Skip to main content
sharethis

จากกรณีพิพาทเวนคืนที่ดินที่ราชพัสดุกับชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 12 ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ตามที่ประชาไทได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น วันนี้ (1 ก.ค. 2550) ชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 12 ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้ประชุมกันเพื่อหารือหาทางออก ในเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าข้อเสนอหลายข้อตามสัญญาการเช่ากับราชพัสดุว่าอาจจะ ไม่เป็นธรรมกับชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่มาที่นี่มาร้อยกว่าปี

ชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 12  .แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้จัดประชุมหารือกันที่วัดอัมพวัน ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 

 

ประชาไท - จากกรณีพิพาทเวนคืนที่ดินที่ราชพัสดุกับชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 12  .แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ตามที่ประชาไทได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น วันนี้ (1 ก.ค. 2550) ชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 12  .แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้ประชุมกันเพื่อหารือหาทางออก ในเบื้องต้นได้ข้อสรุปว่าข้อเสนอหลายข้อตามสัญญาการเช่ากับราชพัสดุว่าอาจจะ ไม่เป็นธรรมกับชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ที่นี่มาร้อยกว่าปี

 

วันที่ 1 ก.ค. 2550 ชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 12  .แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ได้จัดประชุมหารือกันที่วัดอัมพวัน ต.แม่แรม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่  โดยเป็นการพูดถึงปัญหาความเดือดร้อนที่ชาวบ้านกลุ่มแรกได้รับ โดยทางชาวบ้านคาดว่าจะมีรายต่อๆ ไปได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

 

จากการประชุมในวันนี้และการสอบถามชาวบ้าน ชาวบ้านระบุว่า จากสัญญาเช่าที่ดินราชพัสดุเพื่ออยู่อาศัย หรือ แบบ ส./๒๗ ชาวบ้านเห็นว่าไม่เป็นธรรมและไม่เห็นด้วยหลายข้อ

 

เช่นข้อ ข้อ 12. ที่ระบุว่า ... ในระหว่างอายุสัญญาเช่า ถ้าผู้ให้เช่ามีความจำเป็นจะต้องใช้ที่ดินที่เช่าเพื่อประโยชน์ของรัฐหรือ ของราชการผู้เช่ายินยอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ โดยบอกกล่าวเป็นหนังสือให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน โดยผู้ให้เช่าไม่ต้องเสียค่าตอบแทนหรือค่าเสียหายใดๆ ให้แก่ผู้เช่าทั้งสิ้น

 

และ ข้อ 17 ที่ ระบุว่า ... ถ้าผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าข้อใดข้อหนึ่งไม่ว่าด้วยเหตุใดๆ จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ให้เช่าแล้ว ผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบและยอมชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการที่ผู้เช่าไม่ ปฏิบัติตามสัญญาเช่านั้นให้แก่ผู้ให้เช่าโดยสิ้นเชิงภายในกำหนดสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่า

 

เพราะ ตามสัญญาที่กล่าวไปนี้อาจจะทำให้ชาวบ้านสับสนว่าสิทธิ์ทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง จะยังเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวบ้านหรือไม่? และอาจจะขาดความมั่นคงในชีวิตในอนาคตต่อไป ทั้งการสั่งให้ออกจากพื้นที่เร็วที่สุดสามสิบวัน และการชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้ให้เช่า (ราชพัสดุ) ในระยะเวลาอันสั้นเกินไป

 

ทั้ง นี้ในการประชุมและจากการสอบถามชาวบ้านและผู้นำชุมชน ได้กล่าวถึงประวัติของชุมชนแห่งนี้ว่ามีมาก่อนการเวนคืน และก่อนที่ทหารจะเข้ามาในพื้นที่เสียอีก เพราะมีการตั้งวัดและโรงเรียนก่อนปี 2483 ที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พุทธศักราช 2483 จะถูกกำหนดใช้ (ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี)

 

ดัง นั้นชาวบ้านเห็นว่า การที่จะผลักดันชาวบ้าน หรือออกกฎระเบียบใดๆ ก็ควรคำนึงถึงความเป็นชุมชนเก่าแก่ และพื้นที่ในบริเวณนี้ก็มิได้รกร้างว่างเปล่า แต่มีการประกอบอาชีพทำมาหากินเกือบทั้งสิ้น  การกระทำใดๆ ก็น่าคำนึงถึงประชาชนมากกว่าความสำคัญทางยุทธศาสตร์ของพื้นที่

 

โดย ชาวบ้านไม่ต้องการให้เรื่องนี้ลุกลามใหญ่โตไปแต่ประการใด เพียงแต่ขอให้ปฏิบัติกับชาวบ้านอย่างเป็นธรรม เพราะก่อนหน้านั้นเมื่อประมาณ 15 ปีก่อน (ปี 2536) ชาวบ้านก็ได้ร่วมกันต่อสู้อย่างเข้มข้น ซึ่งก็ทำให้เกิดการพัฒนาในหมู่บ้านหลายๆ อย่างทั้งในเรื่องสาธารณูปโภค และก็เป็นอยู่อย่างสงบสุขกันมาหลายปี แต่จู่ๆ มาวันนี้ก็ต้องกับเข้าไปสู่ภาวะก่อนหน้านั้น และรู้สึกแปลกใจที่เรื่องนี้โผล่พรวดขึ้นมาหลังรัฐประหารอีกครั้งเช่นกับ เดียวเมื่อ 15 กว่าปีก่อน

 

อนึ่ง วันนี้เป็นการประชุมเพิ่มเติม หลังจากการประชุมเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่มีชาวบ้านมาประชุมร่วม 400 กว่าคน เพื่อได้รวบรวมข้อคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอเพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อ ต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net