Skip to main content
sharethis

ณัฐกร วิทิตานนท์


 


[1]


 


หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยได้ปีเศษ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ..2476 การเลือกตั้งก็ได้ถูกจัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย แม้จะถูกจัดว่าเป็นการเลือกตั้ง "โดยอ้อม" ทว่าก็มุ่งหวังให้เป็นกลไกที่ทำให้ได้มาซึ่ง "ผู้แทน" ของปวงชน การเลือกตั้งจึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบการเมืองไทย และถูกจัดให้มีขึ้นเสมอ ยกเว้นในบางช่วงบางตอนที่ตกอยู่ภายใต้เผด็จการ "ทหาร" ซึ่งเมื่อใดก็ตามแนวโน้มการเมืองเป็นประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ "ถาวร" [แต่มักมีอายุสั้น] การเลือกตั้งก็ย่อมจะต้องถูกจัดให้มีขึ้นอย่างแน่นอน อนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกตั้งครั้งแรกจนถึงการเลือกตั้งก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในรอบ 75 ปี ประเทศไทยมีการเลือกตั้งทั้งสิ้น 23 ครั้ง [มินับรวมเมื่อคราว 2 เมษายน 2549 เพราะทางศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากวินิจฉัยให้เพิกถอนการเลือกตั้ง] โดยเฉลี่ยจะมีการเลือกตั้งขึ้นราวทุกๆ 3-4 ปี


 


ผลการศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมการเลือกตั้ง ที่ผ่านมา (1) บ่งชี้สอดคล้องกันว่า แบบแผนพฤติกรรมการเลือกตั้งของคนไทย ก็คือ ชนชั้นกลาง หรือผู้ที่มีคุณลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมปานกลางขึ้นไป มีการศึกษาสูง อยู่ในช่วงอายุวัยหนุ่มสาวถึงวัยกลางคน และอยู่ในเขตเมืองใหญ่ มีแนวโน้มไปลงคะแนนเสียงโดยสำนึกว่าเป็นหน้าที่ของพลเมืองดี สามารถตัดสินใจล่วงหน้าได้ว่าจะเลือกผู้สมัครคนใด โดยคำนึงถึงพรรคและนโยบายของพรรคมากกว่าตัวผู้สมัคร ส่วน ชาวชนบท หรือ ผู้ที่มีคุณลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมต่ำและอยู่ในเขตชนบท การลงคะแนนเสียงจึงมักจะคำนึงผู้สมัครมากกว่าตัวพรรค และให้ความสำคัญกับความสามารถของผู้สมัครในการช่วยเหลือสงเคราะห์ท้องถิ่นของตนมากกว่านโยบาย นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะไปลงคะแนนเสียงโดยการรบเร้าชักจูงจากผู้อื่น รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐมากกว่าผู้ที่อยู่ในฐานะเศรษฐกิจสังคม


 


อย่างไรก็ตาม สำหรับการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังๆ เมื่อปี 2544 และปี 2548 จากมุมมองกระแสหลัก [ในตอนนั้น] กลับมองว่า การที่ พรรคไทยรักไทย ชนะพรรคคู่แข่งอื่นๆ อย่างถล่มทลายนั้น เชื่อกันว่า นโยบาย ที่โดนใจและเข้าถึงคนส่วนใหญ่ น่าจะเป็นปัจจัยสำคัญสุด (2) ในขณะเดียวกัน การกล่าวอ้างถึงพฤติการณ์ที่มุ่งเอาชนะการเลือกตั้งด้วยกลโกงทุกรูปแบบ ทั้งการทุจริตเลือกตั้ง ทั้งการซื้อเสียง ฯลฯ ก็มีอยู่เสมอมาทุกระยะ


 


 


[2]


 


ระบบการเลือกตั้ง ที่ผ่านๆ มาของไทยอาศัยวิธีการคิดคะแนนแบบเสียงข้างมาก [อย่างง่าย] และก็แบ่งเขตเลือกตั้งแบบเขตละหลายคน [พวงเล็กบ้างใหญ่บ้างแล้วแต่กติกาในแต่ละห้วงเวลา] หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่าระบบ "รวมเขตเรียงเบอร์" [Block Vote: BV] เรื่อยมา [เว้นแต่ใน 5 ครั้งแรกๆ ซึ่งริเริ่มใช้แบบ "1 เขต 1 คน"] (3) จนกระทั่งเกิดความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ตามกติกาสูงสุด ใหม่ ..2540 ที่เลือกใช้ "ระบบผสม" [Mixed system] โดยนำเอาระบบเสียงข้างมาก [Plurality system] มาใช้ควบคู่กันไปกับระบบสัดส่วน [Proportional system] เป็น ครั้งแรก


 


กล่าวคือ รัฐธรรมนูญดังกล่าว กำหนดให้มีการเลือกตั้ง .. 2 แบบ รวม 500 คน ได้แก่ ..แบบบัญชีรายชื่อ [party list] ที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น 100 คน โดยถือให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง แล้วนำเอาคะแนนที่ได้รับมาคำนวณรวมกัน เพื่อหาสัดส่วนจำนวน .. ของแต่ละพรรค สำหรับพรรคที่ได้รับคะแนนไม่ถึง 5% ก็จะไม่ได้ที่นั่งในสภาฯ จากการเลือกตั้งระบบนี้แม้แต่ที่นั่งเดียว กับ .. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งๆ ละ 1 คน [single member constituency] อีกจำนวน 400 คน ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถจะเลือกผู้สมัครในแต่ละเขตได้เพียง 1 คน [one man one vote] และให้ผู้ได้คะแนนสูงสุด ถือเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งไป การนับคะแนนเช่นนี้ เรียกว่า FPTP [First Pass The Post]


 


แต่แล้วในที่สุด ระบบซึ่งค่อนข้างลงตัวมากเช่นนี้ (4) ก็ได้ "มีอันเป็นไป" ตามธรรมเนียมเดิมๆ ภายหลังการยึดอำนาจสำเร็จ ซึ่งมักชอบ "รื้อ-สร้าง" อะไรๆ กันอยู่แล้ว ครานี้ก็หาได้มีข้อยกเว้นไม่


 


ระบบเลือกตั้ง ส.ส. ใหม่ [อีกแล้ว] ซึ่งมาแทนที่ ยังคงยึด ระบบผสม เป็นหลัก แต่ได้ปรับปรุงรายละเอียดสำคัญให้ ส.ส. ที่มาจากแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เป็นผู้แทนราษฎรในเขตการเลือกตั้งที่ใหญ่ขึ้น จำนวน 400 คน โดยใช้ระบบ รวมเขตเรียงเบอร์ และ เขตเลือกตั้ง มี ส.ส. ไม่เกิน 3 คน [หรือแบบพวงเล็ก เหมือนๆ กับการเลือกตั้งกว่า 10 ครั้งก่อนหน้ากติกาปี 40] (5) คณะผู้ร่างให้เหตุผล เพื่อให้คนดีมีความสามารถแข่งขันกับคนที่ใช้เงินได้ ตลอดจนปรับปรุงระบบ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ สู่การเลือกตั้งแบบ สัดส่วน ที่มีการแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มจังหวัด แต่ละกลุ่มมี ส.ส. ได้ 10 คน รวม 80 คน และยกเลิกสัดส่วน 5% มิให้มีการกระจุกตัวผู้แทนราษฎรแต่ในส่วนกลาง อีกทั้งก็เพื่อให้พรรคเล็กมีที่นั่งในสภาเพื่อให้เกิดความหลากหลายในความคิดทางการเมือง สภาผู้แทนราษฎรจึงประกอบด้วย ส.ส. จำนวน 480 คน


 


 


[3]


 


ผลการเลือกตั้งครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2539 ก่อนการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนนั้น ตอกย้ำถึงการตัดสินใจแบบนิยมอิงกับ ตัวบุคคล ได้เป็นอย่างดี เป็นต้นว่า


 


(1) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจำนวนมาก [27/36] ล้วนแล้วแต่เคยเป็น ส.ส. มาก่อน ในแง่หนึ่งย่อมหมายความว่า ไม่ว่านักการเมืองหน้าเก่าเหล่านั้นจะลงสมัครในนามพรรคการเมืองใดก็ตาม การสนับสนุนที่มีก็ยังจะแนบแน่นอยู่คงเดิม


 


(2) ผู้สมัครในลำดับแรกของแต่ละพรรคเท่านั้นที่ถือว่ามีโอกาสจะถูกประชาชนเลือกสูง [23/36] นอกเหนือจากนี้แล้วค่อนข้างลำบากถ้วนหน้า อันอาจสืบเนื่องมาจากหาเสียงแบบ "ตัวใครตัวมัน" หรือผู้สมัครคนสำคัญมักนิยม "ยิงลูกโดด" เองก็เป็นได้


 


(3) ไม่มีพรรคการเมืองใดเลยที่ได้รับเลือกตั้งท่วมท้นยกจังหวัด หนำซ้ำก็ยังพบเพียงแค่เขตเลือกตั้งเดียวเท่านั้น [1/14] ที่พรรคการเมืองสามารถจะเข้ามาแบบทั้งทีมได้ ในภาพใหญ่กว่า ผลก็ไม่ปรากฏว่าจะมีพรรคการเมืองใดสามารถพัฒนาสู่ความเป็นพรรคแห่งภูมิภาคตรงนี้ได้เลย [ชพน.:12, ควม.:10, ปชป.:9, ชท.:5] เช่นเดียวกับกรณีพรรค ประชาธิปัตย์ ครอบครองความนิยมในพื้นที่ภาคใต้มาช้านาน หรือเช่นที่สุพรรณบุรีก็มีพรรค ชาติไทย เป็นผู้ผูกขาดประจำจังหวัดนั่นเอง สะท้อนให้เห็นว่าพรรคการเมืองในดวงใจของผู้คนภูมิภาคนี้ยังไม่ถือกำเนิดขึ้น


 


หากลองถามผู้มีสิทธิฯ ในตอนนั้นดูว่าแล้วจะเลือกใคร คำตอบที่ได้รับน่าจะออกมาทำนองเดียวกัน ประมาณว่าจะลงคะแนนให้กับใครเสียยิ่งกว่าจะลงคะแนนให้กับพรรคหนึ่งพรรคใด ผิดกับเดี๋ยวนี้ลิบลับ


 


 


ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2539 (6)


 





































































































































































































































































































เชียงราย


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายยงยุทธ ติยะไพรัช *


ประชาธิปัตย์


2


นายฉัฐวัสส์ มุตตามระ *


ความหวังใหม่


3


นางรัตนา จงสุทธนามณี *


ชาติพัฒนา


 


เขตเลือกตั้งที่ 2


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายสัมพันธ์ เลิศนุวัฒน์ *


ความหวังใหม่


2


นายมงคล จงสุทธนามณี *


ชาติพัฒนา


3


นายสมบูรณ์ วันไชยธนวงศ์ *


ความหวังใหม่


 


เขตเลือกตั้งที่ 3


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ *


ประชาธิปัตย์


2


นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ *


ความหวังใหม่


เชียงใหม่


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ *


ความหวังใหม่


2


นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล


ประชาธิปัตย์


3


นางสาวชรินรัตน์ พุทธปวน


ประชาธิปัตย์


 


เขตเลือกตั้งที่ 2


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายบุญช่วย ภู่จีนาพันธุ์ *


ชาติพัฒนา


2


นายณรงค์ ภูอิทธิวงศ์


ชาติพัฒนา


3


นายอำนวย ยศสุข *


ความหวังใหม่


 


เขตเลือกตั้งที่ 3


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ *


ชาติพัฒนา


2


นางกิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ *


ความหวังใหม่


 


เขตเลือกตั้งที่ 4


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายทวีศักดิ์ สุภาศรี *


ชาติพัฒนา


2


นายสันติ ตันสุหัช


ความหวังใหม่


น่าน


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายคำรณ ณ ลำพูน *


ประชาธิปัตย์


2


นายวัลลภ สุปริยศิลป์ *


ชาติพัฒนา


3


นางสาวพูนสุข โลหะโชติ *


ชาติไทย


พะเยา


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ *


ประชาธิปัตย์


2


นายไพโรจน์ ตันบรรจง


ประชาธิปัตย์


3


นายสวัสดิ์ คำวงษา


ชาติพัฒนา


แพร่


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู *


ประชาธิปัตย์


2


นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล


ชาติไทย


3


นายทศพร เสรีรักษ์


ชาติไทย


แม่ฮ่องสอน


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายปัญญา จีนาคำ *


ประชาธิปัตย์


ลำปาง


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายบุญชู ตรีทอง *


ชาติไทย


2


นายไพโรจน์ โล่สุนทร *


ชาติพัฒนา


3


นายวาสิต พยัคฆบุตร *


ชาติไทย


 


เขตเลือกตั้งที่ 2


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายพินิจ จันทรสุรินทร์ *


ชาติพัฒนา


2


นางสาวธารทอง ทองสวัสดิ์ *


ชาติพัฒนา


ลำพูน


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ *


ชาติพัฒนา


2


นายมนตรี ด่านไพบูลย์ *


ความหวังใหม่


3


นายธัญ การวัฒนาศิริกุล *


ความหวังใหม่


 


* : อดีต ส.ส.


 


ต่อมาในการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อ 6 มกราคม 2544 กลับเกิดการ "พลิกล็อค" ใหญ่ โดยพรรคการเมือง ใหม่ ในนาม ไทยรักไทย แน่ละ คงไม่เกินเลยหากจะกล่าวว่าการใหญ่โตแบบทันทีทันใดของพรรคไทยรักไทยนั้น เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กันกับการเลือกตั้งครั้งนี้


 


โดยภาพรวม พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้งเข้ามามากที่สุดถึง 248 คน แยกเป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ 48 คน และอีก 200 คน เป็น ส.ส. แบ่งเขต ซึ่งในเขตภาคเหนือตอนบนนี้ ไทยรักไทยก็กวาดที่นั่งสูงเป็นอันดับหนึ่งเช่นกันคือ 32 ที่นั่งจากทั้งหมด 37 ที่นั่ง โดยประสบกับชัยชนะทุกเขตเลือกตั้งใน 3 จังหวัดด้วยกัน ได้แก่ เชียงราย [8/8], พะเยา [3/3] และลำปาง [5/5] ส่วนจังหวัดที่เหลือนั้น พ่ายแพ้ให้แก่พรรคการเมืองอื่นเพียงจังหวัดละ 1 เขตเลือกตั้งเท่ากัน ดังนี้ เชียงใหม่ [9/10], น่าน [2/3], แพร่ [2/3], แม่ฮ่องสอน [1/2] และลำพูน [2/3] พร้อมกับสร้าง ส.ส. หน้าใหม่ หลายสิบคน [19/32] ให้ แจ้งเกิด ส่งให้ ส.ส. หน้าเก่า ผู้ "ผูกขาด" พื้นที่มาเนิ่นนานหลายสมัย [แต่ลงพรรคอื่น] จำต้อง "อกหัก" กล่าวเฉพาะที่เชียงใหม่ ก็มี ส.ส. ใหม่จากไทยรักไทยมากถึง 7 จาก 9 คน ที่เหลือเชื่อก็คือ อดีตผู้แทน 5 สมัยอย่าง "เจ้าหนุ่ย" ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ กลับต้องมา "สอบตก" เอาในหนนี้นี่เอง (7) ขณะที่คะแนนของพรรคแบบบัญชีรายชื่อก็นับว่าค่อนข้างมาก ชนิดทิ้งห่างพรรคอื่นขาดลอย รายละเอียดปรากฏอยู่ในตารางแนบท้ายนี้


 


 




























































 


เลือกพรรค


จำนวน


คิดเป็น


จังหวัด


ไทยรักไทย


ผู้มีสิทธิ


ร้อยละ


เชียงราย


375,863


800,089


46.98


เชียงใหม่


413,017


1,106,980


37.31


น่าน


116,646


337,653


34.55


พะเยา


149,081


371,932


40.08


แพร่


157,542


370,242


42.55


แม่ฮ่องสอน


40,195


136,183


29.52


ลำปาง


252,129


595,624


42.33


ลำพูน


120,910


306,187


39.49


รวม


1,625,383


4,024,890


40.38


 


ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พ.ศ.2544 (8)


 นอกเหนือจาก นโยบาย มากมายอันแตกต่างโดดเด่น [โดยเฉพาะกับนโยบาย "ขาย" อย่างสามสิบบาทรักษาทุกโรค พักหนี้เกษตรกร และกองทุนหมู่บ้าน] กลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเฉพาะของภาคเหนือซึ่งเห็นเด่นชัดที่สุด ก็คือ การตอกย้ำคำขวัญประมาณว่า "... (เช่น เจียงใหม่, เจียงฮาย) จะรุ่งเรือง ต้องเลือก คนเมือง เป็นนายกฯ" เพื่อชู พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคที่เป็นคนเจียงใหม่แต้ๆ อู้กำเมืองก็ได้ ให้เป็นนายกรัฐมนตรี คนแรก ของชาวภาคเหนือเสียที ในพื้นที่นี้ "หัวหน้าพรรค" จึงเป็น "จุดขาย" สำคัญยิ่งกว่าปัจจัยอื่นใด แง่หนึ่งย่อมเท่ากับเป็นการสร้างเอกภาพของ ..ภาคเหนือ ด้วยอีกทาง


 


หากพิจารณาถึงความนิยมของพรรครักไทยในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน จะพบว่าความนิยมชมชอบของผู้คนที่มีต่อพรรคไทยรักไทยอย่างล้นหลามนั้น เริ่มต้นมาจากกระแส ภูมิภาคนิยม [Regionalism] นี่เอง แน่นอนว่า มันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่ทางพรรคพยายามเดินตามรอยความสำเร็จของอดีตนายกฯ ทั้ง 3 ท่านก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น "นายชวน" ของ "คนใต้" "นายบรรหาร" ของ "คนสุพรรณ" "พลเอกชวลิต" ของ "คนอีสาน" ซึ่งเห็นผลเป็นที่ประจักษ์มาแล้ว


 


จวบจนถึงการเลือกตั้งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งสภาดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี ภายใต้รัฐบาลเพียงชุดเดียว เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวจนถึงบัดนี้ พูดตามจริง การแข่งขันคราวนี้ได้แปรสภาพจากการช่วงชิงโดยพรรคการเมืองจำนวนมากอย่างในอดีตกลายเป็นการเลือกตั้งที่มีไว้สำหรับพรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดใหญ่เพียง 4 พรรคที่มีบทบาทสำคัญเท่านั้น ผลปรากฏว่า พรรคไทยรักไทยก็ยังได้รับชัยชนะถล่มทลาย จำนวนถึง 377 ที่นั่ง แบ่งเป็นแบบแบ่งเขต 310 คน และแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 67 คน กลับมาเป็นรัฐบาล [พรรคเดียว] ต่อเนื่องอีกคำรบ [ซึ่งลักษณะเช่นนี้ก็ยังมิเคยปรากฏมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์การเมืองไทย] กระทั่งถึง "ปลายทาง" ด้วยการถูก "รัฐประหาร" โดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และได้ฉีก "รัฐธรรมนูญ 40" ทิ้ง ในที่สุด


 


กล่าวเฉพาะพื้นที่ 8 จังหวัดนี้ ในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งนั้น พรรคไทยรักไทยประสบชัยชนะถล่มทลาย สุดยอด กวาดที่นั่ง ครบถ้วนทั้งหมด 37 ที่นั่ง ทุกเขต ทุกจังหวัด (9)] ส่วนหนึ่งสืบเนื่องมาจากการที่อดีต ส.ส. ของพรรคการเมืองคู่แข่งหลายคนตัดสินใจย้ายพรรคมาสัุึงกัดไทยรักไทยนั่นเอง กระนั้นก็ยังมีถึง 6 คน ซึ่งเพิ่งจะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นครั้งแรก ครานี้ การสร้างผลงานต่างๆ นานาตลอด 4 ปีเต็มในช่วงที่เป็นรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำเอานโยบายตอนหาเสียงมาทำให้ประชาชนได้เห็นจริงๆ นับเป็นต้นทุนการเมืองสำคัญสุด หนำซ้ำตัวเองก็ยังได้เปรียบพรรคอื่นๆ ด้วยการถืออำนาจรัฐเอาไว้ในมืออีกต่างหาก


 


 




























































 


เลือกพรรค


จำนวน


คิดเป็น


จังหวัด


ไทยรักไทย


ผู้มีสิทธิ


ร้อยละ


เชียงราย


462,963


825,346


56.09


เชียงใหม่


625,289


1,141,118


54.80


น่าน


172,095


351,746


48.93


พะเยา


195,107


372,550


52.37


แพร่


206,763


364,260


56.76


แม่ฮ่องสอน


45,052


144,150


31.25


ลำปาง


319,795


592,835


53.94


ลำพูน


177,803


313,379


56.74


รวม


2,204,867


4,105,384


53.71


 


ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พ.ศ.2544 (10)


ส่วนคะแนนในแบบบัญชีรายชื่อของไทยรักไทยก็ถือว่าเพิ่มขึ้นสูงเอามากๆ ถึง 53.71 % กลายเป็น เสียงข้างมากอย่างสมบูรณ์ [Absolute majority] ของพื้นที่โดยรวมได้สำเร็จ ดังข้อมูลตามตารางข้างต้น


 


 


[4]


 


ถ้าหาก แผนบันได 4 ขั้น ของ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ เป็น "เรื่องจริง" ตามที่ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. เผลอหลุดคำพูดออกมานานแล้วก่อนหน้านี้ ไล่เรียงตั้งแต่การอายัดทรัพย์ ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนเป็นเวลา 5 ปี พร้อมทั้งฟันธงหลังเลือกตั้งจะมีเพียง 2-3 พรรคการเมืองได้เป็นรัฐบาล ส่วนพรรคการเมืองที่อยู่ตรงกันข้ามกับพรรคเหล่านี้จักสูญพันธ์แน่นอน มิพักกล่าวถึง เอกสารลับ ซึ่งตามออกมา "ตอกย้ำ" ภายหลัง ในแบบที่เป็นรูปธรรมกว่า


 


ความพยายาม "ยกเครื่อง" ระบบเลือกตั้ง 40 ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะ "คนข้างหลัง" สสร. ประเมินแล้วว่า การกลับมาใช้วิธีแบ่งเขตเลือกตั้งแบบเดิมๆ ร่วมกับระบบสัดส่วน 8 กลุ่มจังหวัด น่าจะส่งผลให้คะแนนของพรรคไทยรักไทยเดิม หรือพรรค พลังประชาชน ใหม่ "สั่นคลอน" [เชื่อว่า ประชาชนคงพากันหันมาเลือก "คน" แบบเก่าก่อน แทนการเลือก "พรรค" อย่างในระยะหลังๆ เป็นแน่] พร้อมกับเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวเนื่องอีกหลายประการด้วยกัน เช่น กำหนดให้นับคะแนน ณ หน่วยเลือกตั้งแต่ละแห่ง แทนการนับคะแนนทุกหน่วยเลือกตั้งรวมกันในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งของเขตเลือกตั้งนั้น เป็นอาทิ แน่ละ เมื่อจำนวน ส.ส. ลดลง พลังประชาชนก็จะถูก "โดดเดี่ยว" ต้องกลายเป็นฝ่ายค้านพรรคเดียว มาตรการเช่นนี้สอดคล้องกับแผนการในขั้นสุดท้ายเป็นอย่างยิ่ง


 


 ทว่า ความเป็นจริงของการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคมที่เพิ่งผ่านมา ผลออกมากลับตาลปัตร ในภาพรวมระดับชาติ ดังที่ทราบๆ กันว่าไทยรักไทย [ในนามพลังประชาชน] ชนะท่วมท้น ได้รับเลือกเข้ามาเป็นอันดับหนึ่ง 233 ที่นั่ง เกือบครึ่งของสภาผู้แทนราษฎรที่มีจำนวนเต็มสภา 480 ที่นั่ง ชนะห่างประชาธิปัตย์คู่ชิง 68 เสียง รายละเอียดจำนวน .. ที่แต่ละพรรคการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมีดังนี้ (11)


 


 













































พรรคการเมือง


สัดส่วน


แบ่งเขต


รวม


1) พลังประชาชน


34 ที่นั่ง


199 ที่นั่ง


233 ที่นั่ง


2) ประชาธิปัตย์


33 ที่นั่ง


132 ที่นั่ง


165 ที่นั่ง


3) ชาติไทย


4 ที่นั่ง


33 ที่นั่ง


37 ที่นั่ง


4) เพื่อแผ่นดิน


7 ที่นั่ง


17 ที่นั่ง


24 ที่นั่ง


5) รวมใจไทยชาติพัฒนา


1 ที่นั่ง


8 ที่นั่ง


9 ที่นั่ง


7) มัชฌิมาธิปไต


ไม่ได้รับเลือกตั้ง


7 ที่นั่ง


7 ที่นั่ง


6)ระชาราช


1 ที่นั่ง


4 ที่นั่ง


5 ที่นั่ง


 


 


 หากมองมาในแถบภาคเหนือตอนบนก็ยิ่งเห็นภาพความสำเร็จ คงเดิม เด่นชัดยิ่งขึ้น (12) เพราะผู้สมัครของพรรคพลังประชาชนสามารถฝ่าด่านสกัดกั้นสารพัดได้มากถึง 35 คน จากจำนวน ส.ส. ทั้งสิ้น 38 คน พลาดเสียเก้าอี้ ส.ส. เพียงแค่ 3 ที่นั่งใน 2 จังหวัด คือ เชียงใหม่ 2 คน และแม่ฮ่องสอนอีก 1 คนเท่านั้น


 


 


ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2550 (13)


 













































































































































































































































































































เชียงราย


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายสามารถ แก้วมีชัย *


พลังประชาชน


2


นายสฤษฏ์ อึ้งอภินันท์ *


พลังประชาชน


3


นายสุรสิทธิ์ เจียมวิจักษณ์ *


พลังประชาชน


 


เขตเลือกตั้งที่ 2


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายรังสรรค์ วันไชยธนวงศ์


พลังประชาชน


2


นางสาววิสาระดี เตชะธีราวัฒน์


พลังประชาชน


3


นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน


พลังประชาชน


 


เขตเลือกตั้งที่ 3


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นางสาวละออง ติยะไพรัช *


พลังประชาชน


2


นายอิทธิเดช แก้วหลวง *


พลังประชาชน


เชียงใหม่


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นางสาวชินณิชา วงศ์สวัสดิ์


พลังประชาชน


2


นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล *


พลังประชาชน


3


นายฤษดากรณ์ เสียมภักดี


พลังประชาชน


 


เขตเลือกตั้งที่ 2


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ *


พลังประชาชน


2


นายวิทยา ทรงคำ *


พลังประชาชน


3


นายนพคุณ รัฐผไท *


พลังประชาชน


 


เขตเลือกตั้งที่ 3


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ *


พลังประชาชน


2


นายไกร ดาบธรรม


รวมใจไทยชาติพัฒนา


3


นายประสิทธิ์ วุฒินันชัย


พลังประชาชน


 


เขตเลือกตั้งที่ 4


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายนรพล ตันติมนตรี


เพื่อแผ่นดิน


2


นายสุรพล เกียรติไชยากร *


พลังประชาชน


น่าน


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายชลน่าน ศรีแก้ว *


พลังประชาชน


2


นางสิรินทร รามสูต *


พลังประชาชน


3


นายวัลลภ สุปริยศิลป์ *


พลังประชาชน


พะเยา


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ *


พลังประชาชน


2


นางสาวอรุณี ชำนาญย *


พลังประชาชน


3


นายไพโรจน์ ตันบรรจง *


พลังประชาชน


แพร่


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล *


พลังประชาชน


2


นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล


พลังประชาชน


3


นางปานหทัย เสรีรักษ์


พลังประชาชน


แม่ฮ่องสอน


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายสมบัติ ยะสินธุ์


ประชาธิปัตย์


2


นายอดุลย์ วันไชยธนวงศ์


พลังประชาชน


ลำปาง


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายกิตติกร โล่ห์สุนทร *


พลังประชาชน


2


นายธนาธร โล่ห์สุนทร


พลังประชาชน


3


นายวาสิต พยัคฆบุตร *


พลังประชาชน


 


เขตเลือกตั้งที่ 2


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายอิทธิรัตน์ จันทรสุรินทร์ *


พลังประชาชน


2


นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์


พลังประชาชน


ลำพูน


 


 


 


เขตเลือกตั้งที่ 1


 


ลำดับที่


ชื่อผู้ได้รับเลือกตั้ง


สังกัดพรรค


1


นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ *


พลังประชาชน


2


นายสถาพร มณีรัตน์ *


พลังประชาชน


3


นายสงวน พงษ์มณี *


พลังประชาชน


 


* : อดีต ส.ส.


 


ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พ.ศ.2550 [อย่างไม่เป็นทางการ] (14)


 




























































 


เลือกพรรค


จำนวน


คิดเป็น


จังหวัด


พลังประชาชน


ผู้มีสิทธิ


ร้อยละ


เชียงราย


375,172


819,440


45.78


เชียงใหม่


479,162


1,149,338


41.69


น่าน


122,900


354,435


34.67


พะเยา


150,938


365,264


41,32


แพร่


169,454


356,013


47.60


แม่ฮ่องสอน


23,049


140,968


16.35


ลำปาง


228,463


572,062


39.94


ลำพูน


123,760


308,030


40.18


รวม


1,672,898


4,065,550


41.15


 


 


 ถึงแม้นว่าคะแนนของพรรคพลังประชาชนใหม่ จะลดลงถ้วนหน้าทุกๆ จังหวัด แต่ก็นับว่ายังสูงอยู่มิใช่น้อย เพราะก็มากถึงร้อยละ 41 เลยทีเดียว มากซะยิ่งกว่าสัดส่วนคะแนนของพรรคไทยรักไทยเดิมในช่วงกำลังกระแสดี เมื่อปี 2544 เสียอีก เพราะอะไร? เป็นคำถามสั้นๆ แต่อธิบายลำบาก เพราะในสถานการณ์การเมืองอันไม่ปกติภายหลังการรัฐประหารเช่นนี้ เหตุผลในการตัดสินใจเลือกกลุ่ม "อำนาจเก่า" ของแต่ละปัจเจกคนนั้น น่าจะสลับซับซ้อน และหลากหลายยิ่ง ยากระบุชี้ชัดลงไปได้ บ้างอาจเลือกเพื่อเอาทักษิณกลับบ้าน หรือกาให้เพราะต้องการปฏิเสธเผด็จการ หรืออยากได้รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนกลับคืน พร้อมปลดปล่อยนักการเมืองสังกัดบ้านเลขที่ 111 หรือติดใจในนโยบายประชานิยม อยากให้เข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกที หรือชอบที่สมัครทะเลาะกับสื่อสารมวลชนอยู่เป็นประจำ รวมถึงอาจเป็นเพราะเห็นแก่เงินไม่กี่ร้อย หรือเชื่อตามที่หัวคะแนนเป็นคนบอกให้เลือก ประเด็นท้าทายทำนองนี้ รอคอยให้ผู้ที่สนใจ "ต่อยอด" ทำการศึกษาวิจัยอย่างจริงๆ จังๆ กันต่อไป ทั้งในภาพ "กว้าง" และลง "ลึก" ถึงรายละเอียดว่า อะไรกันแน่? ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่สุด


 


อย่างไรก็ดี ผมใคร่ขอตั้งข้อสังเกตบางประการต่อปรากฏการณ์ต่างๆ ข้างต้น แบบคร่าวๆ ดังต่อไปนี้


 


(1) จากการเฝ้าสังเกตการณ์การนับคะแนนในหลายๆ หน่วยเลือกตั้ง พบปรากฏการณ์เหมือนๆ กันอันบ่งชี้ว่า สมัยนี้ ประชาชนนิยมเลือกแบบ "ทิ้งดิ่ง" คะแนนแก่ผู้สมัคร "พรรคการเมืองใหญ่" พรรคใดพรรคหนึ่งไปเลยทั้งหมด ซึ่ง "วิธีคิด" เช่นนี้ ช่างต่างเหลือเกินกับกว่าเมื่อ 10 ปีก่อนที่เหตุผลในการตัดสินใจจะยึดโยงกับตัวบุคคล ซึ่งมัก "เลือกกา" เฉพาะแต่ผู้สมัครคนสำคัญในลำดับแรกของแต่ละพรรคใหญ่ แบบว่า "รักพี่เสียดายน้อง" แทนที่จะเทใจให้คะแนนทั้งหมดกับพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ทำให้พอสรุปแบบหยาบๆ ได้ว่า ประชาชนเลือกผู้แทนฯ โดยดูพรรคที่สังกัดเป็นสำคัญ นัยนี้ย่อมเท่ากับเป็นการตัดสินใจที่จะ เลือกข้าง [Take Side] อย่างชัดเจน


 


(2) ส.ส. เก่าของพรรคไทยรักไทยบางคนแสดงความ "หวั่นไหว" ต่อ "มือที่มองไม่เห็น" กอปรกับมีการตัดสิทธิทางการเมืองอดีต ส.ส. ที่เป็นคณะกรรมการบริหารพรรค ตลอดทั้งการแบ่งเขตเลือกตั้งแบบย้อนยุค การใช้ระบบบัญชีรายชื่อตามกลุ่มจังหวัด ล้วนแต่ส่งผลให้เกิดความ "ซ้อนทับ" ของตัวผู้สมัครฯ ในหลายๆ เขตเลือกตั้งด้วยกัน ความ "วุ่นวาย" นี่เองที่ทำให้บางคนจำต้องเลือกที่จะไป และประชาชนก็ได้ให้บทเรียนแก่ ส.ส. หลายสมัยที่ย้ายพรรคเหล่านี้ [เฉกเช่น "เฮียเก๊า" สันติ ตันสุหัช ส.ส. 3 สมัยของเชียงใหม่] โดยการเลือกผู้ที่เข้ามาแทนที่ในพลังประชาชนของเขตนั้นๆ แทน


 


(3) เกิดปรากฏการณ์ที่ผู้สมัครจากตระกูลดังๆ หรือเป็นเครือญาตินักการเมืองท้องถิ่นใหญ่ๆ [อาทิ จงสุทธนามณี, ยอดบางเตยณ เชียงใหม่, ณ ลำพูน, ปราศจากศัตรู ฯลฯ] ในสังกัดพรรคต่างๆ ยังคงตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้แก่ผู้สมัครจากพลังประชาชนในหลายจังหวัด ตอกย้ำว่าสำหรับการเลือกตั้ง ส.ส. แล้วนั้น "ความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์อิงตัวบุคคล" แบบเดิมๆ อย่างเดียว คงยังไม่เพียงพอ


 


(4) ค่อนข้างเห็นได้ชัดว่า คะแนนของประชาธิปัตย์ในหลายหน่วยเลือกตั้งของเขต "เมือง" มักเฉือนชนะพลังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณหมู่บ้านจัดสรรของ "ชนชั้นกลาง" และแถบมหาวิทยาลัยของ "ปัญญาชน" ตรงกันข้ามกับในพื้นที่ "ชนบท" สิ้นเชิง แน่ละ ภาพเล็กๆ เหล่านี้ หากนำมาปะติดปะต่อกันก็ย่อมสะท้อนความเป็น พรรคชนชั้น (Cadre party) ของพรรคการเมืองเก่าแก่ที่สุดให้ปรากฏภาพแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่


 


(5) ปัญหาใหญ่ของพรรคการเมืองไทยในอดีต คงหนีไม่พ้นการที่พรรคส่วนมากไม่ค่อยจะมีความยั่งยืนและแตกสลายได้ง่าย ส่วนหนึ่งเพราะยึดติดอยู่กับตัวผู้นำเป็นหลัก หากคณะผู้ก่อการยังคงเชื่ออย่างนั้น ก็นับว่าคาดการณ์ผิดมหันต์ เหตุการณ์ครานี้สอนให้รู้ว่าการทำลายนักการเมืองและพรรคการเมือง หาใช่สูตรสำเร็จในการสืบทอดอำนาจง่ายๆ อีกต่อไป และการยุบพรรคก็มิใช่คำตอบสำหรับปัญหาการเมืองในอนาคตด้วยเช่นกัน


 


 


[5]


 


บางท่านที่อ่านมาถึงบรรทัดนี้ อาจสงสัยว่าเรื่องที่ใครๆ ก็รู้กันทั่วอย่างนี้ เอามาเขียนเล่าให้ฟังทำไม สำคัญแค่ไหน ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า บทความชิ้นนี้เป็นแค่หนึ่งในความพยายามเล็กๆ ที่จะทำความเข้าใจ "พฤติกรรมการเลือกตั้ง" ของ "คนเมือง" ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมหาศาลในเวลาแค่ห้วงทศวรรษเดียว ภายใต้บริบทของรัฐธรรมนูญที่กระผมและประชาชนชาวไทยอีกจำนวนมากมีส่วนร่วมในกระบวนการยกร่าง โดยอาศัยข้อมูล "ฉากหน้า" จากผลการเลือกตั้งที่ปรากฏแต่ละครั้งเป็นตัวอธิบายหลัก โดยมี "เบื้องหลัง" เท่าที่เห็นประกอบร่วม เพียงเพื่ออ้อนวอนให้สังคมมองผู้คนในดินแดนล้านนาแห่งนี้ด้วยใจอันเป็นธรรม เท่านี้คงพอ...






[1] โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานสำคัญ 2 ชิ้น ซึ่งมักถูกอ้างถึงอยู่เป็นประจำ ได้แก่ สุจิต บุญบงการ และพรศักดิ์ ผ่องแผ้ว, พฤติกรรมการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของคนไทย, (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527). และ เอนก เหล่าธรรมทัศน์, สองนัคราประชาธิปไตย, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2538).


[2] กาลัญ วรพิทยุต, RE-BRANDING พรรคประชาธิปัตย์, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2548), หน้า 83.


[3] โคทม อารียา, สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (..2540) เรื่องระบบการเลือกตั้ง, (กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, 2544), หน้า 11-12.


[4] โดยส่วนตัวแล้ว ผมไม่เห็นถึงความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องมีการปรับปรุงระบบเลือกตั้งดังกล่าวเสียใหม่[ใน รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550] แม้เพียงเล็กน้อยก็ตามที เพราะตลอดระยะเวลาเกือบ 9 ปีเต็มของการใช้ "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" ฉบับนี้ จากการเฝ้าติดตามของผมเอง ทั้งจากข่าวสารตามหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อสารมวลชนโดยทั่วไป รวมถึงจากงานศึกษาวิจัยต่างๆ นานาเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทยอยมีออกมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้ ก็ไม่ปรากฏว่ามีฝ่ายใดออกมาแสดงความคิดเห็นในทำนองที่จะเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกล่าวนี้ รวมอยู่ด้วยแต่ประการใด อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://www.pub-law.net/Publaw/view.asp?PublawIDs=1105


[5] โคทม อารียา, อ้างแล้ว, หน้าเดียวกัน.


[6] http://www.dopa.go.th/area/ele1_39.htm


[7] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูล สถิติ และผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2544, (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2544).


[8] ประมวลจาก เรื่องเดียวกัน.


[9] สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, ข้อมูล สถิติ และผลการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ2548, (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง, 2548).


[10] ประมวลจาก เรื่องเดียวกัน.


[11] http://www.prachatai.com/05web/th/home/10695


[12] อ่านทัศนะมุมมองเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นที่มีอิทธิพลต่อผลการเลือกตั้งในแต่ละภาคของ ธเนศวร์ เจริญเมือง ได้ทาง http://www.prachatai.com/05web/th/home/10689


[13] http://www.prachatai.com/05web/th/home/10695


[14] ขอขอบคุณ ธีระวัฒน์ ปาระมี ซึ่งเป็นธุระสอบถามตัวเลขข้อมูลต่างๆ ในส่วนนี้มาให้ผู้เขียน


 


--------------


หมายเหตุ : คำว่า "คนเมือง" - คำๆ นี้ เป็นคำที่คนท้องถิ่นในภาคเหนือตอนบนใช้เรียกตัวเอง สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า "คนพื้นเมือง" นั่นเอง กระนั้นในบทความนี้ คงใช้ความหมายอย่างกว้าง เพื่อให้กินความครอบคลุมถึง "ผู้คน" [ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง] ทั้งหมด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 8 จังหวัดล้านนา อันได้แก่ เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, พะเยา, แพร่, แม่ฮ่องสอน, ลำปาง และลำพูน


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net