Skip to main content
sharethis
"ความเจือเรืองพระธาตุจ๋อมยองเป็นมิ่งเมืองยอง ความเจือวาไผเกิดบนแผ่นดินยองปี๋หนึ่งจะต้องเอาแผ่นทองคำไปติดธาตุหลวงจ๋อ มยอง ถือวาเมืองยองเป็นแผ่นดินมหาธาตุ" ครูบาคำ แสง วัดกอข่อย เมืองยองจังหวัดเชียงตุง ของประเทศพม่าบอก เล่าให้ฟังเป็นภาษายอง
 
นั่นหมายว่า ความเชื่อเรื่องพระธาตุจอมยองนั้น ถือเป็นมิ่งเมืองจอมยอง ความเชื่อที่ว่า หากใครเกิดบนแผ่นดินยองในหนึ่งปี จะต้องเอาแผ่นทองคำไปติดไว้ที่ธาตุหลวงจอมยอง เพราะถือว่าเมืองยองเป็นแผ่นดินมหาธาตุ
 
 
เมือง ยอง คือ สัญลักษณ์เมืองแห่งจิตวิญญาณ
จากการศึกษา เรื่องราวในอดีต ที่เกี่ยวเนื่องกับประเพณีการไหว้สาพระธาตุหลวงจอมยอง เมืองยองในประเทศพม่า นับว่าเป็นจุดร่วมของยุคสมัยซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดสำคัญเนื้อหาของธาตุหลวง จอมยอง ซึ่งคงความเชื่อต่างๆที่อยู่คู่กับวิถีของคนเมืองยองทั้งในสังคมชนบทในเมือง ได้เกาะเกี่ยวเชื่อมร้อยผู้คนให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีวิถีชีวิตและวิถีธรรมชาติของคนเมืองยองตลอดมายังก่อให้เกิดการแพร่กระจาย วรรณกรรม ศิลปวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อในดินแดนและในภูมิภาคที่หลากหลายเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นความเกี่ยวข้องในทางประวัติศาสตร์ของชาติพันธุ์ไต ไท ลาว และชาติพันธุ์ต่างๆทั้งในรัฐฉาน ล้านนา ลานช้าง จนถึงสิบสองปันนา       
 
เมือง ยอง(Moung Yawng) ชื่อในประวัติศาสตร์ว่า "มหิยังกะนะ" คนเมืองยองผู้เฒ่าผู้แก่ เรียกว่าว่าเมือง "เจงจ้าง" (เมืองเชียงช้าง) ปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงตุง (Kiegtug) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน(Shan state) ใน ประเทศสหภาพพม่า (Myanmar) อยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ขึ้นไปทางทิศเหนือ ประมาณ 170 กิโลเมตร ตลอดระยะเวลาของการเดินทาง จากอำเภอแม่สายใช้เวลาประมาณ10-12 ชั่วโมง ในฤดูแล้ง แต่ถ้าเป็นฤดูฝนต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 2 วัน เพราะเป็นเส้นทางที่ลำบาก ยากแก่การสัญจร รถยนต์แต่ละคันที่วิ่งต้องติดโซ่ที่ล้อเท่านั้นถึงจะวิ่งไปได้
 
 
 
                                     

 
เนื่องจากเส้นทาง การคมนาคมที่ยากลำบาก จึงเป็นปัญหากับการรับทราบข้อมูลข่าวสาร การรับรู้เรื่องราวข่าวสารของเมืองยองและความเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆจึงยังไม่ มีมากนัก จะมีบ้างก็อาศัยพระสงฆ์จากเมืองยองที่เดินทางเข้ามาศึกษาเล่าเรียนในเขต เมืองเชียงใหม่และลำพูน อีกด้านหนึ่งที่พอจะรับรู้ได้จากพี่น้องคนยองที่เดินทางเข้ามาที่ อ.แม่สาย จังหวัดเชียงรายบ้าง ที่ฝั่งท่าขี้เหล็กบ้าง เช่น ที่บ้านท่าล้อ แม่ขาว สันทราย บ้านป่าสัก บ้านแม่รวก หมู่บ้านชุมชนชาวไตยองในฝั่งพม่า ที่พากันเข้ามาตั้งบ้านเรือน พลัดถิ่นและหนีความขมขื่นจากแผ่นดินเกิด
 
เมืองยองในอดีตนั้น เป็นเมืองอิสระปกครองตนเอง มีเจ้าหลวงเมืองยองปกครองเช่นเดียวกับหัวเมืองเหนืออื่นๆ โดยทั่วไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ทางการพม่าได้ยกเลิกระบบเจ้าฟ้า และพม่าได้เข้าปกครองเมืองยองเหมือนกับเมืองอื่นๆในรัฐฉาน (พม่าได้เสียสัตย์ ซึ่งเป็นข้อตกลงในสัญญาที่ "ปางหลวง" กับกลุ่มชนต่างๆในการปกครองตนเอง ภายหลังจากอังกฤษให้เอกราชกับพม่า) ความรักความผูกพันระหว่างผู้คนสายเลือดเดียวกันจึงมีแนบแน่น แม้ว่าพม่าจะดำเนินนโยบายแข็งกร้าวกับกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มต่างๆ หรือแม้แต่การใช้นโยบายกลืนชาติ แต่คนเมืองยองก็ยังมีระบบภายในการปกครองตนเอง และพึ่งพาตนเอง
           
สภาพทางภูมิศาสตร์เมืองยองเป็นที่ราบแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ ด้านเหนือมีเทือกเขาสูง (ดอยป๋างหนาว) ทิศตะวันตกติดเทือกเขาสลับซับซ้อน ทิศใต้ติดต่อกับเมืองพยากค์ (Moung Payak) ทิศตะวันออกติดกับน้ำโขง เมืองยองมีแม่น้ำที่สำคัญเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นแม่น้ำลำธารที่ไหลตลอดปี ได้แก่ น้ำคาบ น้ำยอง น้ำปุง และน้ำวัง
 
การจัดระเบียบในการปกครองเมืองยอง จัดแบ่งตามกลุ่มบ้านต่างๆเรียกว่า "หัวสิบ" หัวสิบหากเป็นเมืองไทยเรียกว่าตำบล มีอยู่ 6 หัวสิบ หนึ่งหัวสิบมีประมาณ10-20 หมู่บ้าน มีอุ๊กระทะ (กำนัน)เป็นผู้ดูแลหัวสิบ และผู้ใหญ่บ้าน(แก่นาย)ปกครอง หมู่บ้าน เมืองยองมีหมู่ บ้านประมาณ 77-78 หมู่บ้าน ประชากรประมาณ 3-4 หมื่นคน แต่ละหมู่บ้าน ก็จะมีระบบการปกครองดูแลตนเอง
 
สำหรับในตัวเมืองยองที่เป็นเขตเมือง มีอยู่ 8 กลุ่ม บ้าน (เมืองยองเรียกว่าป๊อก) ซึ่งแบ่งตามศรัทธาวัดต่างๆที่อยู่ในเขตเมืองยอง เช่น ป๊อก 1 (บ้านม่อน) ป๊อก 2 ตุ้งน้ำ(จอมแจ้ง) ป๊อก3 (เชียงยืน) ป๊อก4 (ม่อนแสน) ป๊อก5 (ม่อนน้อย) ป๊อก6 (หนองแสน) ป๊อก7 (จอม สลี) ป๊อก8 (หัวข่วง) คนเมืองยองเรียกตนเองว่า "ไตเมิง ยอง" หากอยู่นอกเวียง (หนอกเวง=นอกเมือง) ก็จะเรียกว่า "ไตบ้านนอกนาปาง"
 
การศึกษาของชาวไตยอง อาศัยเรียนบวชเรียนตามบ้านตามวัด ใช้ตัวอักษรพื้นเมืองคล้ายอักษรชาวล้านนา ไม่นิยมเรียนหนังสือในโรงเรียน ผู้ที่มีฐานะจะได้เรียนได้รับการศึกษา ซึ่งมีโรงเรียนประจำเมืองในเมืองยอง มีการสอนภาษาพม่า เฉพาะลูกหลานคนพม่าหรือลูกหลานคนที่มีฐานะในเมืองหรือที่อยู่ในเมืองเท่า นั้น ขณะที่หมู่บ้านในชนบทรัฐบาลพม่าส่งครู (สม่า) เข้าไปสอนในโรงเรียนเล็กๆตามหมู่บ้าน แต่ไม่มีใครส่งลูกหลานเข้าเรียนระบบการศึกษาของพม่าก็คล้ายกับระบบการศึกษา ในเมืองไทย ชั้นประถม (พม่าจะเรียกว่าตาน1-4) ชั้นมัธยม (ตาน5-8)   
 
 
 
                      
 
ความศรัทธาในความเชื่อและการอยู่ในร่มพระศาสนาถือว่าเป็นสิ่งสูง สุดของคนเมืองยอง คนเมืองยองชอบการทำบุญทำกุศลเป็นชีวิตจิตใจ พี่น้องเมืองยองส่งลูกหลานมาบวชเณรในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก เนื่องจากต้องการให้ลูกหลานศึกษาธรรมและเรียนหนังสือทั้งตัวเมืองและหนังสือ ไทยอีกด้านหนึ่ง ไม่ต้องการที่จะให้ลูกหลานถูกทางการพม่าเรียกเกณฑ์ผู้คนไปเป็นลูกหาบ จึงทำให้พระเณรแต่ละวัดมีเป็นจำนวนมาก 
 
ยังไม่พอแค่นั้นยังมีลูกหลานคนยองอีกหลายพันคน ที่ไม่มีโอกาสได้บวชเรียนเพราะเนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ บางหมู่บ้านต้องร่วมลงขันช่วยเหลือกัน ก็ยังไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ที่ประสงค์จะบวชเรียน ผิดกับเมืองไทยที่จะหาคนบวชเรียนเข้าศึกษาธรรม ใฝ่แสวงหาหลักธรรมคำสั่งสอนในพุทธศาสนานับวันยิ่งน้อยลง
 
ประเพณีการบวชพระ (บวชเณร) ประเพณีเป็กตุ๊ (บวชพระ) ที่ เป็นลักษณะเฉพาะของคนเมืองยอง ด้วยความเชื่อและความศรัทธา ความเชื่อที่ว่า ตายไปแล้วต้องสู่ภพหน้า คนเมืองยองจึงเป็นคนชอบทำบุญทำกุศล ใจบุญ จะเห็นจากความศรัทธาในวันศีลวันพระที่ทุกคนต้องเข้าวัดฟังธรรม
 
เรื่องราวของเมืองยองตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าบ้านเมืองจะประสพกับภาวะอยู่ในขั้นวิกฤตหรืออยู่ในยามมีศึกภัย สงครามเดือดร้อนอย่างไรก็ตาม เมืองยองก็สามารถดำรงอยู่และมีวิถีการอยู่ร่วมกันมา      ความ สำคัญเช่นนี้ทำให้เราต้องค้นคว้าแสวงหา เรียนรู้มิติความเชื่อที่ดำรงอยู่ของสังคมภายใต้เงื่อนไขและข้อจำกัดของ สังคม 
 
อุดมการณ์ ความศรัทธาสูงสุด คือ ธาตุหลวงจอมยอง
ที่สำคัญที่สุด ของคนเมืองยองคือการให้ความเคารพนับถือ พระธาตุหลวงจอมยอง คนเมืองยองเรียกพระธาตุหลวงจอมยองว่า "ธาตุโหลง" หรือ ธาตุหลวง (แต่คำยองคำว่า "โหลง"ฟังแล้วมันยิ่งใหญ่กว่า "หลวง"หลายเท่า) พระธาตุหลวงจอมยองอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองยองประมาณ 8 กิโลเมตร และมีต้นไม้สลีคำ (ต้นโพธิ์ ศักดิ์สิทธิ์) อยู่ทางทิศตะวันออกเมืองยองประมาณ 7 กิโลเมตร สิ่งศักดิ์สิทธิ์สองอย่างนี้ที่คนเมืองยองเคารพบูชาเป็นอย่างมาก เปรียบเสมือนเป็นศูนย์กลางของจิตใจคนเมืองยอง  
 
ทั้งธาตุหลวงจอม ยองและไม้สลีคำมีประวัติความเป็นมามีเรื่องราวที่กล่าวไว้อย่างมากมาย ตามประวัติบอกไว้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาที่"ดอยมหิยัง กะนะ" เหิรมาทางอากาศพร้อมด้วยภิกษุ 500 ตน มาถึงยอดจอมดอยได้เอาเกศา 4 เส้น ให้กับฤษีคิริมานนท์ ด้วยระนึกรู้ชาติปางหลังว่าตนได้เป็นพ่อค้าเรือสำเภา 500 เล่ม ได้เสียเรือมาล่มที่นี้ ส่วนไม้สลีคำเป็นต้นโพธิ์ที่พระอรหันต์นำกิ่งต้นโพธิ์สถานที่พระพุทธเจ้า ตรัสรู้จากอินเดียมาปลูกไว้ในแต่ละปีคนเมืองยอง และผู้คนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางไปไหว้สาสักการะธาตุหลวงจอมยองโดยเฉพาะ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนเกี๋ยง (เดือนอ้าย) ซึ่งตรงกับวันลอยกระทงในประเทศไทย 
 
พิธีไหว้สาพระ ธาตุหลวงจอมยอง เป็นประเพณีที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำทุกปีตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน
 
"ความเจือเรืองพระธาตุจ๋อมยองเป็นมิ่งเมืองยอง ถ้าไผบ่มีลูกก็หื้อเอาเสื้อผ้าไปขอถ้าอยากได้ผู้จายก็เอาเสื้อผ้าจาย เป็นหญิงเอาเสื้อผ้าผู้หญิงจะได้ตามความผาถนา" (ความ เชื่อเรื่องพระธาตุจอมยอง หากใครไม่มีลูกให้เอาเสื้อผ้าไปขอ อยากได้ผู้ชายก็เอาเสื้อผ้าผู้ชายหากได้ผู้หญิงก็เอาเสื้อผ้าผู้หญิง จะได้ตามปรารถนา) นางแสงอ่อน เมืองยอง
 
"เดือน7 ออก 15 ค่ำ ก็ปอยไม้สลีคำ ไหว้สาไม้สลีคำไม้ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองยอง ความเจือเรืองต้นไม้สะหลีคำคือเป็นกิ่งไม้จากต้นไม้สะหลีจากอินเดียสถานตี พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เมื่อจะมีศึกมีเสือก็จะสำแดงฤทธิ์คือ ออกเลือดแล้วสังฆะ (พระสงฆ์) จะต้องไปสวดไปถอน
 
พระธาตุหลวงจอม ยองเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับเมืองยองมานานนับพันปี เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามความรักความสามัคคีที่ทุกคนน้อมนำ จึงปลูกฝังความเชื่อต่างๆผ่านผู้คนหลากหลายเผ่าพันธุ์ พระธาตุหลวงจอมยองจึงสะท้อนกลับมายังผู้คนให้ดำรงไว้ในศรัทธาและความเชื่อ ที่สืบต่อกันมา ดังนั้นเองจารีตปฏิบัติของคนเมืองยองก็คือ การเรียนรู้และการอยู่กับธรรมชาติมีจิตใจเป็นบุญเป็นกุศลที่ได้เกิดมาบนแผ่น ดินมหาธาตุ ในปีหนึ่งๆที่ทุกคนต้องไปสักการะไหว้สา พระธาตุหลวงจอมยองและไม้สลีคำ ที่ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดำรงอยู่คู่กับเมืองยองมานานนับหลายร้อย ศตวรรษ
 
 
วิถี และประเพณีความเชื่อ คือเครื่องค้ำจุน  
ความเชื่อและความ ศรัทธาของผู้คนเมืองยอง นอกจากความศักดิ์สิทธิ์ของธาตุหลวงจอมยองไม้สลีคำแล้ว    ใน เรื่องของจารีตประเพณี พิธีกรรม และมีศาสนาเป็นเครื่องค้ำจุน ความศรัทธาและความเชื่อในเรื่องผี ผีบ้าน ผีบรรพบุรุษ (ผีหม่อนเมือง ท้าวพระยางาม) ซึ่งเป็นจารีตของชุมชนที่ทุกครอบครัวยังให้ความสำคัญต่อเนื่องอย่างเคร่ง ครัด         
 
ประเพณีการเลี้ยง ผีหม่อนเมืองจะเลี้ยงกันเป็นประจำทุกปี คนยองเรียกว่า "กรรมเมือง" จะมีอยู่ 3 วัน (เดือน 5 แรม 15 ค่ำ เป็นป๋าเวณีตัวตังเมือง (กรรม เมือง) เลี้ยงผีบ้านผีเมือง คนยองจะถือศีล ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่เดินทางออกนอกบ้านหรือว่าไปค้าไปขายที่ไหน ทุกหมู่บ้านในเมืองยองจะยึดถือและปฏิบัติ คนในไม่ให้ออกคนนอกไม่ให้เข้า (ผู้คนส่วนใหญ่ในเมืองยองนับถือศาสนาพุทธ ผสมผสานกับลัทธิพิธีกรรมของตนเอง มีเพียง 3 หมู่บ้าน คือ บ้านหม่อน บ้านหนองแสน และบ้านยอด ที่นับถือคริสต์ศาสนา)
 
"วันกรรมไผเป็นคนกึด เป็นครูบาปอเป็นคนกึดขึ้นมากับด้วยวันพระ เป็นวันหยุดของคนเมืองยอง ไผมีอะหยังก็เอามาขายกันตีวัดบ้านนอกนิ มีแต่บ้านกอข่อยไผจะขายในวันกรรมก็ต้องมาซื้อมาขายตีบ้านกอข่อย    บ้านเมืองบ่มีเจ้าบ่มีนาย ทหารมีอำนาจมันก็เป็นอย่างอี้ กิ๋นไผขักเห็ดก็มีกิ๋นมีด้อยมันบ่ได้ซื้อบ่ได้แลก"
 
(แปล เดือน5 แรม 15 ค่ำ เป็นวันกรรมเมือง เป็นวันหยุดของคนเมืองยอง ใครมีอะไรก็เอามาซื้อขายกันที่ลานวัดบ้านนอก ใครจะซื้อจะขายกัน บ้านเมืองไม่มีเจ้านาย ทหารมีอำนาจก็เป็นอย่างนี้ ใครขยันทำมาหากินก็ไม่อดไม่อยากไม่ต้องไปซื้อ)
 
"เดือนห้าแรม 6

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net