ข้อเสนอต่อระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ลาออก


โดย … โครงการรณรงค์เพื่อหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ภาคประชาชน

 

การมีส่วนร่วมของประชาชนในระบบหลักประกัน

·         คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด


  1. ขอให้เพิ่มสัดส่วนกรรมการประชาชนระดับชาติให้ครบทั้ง 9 ด้าน

  2. สนับสนุนให้มีการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการพัฒนาศักยภาพของประชาชน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นกรรมการในระดับต่าง ๆ

  3. ให้แก้ไขกฎระเบียบการคัดเลือกคณะอนุกรรมการในระดับจังหวัด โดยให้ สปสช. สาขาจังหวัดนั้น ๆ ร่วมกับศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็นผู้จัดกระบวนการสรรหาและได้มาซึ่งผู้แทนประชาชนในแต่ละจังหวัด

  4. ขอให้คงไว้ซึ่งคณะอนุกรรมการระดับจังหวัดทั้งสามคณะ และแก้ไขระเบียบเพื่อปรับสัดส่วนขององค์ประกอบให้เท่า ๆ กัน ระหว่างผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

·         ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน


  1. กำหนดให้ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็นกลไกในโครงสร้างตาม พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 50 (5) และ (7) เพื่อเป็นหน่วยรับเรื่องร้องเรียนที่เป็นอิสระในพื้นที่

  2. ให้ สปสช. สนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินงานศูนย์ประสานงานอย่างต่อเนื่องและเพียงพอ เช่น สนับสนุนตามจำนวนประชากรที่รับผิดชอบ

  3. สนับสนุนให้ศูนย์ประสานงานมีส่วนร่วมกับสปสช.ระดับจังหวัดในกระบวนการได้มาซึ่งผู้แทนคณะอนุกรรมการในระดับจังหวัด

 

·         องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1.       สนับสนุนให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือในพื้นที่ของตนเอง

2.       ให้มีการพัฒนาศักยภาพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งเรื่องการบริหารจัดการระบบการเงิน ระบบบริการสุขภาพ การควบคุมคุณภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการกระจายอำนาจในการการบริหารจัดการกองทุน

 

สิทธิและสิทธิประโยชน์

1.       ขอให้มีกองทุนเริ่มต้นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงบริการแก่บุคคลที่ยังไม่มีเลข 13 หลักเพื่อลดภาระแก่หน่วยบริการ เช่น ชนกลุ่มน้อย คนไร้บ้าน คนชายขอบ ชาวเล แรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้จดทะเบียน โดยคิดเงินกองทุนเบื้องต้นจากงบประมาณค่าใช้จ่ายในปีที่ผ่านมาของบุคคลกลุ่มนี้และให้เพิ่มตามสัดส่วนงบประมาณ

2.       ขอให้เพิ่มชุดสิทธิประโยชน์ให้ครอบคลุมทุกโรคทุกคน เช่น ไตวายและโรคจิตเรื้อรัง และมีการกำหนดระยะเวลาที่จะเพิ่มสิทธิประโยชน์ที่ชัดเจน

3.       ให้สนับสนุนเวชภัณฑ์กับผู้ป่วยเรื้อรัง / ผู้พิการ ที่พักฟื้นอยู่ที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล เพื่อลดภาระของหน่วยบริการ

4.       ขอให้แก้ไขระเบียบการใช้บริการในกรณีฉุกเฉิน เหตุสมควรตามมาตรา 7รวมทั้งหน่วยบริการควรจัดให้มีศูนย์ให้บริการให้คำปรึกษาเพื่อรับคำแนะนำในการใช้บริการ เพราะไม่สามารถเข้าถึงบริการในกรณีฉุกเฉินได้ในปัจจุบัน

5.       การตรวจสุขภาพ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง สำหรับกลุ่มเสี่ยงมาก เช่น แรงงานนอกระบบ กลุ่มเกษตรกรใช้สารเคมี และรวมถึงกลุ่มอาชีพให้บริการทางเพศ

 

การเงินการคลัง


  1. ให้มีการจัดสรรงบประมาณกระจายตามหัวประชากร "คนอยู่ที่ไหน เงินไปที่นั่น"

  2. ขอให้ยุบกองทุนตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ รวมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เนื่องจากผู้ใช้บริการประสบปัญหาไม่สามารถใช้บริการและต้องเสียงเงินค่าใช้จ่ายในการรับริการ

  3. ข้อเสนอต่อกองทุนประกันสังคม 3 แบบคือ

·         จัดสรรส่วน 1.5%  จากกองทุนประกันสังคม เป็นการรักษาพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพ ให้ สปสช. บริหารจัดการ

·         ไม่มีการเก็บเงิน1.5% กับผู้ประกันตน และให้ใช้บัตร  30 บาท ร่วมกันทั้งหมด จ่ายแค่ 3.5 % สำหรับสิทธิประโยชน์ อื่น ๆ

·         ให้ผู้ประกันตนเลือกว่าจะจ่ายหรือไม่จ่า 1.5% ด้วยก็ได้


  1. สนับสนุนให้ 1330 และศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบเรื่องการช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41

  2. ขอให้แก้ไขระเบียบในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 รวมทั้งการ ขยายวงเงินการให้ความช่วยเหลือกับผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายจากหน่วยบริการ เนื่องจากการให้การช่วยเหลือเบื้องต้นในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของประชาชน

  3. ขยายการคุ้มครองการช่วยเหลือเบื้องต้น ต่อข้าราชการและผู้ประกันตน

 

ข้อตกลงเขตการค้าเสรี

1.       ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เสนอให้รัฐบาลทบทวนข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรและระบบบริการสุขภาพ เช่น ข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศญี่ปุ่นที่อนุญาตให้คนญี่ปุ่นมาใช้บริการโดยเบิกงบประมาณจากระบบหลักประกันของประเทศญี่ปุ่น 70 %

2.      ให้สปสช. ดำเนินการบังคับใช้สิทธิกับยาที่จำเป็นต่อชีวิตที่มีสิทธิบัตร การผูกขาดราคาแพง และไม่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

*************************************************

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท