Skip to main content
sharethis

สมบุญ สีคำดอกแค


ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน


              


ปัญหาที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 15 ปีของโศกนาฏกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ตึกถล่มที่มีคนงานเสียชีวิต 188 ศพบาดเจ็บ 469 รายกับการวมตัวของกลุ่มผู้ป่วยโรคบิสซิโนซิส ปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้ายในการทำงานเป็นสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยที่ร่วมกับผู้ใช้แรงงาน นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน การประสบอันตรายและเจ็บป่วยจากการทำงานของผู้ใช้แรงงานมิได้บรรเทาลงเลย  มีสถิติสูงถึงปีละ 200,000 ราย ตายปีละ 800 รายในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2546-2550) ในจำนวนผู้ใช้แรงงาน.ที่อยู่ในข่ายประกันตน 9 ล้านคนประสบอันตราย รวม 1 ล้านคน แนวโน้ม ทุก 5 ปี จะมีลูกจ้างประสบอันตรายไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน ผู้ใช้แรงงาน  8 คน จะมีคนประสบอันตราย 1 คน(จากสถิติกระทรวงแรงงาน)


 


แต่ข้อเท็จจริง ผลการสำรวจสถานประกอบการเพียง 10 ประเภท ของกองอาชีวอนามัย (สำนักควบคุมโรคปัจจุบัน) พบว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการตายผ่อนส่งหรือเป็นโรคจากการทำงานมากกว่า 900,000 ราย


 


แต่ผู้ที่ป่วยเรื้อรังตายจากการทำงานเพราะสูดเอาสารพิษมลพาในที่ทำงาน หลายแสนคนที่ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์ตามกฎหมาย


 


สาเหตุการเกิดโรคจากการทำงานของผู้ใช้แรงงาน ที่มีจำนวนน้อยมาก  ต่ำกว่าความเป็นจริงเพราะ 


 


1.       ลูกจ้าง - ไม่ทราบว่าป่วยเป็นโรคจากการทำงาน


2.       สถานประกอบการ - ไม่สืบค้น/ตรวจโรคจากการทำงาน


3.       แพทย์ - ไม่กล้าวินิจฉัย/  ***หลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคจากการทำงานตามกฎหมาย


4.       ประกันสังคม - ไม่เป็นธรรมและล้าสมัย**


 


หรือจะต้องให้มีการสูญเสียเกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ ดัง เช่น


 


1.       ปี พ.ศ. 2547 ความสูญเสียทางตรง เฉพาะค่าทดแทนการบาดเจ็บ พิการ ตาย 1,479.34 ล้านบาท ถ้ารวม ค่าเสียหายทางอ้อม เช่น การหยุดงาน ไฟไหม้ ฯลฯ ความสูญเสีย ปีละไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท


2.       ถ้าคิดความสูญเสียของ ทุกภาคส่วนของผู้ที่ทำงาน ILO คิดเป็น 4% ของ GDP ถ้า GDP ของประเทศไทย 5 ล้านล้านบาท ความสูญเสีย จะเท่ากับ 200,000 ล้านบาท


 


ทั้งนี้พบว่าสาเหตุเกิดจาก


 


1.       ความบกพร่องของสถานประกอบการในควบคุมดูการทำงานของพนักงานและสภาพการทำงานให้ปลอดภัย


2.       ปัญหาการทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพของหน่วยงานของรัฐ ในการควบคุม  กำกับ ดูแล ด้านความปลอดภัย


3.       ปัญหาการขาดการ ส่งเสริม สนับสนุน ร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย(ขององค์กรนายจ้าง สหภาพแรงงาน ฝ่ายการเมือง รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


 


รวมถึงปัญหาหน่วยงานของรัฐ ในการควบคุมกำกับดูแล ไม่มีประสิทธิภาพ เกิดจาก โครงสร้าง/การบริหารงานความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมไม่เป็นเอกภาพเหมือนประเทศต่างๆโดยเป็นงานฝากไว้ในสำนักงานสวัสดิการฯซึ่งมีงานประจำล้นมือตามตัวชี้วัดของกรมฯ 44 กิจกรรม ยุทธศาสตร์ กระทรวง 3 กิจกรรม จังหวัด 5 กิจกรรม (แผนปี 2551) เป็นผลให้การส่งเสริม การควบคุมกำกับดูแลและการบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพ หน่วยงานอื่นทำงานซ้ำซ้อนถึงกระทรวงแรงงานจะผลักดันเรื่องสุขภาพความปลอดภัย เป็นวาระแห่งชาติแต่เรื่องนี้แก้ไม่ได้ปัญหาก็คงเหมือนเดิม


 


โดยเบื้องหลังความบกพร่องของกระทรวงแรงงานในการไม่สนใจเรื่องสุขภาพความปลอดภัยคือ


 


1.       รัฐมนตรี ปลัด และอธิบดี ไม่เห็นความสำคัญ คิดว่าปัญหาแรงงาน การปิดงานหยุดงานปีละ 1,000 ราย ที่เป็นข่าวสำคัญกว่า ชีวิตคนงาน ที่ต้องสังเวยไปปีละ 200,000 ราย


2.       จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผู้บริหารกระทรวง/กรม ไม่เคยวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุและกำหนดวิธีแก้ไขโดยเฉพาะ "เรื่องการบริหารงานด้านความปลอดภัยที่จัดการไม่ได้ และ ไม่มีประสิทธิภาพของหน่วยปฏิบัติ (สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)


3.       คณะผู้บริหารกระทรวง/ กรมไม่มีความรู้ : ด้านความปลอดภัย: จึงไม่สนใจพัฒนางาน และคน และมีความคิดต่อต้านด้วย เช่น คิดว่าถ้าแยกเป็นหน่วยงาน ที่เป็นเอกภาพ (สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย)ที่ผู้ใช้แรงงานผลักดันมาโดยตลอด อย่างประเทศต่างๆจะทำให้อัตรากำลังของกรมเดิมน้อยลง


4.       เพราะขาดระบบการวินิจฉัยโรค คนงานก็ต้องเจ็บป่วยเรื้อรังและตายฟรี การป้องกันปัญหาหรือการตรวจสอบสถานประกอบการทำได้น้อยมาก และระยะที่ผ่านมาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินงาน ช่วยเหลือคนงานที่เจ็บป่วยและประสบอันตราย จากการทำงาน โดยเรียกร้องสิทธิ์ให้ ทั้งชุมนุมกับสมัชชาคนจนเพื่อให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา รวมทั้งต้องพึ่งขบวนการทางด้านกฎหมาย (ศาล)


 


การเรียกร้องให้ปรับเปลี่ยนทางด้านนโยบายไม่ว่าจะเรียกร้องให้มีระบบการวินิจโรค แพทย์ และ รพ.หรือ คลินิกแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้รัฐจัดตั้งองค์กรอิสระ พรบ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อการปฏิรูประบบสุขภาพความปลอดภัย  


 


ทั้งนี้ข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาเรื่องสุขภาพความปลอดภัยของเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานคือ


 


1.       จะต้องมีการให้ความสำคัญและการสนับสนุนอย่างจริงจังต่อเนื่องของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (รัฐบาล ฝ่ายการเมือง องค์กรนายจ้างลูกจ้าง นักวิชาการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงผู้ถูกผลกระทบ


2.       จะต้องมีโครงสร้างการบริหารความปลอดภัยฯ ด้านเดียวเป็นเอกภาพทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค


3.       จะต้องมีระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ที่มีประสิทธิภาพทั้งภาครัฐ และเอกชน


4.       ต้องมีการบังคับใช้กฎหมาย ที่เข้มงวด อย่างเป็นธรรม


5.       บริหารหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ควรจะต้องมีความรู้ด้านความปลอดภัยฯ


6.       ต้องมีการจัดตั้งองค์กรอิสระด้านความปลอดภัยขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการทำงาน คือ พรบ. สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ. .... (ฉบับบูรณาการที่ผู้ใช้แรงงานมีส่วนร่วมร่างกับทุกฝ่าย)ปัจจุบันผู้ใช้แรงงานกำลังรวบรวมการ เข้าชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อเสนอกฎหมาย


 


 


 






 


ความคืบหน้าการพบประกันสังคม ในเรื่องการเข้าถึงสิทธิ์กองทุนเงินทดแทนการป่วยและประสบอันตรายในงานกับการขอรับการวินิจฉัยกับ รพ.อาชีวเวชศาสตร์ฯ


 


การผลักดันนโยบายยังดำเนินไป แต่สิ่งที่ผู้ใช้แรงงานจำต้องก้มหน้าเผชิญชะตากรรมที่วิกฤตกับปัญหาสุขภาพความปลอดภัย จึงจำเป็นต้องมีเวลาร่วมเพื่อหาทางออกก็สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้ระดับหนึ่ง ดังนี้


 


11 มิถุนายน 2551 การพบกับประกันสังคมเป็นครั้งที่ 2 ณ สำนักงานประกันสังคมส่วนกลาง ที่ จ.นนทบุรีเพื่อร่วมกันหาทางออก กรณีคนงานเจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานไม่สามารถเข้าถึงสิทธิ์กองทุนเงินทดแทน และการรับการวินิจฉัยคลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์


 


ผู้เข้าร่วมประชุม


ผู้เชี่ยวชาญประกันสังคม                 ประธานในการประชุม (ทำหน้าที่แทนเลขาธิการประกันสังคม)


คุณบุญจันทร์ ไทยทองสุข             ผู้อำนวยการกองทุนเงินทดแทน


คุณชลอลักษณ์ แก้วพวง                หัวหน้าฝ่ายกองทุนเงินทดแทน


คุณนงนุช                                    กองทุนเงินทดแทน


คุณสมบุญ สีคำดอกแค                  สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ


คุณลิขิต ศรีลาพล                         สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ


คุณธฤต มาตกุล                           สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ


คุณวัชรี เผ่าเหลืองทอง                   ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน


คุณกุลนิภา พันตน                         สหภาพแรงงานกลุ่มรังสิต-ปทุมธานี


คุณจีรนันท์ มีมุ่งกิจ                        สหภาพแรงงานทาทาร่า ฉะเชิงเทรา


คุณประนอม เชียงอั๋ง                     ประธานสหภาพแรงงานสิ่งทอ (วาไทน์)


คุณแมะดล ดอนสุข                       สหภาพแรงงานสิ่งทอ (วาไทน์)


คุณเฉลียว ดีวาย               สหภาพแรงงานสิ่งทอ (วาไทน์)


คุณจุฑามาศ พัดทอง                     สหภาพแรงงานสิ่งทอ (วาไทน์)


คุณชัชชนก ศรีเจริญสุข                  สหภาพแรงงานสิ่งทอ (วาไทน์)


คุณวราภร ลาวัลวิวัฒน์                    สหภาพแรงงานสิ่งทอ (วาไทน์)


คุณจันทร์มณี กลิ่นถนอม                สหภาพแรงงานสิ่งทอ (วาไทน์)


คุณวีรนิต จินตุ                              สหภาพแรงงานสิ่งทอ (วาไทน์)


คุณกัลยา สุริยะมณี                       ประธานสหภาพแรงงานยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์


คุณกิติยา ศิลาขวา                        สหภาพแรงงานยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์


คุณแสงประเทือง ถนัดพงษ์ สหภาพแรงงานยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์


คุณอุ่นเรือน อนุดิษฐ์                      สหภาพแรงงานยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์


คุณทรรศธาดา สีวาฤทธิ์                  สหภาพแรงงานยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์


คุณณัฐสิทธิ์ อรรถศิริธิติวุฒิ์             สภาพแรงงานไทยอคริคไฟเบอร์


คุณพรมมา ภูมิพันธ์                       สหภาพแรงงานไทยอคริคไฟเบอร์


 


เปิดประชุมเวลา 10.15 น.


 


สืบเนื่องจากการประชุม ครั้งที่แล้ว ในวันที่ 22 เมษายน 2551 เวลา 17.00 น.-18.00 น. ที่สำนักงานประกันสังคม จ.นนทบุรี ที่สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย คุณเสถียร ทันพรม คุณสุธาสินี แก้วเหล็กไหล และตัวแทนสหภาพแรงงานต่างๆเช่น กลุ่มสหภาพแรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ ภาคตะวันออก รังสิต ปทุมธานี นนทบุรี รวมทั้งผู้ป่วยร่วม 30 คน ได้เข้าพบ  คุณสุรินทร์  จิรวิศิษฐ เลขาธิการประกันสังคม และ ตัวแทนกองทุนเงินทดแทน


 


ข้อเสนอ ที่นำหารือในการประชุม 2 ครั้ง  22 เมษายน51 และ11 มิถุนายน 2551 คือ


 


1.       กรณีคนงานที่ป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน จำนวน 60 คน ส่วนใหญ่ได้รับการวินิจฉัยจากกองทุนเงินทดแทนว่า  ไม่ได้เจ็บป่วยสืบเนื่องจากการทำงาน


2.       กรณีคนป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน เมื่อเข้ารับการรักษากับ รพ.ในประกันตนส่วนใหญ่ แพทย์จะวินิจฉัยว่า ป่วยนอกงาน ทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์การเจ็บป่วยจากการทำงาน และค่าทดแทนการลาหยุดงานเกิน 3 วัน 60%เป็นเวลา 1 ปี จากกองทุนเงินทดแทน


3.       รพ.ประกันสังคม ที่คนงานประกันตนไว้ ก็ไม่ยอมส่งตัวคนงานที่ป่วยจากากรทำงาน ต่อ ไปยังคลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ทำให้คนงานที่ป่วยฯไม่มีเงินรักษาตนเอง


4.       กรณีคนป่วยและประสบอันตราย จากการทำงานเมื่อขอเปลี่ยนแปลงสิทธิ์จากประกันสังคมมาเป็นกองทุนเงินทดแทน คือ ป่วยในงาน ก็ไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้


5.       กรณีคนป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานจะขอไปรักษาวินิจฉัย กับ รพ.ที่มีคลีนิคแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสรตร์อาชีวเวชศาสตร์ ติดปัญหาไม่มีเงินไปรับการวินิจฉัยและรักษาตัว


6.       กรณีคนป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานกรณีถูกปฏิเสธวินิจฉัยว่าไม่ได้ป่วยสืบเนื่องจากากรทำงานไม่ได้สิทธิ์การรักษาทั้งกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม


 


ผลจากการเข้าประชุมหารือกันในครั้งนั้น ทางคุณสุรินทร์ จิรวิศิษฐ เลขาธิการประกันสังคมรับว่าจะพิจารณาอย่างละเอียด กรณีการวินิจฉัยแรงงานหลายรายเบื้องตนไม่เจ็บป่วยประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน สำหรับการเข้าไม่ถึงการวินิจฉัยและรักษาตัวแบบ อาชีวเวชศาสตร์นั้นจะได้นำไปหารือหาทางออกอีกครั้ง


 


11 มิถุนายน 2551 เวลา 10.15 น.ผู้เชี่ยวชาญประกันสังคม


ประธานในการประชุม ทำหน้าที่แทนเลขาธิการประกันสังคม


คุณสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯและเครือข่ายต่างๆ ได้ขอติดตามความคืบหน้ากรณีการวินิจฉัย ผู้ป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน และการเข้ารับการวินิจฉัย/ รักษาพยาบาล กับรพ. คลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ตามที่สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯในนามสมัชชาคนจน ได้ผลักดันเรียกร้องกับรัฐบาลมาตลอดในปี 2549 เริ่มมี รพ.อาชีวเวชศาสตร์ 9 แห่ง และมี รพ.อาชีวเวชศาสตร์ ระดับสูง ที่ รพ.นพรัตน์ราชธานี กับชุดที่ผ่านมา ในปี พ.ศ. 2550 ในนามสมัชชาคนจน และมีการเจรจากันที่ทำเนียบรัฐบาล รมต.กระทรวงสาธารณสุขได้มีหนังสือแจ้งว่า จะได้มีงบส่งแพทย์ไปศึกษาด้านอาชีวเวชศาสตร์ที่ต่างประเทศ ปีละ 10 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี ส่วนกระทรวงสาธารณสุขกับกระทรวงแรงงาน ได้ทำข้อตกลง MOU ให้ มี รพ.ด้านอาชีวเวชศาสตร์ 24 แห่ง (คลินิกโรคจากการทำงาน) ในประเทศไทย


 


1. รพ.สมุทรปราการ                      จ. สมุทรปราการ   รพ.ในโครงการปี 2549


2. รพ.ราชบุรี                               จ.ราชบุรี             รพ.ในโครงการปี 2549


3. รพ.นครพิงค์เชียงใหม่                จ.เชียงใหม่         รพ.ในโครงการปี 2549


4. รพ.ลำปาง                               จ.ลำปาง             รพ.ในโครงการปี 2549


5. รพ.ขอนแก่น                            จ.ขอนแก่น         รพ.ในโครงการปี 2549


6. รพ.มหาราชนครราชสีมา             จ.นครราชสีมา     รพ.ในโครงการปี 2549


7. รพ.บุรีรัมย์                               จ.บุรีรัมย์                        รพ.ในโครงการปี 2549


8. รพ.ปทุมธานี                            จ.ปทุมธานี          รพ.ในโครงการปี 2549


9. รพ.ชลบุรี                                จ.ชลบุรี              รพ.ในโครงการปี 2549


10. รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์      จ.เชียงราย          รพ.ในโครงการปี 2550


11. รพ.พระพุทธชินราช                 จ.พิษณุโลก        รพ.ในโครงการปี 2550


12. รพ.สวรรค์ประชารักษ์               จ.นครสวรรค์       รพ.ในโครงการปี 2550


13. รพ.สรรพสิทธิประสงค์              จ.อุบลราชธานี     รพ.ในโครงการปี 2550


14. รพ.สุรินทร์                             จ.สุรินทร์            รพ.ในโครงการปี 2550


15. รพ.ระยอง                             จ.ระยอง             รพ.ในโครงการปี 2550


16. รพ.พระนั่งเกล้า                       จ.นนทบุรี            รพ.ในโครงการปี 2550


17. รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร์          จ.ปราจีนบุรี         รพ.ในโครงการปี 2550


18. รพ.พระนครศรีอยุธยา              จ.พระนครศรีอยุธยา รพ.ในโครงการปี 2550


19. รพ.สุมทรสาคร                       จ.สุมทรสาคร       รพ.ในโครงการปี 2550


20. รพ.เจ้าพระยายมราช                จ.สุพรรณ์บุรี        รพ.ในโครงการปี 2550


21. รพ.สุราษฎรธานี                      จ.สุราษฎรธานี     รพ.ในโครงการปี 2550


22. รพ.วชิระภูเกต                        จ.ภูเกต              รพ.ในโครงการปี 2550


23. รพ.หาดใหญ่                          จ.สงขลา            รพ.ในโครงการปี 2550


24. รพ.อุดรธานี                           จ.อุดรธานี           รพ.ในโครงการปี 2550


 


รายงานความคืบหน้าดังนี้  จากการยื่นเรื่องขอใช้สิทธิ์กับกองทุนเงินทดแทน จำนวน 60 ราย ที่ผ่านมา ดังนี้


 


- คนป่วย ใช้สิทธิ์กับประกันสังคม 1 ราย


- มีสิทธิ์เจ็บป่วยจากการทำงาน 43 ราย (มีสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาล/ค่าทดแทน)


- ไม่มีสิทธิ์จำนวน 11 ราย (ไม่ได้ใช้สิทธิ์อุทธรณ์กองทุน)


- ไม่มีหลักฐาน/ให้ไปพบแพทย์ 4 ราย (ยังไม่วินิจฉัย)


- อื่นๆ รอผลวินิจฉัย (อยู่ในช่วงการพิจารณา)



  • กรณีที่ลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทำงานแล้วนายจ้างไม่แจ้งภายใน 15 วันจะต้องมีความผิดตามกฎหมาย 

  • กรณีที่คนงานที่เจ็บป่วยประสบอันตรายจากการทำงาน ที่ต้องการจะเข้ารับการรักษากับ รพ.คลินิกแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมนั้น จะต้องให้คนงานประสานไปยังประกันสังคม ในเขตพื้นที่ที่ตนทำงานอยู่ เพื่อเข้ารับการรักษากับ รพ.ที่มีคลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ทั้งนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ซึ่งการแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการนี้ ก็ย่อมยังมีปัญหาอยู่เพราะ พึ่งมีการประชุมคิดกันในระยะเวลา เดือนสองเดือนที่ผ่านมา ซึ่งประกันสังคมจะได้จัดประชุมเครือข่ายของประกันสังคมเองในสิ้นเดือนมิถุนายน 51 นี้แล้วจึงจะทำการแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั่วถึงกัน

  • เมื่อเจ็บป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงานให้ไปตาม รพ.ในบัตรประกันสิทธิ์ ซึ่ง รพ.ในประกันสิทธิ์ ถ้าไม่มีคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ก็จะต้องส่งต่อไปยัง รพ.ที่มีคลินิกแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ซึ่งมีอยู่ 24 แห่ง โดยไม่ต้องเสียเงินใดๆทั้งสิ้น

  • หรือแจ้งมาที่สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ที่ตั้ง 32 ถ.ติวานนท์ 45 ซ.ทรายทอง 22 ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์02-9512710 02-9513037 เบอร์มือถือ 086 -5229612 หรือ 081 -8132898  สมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายฯ  ซึ่งเราจะทำการประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้

Ø จะต้องแลกกับชีวิตคนงานอีกกี่ล้านคน รัฐบาลหรือนายกรัฐมนตรีจึงจะลงมาตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง


Øและจัดตั้งองค์กรอิสระ : สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน


Øปัจจุบันการเข้าชื่อสนับสนุนร่าง พรบ.ฉบับนี้รวบรวมได้ 4,477 รายชื่อจึงเรียนมายังพี่น้องผองมิตรทั้งหลายโปรดได้ช่วยกันอย่างจริงจังอีกนิด


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net