Skip to main content
sharethis




วันที่ 19 ก.ย. 50 เวลา 14.00 น ที่ทำเนียบรัฐบาล คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) และ
เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) นำโดยนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์
เลขาธิการ คปส และนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่าย FACT เข้ายื่นหนังสือต่อนายกฯและรัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ กรณีความไม่่ชัดเจนของการใช้กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ในการจับกุมผู้ทำความผิดหวั่นกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะพลเมืองไทยผู้ใช้สื่อออนไลน์มากกว่าที่จะใช้ควบคุมอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยเห็นว่าเสรีภาพในการสื่อสารนั้นไม่ใช่อาชญากรรม เรียกร้องรัฐบาลเปิดเผยข้อมูลและชี้แจงต่อสาธารณชน และให้ยุติการจับกุมจนกว่าจะมีการปรับแก้ความชัดเจนในกฎหมายตามมาตรา14 ที่ต้องแยกเรื่องเสรีภาพในการสื่อสารออกจากจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์



                       


                       






19 กันยายน พ.. 2550


 


เรื่อง             ผู้ถูกจับกุมภายใต้ พระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550
เรียน             นายกรัฐมนตรี
สำเนาเรียน     รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ

                   จากกรณีหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ ฉบับสุดสัปดาห์ วันที่ 1-2 กันยายน พ.. 2550 รายงานข่าว ประเทศไทยเลิกแบนเว็บไซต์ยูทิวบ์ โดยความตอนหนึ่งอ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐที่ระบุว่าเมื่อไม่กี่สัปดาห์มานี้ รัฐไทยได้ใช้ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.. 2550 ดำเนินการจับกุมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยสองคน แต่รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ปฏิเสธข่าวดังกล่าว ในขณะที่หนังสือพิมพ์ประชาไท (www.prachatai.com) รายงานว่าพบการจับกุมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจริง จำนวนสองคน เป็นชายหนึ่งคนหญิงหนึ่งคน ซึ่งได้ถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลากว่าสองอาทิตย์ซึ่งต่อมาได้รับการประกันตัวแล้วทั้งสองคนถูกจับกุมตัวในข้อหาตามมาตรา 14วรรค2 "การนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่น คงของชาติหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" ต่อกรณีดังกล่าวนี้ส่งผลให้องค์กรสื่อและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหลายแห่งได้ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลในเรื่องนี้อย่างมาก

                   คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส) และ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) เห็นว่ากรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นส่งผลร้ายแรงที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเฉพาะพลเมืองไทยผู้ใช้สื่อออนไลน์ประมาณกว่า 6,000,000คน อีกทั้งยังสะท้อนความถดถอยในเรื่องสิทธิเสรีภาพของพลเมืองไทยในสายตาประชาคมโลก นับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.. 2550 เป็นต้นมา

                   กรณีนี้สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ..2550 ซึ่งเป็นกฏหมายฉบับแรกที่ผ่านการพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ซึ่งเต็มไปด้วยข้อกังวลหลายประการเพราะสะท้อนเจตนาในการควบคุมสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารการแสดงออกทางความคิดและความรู้สึก ของประชาชน อีกทั้งมาตรการในการใช้กฎหมาย รวมถึงกฎกระทรวงและประกาศระเบียบต่างๆ ยังขาดความชัดเจน มีความคลุมเครือ เปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้กฎหมายไปในทางที่ละเมิดต่อสิทธิพลเมืองได้



คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย ขอเรียกร้องรัฐบาลดังต่อไปนี้


1.ขอให้รัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศชี้แจงต่อสาธารณชนกรณีการจับกุมผู้ใชอินเทอร์เน็ตและ เปิดเผยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้สังคมรับรู้โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ถูกจับกุมและพล เมืองผู้ใช้สื่อออนไลน์ทั้งหมดในประเทศไทย


2.ขอให้รัฐบาลมีหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ถูกจับกุมว่าต้องได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมและไม่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ไม่ถูกข่มขู่คุกคามทั้งทางร่างกายและจิตใจ

3.ขอเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการดำเนินการจับกุมดำเนินคดีผู้ที่ใช้เสรีภาพในการรับส่งข้อมูลข่าวสารและเผยแพร่เนื้อหาทางสื่อ ออนไลน์จนกว่าจะมีการปรับแก้ความชัดเจนในกฏหมายตามมาตรา14ที่ต้องแยกเรื่องเสรีภาพในการสื่อสารออกจากจาก อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เพราะเสรีภาพในการสื่อสารนั้นไม่ใช่อาชญกรรม

            คปส และ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย เชื่อมั่นว่า การสื่อสารและการแสดงออกซึ่งความคิดและข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง ถ้าการสื่อสารใดๆ นั้นส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้อื่น บุคคลดังกล่าวนั้นสามารถดำเนินการทางกฏหมายได้ตามฐานความผิดในประมวลกฏหมายอาญา

            ในที่สุดแล้ว รัฐต้องแยกความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง เสรีภาพในการสื่อสาร และอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ไม่เช่นนั้นแล้วการบังคับใช้กฏหมายดังกล่าวนี้จะส่งผลต่อการคุกคามสิทธิเสรีภาพของพลเมืองผู้ใช้สื่อออนไลน์หลายล้านคน ในประเทศไทยอย่างรุนแรง


            คปสและFACTขอเรียกร้องให้รัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศแสดงความรับผิดชอบในประเด็นนี้ และสร้างความโปร่งใสต่อประเด็นที่เกิดขึ้น     เนื่องจากเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองอย่างมีนัยยะสำคัญอีกประการคือสื่ออินเทอร์เน็ตถือ เป็นสื่อสากล ที่ปราศจากเส้นแบ่งเขตแดน ดังนั้นรัฐไทยจำเป็นต้องยอมรับการใช้สิทธิเสรีภาพของพลเมืองในสื่ออินเทอร์เน็ตตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับกันในระดับ สากล
            จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาและขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้


                                                                       


                                                                              ขอแสดงความนับถือ


 (นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์)                     เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส)


                                                               (นายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล)                                 


                                                       เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT)


 


เสรีภาพการสื่อสาร ไม่ใช่อาชญากรรม
Freedom of Expression is not a crime!


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net