จี้ถอนร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ฉบับ ครม. หวั่น ทุน- การเมือง แทรกแซงสื่อประชาชน

วันนี้ (23 มิ..)  กลุ่มนักวิชาการ นักธุรกิจ นักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรม นักเรียน นิสิต นักศึกษา ต่อต้านการครอบงำสื่อภาคประชาชน อาทิ ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD) คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรียกร้องให้ ครม. ถอนร่าง พ...องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ฉบับคณะรัฐมนตรีชุปัจจุบัน ออกจากวาระของรัฐสภา โดยระบุว่า ร่าง พ... นี้อาจนำไปสู่การแทรกแซงและครอบงำสื่อของประชาชน โดยอำนาจการเมืองและอำนาจทุน  

                                     






จดหมายเปิดผนึกจากกลุ่มนักวิชาการ นักธุรกิจ

นักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรม

นักเรียน นิสิต นักศึกษา

ต่อต้านการครอบงำสื่อภาคประชาชน

 

23 มิถุนายน 2551

 

เรื่อง   ขอให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการถอนร่าง พ...องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ

     กิจการ  วิทยุกระจายเสียง วิทยุ  โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ออกจากวาระของรัฐสภา

 

เรียน   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณะรัฐมนตรี (ครม.) 

 

 

ด้วยกลุ่มนักวิชาการ นักธุรกิจ นักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรม นักเรียน นิสิต นักศึกษา ต่อต้านการครอบงำสื่อภาคประชาชน อันมีรายชื่อข้างท้ายจดหมาย มีความเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมฉบับคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน อาจนำไปสู่การแทรกแซงและครอบงำสื่อของประชาชนโดยอำนาจการเมืองและอำนาจทุน  อันเนื่องมาจาก

 

            1. มาตรา 8 วรรค3 ระบุว่าองค์กรหรือสถาบันใดที่ขอขึ้นทะเบียนองค์กรเพื่อมีสิทธิส่งผู้แทนเข้ารับการสรรหาเป็นคณะกรรมการ กสช. แล้วถูกปฏิเสธการขอขึ้นทะเบียน สามารถฟ้องศาลปกครองได้ แต่การฟ้องร้องดังกล่าวไม่เป็นเหตุให้ต้องระงับหรือชะลอการเสนอชื่อคัดเลือกคณะกรรมการ กสช. เท่ากับเป็นการละเมิดอำนาจองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และอาจเป็นการขัดรัฐธรรมนูญได้

 

            2. มาตรา11 วรรค2 ระบุว่าเมื่อพ้นกำหนดการขยายระยะเวลาการเสนอชื่อผู้แทนองค์กรเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการ กสช. แต่ยังมีผู้เสนอชื่อน้อยกว่าที่กำหนด  ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดsกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถเสนอชื่อผู้แทนได้ เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซง ส่งบุคคลที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้ารับการสรรหาได้

 

            3. มาตรา12 วรรค1 ระบุให้การสรรหากรรมการ กสช. ใช้วิธีการเลือกตั้งกันเอง แทนที่จะให้มีการตั้งคณะกรรมการสรรหา  ซึ่งอาจนำไปสู่การตกลงสมยอมผลประโยชน์กันได้

 

            และในวรรค3 ยังให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อนำเสนอรายชื่อที่ผ่านการเลือกตั้งกันเองแล้ว ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาคัดเลือกต่อไป เท่ากับเป็นการให้อำนาจนักการเมืองในฐานะคณะรัฐมนตรีเข้าครอบงำ แทรกแซงกระบวนการดังกล่าวได้ นับว่าเป็นมาตราที่เป็นอันตรายมาก

 

            4. มาตรา18 วรรค2 ระบุให้ในการประชุมพิจารณาเรื่องที่กรรมการที่มีส่วนได้ส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องดังกล่าวไม่มีสิทธิเข้าประชุม  ดูผิวเผินแล้วเหมือนกับเป็นการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนที่ดี แต่หากวิเคราะห์แล้วจึงเกิดคำถามว่า ถ้ามีกรรมการที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่พิจารณา เท่ากับเป็นการเปิดช่องให้กรรมการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนสามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้

 

            5. มาตรา21(21) ระบุให้คณะกรรมการ กสช. มีอำนาจเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีกฎหมายเพื่อแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายเกี่ยวกับโทรทัศน์ การกระจายเสียง โทรคมนาคม  เท่ากับว่า กสช. มีอำนาจเสนอให้คณะรัฐมนตรีออกกฎหมายใหม่ หรือยกเลิกกฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้วได้  ซึ่งอาจเป็นการเปิดช่องทางให้เกิดการยกเลิกกฎหมายที่คุ้มครองเสรีภาพของสื่อ หรือกฎหมายเกี่ยวกับสื่อสาธารณะที่เป็นอิสระอย่าง พรบ.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

            6. มาตรา25 วรรค3 ให้อำนาจ กสช. สั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม ข้อนี้นับได้ว่าเป็นอีกมาตราที่อันตรายอย่างมาก เพราะเท่ากับเป็นการให้อำนาจ กสช. ทั้งในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ โทรคมนาคม  กำกับดูแลองค์กรที่ได้รับคลื่นความถี่  และยังให้อำนาจในการเพิกถอนได้อีกด้วย  ทั้งที่โดยหลักควรมีการกระจายอำนาจไปให้องค์กรอื่นๆ บ้างเช่นการส่งฟ้องศาล เป็นต้น

 

            7. มีการตัดประเด็นการจัดทำ "แผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์" (มาตรา26 ใน พ...องค์กรฯ ปี 2543 เดิม) ส่งผลให้สาระสำคัญในเรื่องสิทธิการเข้าไปใช้คลื่นความถี่ของภาคประชาชน หายไปพร้อมกับแผนแม่บทฯ ตาม มาตรา26 ใน พ...องค์กรฯ ปี 2543 เดิม ดังนี้

 

            7.1   ตัดประเด็นการกำหนดให้ กสช. ต้องจัดให้ภาคประชาชน ได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20   ในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อม ให้ กสช. ให้การสนับสนุนเพื่อให้ภาคประชาชนมีโอกาสใช้คลื่นความถี่ในสัดส่วนตามที่กำหนด  ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเกิดกฎหมายฉบับดังกล่าวขึ้นมาในปี 2543

 

            7.2   ตัดประเด็นการกำหนดให้มีหลักประกันว่าด้วยการอนุญาตให้มีการประกอบกิจการเพื่อประโยชน์สาธารณะระดับท้องถิ่น ซึ่งอย่างน้อยจะต้องให้มีสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด และสถานีวิทยุโทรทัศน์สำหรับ การกระจายข้อมูลข่าวสารของประชาชนเพื่อการพัฒนาด้านต่างๆ และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ประชาชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเพียงพอออก และให้ กสช. สนับสนุนให้ตัวแทนประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ ในจังหวัดมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเสนอแนะความเห็นแก่ กสช. ในการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ กสช.

 

            8.   มาตรา45 กำหนดให้การประกอบการภาคชุมชนสามารถหารายได้ ให้เพียงพอต่อการดำเนินกิจการ โดยไม่เกินจำนวนและตามวิธีการที่ กสช. กำหนด โดยในกรณีการประกอบกิจการของชุมชนใดมีรายได้เกินจำนวนที่กำหนด ให้รายได้นั้น  ตกเป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ ซึ่งอาจนำไปสู่การเปิดช่องให้การเมืองท้องถิ่นเข้ามาควบคุมกิจการสื่อชุมชนได้

 

            ในการนี้ พวกเราจึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

            1. ขอให้รัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหาร แสดงความบริสุทธิ์ใจต่อประชาชนด้วยการถอนร่าง พ...ดังกล่าวออกมาจากการพิจารณาของรัฐสภา เพื่อนำไปสู่กระบวนการจัดทำร่างกฎหมายฉบับใหม่ที่ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างโดยตรง

 

            2. ในอนาคตต้องมีการผลักดันกฎหมายให้เกิดองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภคสื่อที่มีภาคประชาสังคมเป็นผู้ดูแล เพื่อให้เป็นองค์กรที่ทำงานเป็นแนวร่วมกับภาคประชาสังคมในการส่งเสริมให้ประชาชนผู้บริโภคสื่อได้มีส่วนร่วมในการปกป้องเสรีภาพของสื่อให้ปราศจากการถูกแทรกแซง ครอบงำตั้งแต่ขั้นตอนการจัดสรรคลื่นความถี่ ไปจนถึงเนื้อหาการผลิตรายการ การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร อันหมายถึงการปกป้องเสรีภาพของประชาชนเอง

 

            3. พวกเราขอร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวของ 20 องค์กรพันธมิตรสื่อที่กำลังเคลื่อนไหวคัดค้านร่างกฎหมายฉบับนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน

 

            พวกเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลไทยที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน จะไม่กระทำการอันเป็นการทรยศต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่แท้จริง

 

 

คลื่นความถี่ต้องเป็นผลประโยชน์ของสาธารณะชน

กลุ่มนักวิชาการ นักธุรกิจ นักสิทธิมนุษยชน นักกิจกรรม นักเรียน นิสิต นักศึกษา

ต่อต้านการครอบงำสื่อภาคประชาชน

 

ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD)

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.)

คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช)

ศูนย์เผยแพร่ส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ)

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

 

อังคณา นีละไพจิตร           คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ

สมชาย  หอมลออ             เลขาธิการมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

เมธา  มาสขาว                 เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)

วรภัทร วีรพัฒนคุปต์          เลขาธิการศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย (YPD)

กชวรรณ ชัยบุตร              อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ปี 2548

วิบูลย์  อิงคากุล                นักธุรกิจเพื่อสังคม

อรรณพ นิพิทเมธาวี           Webmaster www.thaingo.org

ดร.สุดา  รังกุพันธ์             อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี      อาจารย์ประจำโครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
รศ.ดร. ทวิช จิตรสมบูรณ์   สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์    อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี

สกุล สื่อทรงธรรม             อาจารย์พิเศษ วิชา กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ชลเทพ ปั้นบุญชู               นิสิตปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สโรชา ฤทธิธนโชติ            นักศึกษาคณะศิลป์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด

เปรมกวี  สุวรรณาลัย         นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อำไพ สืบมี                      นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณัฐวรรณ  เชาวมัย            นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กฤษติน สังข์วรรณ            นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Udompon Taweechalermdit         นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

ศรวณีย์  ไทยผดุง            นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

จิรวัฒน์ จังหวัด                 นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ดร. อโนชา ยิ้มศิริวัฒนะ

ทินกร ชูพันธุ์

นายบรรจบ เจริญชลวานิช

Tony Jubandhu

Suthee Rattanamongkolgul

Wachara navawongse

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท