Skip to main content
sharethis


ก.ย.49  มีกลุ่มบุคคลเข้าไปทำการบุกรุกไถทำลายป่าพรุเพื่อเตรียมการที่จะออกเอกสารสิทธิในบริเวณพื้นที่ป่า ชาวบ้านที่ได้ทราบเรื่องและพบร่องรอยของการไถเพื่อเตรียมรังวัดออกเอกสารสิทธิ จึงได้มาแจ้งข้อมูลกับกลุ่มอนุรักษ์ฯ

 


18 ก.ย.49 กลุ่มอนุรักษ์พิทักษ์ป่าชายเลนแม่รำพึง ยื่นหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมทรัพยากรและชายฝั่ง ให้ทำการตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิของเอกชนที่ออกทับพื้นที่ป่าชายเลนใน ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาด หลังจากร้อยเรียน ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบพื้นที่ร่วมกับชาวบ้านและหัวหน้าสถานีฯ ป่าชายเลนที่ 8 (วัชรินทร์ ชัชวาลวงษ์)


 


11 ต.ค.49- บันทึกการตรวจสอบข้อเท็จจริง สถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 8 สรุปความว่า "น่าจะมีการ


ออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสามารถออกเอกสารสิทธิ


ใดๆ ได้


- หัวหน้าสถานีฯ ป่าชายเลนที่8 ได้แนะนำกลุ่มอนุรักษ์ฯ ให้ทำหนังสือร้องเรียนไปยื่นต่อ อบต.อำเภอและสำนักงานที่ดีส่วนแยกบางสะพาน


 


13 ต.ค.49 กลุ่มอนุรักษ์พิทักษ์ป่าชายเลนแม่รำพึง ยื่นจดหมายต่อนายก อบต.แม่รำพึง นายอำเภอบางสะพาน


            และสำนักงานที่ดิน ส่วนแยกบางสะพาน เพื่อคัดค้านการที่มีผู้ใช้รถไถเข้าไปทำการแผ้วถางป่าพรุ ป่า


จาก ป่าเสม็ด ในเขตพื้นที่ หมู่ 1 หมู่ 7 ต.แม่รำพึง เนื่องจากป่าแหงนี้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์มานาน


นับแต่อดีต


 


14 ต.ค.49 กลุ่มอนุรักษ์ฯ ส่งหนังสือร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรณีมีการบุกรุกทำลาย


ป่าพรุ ป่าเสม็ด ป่าจาก ใน ต.แม่รำพึง


 


พ.ย.49  บริษัทประจวบพัฒนา ดีเวลล็อปเมนต์ จำกัด ยื่นเรื่องขอเช่าที่ดินสาธารณะประโยชน์ (ทางสาธารณะ


และที่ป่าช้าสาธารณะ รวมเนื้อที่ 4-3-45 ไร่ และ 110-0-01 ไร่) เพื่อใช้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเหล็ก


ขั้นต้น


 


24 พ.ย.49  มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ ลงพื้นที่สำรวจพันธุ์พืช พันธ์สัตว์ในพื้นที่ชุ่มน้ำ


มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าฯ และ สผ. ลงสำรวจพื้นที่ป่าพรุ ต.แม่รำพึง เพื่อเตรียมการในการนำขึ้นทะเบียน


เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ ตามหน้าที่ความรับผิดชอบของ สผ.


 


12 ธ.ค.49  กลุ่มอนุรักษ์ฯ พลใบติดประกาศการขอเช่าที่สาธารณะที่อำเภอบางสะพาน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พ้น


            ระยะเวลาติดประกาศ 30 วันไปแล้ว โดยที่ก่อนหน้านั้น ชาวบ้านได้ติดตามเรื่องการขอเช่าที่สาธารณะ


มาโดยตลอด แต่ก็ไม่พบการติดประกาศแต่อย่างใด


 


7 ก.พ.50  กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึงได้รวมตัวไปยื่นหนังสือคัดค้านนโยบายการย้ายนิคมอุตสาหกรรมจากมาบตาพุด


มายังภาคใต้ต่อ รมต.อุตสาหกรรม โดยเป็นการรวมตัวไปพร้อมกับกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด กลุ่มรัก


ท้องถิ่นบ่อนอก และกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแกซึ่งคัดค้านนโยบายการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในวัน


ดังกล่าวนี้ กลุ่มนายทุนในพื้นที่ได้ฉวยโอกาสนำเครื่องจักรกลหนักเข้าไปไถทำลายป่าพรุ โดยมีชาย


ฉกรรจ์กว่า 20 คนใส่หมวกไหมพรมคลุมหน้าทุกคน คอยทำหน้าที่ข่มขู่ไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปห้ามปราม


การไถป่าพรุ ปรากฏว่า ในวันดังกล่าว กลุ่มนายทุนสามารถไถทำลายป่าพรุเสียหายไปประมาณ 100


กว่าไร่


- คณะกรรมการผู้ชำนาญการ สผ. มีมติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการโรงถลุงเหล็ก


 


16 มี.ค.50 กลุ่มอนุรักษ์ฯ แม่รำพึง ยื่นหนังสือถึง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คัดค้านการใช้พื้นที่


            ป่าพรุของบริษัทฯ เป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และขอให้ตรวจสอบเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าว


-กลุ่มอนุรักษ์ฯ ยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมที่ดิน คัดค้านการขอเช่าใช้พื้นที่ป่าช้าและทางสาธารณะประโยชน์ซึ่งมีเขตติดต่อป่าพรุและชุมชน เพื่อนำไปใช้ในการก่อสร้างโรงถลุงเหล็ก


- กลุ่มอนุรักษ์ฯ ยื่นหนังสือต่อ สผ.เพื่อขอข้อมูลรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรง


ถลุงเหล็ก


 


18 มี.ค.50  คณะอนุกรรมการสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า ชุดที่ 2 ลงพื้นที่ดูข้อเท็จจริงในบริเวณป่าพรุ


 


19 มี.ค.50   คณะอนุกรรมการสิทธิในการจัดการที่ดินและป่า จัดประชุมร่วมกับจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริษัทสห


วิริยาและประชาชน โดยมีมติที่ประชุมให้จังหวัดมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน 4 ฝ่าย ประกอบด้วยฝ่าย


ชาวบ้าน ผู้ร้องเรียน บริษัทสหวิริยาฯ หน่วยงานส่วนจังหวัด และหน่วยงานจากส่วนกลาง เพื่อ


ตรวจสอบพื้นที่ชุ่มน้ำ และบริเวณที่มีเอกสารสิทธิให้ชัดเจน ภายในระยะเวลา 45 วัน


 


20 มี.ค.50  บริษัทสหวิริยาฯ ได้นำพนักงานในบริษัทไปประท้วงคัดค้านมติที่ประชุม ที่หน้าศาลากลางจังหวัด


และประกาศไม่ยอมรับมติที่ประชุม และไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมในคณะกรรมการ 4 ฝ่าย


 


19 เม.ย. 50  กลุ่มอนุรักษ์ฯ แม่รำพึง ตัดสินใจก่อตั้งจุดเฝ้าระวังการบุกรุกทำลายป่าพรุ โดยมีชาวบ้านจัดเวร


ยามเข้าดูแลพื้นที่ป่าพรุตลอด 24 ชั่วโมง


 


20 เม.ย. 50  เครือสหวิริยา โดยนายวิทย์ วิริยะประไพกิจ มีหนังสือถึง สผ. เพื่อขอถอนรายงานอีไอเอโครงการ


โรงถลุงเหล็กซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะผู้ชำนาญการ (คชก.) แล้ว เพื่อนำไปปรับปรุงข้อมูลพื้นที่


โครงการให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินการของโครงการ เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วน


ของโครงการ


 


9 พ.ค.50  การประชุม คชก. ของสผ. มีมติให้ยกเลิกการให้ความเห็นชอบรายงานอีไอเอโครงการโรงถลุงเหล็ก


เนื่องจากเจ้าของโครงการขอถอนรายงานอีไอเอเพื่อปรับปรุงโครงการใหม่


 


14 มิ.ย.50  กลุ่มอนุรักษ์ฯ และชาวบ้านประมาณ 200 คน ได้รวมตัวที่ อบต.แม่รำพึง เพื่อมีหนังสือต่อนายก


อบต.คนใหม่ให้ยับยั้งการถมดินในพื้นที่โครงการโรงถลุงเหล็ก


 


20 มิ.ย.50  ชาวบ้านชุมนุมที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อเรียกร้องให้สั่งระงับการถมดินในพื้นที่โครงการก่อนที่


รายงานอีไอเอจะผ่านความเห็นชอบจาก สผ. และให้เร่งรัดการแต่งตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อ


ตรวจสอบเอกสารสิทธิที่ดินตามมติการประชุมร่วมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2550 ในวันเดียวกัน บริษัท


ประจวบพัฒนาดีเวลล็อปเมนต์ จำกัด ถือโอกาสเข้าทำการรังวัดที่ดินในพื้นที่โครงการโรงถลุงเหล็ก


โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ, กอ.รมน. และหน่วยสันตินิมิตกว่า  100 นายคอยคุ้มกัน ชาวบ้านจึง


เรียกร้องให้ผู้ว่าฯ สั่งระงับการรังวัดโดยบริษัทฯ ฝ่ายเดียว และให้มีหนังสืออย่างเป็นทางการเพื่อสั่งรับ


การถมดินไว้ก่อน ทางจังหวัดโดยรองผู้ว่าฯ รับปากชาวบ้านจะทำหนังสือสั่งระงับการถมดินให้ และใน


ส่วนการรังวัดที่ดิน รองผู้ว่าฯ อ้างว่าขณะนี้บริษัทฯ มีเอกสารสิทธิถือครองที่ดินอยู่จึงไม่สามารถสั่ง


ระงับการรังวัดได้ และได้แนะนำให้ชาวบ้านทำหนังสือคัดค้านการรังวัดและทำแผนที่พิพาทไว้ก่อน


 


9 พ.ย.50  บริษัทสหวิริยายื่นเรื่องต่อ อบต.แม่รำพึงเพื่อขอปรับถมที่ดินโครงการจำนวน 1,142 ไร่ โดยนายก


อบต.แม่รำพึงเซ็นคำสั่งอนุมัติให้บริษัทดำเนินการได้


 


21 พ.ย.50 กลุ่มอนุรักษ์ฯ แม่รำพึงชุมนุมหน้าที่ว่าการอำเภอบางสะพานเรียกร้องให้ อบต. แม่รำพึงยกเลิกการ


อนุมัติให้บริษัทฯ ถมดิน ซึ่งนายก อบต.ยอมลงนามยกเลิกการถมดินในเวลา 17.00 น.


 


19 ธ.ค.50  ชาวบ้านเข้ายื่นหนังสือต่อนายก อบต.แม่รำพึงในการเปิดประชุมสภา แต่กลับถูกกลุ่มผู้สนับสนุน


สวมเสื้อแดงเข้ารุมทำร้าย บาดเจ็บกว่า 10 คน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net