Skip to main content
sharethis

ประชาไท--2 มิ.ย. 2549 สหรัฐฯ และสหประชาชาติกำลังพิจารณาใช้มาตรการ เพื่อกดดันพม่าหากไม่ปล่อยนางอองซาน ซูจี หลังจากคุมขังมาแล้วสามปี และขณะนี้กำลังเลื่อนกำหนดปล่อยต่อไปเป็นปีหน้า


เอเอฟพี รายงานการแถลงของสหรัฐฯ ว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สามารถลงโทษรัฐบาลทหารของพม่าได้ หลังจากสร้างความไม่พอใจให้นานาชาติ เมื่อล้มเหลวในการปลดปล่อยตัวผู้นำฝ่ายค้าน นางออง ซาน ซูจี และการปราบปรามชนกลุ่มน้อยต่างๆ ขณะที่รัฐบาลสหรัฐฯได้บรรยายสรุปครั้งที่สองถึงสถานการณ์ในพม่าต่อคณะมนตรีในสัปดาห์นี้


 


นายฌอน แมคคอร์แมค โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่าสหประชาชาติอาจจะทำมากกว่าแค่รับฟัง และวางมาตรการต่างๆ เขากล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า มาตรการเข้มด้านอื่นๆมีความเป็นไปได้ ขณะที่เลขาธิการสหประชาชาติคือตายโคฟี อันนันเองก็ได้กล่าวแสดงความผิดหวังเมื่อวันอังคาร กับการตัดสินใจของรัฐบาลพม่าเมื่อสุดสัปดาห์นี้ ที่จะยืดระยะเวลาการคุมขังนางออง ซาน ซูจีออกไปอีกปี แมคคอร์แมคกล่าวว่า"ผมเข้าใจว่าต้องนำเรื่องนี้เข้าสรุปต่อคณะมนตรีความมั่นคง แต่ผมมั่นใจว่าจะไม่ใช่การตัดโอกาส การดำเนินมาตรการของคณะมนตรี ซึ่งจะหมดลงภายหลังการบรรยายสรุป" แต่นายแมคคอร์แมคยังไม่ได้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการที่กล่าวถึง


 


ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าคณะมนตรีฯ อาจจะยังไม่ใช้มาตรการแทรกแซงใดๆ ต่อรัฐบาลพม่า แต่จะใช้มาตรการ"ตักเตือน"ก่อน เช่นการขอมติเพื่อขอให้นายอันนันรายงานความคืบหน้าของพม่าต่อคณะมนตรีฯเป็นประจำทุกเดือน คณะมนตรีฯยังเรียกร้องให้ปลดปล่อยนางออง ซาน ซูจี และเรียกร้องให้หยุดการโจมตีอย่างโหดร้ายทารุณต่อกลุ่มกบฏชาวกะเหรี่ยง


 


สหรัฐฯ ทำให้พม่าเป็นที่สนใจของทั่วโลกในเดือนธันวาคม เมื่อผลักดันให้คณะมนตรีฯจัดการบรรยายสถานการณ์และสรุปด้านมนุษยธรรม และปัญหาอื่นๆที่พม่าได้เป็นครั้งแรก


 


นายอันนันกล่าวกับผู้สื่อข่าวในนิวยอร์ก "ผมผิดหวังเพราะเมื่อตอนที่รัฐบาลทบทวนการคุมขังเธอ รัฐบาลไม่มีกำหนดปล่อยตัว" กล่าวถึงการตัดสินใจของรัฐบาลพม่าที่ยืดเวลาการคุมขังนางออง ซาน ซูจีออกไปอีก


 


มีความหวังมากขึ้นว่า เธออาจจะถูกปล่อยเมื่อมีการทบทวนการขังในวันเสาร์ที่ผ่านมา ภายหลังจากรัฐบาลทหารพม่ายอมให้พบกับผู้แทนของสหประชาชาติ คือนายอิบราฮิม กัมบารีกะทันหันเมื่อสัปดาห์ก่อน การพบกันครั้งนั้นเป็นการติดต่อครั้งแรกกับบุคคลภายนอกในรอบสองปีของซูจี


 


นายอันนันสัญญาว่า จะทำงานร่วมกันกับอีกหลายประเทศในแถบนี้ รวมทั้งการร่วมมือกับกลุ่มอาเซียนและกลุ่มไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เพื่อ "สร้างความกดดันให้พม่า" เขาย้ำว่า "เราจะทำงานหนัก"


 


สำหรับข้อสังเกตที่ว่าคณะมนตรีฯ ได้หารือเรื่องของพม่าไปแล้วครั้งล่าสุดเมื่อเดือนธันวาคม ดร.คอนโดลีซซา ไรซ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวเป็นเอกเทศว่า รัฐบาลอาเซียน และรัฐบาลยุโรปกำลังพยายามเรียกร้องให้พม่าเปลี่ยนนโยบายในทางที่ผิดและโหดร้ายเสีย


 


ดอกเตอร์ไรซ์กล่าวว่า อเมริกาจริงจังกับการดำเนินการในระดับสากล เพื่อช่วยเหลือประชาชนของพม่า และเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองอย่างไม่มีเงื่อนไข รวมทั้งนางออง ซาน ซูจี โดยนางได้ถูกคุมขังมาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2003 แล้ว ภายในบ้านของนางริมทะเลสาบใจกลางกรุงย่างกุ้งโดยไม่มีโทรศัพท์


 


"เธอถูกคุมขังมาแล้ว 10 ปีในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา วันที่ 30 พฤษภาคมนี้คือวันครบรอบสามปีในการโจมตีขบวนรถซึ่งนางใช้เดินทางพร้อมกับสมาชิกคนอื่นของพรรคสมัชชาเพื่อประชาธิปไตยแห่งชาติ(เอ็นแอลดี) ทางภาคเหนือของพม่า อันนำไปสู่การถูกจับกุม"


 


ที่มา : ไทยทาวน์ยูเอสเอนิวส์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net