เหตุผลที่รัฐบาลไทยต้องกีดกัน UNHCR : กรณี 131 คนไทยมุสลิมข้ามแดนไปมาเลย์-รายงาน

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ที่คนไทยจำนวนมากลี้ภัยการเมืองไปยังต่างประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เกิดกรณีคนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 131 คน อพยพข้ามแดนไปรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย โดยให้เหตุผลผ่านสำนักข่าวของมาเลเซียว่า "รู้สึกไม่ปลอดภัย"  ซึ่งนับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่คนไทยต้อง "หนี" ไปประเทศอื่นด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง

 

และจากนั้น ชื่อ UNHCR ก็เริ่มมีบทบาทและเป็นที่คุ้นหูขึ้น ในฐานะองค์กรที่เข้ามาตรวจสอบดูแลคนเหล่านั้น ซึ่งมีโอกาสได้รับสถานะ"ผู้ลี้ภัย" ในมาเลเซีย

 

เรื่องนี้ได้สร้างความกระอักกระอ่วนให้กับรัฐบาลไทยไม่น้อย กระทั่งนายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองนายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การลี้ภัย เป็นเพียงการทำผิดกฎหมายลักลอบเข้าเมืองเท่านั้น ซึ่งโดยปกติก็มีการไปๆ มาๆ ลักษณะนี้อยู่แล้ว ขณะที่พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ ก็ระบุชัดเจนว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องภายในประเทศที่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนพยายามยกระดับปัญหาเท่านั้น

 

ดังนั้น องค์กรระหว่างประเทศจึงไม่ควรเข้ามาแทรกแซง

 

การเข้ามาของ UNHCR กับสถานะ "ผู้ลี้ภัย" ของชาวไทยมุสลิมนั้นมีนัยสำคัญอะไร

 

สถานะ "ผู้ลี้ภัย" มีความสำคัญ เพราะผู้ลี้ภัยต่างกับผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างสำคัญ เอกสารเผยแพร่เรื่อง "การคุ้มครองผู้ลี้ภัย คำถามและคำตอบ" ของ UNHCR ระบุว่า หากได้รับการรับรองสถานะผู้ลี้ภัย รัฐบาลจะบังคับให้มีการส่งตัวกลับประเทศไม่ได้ จนกว่าสถานการณ์จะปลอดภัย และผู้ลี้ภัยต้องมีความสมัครใจเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ลี้ภัยยังได้รับสิทธิพลเมืองขั้นพื้นฐาน รวมถึงเสรีภาพในการคิด การเคลื่อนย้าย และมีสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมที่ปัจเจกพึงได้รับ ได้รับการดูแลทางการแพทย์ มีสิทธิที่จะทำงาน ขณะที่ผู้ลี้ภัยที่เป็นเด็กก็ต้องไม่ถูกตัดขาดจากการศึกษา

 

อาจารย์เจริญ คัมภีรภาพ นักกฎหมายระหว่างประเทศ อธิบายถึงการพิจารณาสถานะ "ผู้ลี้ภัย"ว่า ไม่ว่าประเทศไทยและมาเลเซียจะลงนามเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย พ.ศ.2494 หรือไม่ก็ตาม เมื่อชาวบ้านเดินทางเข้าไป แล้วแจ้งกับทางการมาเลเซียว่าเป็นการหนีภัยประหัตประหารไม่ว่าจากฝ่ายใด เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วไม่พบเป็นอย่างอื่นก็ถือว่ามีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยตามหลักเกณฑ์ระหว่างประเทศอยู่แล้ว และ UNHCR ก็สามารถเข้ามาตรวจสอบดูแลได้ โดยที่ประเทศมาเลเซียไม่สามารถยับยั้งสิทธิ์นั้น

 

สอดคล้องกับเจ้าหน้าที่ประจำ UNHCR ประเทศไทยซึ่งให้ข้อมูลว่า เรื่องดังกล่าวหากทาง UNHCR ประเทศมาเลเซียต้องการตรวจสอบและพิจารณาว่าเข้าข่ายการลี้ภัยหรือไม่ ก็สามารถทำได้เลยภายใต้การยินยอมของรัฐบาลประเทศมาเลเซีย

 

ทั้งนี้ หากประเมินให้เรื่องดังกล่าวเป็นการลี้ภัยและทางประเทศมาเลเซียอนุญาตให้ลี้ภัยได้ ทางรัฐบาลไทยอาจต้องยอมรับและทำตาม เนื่องจากไทยได้ลงนามไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน 1948 แล้ว ซึ่งในปฏิญญาดังกล่าว ข้อที่ 14 ได้ระบุไว้ว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะแสวงหาและพักพิงในประเทศอื่นๆ เพื่อลี้ภัยจากการกดขี่ข่มเหง

 

นอกจากนี้อาจารย์เจริญยังระบุว่า การทำงานของ UNHCR นั้นเป็นการทำงาน 2 ขา ขาหนึ่งจะทำงานในประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นสถานที่ที่มีการลี้ภัย เพื่อดูแลและประกันสิทธิของผู้ลี้ภัย ขณะที่อีกขาหนึ่งจะเกี่ยวโยงในการแก้ปัญหาระยะยาว โดยการเจรจาขอข้อมูลจากประเทศเพื่อจัดทำรายงาน ตลอดจนอาจมีข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหา

 

"ถ้ากระบวนการถึงขั้นนั้น ก็เป็นการตอกลิ่มรัฐบาล เพราะว่าภาพเสียมากอยู่แล้วในเรื่องนี้ มันจะกลายเป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ และเป็นเรื่องใหญ่ เพราะมีตัวแปรขององค์กรระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอีกในการแก้ปัญหา"

 

"เชื่อแน่ว่าเหตุการณ์ตรงนี้เกิดจากชุมชนนานาชาติไม่ไว้ใจรัฐบาลไทย โลกไม่เชื่อว่าการแก้ปัญหาภาคใต้จะนำไปสู่สันติสุขได้ เมื่อไม่เชื่อตรงนี้จึงนำไปสู่สิ่งที่ว่า ทำอย่างไรจะให้องค์กรด้านมนุษยธรรมของยูเอ็น

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท