รื้อโครงสร้าง "กก.สิทธิเกาหลี" ขึ้นตรงประธานาธิบดี

จากที่ประธานคณะทำงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านสำหรับประธานาธิบดี Lee Kyung-sook แถลงข่าวเมื่อวันที่ 16 ม.ค. 51 ที่ผ่านมา ถึงร่างข้อเสนอว่าด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรต่างๆ ของรัฐบาลเกาหลีใหม่ โดยมีข้อเสนอหนึ่งที่เสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (The National Human Rights Commission of Korea (NHRCK)) ตกอยู่ภายใต้การควบคุมโดยขึ้นตรงต่อประธานาธิบดี โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้งานของรัฐบาลลดลงและเพิ่มประสิทธิภาพให้มากขึ้น

 

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ออกแถลงการณ์ต่อกรณีดังกล่าว ระบุว่าการปรับโครงสร้างเช่นนี้ คือการคุมคามความเป็นอิสระของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 จากความเห็นชอบส่วนใหญ่ของคนเกาหลี ที่ไม่ต้องการให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างซ้ำซาก อันเป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศเกาหลีตกอยู่ภายใต้การปกครองในระบบเผด็จการทหาร

 

"คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนมีความสำคัญในการเป็นตัวชี้วัดถึงการพัฒนาระบบประชาธิปไตยของประเทศเกาหลี การโจมตีความเป็นอิสระของคณะกรรมการจะเป็นสิ่งที่เสื่อมถอยที่สำคัญยิ่งในความพยายามต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของประเทศ มันจะทำลายสถานภาพและความน่าเชื่อถือของสาธารณรัฐเกาหลีในระดับนานาชาติอีกด้วย" แถลงการณ์ระบุ

 

โดยในรายละเอียดข้อเสนอของคณะทำงานเพื่อการเปลี่ยนผ่านสำหรับประธานาธิบดี ที่เสนอให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีอยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงของประธานาธิบดีนั้น ได้ให้เหตุผลไว้ 3 ประการ คือ 1) กรรมการส่วนใหญ่อยู่ใต้รัฐบาลและพวกเขาขัดขวางฝ่ายบริหารที่ทำหน้าที่และขัดขวางการตัดสินใจที่รวดเร็ว 2) คณะกรรมการสิทธิละเมิดหลักการแบ่งแยกอำนาจทั้งสาม 3 ซึ่งกำหนดโดยรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เพราะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีมีสถานะที่เป็นอิสระซึ่งไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ 3) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเกาหลีต้องเป็นไปตามสถานภาพที่เป็นธรรมดาของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนซึ่งขณะนี้มีสถานะสิ่งที่สูงเกินไป

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2544 หลังจากมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่างกว้างขวางหลายครั้งโดยหลายภาคส่วนในประเทศเกาหลีมากว่า 3 ปี ในช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารสมัยเป็นอาณานิคมของประเทศญี่ปุ่นได้บังคับปกครองสังคมอยู่หลายปี ซึ่งเต็มไปด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักแห่งความยุติธรรม ทำให้ประชาชนร่วมกันตัดสินใจก่อตั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเกาหลีขึ้น โดยให้มีหลักประกันความเป็นอิสระของคณะกรรมการสิทธิจากอำนาจของรัฐบาล ซึ่งกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนได้บัญญัติอำนาจของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเกาหลีให้มีอำนาจตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยองค์กรซึ่งเป็นผู้ใช้กฎหมายด้วย ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งฝ่ายบริหารและประธานาธิบดี

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียเห็นว่า จากที่คณะทำงานฯ อ้างถึงเหตุผลหนึ่งที่ว่าคณะกรรมการสิทธิฯ "แบ่งแยกอำนาจทั้งสามอำนาจ" แต่อย่างไรก็ตาม เห็นได้ว่าไม่มีความแน่ชัดในการถ่วงดุลอำนาจที่จะไม่ละเมิดรัฐธรรมนูญ ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในทฤษฎีหลักที่ใช้ในการถ่วงดุลอำนาจระหว่างรัฐธรรมนูญกับสถาบันรัฐบาล ซึ่งรวมถึงฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ ความเป็นอิสระของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ในการใช้ตรวจสอบอำนาจรัฐและการแบ่งแยกอำนาจที่แท้จริง

 

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียเรียกร้องให้ นาย Lee Myung-bak ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งคนใหม่ของประเทศเกาหลีใต้ ยกเลิกแผนที่จะเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งประเทศเกาหลี การทำการประเมินคุณค่าสำหรับหลักการของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีควรอยู่บนพื้นฐานของการสนับสนุนและปกป้องสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับหลักประเพณีปฏิบัติแห่งสากลและที่มาตรฐาน ซึ่งควรถูกอภิปรายโดยการประชุมระดับชาติ มันเป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การกำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีอยู่ภายใต้ประธานาธิบดีจะกระทบต่อความเป็นอิสระของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอย่างรุนแรง มันยังแสดงให้เห็นถึงการบิดเบือนสถานภาพของประเทศเกาหลีใต้ในวงการสิทธิมนุษยชน ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอีกด้วย

 

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียหวังที่จะกระตุ้นเตือนให้ประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้ง นาย Lee Myung-bak ตระหนักถึงความจริงที่ว่า คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสาธารณรัฐเกาหลีได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้ความตกลงของสังคมซึ่งเป็นความเห็นของคนส่วนใหญ่ และการต่อต้านความเห็นส่วนใหญ่นี้จะก่อให้การโต้แย้งอย่างหนัก และยังปรารถนาที่จะชี้ให้เห็นว่าคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Commission on Human Rights) ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Human Rights Council) และหลักการและสถานภาพของมันได้ถูกยกให้สูงขึ้นโดยคณะมนตรีเศรษฐกิจ และสังคม (ECOSOC) ในการประชุมใหญ่เมื่อปี 2549 เลขาธิการใหญ่ในการประชุม คือ นาย Ban Ki-moon ผู้ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้ภาคภูมิใจ เมื่อเขาได้รับเลือกตั้งในปี 2550 ในขณะที่ปี 2551 รัฐบาลใหม่แห่งเกาหลีใต้พยายามควบคุมสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

 

 

 

หมายเหตุ: คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชียเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับภูมิภาคที่ทำงานด้านการตรวจสอบและรณรงค์เกี่ยวกับประเด็นสิทธิมนุษยชนในเอเชีย ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ.2527 ที่ฮ่องกง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท