Skip to main content
sharethis

บันทึกประสบการณ์ชีวิตเหยี่ยวข่าวอิศรา

อยากบอกว่าหนังสือเล่มเล็กๆ เล่มนี้อาจเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลายๆคนอยากลงไปสัมผัสความเป็นจริงใน 3 จังหวัดภาคใต้ ความเป็นจริงที่ไม่ได้มีแต่ความรุนแรงที่เดี๋ยวก็เปรี้ยงเดี๋ยวก็ปร้างใส่ กันอย่างที่หลายคนคิด จนเดี๋ยวนี้ภาพของพื้นที่ 3 จังหวัดกลายเป็นแดนมิคสัญญีที่ต้องปักป้าย...ห้ามเข้า! ไว้ในใจ ไปแล้ว
 
หนังสือ เล่มนี้ เป็นหนังสือที่บรรดาเหยี่ยวข่าวจากศูนย์อิศราเขียนขึ้นจากประสบการณ์ชีวิต และมุมมองของตนเองจากการลงไปสัมผัสพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้แบบนานๆ พื้นที่ที่หลายคนอาจจะตั้งคำถามในใจว่ามีแต่คนอยากย้ายออก แต่ทำไมคนพวกนี้ถึงอยากจะลงไป หนังสือเล่มนี้จะให้คำตอบนั้น
 

ภาพจาก www.poakpong.com
 
 
ประมาณ 2 ปี ก่อนหน้าที่หนังสือ "ปักหมุด...เทใจ: บันทึกประสบการณ์ชีวิตเหยี่ยวข่าวอิศรา" จะ ถูกเขียนขึ้น ความรุนแรงถูกถ่ายทอดผ่านสื่อวันแล้ววันเล่าอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ และข่าวแบบนี้บนสื่อเหล่านี้ก็ขายได้ดีขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ภายใต้ความจริงแบบหนึ่งที่ต้องพาดหัวตัวโตๆบนหน้าหนังสือพิมพ์ที่ขายดี ที่สุดในประเทศไทยแบบนี้ก็อาจจะเป็นกระจกสะท้อนความไม่รู้แบบหนึ่งด้วยเช่น กัน ซึ่งเป็นความไม่รู้ที่กำลังทำให้ "อคติ" งอกเงยจนแทบจะกลายเป็น "ความเกลียดชัง" ไปแล้วอย่างถ้วนทั่ว
 
ใน เมื่อสังคมรับรู้แต่เรื่องราวความรุนแรงซ้ำไปซ้ำมา ก็ไม่น่าแปลกใจเลยที่นโยบายปราบไม่เลี้ยงกลายเป็นสิ่งที่ได้รับแรงหนุนให้นำ ไปใช้กับ 3 จังหวัดภาคใต้ ขณะเดียวกันแนวคิดแบบนี้ก็ได้สร้างแรงต้านเป็นพลังสะท้อนกลับจนทำให้ สถานการณ์เลวร้ายขึ้นเรื่อยๆด้วยรูปแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นรูปแบบที่ "ทุกคน" แทบจะกลายเป็นเป้าหมายในการต่อยอดความรุนแรง
 
ประมาณ 1 ปี ก่อนหน้าที่หนังสือ "ปักหมุดเทใจ" เล่มนี้จะเกิดขึ้น "ศูนย์ข่าวอิศรา" ก็ เกิดขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนของหลายฝ่ายที่นิยมสันติวิธี รวมทั้งสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ที่ต่อมากลายเป็นกำลังหลักในการประสานนักหนังสือพิมพ์จากหลายฉบับจนมีการส่งตัวแทนนักข่าวลงไปทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อมวลชนภาคใต้ในศูนย์ข่าวอิศรา เพื่อที่จะทำให้ข่าวแนวสันติภาพปรากฏขึ้น
 
นับแต่นั้นมา ความเป็นจริง ความรู้ ความคิด ความเห็นและความรู้สึก ในพื้นที่ที่ไม่เคยถูกถ่ายทอดมาก่อนหน้านี้ก็ปรากฏขึ้นบนเว็บไซต์ www.tjanews.org  
 
ผ่าน เวลามาจนวันนี้ ผู้เคยถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นได้กลับมาสะท้อนเบื้องหลังชีวิตและวันเวลา เหล่านั้นไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างมีแง่มุม

แง่มุมเหล่านี้ คือชิ้นส่วนประวัติศาสตร์ที่เคยฉีกขาด แต่กำลังถูกปะชุนใหม่เพื่อให้เกิดความสวยงามแข็งแรงอีกครั้ง ไม่ใช่แค่ภาคใต้ แต่คือทั้งสังคมไทย
 
"โลกมหัศจรรย์ของคนปะชุน" คำนำของหนังสือโดย ภัทระ คำพิทักษ์ อดีตนายกสมาคมนักข่าวฯ ได้เริ่มต้นสะท้อนความสำคัญจากการทำหน้าที่ของบรรดาเหยี่ยวข่าวอิศราว่า
 
"ความ เป็นจริงทำให้ผู้คนในสังคมฟังหูไว้หู มีสติสัมปชัญญะ ความรู้ทำให้เกิดสติ ไม่ใช่อารมณ์ ความคิดความเห็นทำให้ทัศนะคติที่กว้างขวาง ไม่ถูกครอบงำด้วยมายาคติ ความรู้สึกทำให้เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทุกเรื่องราวเหมือนเข็มเล็มเล็กๆ ที่ปะชุนชิ้นส่วนประวัติศาสตร์และปัจจุบันที่ถูกความไม่รู้ ไม่เข้าใจ ไม่ไว้วางใจฉีกขาดออกจากกัน
 
"สอง สามวันก่อนนักข่าวชุดแรกจะลงพื้นที่ ผมบอกกับทุกคนว่า อย่าแบกหามความคาดหวัง เพราะสิ่งที่พวกเราจะทำนั้นเป็นการปฏิรูป เป็นการสร้างเปลี่ยนแปลง ขอเพียงทำออกมาได้เพียงเรื่องเดียว สำหรับผมก็ถือว่า ปะชุนได้เพียงเสี้ยวเดียวก็สำเร็จแล้ว แต่พวกเขาหยิบเข็มแล้วไม่มีใครวางมือ เรื่องราวบางส่วนที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความ มุมานะอันน่าสรรเสริญนั้น
 
นัก ข่าวศูนย์ข่าวอิศราไม่เพียงปะชุนชิ้นส่วนของสังคม แต่การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน บนฐานคิดดังกล่าวโดยการสนับสนุนของหนังสือพิมพ์ต้นสังกัดนั้น ยังได้ปะชุนอุดมคติของนักหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอาชีพที่แหว่งวิ่นไป เพราะทุนได้กดให้พวกเราอยู่ในกรอบของความเป็นพนักงานและลูกจ้างองค์กรสื่อ ให้คืนรูปกลับมาบางส่วนด้วย"
 
ความ น่าอ่านของหนังสือเล่มนี้ไม่เพียงแต่เป็นการสะท้อนการต่อเติมความแหว่งวิ่น ของอุดมคติในความเป็นสื่อมวลชนแล้ว ยังพูดถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมาใน 3 จังหวัดภาคใต้ ผ่านมุมมองและวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังมีความน่าระทึกของสถานการณ์ที่บางครั้งถูกเปิดไม่หมดในหน้าสื่อ ปกติ เช่นครั้งหนึ่งมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ บ้านละหาน ต.ปะลุรู อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส แม้แต่เจ้าหน้าที่ก็เข้าไม่ได้ ศูนย์ข่าวอิศราได้เข้าไปทำหน้าที่ในสถานการณ์สับสนที่สังคมกำลังต้องการคำ ตอบและแม้แต่เจ้าหน้าที่ยังเข้าไม่ได้ได้อย่างไร
 
เหตุการณ์ นั้น อิหม่ามสะตอปาถูกยิงโดยบุคคลลึกลับคล้ายๆหลายคดีที่ยังมีในปัจจุบัน แต่ตอนนั้นสะตอปาไม่ได้ตายในทันที ซ้ำยังสามารถระบุลักษณะบุคคลที่เชื่อว่าเป็นผู้ลงมือได้ซึ่งก็คือตำรวจหรือ เจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้มีการสั่งเสียก่อนตายว่า "ห้ามไม่ให้คนของรัฐมายุ่งกับศพของเขา" เหตุการณ์นี้นำมาการปิดหมู่บ้านโดยห้ามคนของรัฐเข้าและไม่มีนักข่าวคนใดสามารถเข้าพื้นที่ได้
 
เรื่องราวตอนนี้ อภิวัจ สุปรีชาวุฒิพงศ์ บรรณาธิการคนแรกของศูนย์อิศรา เล่าไว้ในหนังสือตอน "จุดเปลี่ยนของเรา: เข้าไปให้ไกล้ความจริง" ว่า สถานการณ์ตอนนั้น ข้อมูลเบื้องต้นที่ออกมาสับสนมาก ไม่มีนักข่าวคนใดมีโอกาสเข้าไปในหมู่บ้านได้เลย เพราะชาวบ้านไม่ยอมให้เข้าไป วันนั้นเองทางกองบรรณาธิการได้ตัดสินใจส่งนักข่าวลงพื้นที่ อย่างไรก็ตามก็ทำได้เพียงใช้วิธีเลียบเคียงถามสถานการณ์จากชาวบ้านหมู่บ้าน อื่น
 
"ถือ เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญอย่างยิ่งของพวกเรา จุดเปลี่ยนนี้ ทำให้เราตระหนักว่า ข้อเท็จจริงจากพื้นที่ เสียงของผู้ที่ถูกตั้งคำถามนั้นสำคัญอย่างยิ่งในการขจัดความคลุมเครือซึ่ง อาจจะทำให้มีการมองปัญหาด้วยอคติ"
 
วันนั้นเอง ภาสกร จำลองราช เป็นผู้เข้าไปหาข้อเท็จจริงจากพื้นที่ก็ได้เขียนเล่าประสบการณ์ในตอน "บันทึกจากแดนใต้" โดยบอกว่าการไปสู่บ้านละหานทำให้ได้ไปเจอกับญาติของสะตอปา แต่ก็ยังเข้าหมู่บ้านไม่ได้
 
ความ ตึงเครียดนี้ดำเนินมาถึง 7 วัน เหยี่ยวจากศูนย์ข่าวอิศราจึงได้ตกลงเข้าไปในหมู่บ้านอีกครั้ง ทว่าผลไม่ต่างจากเดิม ชาวบ้านยังคงไม่เปิดให้เข้าหมู่บ้าน ในช่วงที่ผ่านมานี้นี้มีเพียงผู้ว่าราชการจังหวัดเข้าไปได้แค่ครั้งเดียว เท่านั้น บันทึกของภาสกรบอกอีกว่าร่องรอยรอยของความไม่เป็นมิตรยังมีอย่างเห็นได้ชัด
 
แต่หากอ่านไปเรื่อยๆจะพบความคลี่คลายที่น่ารักใน "แด่อิศราด้วยใจและไอติม"  ที่บอกเล่าโดย วัสยศ งามขำ อย่างน่าประทับใจกับเขาไปด้วย
 
"เด็ก คนหนึ่งที่ดูจะเป็นหัวโจก ตะโกนเป็นภาษามลายูที่ฟังไม่ออก แต่พอจะจับอากัปกริยาได้ว่าเป็นความไม่พอใจผม ธวัชชัยและเพื่อนร่วมศูนย์อีก 3-4 คน ที่ติดตามมาพยายามจะเข้าหมู่บ้าน เสียงตะโกนของเขาเรียกบรรดาเด็กตัวน้อยออกมาเพิ่มอีกเป็นพรวน "กึง กึง กึง" พวกเด็กๆกระแทกท่อนไม้ที่ถืออยู่ในมือกระแทกลงบนพื้นซีเมนต์เป็นจังหวะ ผมเดาว่ามันคงเป็นวิธีข่มขู่วิธีหนึ่ง....บรรยากาศเริ่มเข้าสู่ความอึมครึม ...แม้ว่าจะปราศจากผู้ใหญ่ก็ตาม"
 
แต่แล้วบรรยากาศนั้นก็เปลี่ยนแปลงๆ ไปด้วยเสียงๆ หนึ่ง บทความของ วัสยศ เล่าต่อว่า
 
"กริ่งๆๆๆกริ่งๆๆๆ" …. อ๋อรถขายไอติมมันกำลังมุ่งตรงมาที่พวกเราด้วยความเชื่องช้า .....
"ใส่หนมปัง ข้าวเหนียว เอากระทิอย่างเดียว" (เสียงอภิวัจ บรรณาธิการเป็นคนสั่ง)
สมแล้วที่เป็น บก. มันสั่งได้ไวสุดๆ ผมนึกในใจ
ชั่วครู่ เหยี่ยวข่าวก็ได้ผ่อนคลายความตึงเครียดจากไอติมลูกทุ่งที่อร่อยไม่แพ้สเวนเซ่น ...
เรา กลับมารู้ตัวอีกครั้งว่าก่อนไอติมคลายร้อนจะลงท้องละลายไป เรากำลังตกอยู่ในบรรยากาศที่เริ่มย่ำแย่และตอนนี้เราทั้งหมดและรวมทั้งรถไอ ติมก็ตกอยู่ในวงล้อมของมุสลิมตัวจิ๋วไปเสียแล้ว
 
..... "ลุงตักให้น้องคนนี้ด้วย เพิ่งมาใหม่" ผมบอกพ่อค้าไอติม
 
จากนั้นเองบรรยากาศในหนังสือก็คลี่คลาย วงล้อมกลายเป็นมิตรภาพเช่นงานเลี้ยง ท่อนไม้ของเด็กๆกลายเป็นถ้วยไอติม
 
เรื่องน่ารักๆแบบนี้ ในสถานการณ์ร้อนแรงแบบภาคใต้ยังมีให้อ่านอีกหลายตอนในหนังสือเล่มนี้(ขอบอกมีแม้แต่รักโรแมนติก)
 
ใน วันนั้น เหยี่ยวอิศราได้ประสานให้อับดุลเราะห์มาน อับดุลสมัด ประธานอิสลามกลาง จ.นราธิวาสไปด้วย ซึ่งเป็นตัวแทนให้เข้าหมู่บ้าน ต่อมาอับดุลเราะห์มานจึงสามารถกลับถ่ายทอดข้อมูลที่เป็นต้นเหตุสถานการณ์เลว ร้ายนี้ได้
 
ข้อมูลที่ได้จากการเข้าบ้านละหานครั้งนั้นคือคำถามสำคัญจากเมียและลูกชายอิหม่ามสะตอปาว่า "เขา ถามผู้ว่าฯทันทีที่เจอหน้าว่าทำพ่อเขาทำไม ซึ่งผู้ว่าฯก็ไม่ได้ตอบ เพียงแต่พูดเรื่องลองกอง ผมเองก็ไม่อยากถามอะไรเขามาก เดี๋ยวจะหาว่าผมเป็นสายลับให้ทางการ แต่ผมอยากให้รัฐบาลทำความเข้าใจกับชาวบ้านและหาตัวให้ได้โดยเร็ว จะปฏิเสธอย่างเดียวไม่ได้ เพราะชาวบ้านเขาเชื่ออย่างนั้น"
 
ทว่าวันนี้คำตอบเหล่านั้นยังคงอยู่ในสายลม.....
 
เรื่องนี้เป็นเพียงเรื่องราวหนึ่งในหลายๆเรื่องที่อยู่ในลิ้นชักความทรงจำของบรรดาเหยี่ยวข่าวอิศราที่เล่าผ่าน "ปักหมุด..เทใจ" ที่หัวใจถูกปักหมุดแห่งการทำข่าวในแนวสื่อสันติภาพแม้จะอยู่ในพื้นที่ "เสี่ยง" ซึ่งมีทั้งความสับสนความไม่ไว้ใจและความรุนแรง
 
หนังสือ เล่มนี้ยังมีเรื่องราวของความกลัว ความกล้า ความหวัง หรือแม้แต่ความรักแบบหนุ่มสาวอันเป็นกำลังใจเล็กๆ บนสถานการณ์ร้อนๆ ที่ตึงเครียด "ปักหมุดเทใจ"ยังได้บอกเล่าความเป็น "อิศรา" ที่มี "อิสระ"
 
"อิศรา"ที่ ไม่ไม่เป็นเพียงสถานที่ทำงานเขียนข่าวแลกเงินเดือน แต่เป็นอิศราที่ใช้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันทุกเรื่อง เป็นสนามมิตรภาพ เป็นโรงเรียนของนักข่าวหนุ่มสาว และเป็นศูนย์รวมจิตรใจที่ไม่เพียงแต่สำหรับคนทำงานเท่านั้น แต่สำหรับคนในพื้นที่ด้วย
 
อย่างไร ก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ ศูนย์ข่าวอิศรา มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในครั้งใหญ่ ทิศทางหรือการทำงานครั้งวันวาน อาจเปลี่ยนแปลงไปจนบรรดาเหยี่ยวข่าวหลายคนได้แสดงความเป็นห่วงและเสียดายไว้ หากความเปลี่ยนแปลงนั้นจะทำให้ "อิศรา" เปลี่ยนไป ในหลายตอนของหนังสือ
 
ณ ตอนนี้คงบอกได้ว่า "ปักหมุดเทใจ" เป็น หนังสือที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ 3 จังหวัดภาคใต้ และอยากแนะนำให้อ่านเพราะในสถานการณ์ภาคใต้เวลานี้ สังคมไทยยังคงต้องการความเข้าใจในทัศนคติที่แตกต่างอย่างมาก ยังต้องการพื้นฐานความจริงที่มองเห็น "คน" มากกว่าความจริงที่มองเห็น "ราคา"ของ ข่าว และยังต้องการการวิเคราะห์บนความรู้ที่มากกว่าความรู้สึก อีกทั้งในอนาคตหนังสือเล่มนี้อาจเป็นประวัติศาสตร์หนึ่งที่มีคุณค่าของการ ปฏิวัติเงียบวงการสื่อที่เงียบจริงๆ แม้ทุกวันนี้ "คุณค่า" อาจถูกตีราคาด้วย "งบประมาณ" ก็ตาม
 
ถ้าสนใจก็หาได้ตามร้านขายหนังสือทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เล่มละ 185 บาท หรือติดต่อสั่งซื้อได้ที่ ภาวิณี ไชยภาค โทร. 08-6828-1061 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net