ประมวลภาพ 27 ก.ย. 2550 (2): เหตุการณ์ประท้วงกลางกรุงย่างกุ้ง และนาทีสุดท้ายของชีวิตช่างภาพชาวญี่ปุ่น

แม้ว่าเมื่อวานนี้ (27 ก.ย.) กำลังเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลพม่าได้ใช้เครื่องกีดขวางเป็นรั้วลวดหนาม มาปิดกั้นเส้นทางตามที่สี่แยกสำคัญใจกลางเมือง และบริเวณโดยรอบเจดีย์สุเลและเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งเป็นพื้นที่สำคัญของการชุมนุมต่อต้าน แต่กลุ่มผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนยังคงฝ่าฝืนคำสั่งห้าม เดินขบวนออกมาท้าทายกำลังเจ้าหน้าที่ซึ่งก็ต้องใช้มาตรการรุนแรงเช่นเดิม คือ ยิงขู่และแก๊สน้ำตา เพื่อสลายการชุมนุม อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาวัยรุ่น และพระภิกษุสงฆ์ 20 รูป ได้แต่ปรบมือและร้องเพลงชาติ ในการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐ นอกจากนั้นในพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงย่างกุ้งมีการปะทะอย่างน้อย 3 จุด แต่ชาวบ้านก็ไปช่วยเหลือพระสงฆ์พาหนีไปที่ปลอดภัย

 

ต่อมาทหารและตำรวจ 200 นาย ได้เดินลาดตระเวนไปตามท้องถนนพร้อมกับโทรโข่ง เพื่อประกาศเตือนให้ประชาชนเดินทางกลับบ้านเรือนแต่โดยดี หาไม่แล้วอาจจะถูกยิง สร้างความ ไม่พอใจให้กับฝูงชน นอกจากนั้นยังมีเสียงปืนดังขึ้นใกล้กับสถานีรถไฟใจกลางกรุงย่างกุ้ง จากคำบอกเล่าของพยานระบุว่า มีชายคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาพบว่าเป็นนายเคนจิ นากาอิ ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีชาวญี่ปุ่น ถูกยิง ซึ่งแม้อาวุธปืนที่ยิงมานั้นจะไม่ได้เล็งมายังฝูงชนโดยตรงที่ชุมนุมกันอยู่ใกล้กับเจดีย์ซูเล และยังมีประชาชนถูกรวบตัวไป 100 คน โดยทั้งหมดถูกนำขึ้นรถบรรทุกทหารและนำตัวออกไปจากพื้นที่ชุมนุม (อ่านข่าวย้อนหลังที่นี่)

 

ประชาไทรวบรวมภาพ เจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารพม่า เข้ากวาดล้างพระสงฆ์และประชาชน ในการชุมนุมกลางกรุงย่างกุ้ง วานนี้ รวมถึงภาพสุดท้ายของนายเคนจิ นากาอิ ช่างภาพชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในขณะที่มีการสลายการชุมนุมย่านพระเจดีย์สุเล

 

 

แผนที่กรุงย่างกุ้ง แสดงสถานที่สำคัญในเมืองและจุดที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ เมื่อวันที่ 27 ก.ย. (ที่มา: ประชาไทกราฟฟิค/ดัดแปลงจาก Interactive. Burma protests, Special reports, Guardian Unlimited)

 


ในบล็อก http://www.flickr.com/photos/naingankyatha/ ระบุว่าขณะนี้พระสงฆ์ส่วนใหญ่ในกรุงย่างกุ้งไม่สามารถเข้าร่วมการประท้วงได้ เนื่องจากวัดของพวกเขาถูกทหารพม่าเข้ายึด ดังเช่นที่เห็นในภาพ ทั้งนี้ผู้เขียนบล็อกยังรายงานว่ามีข่าวลือว่ารัฐบาลพม่าใช้กำลังจับกุมและสังหารพระสงฆ์กว่า 100 รูป ที่วัดโอกกาลาบาใต้ (South Okkalaba monastery) และวัดโมกอง (Mo Gaung monastery) (ที่มาของภาพ: http://www.flickr.com/photo_zoom.gne?id=1447699141&size=l )

 

บริเวณกลางกรุงย่างกุ้ง เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. ฝูงชนหลายพันคนเริ่มรวมตัวกัน และไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลได้ ทั้งนี้เวลาประมาณ 13.00 น. เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลได้ยิงปืนเตือน (ที่มา: http://www.flickr.com/photos/naingankyatha/)

 

ทหารพร้อมอาวุธครบมือขณะเข้าประจำการในถนนย่านกลางกรุงย่างกุ้ง (ที่มา: AFP)

 

ผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาลทหารพม่ายืนอยู่ตรงข้ามกับอีกฝั่งหนึ่งที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจล

(ที่มา: AP Photo)

 

พระสงฆ์สองรูปสวดมนต์บริเวณทางเท้าของย่านพระเจดีย์สุเล ในกรุงย่างกุ้ง ขณะที่ฝูงชนต่างมุงดู

และสวดมนต์ตาม (ที่มา: REUTERS/Aung Hla Tun)

 

ภาพจาก the Mandalay Gazette แสดงให้เห็นถึงภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจพร้อมโล่และกระบองเข้าเสริมกำลังในกรุงย่างกุ้ง (ที่มา: AFP)

 

ภาพขณะเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ประท้วง ย่านพระเจดีย์สุเลวานนี้

(ที่มา: REUTERS/Stringer)

 

 

ผู้ประท้วงรวมตัวกันบนท้องถนนย่านกลางเมืองของกรุงย่างกุ้งวานนี้ (ที่มา: AFP/Moemaka Media)

 

 

ผู้ประท้วงรัฐบาลทหารพม่าพร้อมท่อนไม้ในมือ ขณะที่เบื้องหน้าของเขาคือตำรวจปราบจลาจล

(ที่มา: AP Photo)

 


ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวเอแอฟพีชาวญี่ปุ่น นายเคนจิ นากาอิ (Kenji Nagai) วัย 52 ปี ภาพนี้ถ่ายเมื่อเดือนเมษายน ปี 2546 ที่อัมมาน ประเทศจอร์แดน ทั้งนี้นายเคนจิเสียชีวิตระหว่างทำข่าวการชุมนุมที่ย่านพระเจดีย์สุเล วานนี้ (27 ก.ย.) โดยเย็นวานนี้พ่อของเขาและผู้แทนจากสำนักงานต้นสังกัดได้ออกมายืนยันว่าผู้เสียชีวิตในภาพคือลูกชายของเขา (ที่มาของภาพ: AP/Kyodo News)

 

ตำรวจและทหารที่ทำการยิงและเข้าสลายผู้ประท้วง ในย่านพระเจดีย์สุเล ในภาพจะเห็นนายเคนจิ นากาอิ ซึ่งแม้ว่าเขาจะถูกยิงจนได้รับบาดเจ็บและล้มลง แต่เขาก็พยายามที่จะถ่ายภาพตำรวจและทหารที่ทำการยิงและเข้าสลายผู้ประท้วง ในย่านพระเจดีย์สุเล โดยนายเคนจิได้เสียชีวิตในเวลาต่อมา (ที่มาของภาพ: Reuters)

 

(ที่มาของภาพ: Reuters)

 

(ที่มาของภาพ: Reuters)

 

(ที่มาของภาพ: http://www.flickr.com/photo_zoom.gne?id=1447685117&size=l)

 

(ที่มาของภาพ: http://www.flickr.com/photo_zoom.gne?id=1447685117&size=l)

 

ในบล็อก http://www.flickr.com/photos/naingankyatha/ ได้บันทึกภาพมุมไกลของเหตุการณ์ดังกล่าวเอาไว้ได้ โดยเผยให้เห็นถึงเหตุการณ์ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยังคงทุบตีผู้ประท้วงต่อไป และชายที่เห็นในภาพน่าจะเป็นนายเคนจิ นากาอิ (โปรดสังเกตเสื้อผ้า กล้องถ่ายรูป และรองเท้า) ซึ่งโดยผู้เขียนบล็อกบรรยายภาพว่า ชายที่อยู่ในภาพนี้ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจทุบตีจนกระทั่งเสียชีวิต โดยเจ้าหน้าที่เหล่านั้นได้พยายามจุดไฟเพื่อไม่ให้มีใครเห็นภาพดังกล่าว (ที่มาของภาพ: http://www.flickr.com/photo_zoom.gne?id=1447685117&size=l)

 

(ที่มาของภาพ: http://www.flickr.com/photo_zoom.gne?id=1447699141&size=l)

 

(ที่มาของภาพ: http://www.flickr.com/photo_zoom.gne?id=1447699141&size=l)

 

หลังจากนั้น ตำรวจปราบจลาจลหมวกแดงได้แบกร่างของชายคนดังกล่าว เข้าไปหลังแนวรั้วกั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจ (บนสุดของภาพ) โดยผู้เขียนบล็อกยังระบุว่าเหตุการณ์ทั้งหมดถูกบันทึกเป็นภาพเคลื่อนไหวหมดแล้ว (ที่มาของภาพ: http://www.flickr.com/photo_zoom.gne?id=1447699141&size=l)


 

 

ภาพจาก the Mandalay Gazette แสดงให้เห็นถึงถนนที่เต็มไปด้วยคราบเลือดและร้องเท้าแตะที่ผู้ประท้วงทิ้งไว้หลังกองกำลังของรัฐบาลทหารพม่าเข้าสลายการชุมนุมของพวกเขาในย่านกลางกรุงย่างกุ้งวานนี้ (ที่มา: AFP/the Mandalay Gazette)


 

ชมภาพเหตุการณ์ชุมนุมในพม่าได้ที่

http://www.flickr.com/photos/naingankyatha/

http://english.dvb.no/photo1.php

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท