Skip to main content
sharethis

โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม [Media Monitor] ศึกษารายการโทรทัศน์ในฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง ที่ออกอากาศระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2550 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อวิเคราะห์คุณค่า และคุณสมบัติเนื้อหารายการเพื่อประโยชน์สาธารณะ


 


ขั้นตอนการศึกษา เริ่มจากการแยกแยะว่า รายการใดมองผู้ชมเป็นผู้บริโภค รายการใดมองผู้ชมเป็นพลเมือง ด้วยเกณฑ์สำคัญ คือ รายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค คือ รายการที่มองผู้ชมเป็นลูกค้า เนื้อหามุ่งโน้มน้าวเพื่อให้ จดจำและรู้สึกดีต่อสินค้า/บริการ จนเป็นลูกค้า รวมทั้งมุ่งสนองประโยชน์ และ ความพอใจในระดับบุคคล ส่วน รายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง คือ รายการที่ให้ข้อมูล ข่าวสาร การศึกษา การบันเทิงที่มีคุณค่า สร้างสำนึกเพื่อส่วนรวม ส่งเสริมในเรื่อง สิทธิ เสรีภาพ บทบาทหน้าที่ต่อสังคม และแม้จะเพื่อประโยชน์ส่วนตน แต่ก็ส่งประโยชน์ต่อส่วนรวมด้วย


           


จากนั้น นำรายการที่เข้าข่าย มองผู้ชมเป็นพลเมือง มาวิเคราะห์กับเกณฑ์คุณค่า 5 ด้าน คือ ด้านประชาธิปไตย(Democracy) ด้านวัฒนธรรม(Cultural) ด้านการศึกษา(Education) ด้านสังคมและชุมชน(Social & Community) และ ด้านสังคมโลก(Global) และ คุณลักษณะด้านเนื้อหาเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Services Broadcast - PSB Qualifications) 11 ด้าน เพื่อค้นหาสภาพเนื้อหารายการเพื่อประโยชน์สาธารณะ ของฟรีทีวี 6 ช่อง คือ ช่อง 3  ช่อง 5  ช่อง 7  ช่อง 9   ช่อง 11  และ  Titv


 


ผลการวิเคราะห์การมองผู้ชมเป็นผู้บริโภคหรือเป็นพลเมือง


·                     มีสถานีโทรทัศน์ 4 ช่องที่มีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภคมากกว่าดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C1' > C2') โดยสถานีโทรทัศน์ที่มีดัชนีเนื้อหารายการที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C1") มากที่สุดคือคือช่อง 7 คือมี 74.5 % (7,513 นาที/สัปดาห์) ตามด้วยช่อง 5 คือ 62.3 % (6,280 นาที/สัปดาห์), ช่อง itv คือ 61.6 % (3,875 นาที/สัปดาห์) และช่อง 3 คือ 61.3 % (6,174 นาที/สัปดาห์)


 


·                     มีสถานีโทรทัศน์ 2 ช่องที่มีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมืองมากกว่าดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C2' > C1') โดยสถานีโทรทัศน์ที่มีดัชนีเนื้อหารายการที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2") มากที่สุดคือมากที่สุดคือช่อง 11 คือ 72.4 % (7,480 นาที/สัปดาห์) และช่อง 9 คือ 50.3% (5,070 นาที/สัปดาห์)


·                     สถานีโทรทัศน์ทั้ง 6 ช่อง มีดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค (C1') ในฐานะผู้บริโภค เฉลี่ยที่ 53.5 % (5,395 นาที/สัปดาห์) ขณะที่ดัชนีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง (C2') ในฐานะเป็นพลเมืองที่อยู่ในระบบสังคม (C2") มีค่าเฉลี่ยที่ 42.5 % (4,286 นาที/สัปดาห์)


 


·                     ผู้ชมโทรทัศน์ส่วนมาก (C1* = 65.5 %) เลือกรับชมรายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค ขณะที่ผู้ชมส่วนน้อย (C2* = 29.8 %) เลือกรับชมรายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง และ 61.0 % ของผู้ชมรายการโทรทัศน์ที่มองผู้ชมเป็นพลเมือง นั้นเลือกชมจากช่อง 3 และช่อง 7 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ชมรายการโทรทัศน์ส่วนมากยังเลือกรับชมรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาที่มองผู้ชมเป็นผู้บริโภค มากกว่าที่จะเป็นพลเมือง


 


ผลการวิเคราะห์คุณค่า 5 ด้าน


·                     สถานีโทรทัศน์ทุกช่องมีรายการทีมีเนื้อหาเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยเน้นคุณค่าด้านประชาธิปไตยเป็นหลัก (26.1 %) รองลงมาคือคุณค่าด้านสังคมโลก (23.6 %) คุณค่าด้านการศึกษา (18.7 %) และน้อยที่สุดคือคุณค่าด้านสังคมและชุมชน (6.3 %)


 


·                     สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 มีรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมือง 38 รายการ รวม 3,906 นาที/สัปดาห์ คิดเป็น 38.7 % ของเวลาออกอากาศทั้งหมด


 


เป็นรายการที่มีรายการที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณค่าเนื้อหาด้านประชาธิปไตยมากที่สุด คือ (24.2 %) เนื้อหาส่งเสริมคุณค่าด้านสังคมโลก (21.7 %) คุณค่าด้านวัฒนธรรม (14.3 %) คุณค่าด้านการศึกษา (13.4 %) และน้อยที่สุดคือคุณค่าด้านสังคมและชุมชน เพียง 1.2 % จากเวลาการออกอากาศทั้งหมด แทบไม่มีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมคุณค่าทางด้านสังคมและชุมชน


 


·                     สถานีโทรทัศน์ช่อง 5 มีรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมือง 75 รายการ รวม 3,725 นาที/สัปดาห์ คิดเป็น 37.0 % ของเวลาออกอากาศทั้งหมด


 


เป็นรายการที่มีรายการที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณค่าสังคมโลกมากที่สุด คือ (25.1 %) เนื้อหาส่งเสริมคุณค่าด้านประชาธิปไตย (19.7 %) คุณค่าด้านการศึกษา (14.2 %) คุณค่าด้านวัฒนธรรม (7.1 %) และน้อยที่สุดคือคุณค่าด้านสังคมและชุมชน เพียง 5.1 % จากเวลาการออกอากาศทั้งหมด


 


·                     สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 มีรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมือง 56 รายการ รวม 1,661 นาที/สัปดาห์ คิดเป็น 16.5 % ของเวลาออกอากาศทั้งหมด


 


เป็นรายการที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณค่าด้านประชาธิปไตยมากที่สุด คือ (11.8 %) เนื้อหาส่งเสริมคุณค่าด้านสังคมโลก (11.9 %) คุณค่าด้านการศึกษา (3.9 %) คุณค่าด้านวัฒนธรรม (7.1 %) และน้อยที่สุดคือคุณค่าด้านสังคมและชุมชน เพียง 5.1 % จากเวลาการออกอากาศทั้งหมด


 


·                     สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 มีรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมือง 83 รายการ รวม 5,070  นาที/สัปดาห์ คิดเป็น 50.3 % ของเวลาออกอากาศทั้งหมด


 


เป็นรายการที่มีรายการที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณค่าด้านการศึกษามากที่สุด คือ (35.9 %) คุณค่าด้านประชาธิปไตย (29.0 %) คุณค่าด้านสังคมโลก (26.9 %) คุณค่าด้านวัฒนธรรม (21.0 %) และน้อยที่สุดคือคุณค่าด้านสังคมและชุมชน เพียง 12.0 % จากเวลาการออกอากาศทั้งหมด


 


·                     สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 มีรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมือง 114 รายการ รวม 7,480 นาที/สัปดาห์ คิดเป็น 74.2 % ของเวลาออกอากาศทั้งหมด


 


เป็นรายการที่มีรายการที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณค่าด้านประชาธิปไตยมากที่สุด คือ (45.2 %) คุณค่าด้านการศึกษา (32.0 %) คุณค่าด้านสังคมโลก (31.2 %) คุณค่าด้านวัฒนธรรม (17.3 %) และน้อยที่สุดคือคุณค่าด้านสังคมและชุมชน เพียง 11.3 % จากเวลาการออกอากาศทั้งหมด


 


·                     สถานีโทรทัศน์ช่อง TITV มีรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหามองผู้ชมเป็นพลเมือง 51 รายการ รวม 3,875 นาที/สัปดาห์ คิดเป็น 38.4 % ของเวลาออกอากาศทั้งหมด


 


เป็นรายการที่มีรายการที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณค่าด้านประชาธิปไตยมากที่สุด คือ (26.2 %) คุณค่าด้านสังคมโลก (24.9 %) คุณค่าด้านการศึกษา (12.6 %) คุณค่าด้านวัฒนธรรม (12.4 %) และน้อยที่สุดคือคุณค่าด้านสังคมและชุมชน เพียง 7.5 % จากเวลาการออกอากาศทั้งหมด


 


ผลการวิเคราะห์ด้าน "คุณลักษณะ" เพื่อประโยชน์สาธารณะ


1.                   ด้านประชาธิปไตย (Democracy) พบว่าเนื้อหาเพื่อส่งเสริมแนวคิดด้านประชาธิปไตยในรายการโทรทัศน์ไทยมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายการที่มีเนื้อหาส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของคุณภาพการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย


 


อย่างไรก็ดี ช่อง 11 มีคุณลักษณะด้านนี้มากที่สุด รองลงมาคือ ช่อง 9 ในขณะที่ ช่อง 7 และ TITV มี   เนื้อหาส่งเสริมแนวคิดด้านประชาธิปไตยน้อยที่สุด


 


2.                   ด้านการมีส่วนร่วม (Participation)  พบว่าเนื้อหาเพื่อการมีส่วนร่วมของผู้ชมในรายการโทรทัศน์ ทั้ง 6 ช่อง มีน้อยมาก โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในระดับการแสดงความคิดเห็น (ระดับ2) ไปจนถึงระดับการตรวจสอบ (ระดับ 6) นั้นแทบไม่มีเลย กล่าวได้ว่าส่วนใหญ่เป็นเพียงระดับ 1 คือ ประชาชนเป็นผู้ให้ข้อมูลเท่านั้น


 


อย่างไรก็ดี ช่อง 11 มีคุณลักษณะด้านนี้ มากที่สุด รองลงมาคือ ช่อง 9 ในขณะที่ ช่อง 5 ช่อง 7 และ Titv มีเนื้อหาส่งเสริมแนวคิดด้านประชาธิปไตยน้อยที่สุด


 


3.                   ด้านความหลากหลาย (Diversity) พบว่าทุกช่องมีความหลากหลายในประเภทเนื้อหารายการพอสมควร ในขณะที่รูปแบบรายการค่อนข้างกระจุกตัวอยู่ที่ละคร ข่าว แม็กกาซีน ยังคงขาดรายการประเภทสารดี สนทนา อยู่มาก ส่วนความหลากหลายของผู้ร่วมรายการนั้นเป็นคุณสมบัติที่ขาดมาก เพราะมักเน้นบุคคลสาธารณะ คนเด่น คนดัง ดารา นักการเมือง อย่างไรก็ดี ช่อง 11 มีคุณลักษณะด้านนี้ มากที่สุด รองลงมาคือ ช่อง 9 ในขณะที่ ช่อง 5 ช่อง 7 และ Titv มีเนื้อหาส่งเสริมแนวคิดด้านประชาธิปไตย น้อยที่สุด


 


อย่างไรก็ดี พบความหลากหลายของรูปแบบในแทบทุกช่อง โดยเฉพาะช่อง 9 ในขณะที่ ช่อง 5 และ ช่อง 11 มีความหลากหลายของรูปแบบรายการน้อยที่สุด


 


ส่วนความหลากหลายด้านเนื้อหา พบมากที่สุดใน ช่อง 5 ช่อง 9 และ TITV โดย ช่อง 7 มีน้อยที่สุด


 


สำหรับความหลากหลายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน พบมากในช่อง 11 รองลงมาในระดับเท่ากัน คือ ช่อง 5, 7, 9 , Titv โดย ช่อง 3 มีน้อยที่สุด


 


4.         ด้านการให้พื้นที่แก่คนด้อยโอกาสและคนชายขอบ (Voiceless and Maginal) พบว่า มีรายการที่สนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มชาติพันธุ์และคนส่วนน้อยหรือคนชายขอบในจำนวนที่น้อยมาก ทั้งรายการดังกล่าวส่วนใหญ่มีความยาวไม่มากนัก ในขณะที่บางช่องแทบไม่มีรายการที่สนับสนุนกลุ่มคนชายขอบ หรือกลุ่มคนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมอยู่เลย สำหรับกลุ่มคนที่ถูกละเลยจากรายการโทรทัศน์มากที่สุดคือ กลุ่มคนพิการ กลุ่มชาติพันธ์ คนมุสลิม คนชนบท


 


อย่างไรก็ดี พบว่า ช่อง 11 ให้พื้นที่แก่คนด้อยโอกาสและคนชายขอบมาก ที่สุด โดยมี ช่อง 3, 5, 7 มีรายการที่เป็นพื้นที่สาธารณะน้อยที่สุด


 


5.                   ด้านการสร้างพื้นที่สาธารณะ (Public Sphere) พบว่ายังขาดแคลนรายการโทรทัศน์ที่มีพื้นที่สาธารณะอย่างมาก อย่างไรก็ดี


 


พบว่า ช่อง 11โดดเด่นที่สุดในรายการที่เป็นเวที หรือ พื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับความคิดเห็นที่หลากหลาย โดยมี ช่อง 3, 5, 7 ให้พื้นที่แก่คนกลุ่มนี้น้อยที่สุด


 


6.         ด้านการรวมพลังเพื่อขับเคลื่อนสังคม (Collective and Mobillization) พบว่า ยังขาดแคลนรายการโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเพื่อรวมพลังหรือรณรงค์สู่การขับเคลื่อนสังคม


 


อย่างไรก็ดี พบว่า ช่อง 11 โดดเด่นที่สุดในรายการเพื่อขับเคลื่อนสังคม โดยมี ช่อง 3, 5 , 7 มีเนื้อหารายการด้านนี้น้อยที่สุด


 


7.         ด้านการผลิตเนื้อหาที่เข้าถึงแก่คนส่วนมาก (Universility) พบว่าโดยมากมีการผลิตเนื้อหาที่เข้าถึงและเข้าใจได้สำหรับคนส่วนมากดีอยู่แล้ว


 


8.                   ด้านการจัดวางเนื้อหารายการที่ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้อย่างเหมาะสม (Accessibility) พบว่าลักษณะการจัดวางผังรายการโดยทั่วไปคำนึงถึงความสะดวกในการรับชมของผู้ชมอย่างเหมาะสมดี


 


9.         ด้านการส่งเสริมแนวคิดสมานฉันท์และบูรณาการสังคม (Socail Harmony) พบว่า รายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมแนวคิดสมานฉันท์และบูรณาการสังคมมีมากแต่อาจขาดความหลากหลายในเนื้อหาบริบทอื่นๆ โดยเฉพาะด้านสังคม วัฒนธรรม เชื้อชาติ ชนชั้น ซึ่งเป็นปัญหาหนึ่งของสังคมไทยที่ยังคงมีปัญหาเรื่องอคติ ภาพตัวแทน จึงควรที่สถานีโทรทัศน์แต่ละช่องสถานีจะได้คิดและพัฒนาเนื้อหารายการไปสู่ความหลากหลายในเนื้อหาที่ยังขาดแคลนอยู่ อย่างไรก็ดี พบ ช่อง 11 มีเนื้อหาด้านนี้มากที่สุด ในขณะที่ ช่อง 3 และ ช่อง 7 มีน้อยที่สุด


 


10.        ด้านการสอดส่องและเฝ้าระวังภัยให้กับสังคม (Serveillance) พบว่ารายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพด้านนี้มีน้อยมาก (7 รายการจาก 6 ช่องสถานี) จึงควรที่สถานีโทรทัศน์ควรใส่ใจและให้ความสำคัญกับรายการประเภทนี้ เพราะสังคมไทยจำเป็นที่จะต้องมีเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มีคุณภาพส่งเสริมการเฝ้าระวังภัยให้สังคมมีความปลอดภัยและสุขภาวะที่ดี เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ปลอดภัยให้กับสมาชิกสังคม


 


11.               ด้านการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) พบว่า มีรายการโทรทัศน์ที่ส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกโดยผู้ชม หรือประชาชนน้อยมาก (เวลาออกอากาศรวมเพียง 395 นาที/สัปดาห์) เมื่อเทียบกับปริมาณเวลารายการทั้งหมดของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องรวมกัน รายการดังกล่าวเป็นเพียงสัดส่วน 0.6 % เท่านั้น โดยมีช่อง 11 มีเนื้อหาด้านนี้มากที่สุด รองมาคือ ช่อง 9 ในขณะที่ช่องอื่นไม่ปรากฏเนื้อหาด้านนี้


 


12.               ด้านการสร้างความปลอดภัยให้กับมนุษย์ (Human Security) พบว่า มีรายการที่มีคุณภาพด้านการสร้างความปลอดภัยให้กับมนุษย์ในปริมาณพอสมควร โดยเฉพาะด้านสุขภาพ การแพทย์ สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว ศาสนา ปัญหาสังคม ครอบครัว การศึกษา

เอกสารประกอบ

รายงานผลการศึกษารอบที่ 13 รายการโทรทัศน์เพื่อประโยชน์สาธารณะในฟรีทีวีของประเทศไทย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net