วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน:โครงการพัฒนาคือสาเหตุ (3)

           

             สภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ปรากฏในรายงานผลการสำรวจพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งทะเลในฤดูมรสุมบริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดชุมพรถึงจังหวัดปัตตานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2549 - มกราคม 2550 ของสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ไม่แตกต่างจากจังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี

 

จังหวัดนครศรีธรรมราช

จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 235 กิโลเมตร เป็นจังหวัดในลำดับแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง มีชายฝั่งที่อยู่ในสภาพปกติไม่ถึงครึ่งของความยาวชายฝั่งทั้งหมด

 

จาการสำรวจพบการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งขั้นรุนแรงเกิดขึ้นเป็นระยะทางรวม 60 กิโลเมตร กัดเซาะปานกลางรวม 50.5 กิโลเมตร และชายฝั่งสะสมตัวประมาณ 14 กิโลเมตร

 

จากการสำรวจพื้นที่กัดเซาะทั้งทางบกและทางอากาศ ทำให้เห็นภาพการกัดเซาะในภาพกว้าง และผลจากสิ่งก่อสร้างชายฝั่งที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง และยังพบว่าการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงตลอดแนวชายฝั่ง พื้นที่เสียหายมีทั้งชุมชนชายฝั่ง บ่อปลาบ่อกุ้ง สวนมะพร้าว รวมทั้งโครงสร้างตามแนวชายฝั่ง ทั้งเขื่อนคอนกรีต เขื่อนหินทิ้ง รวมทั้งรอดักทรายและเขื่อนกั้นทรายปากคลองต่างๆ จมน้ำทะเลเสียหายเป็นจำนวนมาก

 

สาเหตุส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งที่ไม่เหมาะสมต่อสภาพธรรมชาติของพื้นที่ เช่น การปรับพื้นที่เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การสร้างโครงสร้างชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะรอกันทรายและคลื่นตามปากแม่น้ำและปากคลองต่างๆ (Jetty) รวมทั้งโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะของแต่ละชุมชน เช่น กำแพงกันคลื่น เขื่อนคอนกรีต เขื่อนหินทิ้ง (Seawall) รอดักทราย (Groin) เขื่อนกันคลื่น (Offshore Breakwater) ที่สร้างเพื่อลดผลกระทบจากโครงสร้างที่ก่อปัญหาที่มีมาก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากตลอดแนวชายฝั่ง

 

โครงสร้างดังกล่าว ล้วนเป็นสิ่งที่กีดขวางกระแสน้ำและการเคลื่อนที่ของตะกอนชายฝั่ง และทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางของกระแสน้ำทะเล มีผลให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนด้านใต้ของโครงสร้าง แต่มีการกัดเซาะอย่างรุนแรงทางด้านทิศเหนือ เนื่องจากการเคลื่อนตัวของกระแสน้ำและตะกอนชายฝั่งที่มีทิศทางจากด้านใต้ไปทางเหนือนั้น ไม่สามารถเคลื่อนตัวผ่านโครงสร้างเหล่านี้ไปได้

 

ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ชายฝั่งพยายามหาปรับตัวให้เข้าสู่สมดุลใหม่ จึงกัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือโครงสร้างออกไปแทน เพื่อให้เกิดความสมดุลตามธรรมชาติ ทำให้เกิดการแปลงแนวชายฝั่งที่ไม่พึงประสงค์ โดยกัดเซาะชายฝั่งต่อไปเรื่อยๆ และลุกลามไม่มีที่สิ้นสุด

 

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแบบยั่งยืน โดยมองภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทั้งแนวต่อเนื่องมาจากจังหวัดสงขลา  

 

สำหรับพื้นที่ที่เสียหายจำนวน 8 พื้นที่ คือ

1.              ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

2.              ตำบลแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

3.              ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

4.              ตำบลบางพระ และ ตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

5.              ตำบลท่าพญา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

6.              ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

7.              ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

8.              ตำบลหน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

ตำบลชายฝั่งทะเลของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะ

 

1. ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดสันติสุข ด้านใต้เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองท่าศาลา พบการกัดเซาะชายฝั่งเป็นทางยาวประมาณ 3 กิโลเมตร และรอดักทรายที่เขื่อนด่านภาษี

 


ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดสันติสุข

 

ลักษณะของรอดักทรายบริเวณเขื่อนด่านภาษี


 

 

ชายฝั่งบริเวณหาดสระบัว ซึ่งเดิมเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของตำบลท่าศาลา ปัจจุบันชายฝั่งเป็นหาดโคลน เนื่องจากเป็นพื้นที่สะสมตัวของตะกอนเลนจากบ่อกุ้งที่ระบายออกมาจากคลองปากพะยิง

 


 

ชายฝั่งบริเวณหาดสระบัว มีพื้นที่ชายฝั่งเป็นโคลนที่งอกสะสมเป็นพื้นที่กว้าง


 

2. ตำบลแหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ปลายแหลมตะลุมพุกเป็นพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวมาก แต่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม โดยเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หากมีคลื่นลมรุนแรงหรือพายุจะเร่งให้เกิดการกัดเซาะได้ง่าย 

 


 

ลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม บริเวณปลายแหลมตะลุมพุก


 

ชุมชนปลายแหลมตะลุมพุกที่ได้รับผลกระทบ มีการรื้อถอนบ้านเรือนเพื่ออพยพหนีเป็นประจำ โดยพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งที่แหลมตะลุมพุก ปัจจุบันได้เข้ามาถึงเขตชุมชนแล้ว

 


การรื้อถอนบ้านเรือนเพื่ออพยพหนีพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง

 

 

พื้นที่กัดเซาะชายฝั่งบริเวณเขตชุมชนแหลมตะลุมพุก

 

 

การกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่ หมู่ 2 และ 3 บ้านปลายทราย ตำบลแหลมตะลุมพุก เข้ามาถึงเขตชุมชน แนวสันทรายที่ทะเลสร้างใหม่ขึ้นมาอยู่บนถนนกลางหมู่บ้าน ทรายกองสูง 30 เซนติเมตร

 

 


การกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงที่ หมู่ 2 และ 3 บ้านปลายทราย

 

แนวถนนที่มีการสะสมตัวของทรายสูงประมาณ 30 เซนติเมตร

 

3. ตำบลปากพนังฝั่งตะวันออก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

พื้นที่ชายฝั่งบริเวณ หมู่ 1 และ 6 บ้านโก้งโค้ง ในปีนี้ไม่มีผลกระทบจากการกัดเซาะ เนื่องจากทะเลได้สร้างแนวชายฝั่งใหม่ โดยการพัดตะกอนทรายมาสะสมจำนวนมากบริเวณชายฝั่งทะเลของชุมชน

 


 

บ้านโก้งโค้ง มีกองทรายที่ถูกพัดพามาสะสมจำนวนมากบริเวณชายฝั่งในเขตชุมชน

 


 

บริเวณ หมู่ 3 บ้านหัวถนน มีโครงสร้างชายฝั่งเป็นท่าเทียบเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีทรายสะสมใต้สะพานริมฝั่งจนแน่นทึบ ทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง มีพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือโครงสร้าง

 

 


 

ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณ หมู่ 3 บ้านหัวถนน


 

4. ตำบลบางพระ และ ตำบลบ้านเพิง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

การสะสมตัวของตะกอนทรายที่ปากคลองฉุกเฉินจากทิศใต้ขึ้นเหนือตามกระแสน้ำชายฝั่ง ส่วนบริเวณด้านเหนือปากคลองพบการสะสมตัวของตะกอนทรายจำนวนมากที่ขอบบ่อปลา

 

การสะสมตัวของตะกอนทรายที่ปากคลองฉุกเฉินตามทิศทางของกระแสน้ำชายฝั่ง

 

 

การสะสมตัวของตะกอนทรายเพื่อสร้างแนวสันทรายใหม่

 

ลักษณะชายฝั่งที่กำลังปรับตัว เพื่อสร้างแนวชายฝั่งขึ้นมาใหม่ บริเวณขอบบ่อปลาที่ถูกกัดเซาะจนขาดเสียหาย โดยเริ่มสะสมตะกอนทรายเป็นแนวยาวตลอดแนวชายฝั่ง


 

 

ชายฝั่งเริ่มสะสมตะกอนทรายเพื่อสร้างแนวชายฝั่งขึ้นมาใหม่


 

5.ตำบลท่าพญา อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ลักษณะปากคลองฉุกเฉินที่มีเขื่อนกันทรายและคลื่น จะพบการสะสมตัวของทรายด้านใต้เขื่อนฯ และจะพบการปรับแนวชายฝั่งใหม่ (กัดเซาะ) บริเวณด้านเหนือเขื่อน ตลอดแนวตำบลท่าพญา

 


การสะสมตัวของทรายด้านใต้เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองฉุกเฉิน

 

การปรับตัวของแนวชายฝั่งด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองฉุกเฉิน

 

ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง ที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสม เมื่อมีการกัดเซาะชายฝั่ง จะทำให้เกิดการสูญเสียพื้นที่จำนวนมาก โดยตำบลท่าพญามีบ่อปลาเสียหายตลอดแนวชายฝั่ง

 


 

ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงตลอดแนวตำบลท่าพญา


 

6. ตำบลขนาบนาก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

การเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งที่เกิดจากการก่อสร้างโครงสร้างชายฝั่งที่บ้านบ่อคณฑี ตำบลขนาบนาก เขื่อนกันทรายปากคลองพังกาด เป็นจุดเริ่มต้นของการกัดเซาะตลอดแนวชายฝั่งขนาบนาก

 


ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงตลอดแนวตำบลขนาบนาก

 


เขื่อนกันทรายปากคลอง (เก่า) เป็นจุดเริ่มต้นของการกัดเซาะตลอดแนวชายฝั่งขนาบ


 

คลอง(เก่า) ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำ ปัจจุบันตื้นเขิน โดยใช้คลองฉุกเฉินแทน แต่เขื่อนกันทรายปากคลองยังเป็นโครงสร้างชายฝั่งที่กีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่งอยู่

 


สภาพคลองที่ตื้นเขินไม่ได้ใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำ

 

เขื่อนกันทรายปากคลองเป็นโครงสร้างชายฝั่งที่กีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่ง

 

 


ผลกระทบจากการกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่งและทิศทางคลื่นที่เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง เมื่อหมดเขื่อนกันคลื่นแล้ว จะพบการกัดเซาะถนนรุนแรง 

 


ผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งต่อเนื่องตามแนวเขื่อนกัน

 

 

การกัดเซาะแนวถนนอย่างรุนแรงด้านเหนือเขื่อนกันคลื่น

  

ความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่ง ช่วงด้านเหนือของเขื่อนกันคลื่น พบว่ามีการกัดเซาะเข้ามาถึงแนวถนน ซึ่งเดิมมีการสร้างรอดักทราย (ตัวที) และเขื่อนหินทิ้ง แต่คลื่นซัดจมหายไปหมดแล้ว 

 

 

 

ความรุนแรงของการกัดเซาะบริเวณถนนเลียบชายฝั่งทะเลในตำบลขนาบนาก

 

การลดผลกระทบของกรมทางหลวงในการป้องกันแนวถนน โดยการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบกำแพงพืด โดยใช้วิธีกดเสาเข็มขนาดความยาว 10 .X50 ซม.X30 ซม. ลึก 8 เมตร ร่วมกับการทิ้งหินนอกแนวกำแพงกันคลื่นแบบกำแพงพืดในช่วงที่สร้างเสร็จแล้ว

 


 

กำแพงกันคลื่นแบบกำแพงพืดของกรมทางหลวงเพื่อป้องกันตลอดแนวถนน


 

สภาพด้านนอกกำแพงกันคลื่นแบบกำแพงพืด จะมีคลื่นซัดรุนแรงมากขึ้น ซึ่งหากไม่มีการจัดการที่ดีจะทำให้เกิดการกัดเซาะดินตะกอนหน้ากำแพงฯ ออกไปจนหมด เกิดการสูญเสียหน้าหาดแบบสมบูรณ์ และจะทำให้กำแพงฯ พังทลายตามลงมา

 

นอกจากนี้ กรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการและผังเมือง มีแผนงานที่จะก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งริมชายหาด เป็นทางยาวตั้งแต่บริเวณบ้านหน้าโกฎิไปจนถึงบ้านแหลมตะลุมพุกระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรนั้น ในเบื้องต้นควรจะชะลอโครงการและทำการสำรวจและศึกษาผลกระทบฯ ให้รอบคอบก่อน เนื่องจากการก่อสร้างโครงสร้างชายฝั่ง จะมีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่งในบริเวณพื้นที่ข้างเคียงให้มีความรุนแรงมากขึ้น


สภาพความรุนแรงของคลื่นที่กระทบกำแพงกันคลื่นแบบกำแพงพืด


7. ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

เป็นที่ตั้งของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองระบายน้ำชะอวด-แพรกเมือง ด้านเหนือโครงสร้างมีการสร้างรอดักทรายรูปตัวทีนอกฝั่งยาวต่อเนื่องประมาณ 2 กิโลเมตร ร่วมกับกำแพงกันคลื่น

 

 


 

เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองระบายน้ำชะอวด-แพรกเมือง ในตำบลเกาะเพชร


 

ด้านเหนือของรอดักทรายรูปตัวทีตัวสุดท้าย ยังคงพบการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณท่าเรือเทศบาลหัวไทร เทศบาลหัวไทร ได้แก้ไขโดยการสร้างกำแพงกันคลื่นตลอดแนวเทศบาล

 

 

 


การกัดเซาะด้านเหนือของรอดักทรายรูปตัวทีตัวสุดท้ายบริเวณท่าเรือเทศบาลหัวไทร

 

เทศบาลหัวไทร ได้แก้ไขโดยการสร้างกำแพงกันคลื่นตลอดแนวเทศบาล

  

เมื่อเข้าช่วงมรสุมที่มีคลื่นลมแรง ความรุนแรงของคลื่นที่กระทบกำแพงกันคลื่นจะทวีความแรงเพิ่มขึ้น และชักพาทรายใต้โครงสร้างเขื่อนออกไป ทำให้เขื่อนพังลงในเวลาอันรวดเร็ว 

 

 

ความรุนแรงของคลื่นที่เพิ่มขึ้นเมื่อเข้ากระทบเขื่อน

 

คลื่นชักพาทรายใต้เขื่อนออกไปทำให้เขื่อนทรุดตัวเสียหาย

 

8. ตำบลหน้าสตน อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช

เขื่อนกันทรายและคลื่นปากระวะ เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริม สร้างยื่นเอียงออกไปในทะเล พบการกัดเซาะชายฝั่งด้านเหนือโครงสร้างประมาณ 200 เมตร หน้าวัดปากระวะ

 


เขื่อนกันทรายและคลื่นปากระวะ

 


      การกัดเซาะหน้าวัดปากระวะ บริเวณด้านเหนือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากระวะ

 

 


เขื่อนกันทรายและคลื่นปากระวะ มีความยาว 85 เมตร ฐานกว้าง 2 เมตร สูง 1.5 เมตร สันบนกว้าง 0.50 เมตร สูงจากระดับน้ำทะเล +2 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ก่อสร้างเมื่อปี 2521 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการการบริหารจัดการประตูระบายน้ำปากระวะ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกเข้าไปทำความเสียหายแก่พื้นที่ทำนาข้าวของเกษตรกรประมาณ 30,000 ไร่


 

 

                           ลักษณะของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากระวะ

.................................
อ่านย้อนหลัง


รายงานพิเศษ วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน: โครงการพัฒนาคือสาเหตุ (1)

วิกฤตทะเลกลืนแผ่นดิน: โครงการพัฒนาคือสาเหตุ (2)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท