"สื่อสาธารณะ"บนเวทีปาฐกถาอิศรา อมันตกุล

จากสถานการณ์ความเอนเอียงต่ออำนาจของสื่อในปัจจุบัน รวมไปถึงความถดถอยในการนำเสนอเนื้อหาสาระอันเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค อีกทั้งสื่อยังถูกใช้เป็นเครื่องมือในการมอมเมาประชาชนและกีดกันทางชนชั้นในสังคม ทำให้กระแสของสื่อที่เป็นทางเลือก อย่างสื่อสาธารณะหรือสื่อเสรีถูกหยิบยกมาพูดคุยกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันโดยเฉพาะในประเด็นความเป็นไปได้ในการจัดทำเป็นกฎหมาย และในกรณีการบริหารกิจการสถานีโทรทัศน์ TITV ในรูปแบบสื่อสาธารณะ

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม มูลนิธิอิศรา อมันตกุล ก็ได้จัดให้มีการปาฐกถาพิเศษประจำปี 2550 ในเรื่อง "เส้นทางสื่อสาธารณะ สื่อเสรี" ณ ห้องอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อร่วมรำลึกถึงอิศรา อมันตกุล นักหนังสือพิมพ์ผู้ยิ่งใหญ่ผู้ล่วงลับ โดยมี ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านเศรษฐกิจยุคสารสนเทศฯ สถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้จัดทำกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เป็นผู้กล่าวปาฐกถา

 

 

ความผันแปรใน ITV

ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ได้กล่าวสื่อวิทยุโทรทัศน์ซึ่งเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อประชาชนเป็นอย่างมากและในขณะเดียวกันก็ถูกแทรกแทรงด้วยอำนาจรัฐและอำนาจทุนเสรีมากเช่นกัน โดยยกตัวอย่างในกรณีของสถานี TITV หรือ ITV ทีวีเสรีในอดีต ซึ่งถูกก่อตั้งหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ด้วยแนวความคิดที่จะทำให้เกิดสื่อรูปแบบใหม่ที่เรียกกันตอนนั้นว่า สื่อเสรี คือเสรีจากอำนาจรัฐ เพราะความไม่มั่นใจในสื่อของรัฐที่ไม่สามารถเป็นเครื่องมือในการปฏิรูปสังคมให้พ้นจากวัฏจักรความรุนแรงได้ ITV จึงก่อกำเนิดขึ้นมาบนสัมปทานของสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

จากนั้นเป็นการนำเสนอข้อมูลสัดส่วนรายการของสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ซึ่งมีเดียมอนิเตอร์ ได้รวบรวมในช่วงเวลาที่มีคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญแล้วว่าคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการที่เกี่ยวของกับคดี TITV นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้วมีผลทำให้ ITV ต้องกลับไปใช้ผังรายการเดิมนั่นคือ 70:30 ทำให้ข่าวสารของ TITV นั้นเหลือเพียง 27% ซึ่งเป็นระดับเดียวกับสถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง ในส่วนของสาระคดี TITV มีสัดส่วนเพียง 2.7% ของเวลาทั้งหมดซึ่งต่ำกว่าเวลาที่ออกรายการในช่อง 9 และช่อง 11 หรือแม้กระทั่งช่อง 5 ด้วยซ้ำ สิ่งที่ TITV เด่นชัดก็คือในสัดส่วนของแมกกาซีนซึ่งเป็นรายการวาไรตี้และรายการในส่วนละครซิกคอม

 

นอกจากนี้มีเดียมอนิเตอร์ ยังได้วิเคราะห์ โดยแยกลักษณะของรายการการเกณฑ์ของรายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคหรือเป็นพลเมือง จากข้อมูลพบว่า TITV มีรายการที่มีเนื้อหามองประชาชนเป็นผู้บริโภคถึง 64.9% ซึ่งสูงกว่าลักษณะรายการที่มองประชาชนเป็นพลเมือง เรียกได้ว่าเท่าๆ กับช่อง 3 และช่อง 5 จะต่ำกว่าก็เพียงช่อง 7 เท่านั้น โดยช่อง 7 ถือเป็นช่องที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นผู้บริโภคสูงที่สุดตามกรอบการวิเคราะห์ของมีเดียมอนิเตอร์

 

"คำถามก็คือ สถานีโทรทัศน์เอกชน ที่ถูกก่อตั้งขึ้นมาภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ทำไมดูแล้วรายการแทบไม่ได้แตกต่างสถานีโทรทัศน์เชิงพาณิชย์อย่างช่อง 3 หรือช่อง 5 เลย เกิดอะไรขึ้นกับสถานีที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อมุ่งให้เป็นสถานีโทรทัศน์ที่เปิดบทบาทของภาคประชาชนในฐานะพลเมือง"

 

ดร.สมเกียรติ ได้ให้คำอธิบายกับประเด็นข้อสงสัยนี้โดยอ้างถึงกรอบความคิดในระบบสื่อ คือสิ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกัน 4 ส่วนก็คือ ส่วนของโครงสร้างปัจจัยที่สำคัญสองประการคือใครเป็นเจ้าของสื่อรัฐหรือเอกชน และที่มาของรายได้ของสื่อนั้นคืออะไร ส่วนที่สองพฤติกรรม คือรูปแบบการผลิตรายการ ความสัมพันธ์ของผู้ผลิตรายการ ตัวรายการเองและสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

 

ส่วนที่สามบทบาทของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นนโยบาย หรือกฎระเบียบต่างๆ เช่นการกำหนดให้มีรายการเด็กสัดส่วนเท่าไร หรือสัดส่วนของรายการที่ถูกกำหนดโดยสัญญาสัมปทาน เมื่อนำเอาส่วนของโครงสร้างและบทบาทของภาครัฐมารวมกันก็จะเกิดบทบาทต่อการกำหนดพฤติกรรมของสื่อและไปสู่ผลลัพธ์ของสื่อ คือนโยบายผังรายการและคุณภาพของรายการ ซึ่งเป็นส่วนสุดท้ายของระบบสื่อ

 

สำหรับ TITV นั้นไม่ไดมีเพียงบทบาทของรัฐที่มีผลต่อการนำเสนอของสื่อ แต่มันลึกไปถึงรากฐานของสื่อซึ่งก็คือโครงสร้าง ที่อยู่ในรูปบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ต้องทำกำไรสุทธิให้แก่ผู้ถือหุ้น ต้องมีรายได้ ซึ่งรายได้มาจากการโฆษณา ต้องคำนึงถึงเรตติ้งในการทำรายการ ว่ามีผู้รับชมรายการอยู่มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้การที่ TITV ไม่ได้ดำเนินการในรูปสื่อของรัฐจึงต้องจ่ายค่าสัมปทานให้แก่รัฐในอัตราที่สูงกว่าช่องอื่นๆ โครงสร้างที่บิดเบี้ยวเหล่านี้มีผลทำให้สื่อที่ถูกออกแบบขึ้นมาให้เป็นสื่อเพื่อเปิดเวทีเปิดพื้นที่ให้ประชาชนในฐานะพลเรือน กลายเป็นสื่อที่เสนอข้อมูลอย่างไม่ครบถ้วนรอบด้าน

 

นอกจากนี้ธุรกิจของกลุ่มทุนถูกผนวกกันอำนาจรัฐมากขึ้นจึงเป็นไปได้ยากมากที่สื่อจะเป็นอิสระจากกลุ่มทุและปลกแอกตัวเองจากอำนาจรัฐได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

 

"คำตอบต่อโจทย์ในการปฏิรูปสื่อที่เราต้องพิจารณากันให้ละเอียดก็คือ เราจะต้องไปไกลเกินกว่าระบบการออกแบบสัมปทานอย่างที่มีการเรียกร้องกัน เมื่อจะมีการแปรสภาพสื่อ TITV ก็ควรแปรรูปไปสู่การเป็นสื่อสาธารณะหรือสื่อเสรี"

 

 

ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อสาธารณะ

 

ปัจจุบันนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันในประเด็นความเข้าใจผิดต่อสื่อสาธารณะไมว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องการล้าหลังในโลกยุคดิจิตอล การที่สื่อสาธารณะจะต้องมีแต่รายการข่าวและรายการที่มีสาระซึ่งล้วนเป็นราการที่น่าเบื่อเท่านั้น อีกทั้งทีวีสาธารณะจะเป็นเวทีของคนกลุ่มน้อยที่ผลิตโดยเอ็นจีโอ ไม่มีการแข่งขันทางการตลาด นอกจากนี้จะเป็นการผลาญงบประมาณของรัฐโดยใช่เหตุ

 

ในส่วนนี้ ดร.สมเกียรติ แก้ไขข้อข้องใจเหล่านี้เอาไว้ โดยอธิบายว่าสื่อสาธารณะจะเป็นสื่อทางเลือกหนึ่งของประชาชน โดยจะนำเสนอรายการที่มีคุณภาพเอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาโดยการทำงานของมืออาชีพด้านสื่อและไม่ได้เป็นเพียงสื่อของคนกลุ่มน้อยแต่เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนได้มีพื้นที่ทางสื่อเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุและผล สร้างการยอมรับในความหลากหลายของสังคม ใช้งบประมาณการทำงานที่สูงเพื่อสร้างรายการที่ดีและหลากหลายทั้งสาระและบันเทิงคุณภาพเข้าแข่งขันกับสถานีของรัฐและเอกชนตอนนี้เพื่อเป็นทางเลือกในการบริโภคข่าวสารแก่ประชาชน

 

ดร.สมเกียรติ ได้ให้คำนิยามสื่อสาธารณะไว้ว่า คือ สื่อของพลเมืองที่ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ไม่ใช่สื่อของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจแต่เป็นองค์กรมหาชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรและควบคุมคัวเองด้วยหลักจริยธรรมทางวิชาชีพของสื่อวิทยุโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียงโดยเฉพาะ

 

"หัวใจสำคัญของสื่อสาธารณะคือการที่จะต้องมีข้อกำหนดทางจริยธรรมและเป็นเรื่องที่ตองทำเป็นกระบวนการทางสังคมร่วมกันระหว่างพนักงานในองค์กร ผู้บริหาร กรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกและผู้มีสิทธิมีเสียงทั้งหมด เพื่อความเขาใจที่ตรงกัน ไม่ใช่การหยิบยกมาจากที่อื่น ซึ่งกระบวนการจะเอื้อซึ่งการเรียนรู้ของภาคปะชาชน และจะฟังแน่นไปในจิตวิญญาณ"

 

งบประมาณประมาณการที่เพียงพอคือบนเรียนที่ได้รับจากการสื่อสาธารณะในต่างประเทศเพราะเกี่ยวเนื่องกับการรักษาความเป็นกลางของสื่อเอาไว้ เบื้องต้นทีวีสาธารณะของไทยมีการคาดการต้นทุนเริ่มต้อนก่อนออกอากาศราว 200-400 ล้านบาท และมีงบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิตรายการ 1,100-1,700 ล้านบาทต่อต่อปี ขึ้นอยู่กับการแข่งขันกบโทรทัศน์เชิงพาณิชย์ ส่วนที่มาของรายได้นั้นจะสามารถสามารถสรุปเป็นโมเดลเล็กๆได้ 4 รูปแบบคือ 1.เก็บเฉพาะค่าธรรมเนียมการรับชม 2.เก็บจากค่าธรรมเนียมการรับชม และ เงินรายได้จากการโฆษณา 3.เก็บจากค่าธรรมเนียมการรับชม และเงินอุดหนุนจากรัฐ 4.ได้จากการโฆษณา ร่วมกับผู้สนับสนุนรายการ และเงินอุดหนุนจากรัฐ

 

กรณีของประเทศไทย เงินรายได้หลักจะมาจากนอกจากเงินภาษีพิเศษจากเหล้าและบุหรี่ ซึ่งถือเป็นประเทศแรกที่มีกานำโมเดลนี้มาใช้ โดยการจัดเก็บจะเป็นการเก็บภาษีโดยตรงเข้าสู่สถานีในอัตราร้อยละ 1.5 ของภาษีสรรพสารมิตร นอกจากนี้ยังมีเงินสนับสนุนจากองค์กรเอกชน เงินบริจาคโดยให้เปล่า และรายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา

 

เนื่องจากเงินรายได้หลังมาจากภาษีของประชาชนดังนั้นสถานีจึงจะแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในการรับฟังความคิดเห็นของผู้ชมผู้ฟังจากสภาผู้ชมผู้ฟังที่มีอยู่ทั่วประเทศโดยการจัดเวทีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งและนำข้อคิดเห็นที่ได้ไปปรับใช้เพื่อการพัฒนาสถานี ส่วนในด้านของการตรวจสอบนั้นจะถูกประเมินผลจากผู้ประเมินผลภายนอกโดยมีดัชนีชีวัดคือ จำนวนผู้ชมที่เพียงพอ ผลกระทบที่มีต่อผู้รับชมรับฟังรายการ และเงินสนับสนุนจากการบริจาคของประชาชน นอกจากนี้ในแต่ละปีจะต้องมีการจัดทำรายงานประจำปียื่นเสนอต่อภาครัฐ

 

ในขณะนี้การทำงานเพื่อผลักดันในมีสื่อสาธารณะกำลังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง จากผลสำรวจความคิดเห็นของเอแบคโพล ประชาชนกว่าร้อยละ 70 ต้องการให้เกิดสื่อสาธารณะ อีกทั้งร่างกฎหมายนี้ก็ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรีแล้ว แต่ความสำเร็จชัดเจนที่สุดคือการที่สื่อสาธารณะได้มีการออกอากาศ ซึ่งในส่วนของดร.สมเกียรตินั้นต้องการให้การผลักดันเสร็จสิ้นก่อนหมดยุครัฐบาลชุดนี้ด้วยเหตุผลความต่อเนื่องในการบริหารงาน

 

"สิ่งสำคัญคือการทำให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจว่าสื่อสาธารณะคืออะไร และจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างไร ในสังคมที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้อยู่มาก คนไม่เคยเห็นสื่อที่ไม่ใช่รัฐและไม่ใช่สื่อธุรกิจ จึงเป็นการยากที่จะทำให้คนเข้าใจได้โดยง่าย" ดร.สมเกียรติกล่าว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท