โครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ โดย อบจ. นครสวรรค์

ประวัติความเป็นมา


พื้นที่บึงบอระเพ็ดในอดีต เป็นทะเลน้ำจืดขนาดใหญ่อุดมสมบรูณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนาๆ ชนิด นอกจากพันธุ์ปลาแล้ว ยังมีจระเข้ชุกชุม จนขนาดผู้คนที่นั่งรถไฟผ่านบึงบอระเพ็ดยังมองเห็นจระเข้ นอนอยู่ในน้ำและบ้างก็นอนผึ่งแดดตามชายฝั่ง  

 

เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำก็ไหลลงสู่แม่น้ำน่านกลายเป็นที่ราบลุ่มธรรมดา เมื่อถึงฤดูน้ำหลากอีกครั้งก็กลายเป็นทะเลน้ำจืดวนเวียนกันเช่นนี้เรื่อยมาในปี 2464 รัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ว่าจ้าง DR.H.Simit เป็นที่ปรึกษาด้านการประมง สำรวจระบบนิเวศวิทยา พบว่าบึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่สุด โดยเป็นแหล่งพันธุ์ปลาและความหลากหลายทางพันธุกรรมของสัตว์น้ำของประเทศไทย จึงได้แนะนำให้สงวนไว้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ รวมทั้งให้รักษาระดับน้ำไว้ตลอดปี

 

ต่อมาในปี พ.ศ.2469 จึงมีพระราชหัตถเลขาของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้จัดสร้างทำนบประตูกั้นน้ำ และจัดสร้างที่ทำการรักษาพันธ์สัตว์น้ำในปี พ.ศ.2471 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้ประกาศกำหนดเขตบึงบอระเพ็ดไว้เป็นที่รักษาพืชพันธ์ปลาน้ำจืด ในปี พ.ศ.2473 ได้ประกาศเป็นเขตพื้นที่หวงห้าม 250,000 ไร่ ต่อมารัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกา ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2480 ถอนเขตหวงห้ามเหลืออยู่จนถึงปัจจุบัน 132,733 ไร่ โดยมีอาณาเขตติดต่อกัน 3 อำเภอคือ อำเภอเมือง,ชุมแสงและท่าตะโก

 

ในปี พ.ศ.2490 กระทรวงเกษตรได้แบ่งเขตรักษาพืชพันธุ์ออกเป็น 2 เขต คือ เขต 1 เป็นเขตหวงห้ามมิให้ผู้ใดทำการประมงโดยเด็ดขาด พื้นที่ 38,850 ไร่ เขต 2 เป็นเขตหวงห้ามที่อนุญาตให้ราษฎรทำการประมง โดยใช้เครื่องมือบางชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้ พื้นที่ 93,887 ไร่ ทั้งนี้การแบ่งเขตบำรุงพืชพันธ์สัตว์น้ำออกเป็น 2 เขตยังอยู่จนถึงปัจจุบัน

 

ธรรมชาติที่สวยงามในอดีต

พันธุ์ปลาน้ำจืด พันธุ์ไม้น้ำ นก จระเข้

 

สภาพปัญหาปัจจุบัน

1.ปัญหาการบุกรุกพื้นที่บึงบอระเพ็ด

2.ปัญหาการตื้นเขินของบึงบอระเพ็ด ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่ผิวน้ำ  39,050 ไร่ในฤดูแล้ง

3.ปัญหาการขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคและการเกษตรกรรม

4.ปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม รวมทั้งสัตว์น้ำ พืชน้ำ บางชนิดสูญพันธ์

5.ปัญหาขาดเจ้าภาพในการบริหารจัดการที่ชัดเจน

6.ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติของบึงบอระเพ็ดขณะนี้ ไม่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้

(หมายเหตุ  อ้างอิงมาจากผลการศึกษาโครงการแผนแม่บทพัฒนาบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์  กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  แล้วเสร็จเดือน กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2547)

 

ประเด็นที่ต้องแก้ไขโดยด่วน

- นำพื้นที่บึงบอระเพ็ดให้เป็นพื้นที่น้ำในอดีต 82,846 ไร่อย่างถาวร

- ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- พัฒนาและปรับปรุงความเป็นอยู่ของผู้อาศัยรอบบึงโดยคำนึงถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟู

- จัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรสำหรับควบคุมและการพัฒนาบึงบอระเพ็ดที่ชัดเจนมาบริหารจัดการอย่างเข้มแข็ง

 







การขุดลอกบึงบอระเพ็ด







การผันน้ำเข้าบึงบอระเพ็ด







เป็นแก้มลิง 

  ขนาดใหญ่

    เพื่อป้องกัน

 น้ำท่วม







ลดปัญหา

การตื้นเขิน

ของบึง







เป็นแหล่ง

ท่องเที่ยว

ทางน้ำ







เป็นแนวเขต

  อนุรักษ์พันธุ์

   สัตว์ ป้องกัน

 ผู้บุกรุกพื้นที่







เพิ่มปริมาณ

  พื้นที่การ

กักเก็บน้ำ







เป็นศูนย์การ

  ศึกษาเชิง

นิเวศวิทยา







เป็นศูนย์กลาง

  การท่องเที่ยวที่

เชื่อมโยงใน

ภูมิภาค







การจัดการ

  ระบบน้ำเพื่อ

เกษตรกร







พัฒนาคุณภาพ

   ชีวิตแก้ไข

   ปัญหาการ

ว่างงาน







โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว







โครงการขุดลอก

บึงบอระเพ็ด

ในพื้นที่ตื้นเขิน







โครงการขุดลอกคลองบางปรอง







โครงการสร้างเกาะ

กลางน้ำใหม่ เพื่อ

เป็นสนามกอลฟ์

และ Health and Spa , lagoon







โครงการก่อสร้างโรงสูบน้ำ







โครงการติดตั้งกังหันลม







ก่อสร้างอาคาร

แสดงพันธุ์สัตว์

น้ำจืด







ก่อสร้างอาคาร

เพาะพันธุ์และแสดง

จระเข้







ก่อสร้างอาคาร

แสดงสินค้าOTOP







ก่อสร้างอาคาร

เฉลิมพระเกียรติ







ก่อสร้างบ้านพัก

รับรอง







ก่อสร้าง

อาคารอื่น







ก่อสร้าง

อาคารบริการ

สวนน้ำ







ยุทธศาสตร์การพัฒนาบึงบอระเพ็ด

 

แนวทางแก้ปัญหา

จังหวัดนครสวรรค์โดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ขอเสนอโครงการเพื่อแก้ปัญหา 3 โครงการ ดังนี้

1.โครงการขุดลอกบึงบอระเพ็ดเพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ(แก้มลิง)   งบประมาณ  864 ล้านบาท

2.โครงการผันน้ำเข้าบึงบอระเพ็ด งบประมาณ  33 ล้านบาท

3.โครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดด้านการท่องเที่ยว    งบประมาณ   464  ล้านบาท

รวมงบประมาณรวมทั้งสิ้น      1,361 ล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานจังหวัดนครสวรรค์ 4 ปี (2548 - 2551)และผลการศึกษาโครงการพัฒนาบึงบอระเพ็ดของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

วิธีดำเนินการ ภายใต้งบประมาณ 897 ล้านบาท

โครงการขุดลอกบึงบอระเพ็ดเพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ(แก้มลิง)

ขุดลอกบริเวณตื้นเขินของบึงหรือบริเวณที่มีระดับสูงกว่า 23 ม.รทก.เป็นอย่างน้อย พื้นที่ขุดลอกประมาณ 14,000 ไร่ มีปริมาณดินขุด 22 ล้าน ลบ.ม.นำดินขุดลอกมาถมเป็นเกาะพื้นที่ประมาณ 2,300 ไร่ ให้เอกชนพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเช่น Homesta,Lagoon,Health&spa สนามกอล์ฟ โรงแรม ที่พัก

 

โครงการผันน้ำเข้าบึงบอระเพ็ด

- ขุดลอกคลองบางปรอง

- ติดตั้งโรงสูบน้ำ 10 โรง

- ติดตั้งกังหันลม 10 ตัว

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท