Skip to main content
sharethis

AHRC


An Open Letter to the Minister of Justice of Thailand by the Asian Human Rights Commission


จดหมายเปิดผนึกถึงกระทรวงยุติธรรม


เรื่อง ประเทศไทย: ศูนย์คุ้มครองพยานของกระทรวงยุติธรรม ตำรวจต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองพยานที่ได้อาจจะได้รับการคุกคามจากตำรวจด้วยกันเอง


เรียน ท่านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม


คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) มีความห่วงกังวลอย่างยิ่งที่ได้รับข้อมูลว่า พยานและเหยื่อผู้เสียหายที่มีถูกละเมิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นกำลังจะสิ้นสุดโครงการคุ้มครองพยานในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ และถูกเสนอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาคุ้มครองแทนเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม


นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของทนายความสิทธิมนุษยชนที่ถูกบังคับให้หายไปนั้น จะไม่ได้รับการคุ้มครองพยานจากเจ้าหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษอีกต่อไป โดยทางกรมสอบสวนคดีพิเศษจะมอบหมายหน้าที่การคุ้มครองพยานนี้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงชายสามคนและหญิงชราคนหนึ่งซึ่งเป็นเหยื่อของการถูกซ้อมทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกกล่าวหานั้น ก็จะต้องเปลี่ยนการคุ้มครองพยานชุดใหม่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเช่นกัน


คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission) ตื่นตระหนกกับการเปลี่ยนแปลงในการมอบหน้าที่การคุ้มครองพยานกลับไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งน่าจะเป็นการขัดกับวัตถุประสงค์ของการคุ้มครองพยานที่จัดตั้งขึ้นภายใต้กระทรวงยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติการคุ้มครองพยานปีพ.ศ. 2546


พระราชบัญญัติการคุ้มครองพยานเกิดขึ้นภายใต้รัฐธรรมนูญปีพ.ศ. 2540 ซึ่งให้ความสำคัญกับความสำคัญในการปกป้องคุ้มครองและ เป็นครั้งแรกที่มีการยอมรับระบบคุ้มครองพยานนี้ไม่สามารถที่จะมอบให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อคุ้มครองเหยื่อหรือพยานในกรณีอาชญกรรมรุนแรง และจะเป็นภาระหน้าที่สำนักคุ้มครองพยานภายใต้กระทรวงยุติธรรม ซึ่งเกิดขึ้นอันเนื่องจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนั้นเองที่ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด และถูกกล่าวหามีพฤติกรรมเกี่ยวกับการฆ่านอกระบบกฎหมาย การซ้อมทรมานและการอุ้มหาย (การบังคับบุคคลให้หายตัวไป)


อย่างไรก็ตาม เรารับทราบว่าสำนักคุ้มครองพยานมีเจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่คน ซึ่งที่ผ่านมาก็พบว่าการจัดการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจอีกกลุ่มหนึ่งคุ้มครองพยานที่กำลังเป็นพยานหรือผู้เสียหายอันเกิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นพยานจึงไม่ยินดีที่จะได้รับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้สายงานบังคับบัญชาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม พยานและเหยื่อเหล่านี้ไม่มีทางเลือกนอกจากยอมรับการคุ้มครองทั้ง ๆที่พวกเขาไม่ได้เชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยแต่อย่างใด


การเรียกร้องสิทธิมนุษยชนและรักษากฎหมายขึ้นอยู่กับการสร้างกลไกคุ้มครองพยานที่เข็มแข็ง พยานและเหยื่อผู้เสียหายรวมทั้งครอบครัวจำเป็นต้องปราศจากการคุกคามเพื่อตอบโต้ทั้งก่อนการพิจารณาคดี ระหว่างการพิจารณาและหลังการพิจารณาคดี ถ้าไม่สามารถสร้างความปลอดภัยได้นั้นทำให้พวกเขาไม่ร่วมมือในการเป็นพยาน การพิจารณาคดีก็เหมือนการปฎิเสธข้อกล่าวหานั้นนั้น ถ้ามีพยานและเหยื่อจำนวนมากขึ้นที่ไม่ยอมร่วมมือในการเป็นพยานในคดี ขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมก็จะหมดความหมาย


พระราชบัญญัติการคุ้มครองพยานและสำนักคุ้มครองพยานจะต้องได้รับการส่งเสริมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นเพื่อให้สามารถขยายบทบาทภาระหน้าที่ในฐานะองค์กรนอกระบบตำรวจที่ทำหน้าทีคุ้มครองพยานและเหยื่อผู้เสียหายในประเทศไทย แม้ว่าจะมีเสียงทัดทานจากฝ่ายตรงข้ามที่ไม่ต้องการให้มีหน่วยงานคุ้มครองพยายลักษณะนี้เกิดขึ้น


คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ขอเรียกร้องให้


1. นางอังคณา นีละไพจิตรและพยานคนอื่นๆ รวมทั้งเหยื่อผู้เสียหายที่กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำผิดนั้น จะยังสามารถได้รับการคุ้มครองจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม ไม่ใช่จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือหน่วยงานอื่นที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับตำรวจ


2. งานของสำนักคุ้มครองพยายภายใต้การทำงานของกระทรวงยุติธรรมได้รับสนับสนุนให้เข้มแข็งโดยการเพิ่มงบประมาณและเพิ่มตำแหน่ง รวมทั้งการบริหารจัดการให้ดำเนินการอย่างจริงจังในบทบาทคุ้มครองบุคคลที่อยู่ในโครงการของสำนักคุ้มครองโดยการส่งเสริมให้มีกรมสอบสวนคดีพิเศษจัดหาระบบการคุ้มครองให้


3.มีแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอน เพื่อให้แต่ละกรณีหรือแต่ละคดีที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถล่วงรู้เรื่องการคุ้มครองพยานและเหยื่อเหล่านี้


4. พระราชบัญญัติการคุ้มครองพยานได้ปรับปรุงให้เพิ่มการครอบคลุมถึงบุคคลต่าง รวมทั้งจำเลยในคดีอาญาด้วย


เราเชื่อมั่นว่าท่านจะแสดงความห่วงกังวลว่า ถ้าไม่มีการแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นต่อพยานและเหยื่อผู้เสียหาย อาจส่งผลต่อการตัดสินใจว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นผู้ได้รับมอบหมายในฐานะเจ้าหน้าที่คุ้มครองพยาน ด้วยเหตุผลต่างๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในบทบาทที่ไม่น่าไว้วางใจให้รับผิดชอบในหน้าที่เจ้าหน้าที่คุ้มครองพยาน เราคาดหวังว่าท่านจะสามารถทำให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะไม่ได้รับมอบหมายให้ปฎิบัติหน้าที่ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และท่านจะดำเนินการเพื่อให้การคุ้มครองพยานภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงยุติธรรมขยายขอบเขตความรับผิดชอบแทนที่จะเป็นการดำเนินการโดยวิสัยทัศน์ที่ไม่กว้างไกล


ดังนั้นเราขอจัดส่งเอกสารซึ่งเป็นรายงานเรื่องการคุ้มครองพยานในประเทศไทยที่ตีพิมพ์เมื่อปีพ.ศ. 2549 โดยองค์กร ALRC รายงานฉบับนี้ตีพิมพ์ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ หาดูได้จาก http://www.article2.org/mainfile.php/0503/


ด้วยความเคารพ


นายบาซิล เฟอร์นานโด


คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย


Asian Human Rights Commission, Hong Kong


 


สำเนาส่งถึง



1. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
2. นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ
3. พ.ต.ต.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
4. นายสุนัย มโนมัยอุดม อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
5. นายชัยเกษม นิติศิริ อัยการสูงสุด


6. ศ. เสน่ห์ จามริก ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
7. นายวสันต์ พานิช ประธานอนุกรรมการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและการสูญหายของบุคคล
8. นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ
9. นาย Homayoun Alizadeh ผู้แทนสำนักงานข้าหลวงใหญ่แห่งสิทธิมนุษยชน ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขององค์กรสหประชาชาติ


Posted on 2008-02-20


Back to [AHRC Statements 2008]


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net