Skip to main content
sharethis

ธีรมล บัวงาม


 


            "ปีใหม่เมือง" หรือวันสงกรานต์ของคนเมืองใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน นอกเหนือกิจกรรมตามประเพณีที่งดงามต่างๆ อาทิ การรดน้ำดำหัว การขนทรายเข้าวัด การแห่ไม้ค้ำสะหลี ฯลฯ แล้วสิ่งที่ขาดไม่ได้คืออาหารการกิน ซึ่งคราวนี้ขอแนะนำขนมพื้นเมือง ขนมพื้นบ้านที่น่าสนใจที่ "คนเมือง" นิยมทำถวายพระและทำกินเองในช่วงเวลาเปลี่ยนศักราช



            ขนมจ็อก หรือขนมเทียน บ้างเรียกว่าขนมนมสาว เครื่องปรุงประกอบด้วย แป้งข้าวเหนียว มะพร้าวขูด น้ำอ้อย ใบตอง และน้ำมัน (หัวกระทิสด น้ำมันหมูหรือ น้ำมันพืช) วิธีทำก็แสนง่าย เริ่มจากนำแป้งข้าวเหนียวมาผสมกับน้ำ นวดจนเนื้อแป้งจับกันพอที่จะปั้นและต้องไม่และติดมือ ส่วนเคล็ด(ไม่)ลับอยู่ที่ หากไม่ต้องการให้ตัวขนมเหนียวจนเกินไปก็ผสมแป้งข้าวจ้าวลงไปด้วย หรืออยากให้ตัวแป้งขนมมีรสหวานก็ใช้น้ำอ้อยหรือน้ำตาลที่เชื่อมเป็นน้ำผสมลงไปนิดหน่อย


            มาถึงไส้ขนม ขนมจ็อกแบบดั้งเดิมนิยมทำไส้หวานจากมะพร้าว ไม่นิยมทำไส้ถั่วหรือไส้เค็ม เริ่มต้นจากเคี่ยวน้ำอ้อยหรือน้ำตาลด้วยไฟอ่อนพอให้ข้นเป็นยางมะตูม นำมะพร้าวที่ขูดไว้ลงไปเคี่ยวด้วยกันจนมีกลิ่นหอม เหนียวปั้นได้ บ้างนิยมใส่ถั่วลิสงป่น หรืองาขี้ม้อนลงไปด้วย


            ส่วนการห่อขนม ก็จะใช้ใบตองอ่อนมาขดเป็นรูปกรวยแหลม พับทบล่าง-ซ้าย-ขวา นำด้านที่แหลมสอดพับก็จะได้ห่อขนมซึ่งมีลักษณะก้นแหลมนำไปนิ่งจนสุก "จ็อก" เป็นคำกริยาที่หมายถึง การทำสิ่งของให้มีลักษณะเป็นคล้ายๆ กระจุก มียอดแหลมนั่นเอง


ขนมเกลือ เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวจ้าว โดยการเอาแป้งข้าวเจ้ามาผสมกับเกลือและใส่น้ำลงไปให้เข้ากัน หากชอบกะทิก็ใส่ลงไปด้วย แล้วนำไปเคี่ยวด้วยไฟกลางให้แป้งข้นกำลังดี ไม่สุกเกินไป จากนั้นให้ทิ้งให้เย็นแล้วนำใบตองมาห่อเป็นลักษณะแบนๆ ไม่ต้องใช้ไม้กลัด แล้วนำไปนิ่งอีกประมาณ 20-30 นาที เนื้อขนมที่สุกจะมีสีขาว มีรสเค็มเล็กน้อย แต่หากชอบหวานก็อาจใส่น้ำตาลปี๊ปผสมกับแป้ง หรือจะโรยงาดำด้วยก็ได้


            ขนมเกลือนี้เองมีคำพูดทีเล่นทีจริงว่า "ข้าวหนมเกลือ เบือบ่าว" กล่าวคือหากสาวๆ ไม่ชอบหนุ่มคนไหนที่มาเกี้ยวพาราสี ก็ไห้เอาขนมเกลือไม่หวานมีแต่แป้งมาต้อนรับ หากหนุ่มกินมากๆ จะแน่นท้องจนพูดอะไรไม่ออก และอาจกลับบ้านไปเลย


            ขนมตาหยลืม เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวจ้าวผสมเกลือเล็กน้อย คนในน้ำให้เข้ากันแล้วนำไปตั้งไฟ กวนจนแป้งสุกแล้วนำมาห่อใบตองเช่นเดียวกับขนมเกลือ แต่จะทำแป้งนิ่มกว่า โดยแป้งที่กวนจะมีลักษณะและกว่าเล็กน้อย นิยมให้เด็ก คนป่วย หรือคนอยู่ไฟรับประทาน


            ขนมลิ้นหมา ขนมชื่อชนตกใจนี้ บ้างก็เรียกกันว่า ขนมเปี่ยง หรือข้าวเปี่ยง ทำจากแป้งข้าวเหนียวดำมานวดกับน้ำผสมกับเกลือเล็กน้อย นวดให้หนืดแต่ไม่เละ จากนั้นจึงนำใบตองมาห่อเป็นแบบแบนๆ อย่างลิ้น เสร็จแล้วนำไปนิ่งจนสุกเมื่อแกะออกมาก็ขูดมะพร้าวโรยหน้าจิ้มกับน้ำตาลอร่อยเหาะ


            บางทีอาจใส่น้ำตาลเล็กน้อยลงไปขณะนวดแป้ง หรือใช้แป้งข้าวเหนียวสีขาวนวดกับน้ำอ้อยและเกลือให้มีรสหวานๆ เค็ม ได้สีขนมสีน้ำตาลที่เหมือนลิ้นหมานั่นเอง


ขนมวง หลายคนคุ้นเคยดีกับขนมรูปทรงคล้ายโดนัทราดน้ำอ้อย วิธีทำก็ไม่ยุ่งยากเริ่มต้นจากเอาแป้งข้าวจ้าวกับกล้วยสุก หรือฟักทองที่นึ่งจนสุกมาบดจนละเอียด แล้วคลุกเคล้าเข้าดัวยกัน นวดกับแป้งโดยใช้น้ำอุ่น และหัวกระทิให้ตัวแป้งเหนียวพอประมาณ พักไว้ 20 นาที จากนั้นจึงปั้นแป้งเป็นรูปวงแหวน (โดนัท) ขนาดเล็กนำไปทอดจนเหลืองทั้งสองด้านแล้วพักไว้ คราวนี้หันมาทำทีเด็ด เคี่ยวน้ำอ้อยให้ข้นเป็นยางมะตูมแล้วนำไปหยอดบนตัวขนม ในกรณีที่ใช้น้ำตาลปี๊ป ให้ละลายกับน้ำเล็กน้อยแล้วเคี่ยวจนเหนียว เสร็จแล้วก็นำไปหยอดบนด้านใดด้านหนึ่งของขนมวง รอให้เย็นแล้วก็รับประทาน


ขนมกล้วย ขนมชนิดนี้ทำจากกล้วยน้ำว้าสุกที่บดจนมาผสมกับแป้งข้าวจ้าว มะพร้าวขูดฝอยและน้ำตาลซึ่งอาจเคี่ยวเป็นน้ำแล้ว นำมาคลุกเคล้านวดเข้าด้วยกัน หากแป้งยังเป็นผงอยู่ก็ให้เติมน้ำอุ่นลงไป นวดต่อให้ส่วนผสมเข้ากันดีและเนื้อแป้งอยู่ในลักษณะหนืดแต่ไม่และเป็นน้ำ จากนั้นนำใส่ใบตองที่ทำเป็นกรวยสูง แล้วนำไปนวดจนตัวแป้งสุกก็รับประทานได้


            อันที่จริงขนมคนเมืองที่นำมาบอกเล่าเหล่านี้ "คนเมือง" ก็นิยมทำในงานเทศกาล งานบุญ หรืองานประเพณีต่างๆ ด้วยเช่นกัน หากแต่ในช่วงปีใหม่ เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกในครอบครัวต่างพร้อมจิตพร้อมใจส่งสิ่งร้ายๆ ให้ผ่านไป เริ่มต้นชีวิตใหม่กันอีกครั้ง จึงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า รสชาติที่แท้จริงของขนมก็คือความร่วมไม้ร่วมมือ ร่วมด้วยช่วยกันระหว่างเครือญาติ และสมาชิกในครอบครัวทุกเพศทุกวัยนั่นเอง


ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพื้นฟูคุณค่าประเพณีปีใหม่เมือง ภายใต้กิจกรรมข่วงวัฒนธรรมล้านนา    "ปลอดเหล้า ปลอดภัย ม่วนใจ๋ปีใหม่เมือง"   ได้ทั่วทุกมุมเมืองเชียงใหม่ 9-15 เมษายน 2550 นี้ (ตามตาราง


 

































































































































วันที่


เวลา


กิจกรรม


สถานที่


9-15 เม.ย.


10.00-21.30


สืบสานประเพณีปี๋ใหม่เมือง


ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่(ถ.วัวลาย)


10-15 เม.ย.


08.00-21.30


ก่อเจดีย์ทรายสุดส้าว,ประกวดปั๋นปอนปีใหม่,ศิลปะพื้นบ้าน,ตุง


วัดเจ็ดลิน


11-15 เม.ย.


08.00-24.00


ประกวดจ๊อย,ค่าวฮ่ำพระสิงห์,เพลงไทยล้านนา,ศิลปะพื้นบ้าน


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร


11-15เม.ย.


09.00-22.00


สืบสานงานศิลป์แผ่นดินล้านนานิทรรศการจ้อและตุง


วัดอินทขีลสะดือเมือง


12 เม.ย.


08.00-16.00


งานล้านนามหาสงกรานต์ และแข่งขันกลองหลวงไทยล้านนา โดยสภาวัฒนธรรมเชียงใหม่


พืชสวนโลก


12 เม.ย.


06.00-08.00


พิธีทำบุญตักบาตร ครบรอบ 712 ปี เมืองเจียงใหม่


ข่วงวัฒนธรรมสามกษัตริย์


12 เม.ย.


09.09-10.09


พิธีบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์


ข่วงวัฒนธรรมสามกษัตริย์


12-15 เม.ย.


06.00-20.00


ทำบุญตานขันข้าวตามประเพณี ,สรงน้ำพระตัดจ้อ-ตานตุง


วัดโลกโมฬี


12-15 เม.ย.


09.00-18.00


จุ๊มน้ำเย็นก๋าย จุ๊มใจ๋ปี๋ใหม่เมือง


20 แห่งรอบคูเมือง


12-15 เม.ย.


09.00-22.00


ประกวดหนูน้อย,เจดีย์ทราย,อาหารลาบแกงอ่อม การแสดงพื้นบ้าน


พุทธสถานเชียงใหม่


12-15 เม.ย.


16.00-23.00


712 ปี๋สะหลีปี๋ใหม่เมืองและอาหารนานาชาติ


ข่วงท่าแพ-ถ.ราชดำเนิน


13 เม.ย.


09.09-09.39


พิธีอาราธนาพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานบนรถบุษบก


วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร


13-15 เม.ย.


19.00-24.00


ประกวดศิลปินพื้นฐาน, นางงามสงกรานต์


ข่วงประตูท่าแพ


13 เม.ย.


06.00-08.00


พิธีทำบุญตักบาตรเนื่องในงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง


ข่วงประตูท่าแพ


13 เม.ย.


08.09-08.30


พิธีเปิดงานประเพณีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่


ข่วงประตูท่าแพ


13 เม.ย.


08.00-12.00


ประกวดเครืองสักการะล้านนา หมากสุ่ม หมากเบ้ง ต้นดอก ต้นผึ้ง


ข่วงประตูท่าแพ


13 เม.ย.


07.00-12.00


ขบวนแห่การประกวดแม่ญิงขีรถถีบกางจ้อง


สำนักงานททท.ข่วงประตูท่าแพ


13 เม.ย.


14.09-18.00


พิธีอาราธนาพระพุทธสิหิงค์,ขบวนแห่พระพุทธรูป,รถขุนสังขานต์,รถนางสงกรานต์


หน้าจวนผู้ว่าฯ-วัดพระสิงห์


13-15 เม.ย.


09.00-22.00


ฮักฮีต โตยฮอย ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง


ข่วงประตูช้างเผือก


13-15 เม.ย.


09.00-18.00


มหกรรมศิลปินพื้นเมือง (ชมรมวิทยุ)


ลานประตูเชียงใหม่


14 เม.ย.


18.00-22.00


ประกวดมหกรรม "คีตดนตรีล้านนา"


วัดโลกโมฬี


14 เม.ย.


16.00-18.00


ขบวนแห่ขนทรายเข้าวัด - ไม้ค้ำสะหลี


สะพานเหล็ก-วัดบนถนนท่าแพ


14 เม.ย.


08.00-17.00


การแข่งขันกลองเอว (อบจ.)


วัดสวนดอก


15 เม.ย.


13.30-18.00


ขบวนแห่เครื่องสักการะรดน้ำดำหัวผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่


ข่วงสามกษัตริย์-จวนผู้ว่าฯ


 


 


บทความย้อนหลัง
บทความชุด "องค์ความรู้ปีใหม่เมือง" ตอนที่ 1 "ปี๋ใหม่เมือง" กับสมดุลในสมการ "สงครามน้ำ", ประชาไท, 1 เม.ย. 2551


บทความชุด "องค์ความรู้ปีใหม่เมือง" ตอนที่ 2 รู้จักปีใหม่เมือง สงกรานต์ล้านนา, ประชาไท, 8 เม.ย. 2551

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net