรัฐบาลในเชิงนโยบาย 
และระดับท้องถิ่นในเชิงระบบปฏิบัติการ  ซึ่งในส่วนของประเทศไทย  SIDA 
ได้ให้การสนับสนุนแก่กรมควบคุมมลพิษ  และเทศบาลนครเชียงใหม่  ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถ
ในการบริหารจัดการระบบ
 
การมีส่วนร่วม  และสนับสนุนการไปดูงานในต่างประเทศ

"ในประเทศสวีเดนเอง  เมืองหลวงอย่างกรุงสต๊อคโฮล์มซึ่งมีแม่น้ำและทะเลสาบหลายแห่งอยู่ในเมือง  
เมื่อหลายสิบปีก่อนนั้นเคยประสบปัยหาอย่างมากเนื่องจากการระบายน้ำเสียลงสูงแหล่งน้ำดังกล่าว 
และที่สามารถแก้ไขปัญหาจนสภาวะแวดล้อมสามารถกลับคืนเป็นปกติได้ต้องยกให้เป็นความดีความชอบ
ของประชาชนที่ยินดีสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการ
บำบัดสภาพแวดล้อม"
  นายออเก้  กล่าว.

 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท