วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน: โครงการพัฒนาคือสาเหตุ (2)

ในรายงานผลการสำรวจพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งทะเลในฤดูมรสุมบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ตั้งแต่จ.ชุมพรถึงจ.ปัตตานี ระหว่างเดือนธ.ค. 49 - ม.ค.50 ของสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ระบุพื้นที่สำรวจรวม 5 จังหวัด 31 อำเภอ 113 ตำบลที่ติดชายฝั่งทะเล เป็นการสำรวจทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศ สรุปพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งรายจังหวัด

 

แต่เนื่องจากผลการสำรวจแต่ละพื้นที่มีรูปประกอบจำนวนมาก เพื่อให้เห็นภาพความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นในภาพรวม ดังนั้นในการนำเสนอครั้งนี้จึงขอแบ่งการนำเสนอผลกระทบในแต่ละจังหวัดออกเป็นตอนๆ คือ


            ตอนที่ 1 รายงานพิเศษ วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน: โครงการพัฒนาคือสาเหตุ (1)


ตอนที่ 2 จังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี

ตอนที่ 3 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ตอนที่ 4 จังหวัดสงขลาและปัตตานี

ตอนที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ

 

เชิญติดตามอ่านตอนที่สองก่อน ดังนี้

 

.........................................................................

 

วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน: โครงการพัฒนาคือสาเหตุ (2)

 

จังหวัดชุมพร

 

พื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 250 กม. พบการกัดเซาะปานกลาง รวมระยะทาง 16.6 กม. ส่วนชายฝั่งที่มีการสะสมตัวรวมระยะทางยาว 11 กิโลเมตร ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง

 

การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในอดีต ส่วนใหญ่มาจากปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้างท่าเรือ สะพานปลา เขื่อนกันทรายและคลื่นตามปากคลอง ทำให้เริ่มมีการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น แต่ยังไม่อยู่ในขั้นวิกฤติ ยังสามารถป้องกันและหาแนวทางแก้ไขได้

 

สำหรับพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งมี 4 พื้นที่ คือ

1.       ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

2.       ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

3.       ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร

4.       บ้านหัวแหลม ตำบลบางมะพร้าว และบ้านจมูกโพรง ตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

........................

1.ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
กัดเซาะสันทรายชายฝั่งลึกประมาณ 20 เซนติเมตร และพบการกัดเซาะแนวถนนเลียบชายฝั่ง เนื่องจากแนวถนนอยู่บนแนวสันทรายปัจจุบัน จึงเกิดการกัดเซาะได้ง่าย


สภาพการกัดเซาะชายฝั่งในตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

 


สภาพการกัดเซาะชายฝั่งและถนนบ้านหน้าทับ ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

 

2. ตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร
กัดเซาะสันทรายชายฝั่งลึกประมาณ 30 เซนติเมตร บริเวณชายหาดทุ่งวัวแล่น ซึ่งเป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงในตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร ลักษณะการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งบริเวณถนนเลียบชายฝั่ง เนื่องจากถนนอยู่ชิดกับแนวสันทรายปัจจุบัน จึงเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงมรสุม

 

 


สภาพการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดทุ่งวัวแล่น

 

 

 

การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณถนนเลียบชายหาดทุ่งวัวแล่น และการสะสมตัวของทรายและขยะ

 

3. ตำบลด่านสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
สภาพท่าเทียบเรือประมงในตำบลด่านสวี ที่ถูกลมรุนแรงพัดศาลาริมน้ำตกลงไปในทะเล และความเสียหายของขอบรั้วสะพานท่าเทียบเรือประมงที่ถูกพัดพังเสียหาย (รูปที่ 9)

 

สภาพความเสียหายของศาลาริมน้ำ บริเวณท่าเทียบเรือประมงร่องน้ำด่านสวี

 

สภาพความเสียหายของสะพาน บริเวณท่าเทียบเรือประมงร่องน้ำด่านสวี

 

4. ตำบลบางมะพร้าว และตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
กัดเซาะชายฝั่งบริเวณหมู่ 14 บ้านหัวแหลม ตำบลบางมะพร้าว และบ้านจมูกโพรง ตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน ทางด้านใต้เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองหลังสวนประมาณ 1 กิโลเมตร การกัดเซาะชายฝั่ง ทางด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองหลังสวน บริเวณเขตชุมชนริมชายฝั่งทะเล ในเขตตำบลบางมะพร้าว และ ตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร

 

 

ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งด้านใต้เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองหลังสวน

 

 

 สภาพการกัดเซาะและลักษณะการป้องกันชายฝั่งบริเวณชุมชนปากน้ำหลังสวน

 

ตำบลบางมะพร้าว และ ตำบลปากน้ำ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร (ต่อ) สภาพคลื่นลมแรงพัดพาทุ่นลอยขาดเข้ามาในปากคลองหลังสวน และลักษณะการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณถนนเลียบชายฝั่งบริเวณด้านใต้ปากคลองหลังสวน จังหวัดชุมพร

 

ทุ่นลอยถูกพัดขาดเข้ามาในปากคลองหลังสวน

 

ถนนริมทะเลอำเภอหลังสวนถูกกัดเซาะได้รับความเสียหาย

 


จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวรวมกันประมาณ 162 กิโลเมตร มีชายฝั่งถูกกัดเซาะรุนแรงเฉลี่ยมากกว่า 5 เมตรต่อปี เพียงบริเวณเดียวคือ ชายฝั่งบ้านพอด - บ้านปากคลองคราม ความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร ปัจจุบันยังมีการกัดเซาะที่รุนแรงอยู่

 

            พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งปานกลาง 7 แห่งในอำเภอท่าชนะ 4 แห่ง อำเภอไชยา 2 แห่ง และอำเภอดอนสัก 1 แห่ง รวมกัน 15.5 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังพบการสะสมตัวของตะกอนชายฝั่งที่อำเภอท่าชนะและอำเภอไชยา รวมความยาวเท่ากับ 9.2 กิโลเมตร

 

            สาเหตุการกัดเซาะ เนื่องจากการพัฒนาพื้นที่ โดยเปลี่ยนพื้นที่ชายฝั่งทะเลมาใช้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งการพัฒนาเมือง การขยายระบบสาธารณูปโภค การปรับถมถนนริมทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนสภาพป่าชายเลนเป็นนากุ้ง ดังนั้น จำเป็นต้องเร่งวางแนวทางการพัฒนาพื้นที่ที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ

 

            สำหรับพื้นที่ที่พบการกัดเซาะชายฝั่งมี 3 พื้นที่ คือ

            - ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            - ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

            - ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

1. ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปริมาณน้ำทะเลขึ้นสูงที่พบบริเวณชายหาดตำบลท่าชนะ ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณถนนเลียบชายฝั่ง เนื่องจากการถมทะเลสร้างถนน


 

 

ปริมาณน้ำทะเลขึ้นสูงในตำบลท่าชนะ

 

ถนนริมทะเลในตำบลท่าชนะที่ถูกกัดเซาะได้รับความเสียหาย

 

2.ตำบลลีเล็ด อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวด้านทิศเหนือของตำบลลีเล็ด ตำบลท่าชนะ และลักษณะการสะสมตัวของขยะจำนวนมากบริเวณด้านในอ่าว

 

 

สภาพการกัดเซาะชายฝั่งในตำบลลีเล็ด

 

 

สภาพการสะสมตัวของขยะจำนวนมากบริเวณด้านในอ่าว

 

 

3. ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ลักษณะการกัดเซาะบริเวณด้านในอ่าวบ้านพอด ตำบลดอนสัก ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะเป็นประจำ และการใช้ท่อซิเมนต์เพื่อป้องกันการกัดเซาะบริเวณด้านในอ่าวบ้านพอด

 

ชายฝั่งบ้านพอด ตำบลดอนสัก มีการกัดเซาะในบริเวณอ่าวด้านในเป็นประจำ

 

การใช้ท่อซิเมนต์เพื่อป้องกันการกัดเซาะบริเวณด้านในอ่าวบ้านพอด

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท