Skip to main content
sharethis

อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)


Shukur2003@yahoo.co.uk


http://www.oknation.net/blog/shukur


 


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่าน และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


 


1. บทนำ


ผลการเลือกตั้งมาเลเซียปี 2008 ครั้งที่ผ่านมาซึ่งพันธมิตร ฝ่ายค้านได้ ประกาศศักดาคว้าที่นั่งจำนวนมาก รวมทั้งยึดเก้าอี้ที่นั่งในกัวลาลัมเปอร์เมืองหลวงครั้งนี้ได้นั้นเป็นการร่วมมือทางยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้งของพรรคพันธมิตร ฝ่ายค้าน จนสามารถรวมพลังพันธมิตร 3 ฝ่าย ซึ่งแตกต่างทั้งเชื้อชาติและอุดมการณ์ภายใต้การนำของนายอันวาร์ อิบรอฮีม ผู้ซึ่งถูกกลั่นแกล้งและเจอมรสุมทางการเมืองทั้งสมัยอดีตนายกรัฐมนตรีมหาธีร มุฮัมมัดและกำลังจะถูกดำเนินคดีในข้อหาเก่าอีกครั้งหนึ่งเพื่อสกัดกั้นการเป็นผู้นำมาเลเซียคนต่อไป


 


2. ประวัติพอสังเขป


นายอันวาร์ [1] อิบรอฮีม (Anwar Ibrahim) มีชื่อเต็มว่า ดาโต๊ะสรี อันวาร์ บินดาโต๊ะอิบรอฮีม อับดุลเราะหมาน (Datuk Seri Anwar bin Datuk Ibrahim Abdul Rahman) เกิดเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.. 1947 ณ บ้านเจอรุก โต๊ะกุน บูกิตเมอร์ตายัม รัฐปีนัง (Ceruk Tok Kun, Bukit Mertajam, Pulau Pinang) บิดาของท่านมีชื่อว่าดาโต๊ะอิบรอฮีม อับดุลเราะหมาน นั้นเคยดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติของมาเลเซียและเลขานุการสภาสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในขณะที่มารดาของท่านคือนาง เจะยัน ฮูซัยน์ (Che Yan Hussein) เป็นนักปราศรัยคนสำคัญในกลุ่มสตรีของพรรคอัมโน UMNO (United Malays National Organization) และนางเคยนำอันวาร์ อิรอฮีมไปในเวทีการปราศรัยเป็นประจำ การศึกษาของท่านนั้นในระดับประถมศึกษาท่านศึกษาที่โรงเรียนสโตเวล (Stowell) บูกิตเมอร์ตายัม รัฐปีนัง ซึ่งเป็นโรงเรียนของรัฐบาล ในระดับมัธยมศึกษา ท่านศึกษาที่โรงเรียนมักตับมลายูกัวลากังสา (Maktab Melayu Kuala Kangsar) หรือเป็นที่รู้จักในนาม MCKK และได้รับความไว้วางวางใจจากโรงเรียนให้เป็นนักพูดประจำโรงเรียน และดำเนินกิจกรรมอย่างแข็งขันในชมรมภาษามลายูของโรงเรียน


 


ระหว่างปี .. 1960- 1966 ท่านศึกษาในระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยมลายา สาขาวรรณกรรมมลายู


 


ปี ค.. 1967 ท่านได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างว่าเป็นนักกิจกรรมตัวยงของประเทศ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้นำในชมรมและองค์กรต่างๆ มากมายเช่น ค.. 1968 เป็นประธานชมรมภาษามลายู และประธานชมรมนักศึกษามุสลิมมาเลเซีย ค.. 1971 เป็นแกนนำจัดตั้งสมาคมเยาวชนมุสลิมมาเลเซีย หรือในมาเลเซียเป็นที่รู้จักกันในนาม ABIM .. 1973 เป็นประธานคณะกรรมการเยาวชนเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ ค.. 1979 ได้รับรางวัลเหรียญทอง หนึ่งร้อยปี Iqbal Award จากรัฐบาลปากีสถาน ความที่เป็นนักปราศรัยฝีปากกล้าและนักเคลื่อนไหวที่กล้าวิจารณ์การเมืองการปกครองในรัฐบาล ตุนกูอับดุลเราะห์มาน (Tunku Abdul Rahman) ทำให้ต้องถูกกฎหมายความมั่นคงของรัฐบาลมาเลเซียเล่นงานในข้อหาฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ระหว่างปี ค.. 1974- 1976 ปีค.. 1978 เข้าสู่ประตูวิวาห์กับ นางวันอาซีซ๊ะห์ ดาโต๊ะอิสมาอีล (Wan Azizah Datuk Ismail)


 


 


3. ชีวิตทางการเมือง


นายอันวาร์ อิบรอฮีม เริ่มผกผันชีวิตจากนักเคลื่อนไหวสู่นักการเมืองเต็มตัวเมื่อสมัครสมาชิกพรรคอัมโน UMNO เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ค.. 1982 โดยได้รับการชักชวนจากอดีตนายกรัฐมนตรี นายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัด และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจนได้รับการไว้วางใจจากประชาชนในปีเดียวกัน ชีวิตทางการเมืองของท่านก้าวกระโดดด้วยความสามารถในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ


 


ปี.. 1982 - 1983 เป็นรัฐมนตรีช่วยประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี ค..1983 - 1985 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชน วัฒนธรรมและการกีฬา ปี ค..1985 - 1986 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปี ค.. 1987 ได้รับความไว้วางใจจากผู้นำพรรคให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าพรรคอัมโน หลังจากนั้น ปี ค..1986 - 1990 เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในปี .. 1991 ตามลำดับ และ .. 1993 ได้รับการไว้จากหัวหน้าพรรค แกนนำพรรคและสมาชิกพรรคให้ดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคอัมโน แต่จะต้องลงแข่งขันกับผู้อาวุโสในพรรคนายฆอฟฟาร์ บาบา ทำให้พรรคเริ่มมีปัญหาด้านความสามัคคีมีการแบ่งพรรคแบ่งฝ่าย เริ่มใช้วิชามารในการทำลายคู่แข่ง ซึ่งตามประเพณี นายอันวาร์ อิบรอฮีม จะเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประธานพรรค ที่ นายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัด ดำรงอยู่ และถูกคาดว่าจะเป็นทายาททางการเมืองต่อไปด้วยเพราะพรรคอัมโนเป็นพรรคการเมืองที่เข้มแข็งและเป็นแกนนำของรัฐบาลมาโดยตลอด ในปี 1993 - 1998 เป็นรองนายกรัฐมนตรีควบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แต่พอปี .. 1997 ได้เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคขึ้น และนายอันวาร์ อิบรอฮีมในฐานะเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจในมาเลเซีย ทำให้ความเชื่อถือของนายแพทย์ มหาเดร์ มุฮัมมัด ในตัวนายอันวาร์ อิบรอฮีม เริ่มลดลง แต่อย่างไรก็ดี ช่วงแรกนายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัด ก็ยังปกป้องนายอันวาร์ อิบรอฮีมไว้


 


หลังจากกนั้นไม่นาน กล่าวคือปี ค.. 1998 นายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัดเริ่มไม่ไว้ใจ นายอันวาร์ อิบรอฮีม และมีทัศนะว่านายอันวาร์ มีความคิดทางเศรษฐกิจค่อนข้างจะเป็นตะวันตก และคล้อยตามด้วยการแก้ไขด้วยนโยบายการเงินและการลงทุนแบบเสรี เปิดทางในนักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศได้อย่างไม่ค่อยมีข้อจำกัด และพยายามแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตามแนวทางของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งผิดกับนายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัด ที่ต่อต้านแนวคิดแบบตะวันตก [2] จึงทำให้บุคคลทั้ง 2 มีความเห็นขัดแย้งด้านนโยบายการเงินของประเทศ อันเป็นที่มาของการแต่งตั้งนายดาอิม ไซนุดดีน (Daim Zainuddin) เป็น Head of the National Economic Action Council ที่ถือเป็นการลดอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลง


 


แต่ลึกๆ แล้วนักวิเคราะห์ต่างประเทศมองว่านายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัดยังไม่ต้องการลงจากตำแหน่ง ในขณะที่นายอันวาร์ อิบรอฮีมและผู้สนับสนุนเขาอยากได้ตำแหน่งเร็วขึ้น ดังนั้นนายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัดจึงใช้ช่วงจังหวะดังกล่าวจัดการภายใต้การวางแผนของท่านและทีมงานอย่างแยบยล โดยเริ่มมีการจับกุมนาย S. Nellakaruppan เพื่อนสนิทของนายอันวาร์ อิบรอฮีม ในเดือน กรกฎาคม 1998 ด้วยคดีอาญาภายใต้กฎหมายความมั่นคงภายในประเทศ และตามมาด้วยการปลดนายอันวาร์ อิบรอฮีม ออกจากทุกตำแหน่ง รวมทั้งตำแหน่งรองประธานประธานพรรคอัมโน ด้วยเหตุที่ มหาเดร์เชื่อในข้อกล่าวหาที่มีต่อนายอันวาร์ และได้เคยขอให้นายอันวาร์ลาออกไปเอง แต่เมื่อนายอันวาร์ไม่ยินยอม จึงต้องมีการดำเนินการอย่างเด็ดขาด


 


นายอันวาร์ อิรอฮีม ได้ออกมาปฎิเสธข้อกล่าวหาทุกข้อและพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อการปฎิรูปที่เขาคิดว่าจำเป็นต่อมาเลเซียต่อไป โดยนายอันวาร์ อิบรอฮีม คิดว่าความไม่เข้าใจระหว่างเขากับ นายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัด มีประเด็นมาจากเรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งเกิดจากบรรดาคนใกล้ชิดของนายแพทย์มหาเดร์ เอง ที่ต้องการลดอำนาจและบทบาทของนายอันวาร์ ซึ่งเขาอ้างว่าข้อกล่าวหาต่อเขายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดมารองรับแต่อย่างใดและเท่าที่ผ่านมา ผู้ที่สนับสนุนนายอันวาร์ อิบรอฮีม ได้รวมตัวกันเพื่อประท้วงอย่างสันติ แต่นายแพทย์มหาเดร์ มุฮัมมัดมองว่าเป็นก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้น จนทำให้มีการปราบปรามจากฝ่ายรัฐบาล และนำไปสู่การจับกุมนายอันวาร์ อิบรอฮีมในที่สุด


 


สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่อาจเป็นชนวนสำคัญในการปลดนายอันวาร์ อิบรอฮีม คือ การที่นายอันวาร์เป็นนักคิดมุสลิมที่มีหัวก้าวหน้าและใช้หลักบูรณาการหลักศาสนากับกระแสโลกาภิวัตน์อย่างลงตัว [3] ซึ่งจะค้านกับกระบวนการ "ไถ่ถอนศาสนา" (Secularization) [4] และเห็นว่าอิสลามเป็นเครื่องมือนำวิถีชีวิตของประชาชน หากนายอันวาร์ อิบรอฮีม ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน นายแพทย์มหาเดร์ แล้ว อาจจะนำแนวคิดทางศาสนาอิสลามมาใช้และมีนโยบายกีดกันชนเชื้อสายอื่นที่ไม่ใช่มลายู ทำให้ชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน ซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนกลัวว่าจะเป็นปัญหาเช่นเดียวกับอินโดนีเซียได้ (ซึ่งนายอันวาร์ อิบรอฮีมเองได้เคยปฏิเสธไปแล้ว) ซึ่งท้ายสุดเขาถูกศาลตัดสินจำคุกเป็นเวลา 6 ปีและห้ามข้องเกี่ยวกับการเมืองจากการถูกฟ้องในข้อหาทุจริตและปัญหาพฤติกรรมทางเพศ จนกระทั่งวันที่ 14 เมษายน ค.. 2008 เป็นวันสุดท้ายที่ห้ามยุ่งการเมือง


 


 


4. อันวาร์หลังจากออกจากคุก


ความเป็นจริงเดิม ปี ค.. 2000 ศาลสูงมาเลเซียจำคุกเขา 9 ปี ในข้อหาทุจริตและปัญหาพฤติกรรมทางเพศ และเขาถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บในคุก ในเดือนกันยายนปี ค.. 2004 ศาลรับคำอุธรณ์ของอันวาร์ อิบรอฮีมและตัดสินปล่อยตัวเขาดังนั้นจึงสรุปได้ว่าเขาถูกจำคุกเป็นเวลา 6 ปีเท่านั้นแต่ถูกห้ามทำกิจกรรมทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จนถึง14 เมษายน ค.. 2008 หลังจากอันวาร์ออกจากคุก เขาได้ไปรักษาตัวที่นครมิวนิคประเทศเยอรมนี หลังจากนั้นได้รับเกียรติให้เป็นคณะกรรมการศึกษา จากวิทยาลัย Kolej Santo Anthony, มหาวิทยาลัยอ๊อซฟอร์ด (Oxford Univ.) ประเทศอังกฤษเป็นคณะกรรมการศึกษา หลังจากนั้นไปเป็นผู้เชี่ยวชาญให้กับสถาบัน School of Advanced International Studies (SAIS) และมหาวิทยาลัย ยอร์จทาว (Georgetown Univ.) หลังจากนั้นท่านได้เดินทางกลับประเทศ พร้อมได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากผู้สนับสนุน และยังความกังวลกับคู่แข่งทางการเมืองในพรรคอัมโน และท่านได้ดำเนินกิจกรรมที่ปรึกษาทางการเมืองให้กับภรรยาในพรรคความยุติธรรมของประชาชน (People"s Justice Party)


 


11 ธันวาคม ค.. 2004 นายอันวาร์ อิบราฮิม เริ่มให้ความคิดเห็นทางการเมืองโดยระบุว่ามาเลเซียต้องยกเลิกกฎหมายความมั่นคงภายใน (ไอเอสเอ.) ที่อนุญาตให้รัฐบาลจำคุกประชาชนได้โดยไม่ต้องไต่สวน และรัฐบาลมักจะใช้กฎหมายไอเอสเอ อย่างผิดๆ ซึ่งถือเป็นการกดขี่ข่มแหงประชาชน ทั้งนี้ในการกล่าวคำปราศรัยต่อกลุ่มผู้สนับสนุนประมาณ 1,000 คน ที่สำนักงานใหญ่ของพรรค PAS (Parti Islam Se-Malaysia) ชานกรุงกัวลาลัมเปอร์


 


นายอันวาร์ อิบรอฮีม ยังได้กล่าวอีกว่า การยกเลิกกฎหมายดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อความพยายามต่อสู้กับการก่อการร้าย ขณะที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเอเชียซึ่งเป็นกลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนอิสระในฮ่องกงระบุว่า มาเลเซียจับกุมประชาชน ภายใต้กฎหมายไอเอสเอ. ประมาณ 100 คนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา


 


หลังจากนั้นนายอันวาร์ อิบรอฮีม ได้ให้ความคิดเห็นด้านการเมืองมาตลอดจนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.. 2008 นายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อะหมัด บาดาวี ได้ประกาศยุบสภาและจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 8 มีนาคม ค.. 2008 ทั้งที่สภาผู้แทนชุดนี้ยังมีอายุถึงเดือนพฤษภาคม ค.. 2008 ซึ่งมีการวิเคราะห์ด้วยว่า การที่อับดุลเลาะห์ เลือกจังหวะนี้ เหตุผลประการหนึ่งคือ เพื่อสกัดกั้นการลงสมัคร ส.ส.ของนายอันวาร์ อิบรอฮีม ผู้นำพรรคความยุติธรรมของประชาชน (People"s Justice Party) ซึ่งยังไม่ครบกำหนดเวลาเล่นการเมืองตามคำสั่งของศาลจนกว่าจะถึง 14 เดือนเมษายน ค.. 2008


 


            ถึงแม้นายอันวาร์ อิบรอฮีมจะถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง แต่ด้วยประสบการณ์ทางการเมืองสูง ท่านได้เป็นจอมทัพในการวางแผนการเลือกตั้ง โดยร่วมกันจัดตั้งพรรคพันธมิตร ฝ่ายค้านซึ่งใช้ชื่อว่า Barisan Alternatif หรือ กลุ่มพันธมิตรทางเลือกซึ่งแตกต่างทั้งเชื้อชาติและอุดมการณ์คือ พรรค PAS (Parti Islam Se-Malaysia) พรรคกิจประชาธิปไตย DAP (Democratic Action Party) เป็นพรรคตัวแทนของคนมาเลเซียที่เป็นคนจีน พรรค PRM และ พรรคความยุติธรรมของประชาชน (People"s Justice Party) หรือเป็นที่รู้จักกันในหมู่คนมาเลเซียคือพรรคเกออาดิลัน (KeADILan) ซึ่งทั้งสี่ได้ร่วมมือทางยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้งของพรรคพันธมิตร ฝ่ายค้าน


 


โดยสี่พรรคดังกล่าวไม่ส่งผู้สมัครลงแข่งกันเอง แต่ใช้วิธีรวมกลุ่มส่งผู้สมัครคนเดียวในแต่ละเขต และนายอันวาร์ อิบรอฮีมได้เดินสายทั่วมาเลเซีย เพื่อหาทางเพิ่มความสามัคคีระหว่างฝ่ายค้าน และประกาศชูนโยบายยกเลิกการใช้แผนเศรษฐกิจที่ให้สิทธิพิเศษแก่คนมลายูมุสลิม เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนเชื้อชาติอื่นๆ หลังจากที่ได้ร่วมมือกันระหว่างสี่พรรค เขายังได้กล่าวหารัฐบาลมาเลเซียว่าคอร์รัปชั่นและไม่มีความโปร่งใส อันวาร์ อิรอฮีมและแกนนำฝ่ายค้านคนอื่นๆสามารถเรียกฝูงชนจำนวนมากให้ออกมาฝั่งการปราศรัยครั้งใหญ่ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยนายอันวาร์ อิรอฮีมกล่าวโจมตีรัฐบาลในหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงลิ่ว และอัตราการก่ออาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้น

            ในขณะที่คืนวันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม ค.. 2008 ชาวมาเลเซียจากทุกกลุ่มเชื้อชาติศาสนากว่า 7,000 คนออกมาฟังนายอันวาร์ อิบรอฮีม ปราศรัยท่ามกลางฝนฟ้าคะนอง


 


ในที่สุด ยังผลให้การเลือกตั้งในวันที่ 8 มีนาคม ค.. 2008 พรรคร่วมรัฐบาลไม่สามารถรักษาที่นั่งให้มากถึง 2 ใน 3 และยังแพ้ในการเลือกตั้งท้องถิ่น 5 รัฐ [5]


 


หลังจากชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านทั้งสามพรรค ชนะที่นั่งเพิ่มอย่างท่วมท้นครั้งนี้


นายอันวาร์ อิบราฮิม ได้อ้างว่ามีสมาชิกสภานิติบัญญัติหลายคนของพรรคร่วมรัฐบาลต้องการแปรพักตร์มาเข้ากับฝ่ายค้าน และเขายินดีต้อนรับเข้าพรรค แต่จะไม่มีการติดสินบนเป็นค่าย้ายพรรคให้แก่ ส.ส. เหล่านั้น



            หลังจากนั้นวันที่ 14 เมษายน ค.. 2008 นี้ ค่อนข้างแน่นอนว่า นายอันวาร์ อิบรอฮีม จะลงเลือกตั้งซ่อมในที่ใดที่หนึ่ง เพื่อเข้ามารับหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายค้าน และจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการเมืองภาคประชาชน


 

 วันที่ 15 เดือนเมษายน ค.. 2008 นายอันวาร์ อิบรอฮีม กล่าวปราศรัยต่อกลุ่มผู้สนับสนุนราว 40,000 คน ที่มารอฉลองในโอกาสที่ตัวเขาพ้นจากคำสั่งห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
สาระสำคัญของการปราศรัยครั้งนี้ นายอันวาร์ อิบรอฮีมกล่าวว่า ฝ่ายค้านสามารถจะโค่นล้มรัฐบาลได้ เนื่องจากมี ส.ส.ในฝั่งรัฐบาลจำนวนมากพอที่พร้อมจะแปรพักตร์ มาให้การสนับสนุนฝ่ายค้าน พร้อมกับเน้นย้ำว่า เป้าหมายหลักของฝ่ายค้านอยู่ที่การปฏิรูปหลายสิ่งหลายอย่าง ตั้งแต่การชำระกระบวนการยุติธรรม การกวาดล้างปัญหาคอร์รัปชั่น และการสร้างความปรองดองระหว่างชนชาติต่างๆ ในมาเลเซีย
 
            อย่างไรก็ตาม การปราศรัยของนายอันวาร์ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกหลังมีการเลือกตั้งไปเมื่อเดือนมีนาคมที่แล้ว โดยมีขึ้นราว 30 นาที ก่อนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขัดขวาง เนื่องจากไม่ได้ขออนุญาตจัดการชุมนุม ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองชี้ว่าเป้าหมายสูงสุดของนายอันวาร์ อิบรอฮีมคือการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ซึ่งคาดว่านายอันวาร์ อิบรอฮีมจะเข้าสู่รัฐสภาด้วยการลงสมัครเลือกตั้งซ่อมในเร็วๆ นี้ เพื่อไปช่วงชิงอำนาจกับนายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี


 


แต่แล้วเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า อันวาร์ได้ลี้ภัยไปอาศัยที่สถานเอกอัครราชทูตตุรกี ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยให้เหตุผลเพื่อความปลอดภัย หลังจากถูกกล่าวหาว่ามีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักกับผู้ช่วยชายคนหนึ่ง ขณะที่อันวาร์ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว [6]


 


รอยเตอร์ส รายงานว่า ฉัว กล่าวผ่านการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ว่า อันวาร์ ไปพักที่สถานเอกอัครราชทูตตุรกี เพื่อรับการคุ้มกันภัย แต่ไม่ได้ต้องการจะลี้ภัยทางการเมือง และทางพรรคเพียงต้องการให้มั่นใจว่า อันวาร์ ปลอดภัย


 


นักสังเกตการณ์ต่างประเทศมีทัศนะว่า วิบากกรรมทางการเมืองครั้งนี้เป็นแผนสกัดกั้นอนาคตทางการเมืองหลังจากเขาอาจจะได้เสียงสนับสนุนเพียงพอจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาล ในการตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่ ภายในเดือนกันยายนนี้


 


 


5. สรุป
           
จากการศึกษาประวัติของนายอันวาร์ อิบรอฮีม จะพบว่าท่านต้องเจอมรสุมทางการเมืองมากมายและต้องถูกจำคุกถึงสองครั้ง ท้ายสุดท่านก็รอดมาได้ทุกครั้งและในอนาคตอาจจะได้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปของมาเลเซียที่ไม่ใช่มาจากพรรคอัมโน


 


แต่หลังจาก 29 มิถุนายนที่ผ่านข้อกล่าวหาดังกล่าวกำลังจะเป็นอุปสรรคและถือเป็นวิบากกรรมทางการเมือง ครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของท่าน


 


เรียบเรียงจาก


1.       http://sify.com/news/international/fullstory.php?id=13285283  


2.       http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/244570.stm


3.       Public Prosecutor v Dato" Seri Anwar bin Ibrahim[1998] 4 MLJ 481;Public Prosecutor v Dato" Seri Anwar bin Ibrahim (No 2) 1999] 2 MLJ 249;Public Prosecutor v Dato" Seri Anwar bin Ibrahim (No 3) [1999] 2 MLJ 1; and Public Prosecutor v Dato" Seri Anwar bin Ibrahim (No 4) [1999] 5 MLJ 545


4.       http://web.amnesty.org/library/Index/ENGASA280152003?open&of=ENG-MYS


5.       http://www.hrw.org/press/1999/jun/anwar0610.htm


6.       http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/873592.stm


7.        Mathewson, Judy & Hays, Kathleen (Nov. 30, 2006) . Malaysia's Anwar Says He Plans to Run for Parliament. Bloomberg.com.


8.       Channelnewsasia.com - Special Reports


9.        "When Mahathir lashes out at Anwar, will it catch fire?" March 31, 2008, The Malaysian Insider.


10.   "Malaysian opposition leader Anwar marks end of political ban" April 14, 2008, AFP


11.    "Malaysia Police Halt Anwar Speech" April 14, 2008, AFP


12.   Laman Web Anwar. Anwaribrahimblog.com


13.   Laporan mengenai Anwar. www.aseannewnettwork. Com


14.   Mahkamah bebaskan Anwar. -- Panel hakim ketepikan hukuman penjara Sembilan tahun . www.utusan.com.my


15.   http://www.mof.go.th/fpobul/ffuothoct.htm  


เอกสารประกอบ

เชิงอรรถของบทความนี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net