Skip to main content
sharethis


ชื่อบทความเดิม: ทำไมต้องบอกโอลิมปิกและจีนให้แข่งอย่างยุติธรรม! Tell Olympic and China to Play Fair!


 


จรรยา  ยิ้มประเสริฐ


โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย


 


 









คณะกรรมการโอลิกปิกได้เงินค่าสปอนเซอร์ 866 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (26,864 ล้านบาท) จากสปอนเซอร์ 11 เจ้าระหว่างปี 2547 - 2551 นี่ไม่รวมค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดระหว่างเกมส์ (มูลค่ามหาศาล) ค่าขายตั๋วเข้าชมเกมส์ต่างๆ ซึ่งที่จีนครั้งนี้ประมาณการไว้ 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (9,300 ล้านบาท) 


Playfair 2008, ไม่มีเหรียญรางวัลสำหรับสิทธิแรงงาน


 


 


ประเด็นที่ว่าโอลิมปิกเป็นแค่เรื่องกีฬาไม่ยุ่งการเมืองนั้น ไม่ใช่ความจริงเสียแล้วในปัจจุบัน เมื่อโอลิมปิกเป็นเรื่องของการค้ามหาศาล ทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการแข่งขัน ในส่วนที่ประเทศเจ้าภาพจะได้รับทั้งเงินจากนักท่องเที่ยว และชื่อเสียงที่ส่งผลต่อเนื่องยาวนาน รวมทั้งผลประโยชน์ที่คณะกรรมการโอลิมปิกสากลจะได้รับจากค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ  และรายได้และผลกำไรจากการขายสินค้าของแบรนด์ที่ได้รับลิขสิทธิ์ และสำหรับนักกีฬาที่มีชื่อเสียงนั้นพวกเขามีค่าตัวมหาศาล ดังดูได้จากจดหมายที่คนงานไนกี้บริษัทผลิตเครื่องกีฬาอันดับหนึ่งของโลก  


           


ในรายงานของเอกสาร "แข่งอย่างยุติธรรมปี 2008" ที่ร่วมกันจัดทำโดยเครือข่ายรณรงค์เพื่อคนงานเครื่องนุ่มห่ม (CCC) สมาพันธ์แรงงานระหว่างประเทศ (ITUC) และสหพันธ์สิ่งทอ ตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องหนังระหว่างประเทศ (ITGLWF) ได้เปิดโปงให้เห็นว่าโอลิมปิกนั้นมีมูลค่ามหาศาลต่อทั้งที่คณะกรรมการโอลิมปิก แบรนด์ และนักกีฬาที่มีชื่เสียงทั้งหลาย (//www.playfair2008.org/)


 


สปิริตของโอลิมปิกควรจะเป็นเพื่อ "การแข่งอย่างยุติธรรม เพื่อความสมานฉันท์ และเคารพคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์" ซึ่งเป็นสปิริตที่มีมานับตั้งแต่ยุคกรีกโบราณ (776 ปีก่อนคริสตกาล) การแข่งขันในช่วงนั้นเพื่อเป็นกิจกรรมแห่งสันติภาพระหว่างประเทศคู่สงคราม และในทุกครั้งของการแข่งขันประเทศต่างๆ ที่ทำการสู้รบกันจะต้องหยุดสู้รบและมาแข่งกันในสนามกีฬากันก่อน แล้วถ้าหลังเกมส์จบ จะไปสู้รบกันต่อก็ไม่ว่ากัน ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมากว่าพันปีจึงยุติ และไฟโอลิมปิกก็ถูกจุดขึ้นใหม่อีกครั้งในปี 1896 (พ.ศ. 2439) ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีก และจัดต่อเนื่องมาจนมาถึงปัจจุบัน


 






อดิดาสจ่าย 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  (12,950 ล้านบาท) เพื่อเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของเวิล์ดคัพจนถึงปี 2014 (พ.ศ.2557) ด้ายอานิสงค์ของเวิล์ดคัพ รายได้ของอดิดาสพุ่งสูงขึ้นถึง 47% ในช่วงไตรมาสแรกปี 2006 รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 37% เป็น 183 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  


 


เจาะโลกแรงงาน พฤศจิกายน - ธันวาคม 2549




           




ปัจจุบันสปิริตแห่งโอลิมปิกจะยังเหมือนเดิมจริงหรือ?  


นี่คือประเด็นที่ประชาชนที่ห่วงใยในสันติภาพ สิทธิมนุษยชน และสิทธิแรงงาน ได้ร่วมกันเรียกร้องคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ให้ใส่ใจในเรื่องเหล่านี้ และก็ร่วมผลักดันให้ทุกประเทศที่เป็นเจ้าภาพ ทุกแบรนด์ที่ซื้อลิขสิทธิ์ และนักกีฬาทั้งหลาย ให้ร่วมกันสร้างหลักประกันที่เคารพในกติกาสากลแห่งสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงาน เพื่อนำสันติสุขมาสู่ของมวลมนุษยชาติ ไม่ใช่มองเห็นแต่เพียงผลประโยชน์ของตัวเงินที่แต่ละกลุ่มจะได้รับเพียงด้านเดียว


 


การประท้วงเพื่อทวงถามจริยธรรมต่อผู้เกี่ยวข้องในกีฬาโอลิมปิกเริ่มที่ยุโรป โดยผู้บริโภคลุกขึ้นมารณรงค์และเรียกร้องให้แบรนด์ - ที่สปอนเซอร์และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลิตสินค้ากีฬาโลก ทั้งนี้ไม่ใช่เฉพาะการแข่งขันโอลิมปิกแต่รวมไปถึงในการแข่งขันฟุตบอลโลก และกีฬาระดับโลกประเภทอื่นด้วยเช่นกัน - สร้างหลักประกันและมาตรการว่าพวกเขาจะผลิตสินค้าด้วยการเคารพมาตรฐานแรงงาน และสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ


 






เรียน คุณไทเกอร์ วูดส์ …คุณเพิ่งจะเซ็นต์สัญญากับไนกี้เป็นจำนวนเงินกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  (4,000 ล้านบาท) เป็นเวลา 5 ปี (2000 - 2005)  ซึ่งมันช่างแตกต่างจากค่าจ้างที่คนงานผลิตสินค้าให้ไนกี้ได้รับ ... คนงานไนกี้จะต้องทำงาน 26.5 ล้านวัน หรือ 72,000 ปี เพียงจะได้ค่าจ้างเท่ากับที่คุณได้รับตลอดช่วงสัญญากับไนกี้ คนงานไทยจะต้องทำงาน 14,000 วัน หรือ 38 ปี เพื่อจะได้ค่าจ้างเท่ากับค่าจ้าง 1 วันที่คุณได้รับจากไนกี้ หรือ 55,000 ดอลลาร์....


 


จดหมายถึงไทเกอร์ วูดส์, 13 พฤศจิกายน 2543


 


และนี่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการประท้วงรัฐบาลจีน


กลุ่มรณรงค์เพื่อผู้บริโภคและสมาพันธ์แรงงานระหว่างประเทศ ได้พยายามเรียกร้องรัฐบาลจีนมาอย่างต่อเนื่องนับสิบปีให้รัฐบาลจีนหยุดปิดกั้นเสรีภาพในการรวมตัวและเรียกร้องสิทธิ และคุ้มครองคนงานจากการถูกละเมิดสิทธิต่างๆ ทั้งนี้เพราะนับตั้งแต่จีนเปิดประตูสู่การค้านับตั้งแต่กลางทศวรรษ 2530 มีคนงานจีนนับหมื่น นับแสนราย ที่ถูกเลิกจ้างและจำนวนไม่น้อยถูกคุมขังเพราะพวกเขาเรียกร้อง "เสรีภาพในการรวมตัวและต่อรอง"  


 


การประท้วงของคนงานจีนมีต่อเนื่องมาหลายปี แต่ไม่ค่อยปรากฏเป็นข่าว ดังเช่นเมื่อเร็วๆ นี้ "2 มีนาคม 2551, คนงานนับพันคนที่ถูกลอยแพโดยไม่ได้รับค่าชดเชยอย่างเหมาะสม ได้เริ่มประท้วงที่หน้าหอประชุมของเมือง (www.chinalabourwatch.org)"


 


การละเมิดสิทธิแรงงานที่โรงงานยูวองเฉิง (Yue Wong Cheong) ในเซิงเจิ้น ซึ่งรับจ้างผลิตสินค้าลิขสิทธิโอลิมปิกกว่า 50 รายการ ทั้งจ่ายคนงานเพียงแค่ 50% ของค่าจ้างขั้นต่ำ ทำงานวันละ 13 ชั่วโมง ปัญหาเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย การใช้สลิปเงินเดือนปลอมเพื่อหลอกตาเจ้าหน้าที่ที่ถูกส่งมาตรวจสอบ (http://www.playfair2008.org/)


 


ในการประท้วงเพื่อให้เกิดการ "แข่งอย่างยุติธรรม" ในปี 2008 จึงเป็นการกดดันรัฐบาลจีนครั้งใหญ่ให้เคารพในสิทธิและมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเสรีภาพในการรวมตัวและต่อรอง และมีความจำต้องขยายครอบคลุมการพูดคุยนอกจากประเด็นเรื่องสิทธิแรงงาน ไปยังประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะเกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนและพระใน ทำให้กลุ่มที่รณรงค์เพื่อสันติภาพในได้เข้าร่วมประท้วงในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการประท้วงเพื่ออิสรภาพและปลดปล่อยนั้นได้ทำมาตามครรลองแห่งวิธีสันติวิธีอย่างเคร่งครัดในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา พระชาวจะไปนั่งภาวนาสวดมนต์ในเวทีประชาสังคมโลกเกือบทุกครั้งเพื่อยืนยันถึงการเรียกร้องอิสรภาพของของ


 


สำหรับผู้ประท้วง นี่ไม่ใช่เรื่องการต้องเลือกค่าย ระหว่าง "สหรัฐ" กับ "จีน" ถ้ายังจำกันได้ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 ประมาณการว่ามีผู้ประท้วงในเกือบทุกประเทศทั่วโลกรวมกันร่วม 30 ล้านคนร่วมเดินขบวนในวันเดียวกัน เพื่อเรียกร้องให้สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากอิรัก ในประเทศไทยมีผู้ร่วมประท้วงในวันนั้นทั้งจากกรุงเทพฯ และภาคใต้รวมกันกว่า 5,000 คน


 


การประท้วงคบเพลิงโอลิมปิกครั้งนี้เริ่มที่ยุโรปและอเมริกา เพราะคบเพลิงผ่านที่นั่นก่อนประเทศไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าคนไทยที่ประท้วงคบเพลิงโอลิมปิกจะต้องได้รับใบสั่งให้ประท้วงจากประเทศสหรัฐฯ ตามที่มีการพยายามผลักให้กลุ่มผู้จะประท้วงเป็น "ฝ่ายสหรัฐ" มันช่างไร้เหตุผลและไม่ถูกต้องอย่างสิ้นเชิง เพราะพวกเขาคือหนึ่งในผู้ประท้วงสหรัฐฯ หลายครั้งให้ถอนทหารออกจากอิรัก



แน่นอนว่าโอลิมปิกก็คงจะดำเนินต่อไป การประท้วงไม่ได้และไม่เคยหยุดยั้งการแข่งขัน แต่มันได้ทำให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ของประชาสังคมโลก โดยเฉพาะผู้บริโภค ที่รับรู้ข้อมูลมากขึ้นเกี่ยวกับผลประโยชน์มหาศาลที่ครอบงำเกมส์กีฬาโลก ที่สลายจิตวิญญาณที่แท้จริงของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก "การแข่งอย่างยุติธรรม ความสมานฉันท์ และเคารพคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ เพื่อนำมาซึ่งสันติภาพ"



 ขอเชิญชวนสนับสนุนข้อเรียกร้องของกลุ่มรณรงค์เพื่อ "แข่งอย่างยุติธรรม 2008"


 พวกเราเชื่อว่าทุกบริษัทที่ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้ากีฬา  คณะกรรมการโอลิมปิกสากล คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ และรัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อขจัดการกดขี่ขูดรีดและการละเมิดสิทธิแรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับอุตสาหกรรมเครื่องกีฬาโลก  พวกเราเรียกร้องให้มีการนำสปิริตของโอลิมปิกที่แท้จริงมานำเสนอต่อประชาคมโลกว่า "การแข่งอย่างยุติธรรม" สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานประกอบการ


 พวกเราเรียกร้องคณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้ดำเนินมาตรการอย่างเร่งด่วนในการนำเสนอปัญหาการละเมิดสิทธิคนงานในอุตสาหกรรมการผลิต, http://www.playfair2008.org/  


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net