Skip to main content
sharethis

วิทยากร บุญเรือง


 


เมื่อวันที่ 15 ก.ค. ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย"


อันประกอบด้วย (1) มาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน (2) การชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้มสำหรับภาคครัวเรือน (3) การยกเว้นเก็บค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไม่เกินเดือนละ 80 หน่วย และหากใช้เกิน 80 หน่วยแต่ไม่เกิน 150 หน่วย จะคิดค่าบริการร้อยละ 50 (4) การยกเว้นเก็บค่าน้ำประปาสำหรับครัวเรือนที่ใช้ไม่เกินเดือนละ 50 ลูกบาศก์เมตร (5) การจัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 800 คัน เพื่อให้บริการแก่ประชาชนฟรีใน 73 เส้นทาง (6) การจัดขบวนรถไฟชั้น 3 และรถไฟชานเมืองของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อให้บริการฟรีแก่ประชาชน


 


มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน บรรเทาผลกระทบจากเงินเฟ้อให้แก่ประชาชนได้มากที่สุด


 


ทั้งนี้จากการคาดการณ์ของสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ได้ประเมินมาตรการ "6 มาตรการ 6 เดือนฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ที่รัฐบาลได้ประกาศใช้ล่าสุด จะทำให้ภาคครัวเรือนประมาณ 4 คน/ครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายลดลงครอบครัวละ 2 พันบาท/เดือน


 


โดยหนึ่งในมาตรการที่มีความสำคัญและจะมีผลต่อการบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ คือ มาตรการด้านภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ที่ให้มีการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ทุกประเภท (แก๊สโซฮอล์ 95 ทั้ง E10 E20 และ E 85 และแก๊สโซฮอล์ 91) ลงจากลิตรละ 3.3165 บาท เป็นลิตรละ 0.0165 บาท และลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลงจากลิตรละ 2.305 บาท เป็นลิตรละ 0.005 บาท


 











































 


 


มาตรการ


 


ราคาขายปลีกภายใต้ อัตราภาษีเดิม


 


คาดการณ์ราคาขายปลีก หลังใช้อัตราภาษีใหม่


 


 


คาดว่าราคาขายปลีก อาจปรับลดลง
(ร้อยละ)


 


น้ำหนักในดัชนีราคา ผู้บริโภค
(CPI) (ร้อยละ)


 


คาดผลต่ออัตรา เงินเฟ้อทั่วไป
(ร้อยละ)


ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ทุกประเภท จาก 3.3165 บาท เป็น 0.0165 บาท


แก๊สโซฮอล์ 95 E10


38.19 บาท/ลิตร


34.89 บาท/ลิตร


8.60


2.60


-0.22


แก๊สโซฮอล์ 95 E20


36.89 บาท/ลิตร


33.59 บาท/ลิตร


8.90


-


-


แก๊สโซฮอล์ 91


37.39 บาท/ลิตร


34.09 บาท/ลิตร


8.80


4.49


-0.39


ปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล จากลิตรละ 2.305 บาท เป็นลิตรละ 0.005 บาท


ดีเซล


44.24 บาท/ลิตร


41.94 บาท/ลิตร


5.20


3.31


-0.17


ตารางแสดงการคาดการณ์ราคาน้ำมันใหม่จากผลของนโยบาย "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย" ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (ที่มา: ประเมินโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย)


 


โดยจากการวิเคราะห์ของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่ามาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันนี้ คาดว่าจะมีผลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 ซึ่งการที่ราคาน้ำมันปรับลดลงนี้จะมีผลทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคม น่าจะต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่ำลงกว่าที่ประมาณการไว้เดิมว่าจะขึ้นไปเป็นตัวเลข 2 หลัก และถ้าตัวแปรในด้านอื่นๆ คงที่ จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยในปี 2551 ต่ำลงมาอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7.3 จากประมาณการเดิมที่ร้อยละ 7.8


 


อย่างไรก็ตาม การประเมินดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมุติฐานว่าปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการกำหนดราคาน้ำมันนั้นคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลง  ในขณะที่ประเด็นสำคัญที่ยังคงต้องติดตามต่อไป ได้แก่ การชดเชยราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 0.90 บาท ที่ประกาศใช้มาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนแก่ประชาชน ซึ่งมาตรดังกล่าวกำลังจะหมดอายุลงในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ ในขณะที่ยังคงไม่ชัดเจนว่า กระทรวงพลังงานจะขยายเวลามาตรการดังกล่าวหรือไม่ ซึ่งหากไม่ขยายเวลาของมาตรการดังกล่าว ก็จะทำให้โดยสุทธิแล้ว ราคาน้ำมันดีเซลอาจจะไม่สามารถปรับลดลงได้มากอย่างที่ประเมินในตารางข้างต้น


 


นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่ต้องติดตามคือ ทิศทางราคาก๊าซหุงต้ม ที่ก่อนหน้านี้ ได้มีการออกมาระบุว่าราคาในประเทศยังคงต่ำกว่าราคาตลาดโลกอยู่ราว 30 บาท/กิโลกรัม ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะต้องมีการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มให้สะท้อนต้นทุนในตลาดโลกมากขึ้น รวมทั้งอาจมีการแบ่งแยกระหว่างราคาสำหรับภาคครัวเรือนและราคาสำหรับภาคขนส่ง ซึ่งในขณะนี้ คณะทำงานแก้ไขปัญหาขาดแคลนก๊าซหุงต้มของกระทรวงพลังงาน อยู่ระหว่างการพิจารณาในเรื่องการปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้มดังกล่าว โดยคาดว่าอาจจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม ขณะเดียวกัน คณะทำงานดังกล่าวกำลังพิจารณาถึงเรื่องความพร้อมด้านความปลอดภัย เพื่อป้องกันการลักลอบถ่ายเทก๊าซจากครัวเรือนไปใช้ในรถยนต์ด้วย


 


อย่างไรก็ตาม ไม่ว่ามาตรการชดเชยราคาน้ำมันดีเซลลิตรละ 0.90 บาท ที่จะหมดอายุลงในปลายเดือนนี้ จะได้รับการต่ออายุหรือไม่ รวมทั้งไม่ว่าจะมีการทยอยปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มให้สะท้อนราคาในตลาดโลกมากขึ้นหรือไม่ การปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในวันนี้ น่าที่จะบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อได้ในระดับหนึ่ง


 


การขาดดุลงบประมาณในปี 2551 เพิ่มขึ้น


 




























 


สรุปประมาณการวงเงินและการสนับสนุนงบประมาณ


 


 


ประมาณการวงเงินเบื้องต้น


วิธีการสนับสนุน


1. รายได้ภาษีสรรพสามิตจาก น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล


32,000 ล้านบาท


- รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่สูงกว่า สมมติฐานเดิม และตามการเพิ่มขึ้นของการบริโภคจากผลของมาตรการ


2. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านไฟฟ้า


- กฟผ.


- กฟน.


- กฟภ.


12,000 ล้านบาท


(12,000 ล้านบาท)


- ให้ กฟผ. พิจารณาลดราคาค่าไฟฟ้าส่วนที่จำหน่ายให้แก่ กฟน. และ กฟภ. และให้กฟผ. หักจากรายได้นำส่งรัฐของปี2551/52


3. ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านประปา


- กปน.


- กปภ.


3,930 ล้านบาท


(1,530 ล้านบาท)


(2,400 ล้านบาท)


-


- หักจากรายไดน้ำส่งรัฐของปี 2551


- จัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้เป็นกรอบค่าใช้จ่ายไว้ ในกรณีที่รายได้นำส่งรัฐตามผลการดำเนินงานในปี 2551 ไม่เพียงพอ


4.ผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจด้านขนส่ง


- ขสมก.


 


- รฟท.


1,474 ล้านบาท


(1,224 ล้านบาท)


 


(250 ล้านบาท)


-


- งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น


- งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น


รวม                                                              49,404 ล้านบาท


ตารางแสดงสรุปประมาณการวงเงินและการสนับสนุนงบประมาณ (ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)


 


ทั้งนี้จากการที่ได้มีการประเมินว่ามาตรการดังกล่าวจะใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 49,404  ล้านบาท หากพิจารณาถึงผลของมาตรการที่ประกาศออกมาทั้งหมดคาดว่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับผู้บริโภคลงไปได้ประมาณร้อยละ 1 ของการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยรวมทั้งระบบ


 


แต่กระนั้นก็ดี การที่รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือความเดือดร้อนของประชาชนในครั้งนี้ อีกด้านหนึ่งย่อมหมายถึงภาระที่รัฐบาลจะต้องรับการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้การขาดดุลงบประมาณในปี 2551 สูงขึ้นมาเป็นประมาณ 220,000 ล้านบาท จากเดิมที่ประมาณ 172,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณร้อยละ 2.3 ของจีดีพี จากเดิมที่ร้อยละ 1.7 ของจีดีพี ซึ่งจะมีผลต่อสถานะทางการคลังที่จะต้องจัดหาวงเงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้น และอาจมีผลดึงสภาพคล่องจากระบบการเงินไปบางส่วน


 


โดยจากการสรุปของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ในรายงาน "ประเมินผล "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย"... บรรเทาผลจากเงินเฟ้อได้ แต่รัฐบาลอาจขาดดุลพุ่งสูงขึ้น"  มองว่า มาตรการบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อล่าสุดที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในวันที่ 15 กรกฎาคม นี้ น่าจะช่วยบรรเทาผลของอัตราเงินเฟ้อได้ในระดับหนึ่ง โดยคาดว่า จากมาตรการดังกล่าว อัตราเงินเฟ้อในเดือนสิงหาคม อาจจะต่ำกว่าร้อยละ 10 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยของปี 2551 อาจอยู่ที่ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับประมาณการเดิมที่ร้อยละ 7.8 อย่างไรก็ตาม การบรรเทาผลของเงินเฟ้อดังกล่าวต้องแลกมาด้วยฐานะดุลการคลัง ที่อาจขาดดุลสูงขึ้นเป็น 220,000 ล้านบาท จากประมาณการเดิมที่ 172,000 ล้านบาท


 


ในขณะที่ประเด็นสำคัญที่สุดในยามที่ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นในขณะนี้ น่าจะยังคงเป็นการมุ่งประหยัดการใช้พลังงานของทุกฝ่าย เนื่องจากเห็นได้ชัดแล้วว่า การบรรเทาผลกระทบโดยการใช้มาตรการภาษีย่อมจะมีต้นทุนทางการคลังตามมา ซึ่งควรดำเนินการภายใต้กรอบเวลาที่จำกัด โดยหากพ้นระยะเวลา 6 เดือนไปแล้ว ราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มชะลอตัวลงก็น่าจะเป็นจังหวะเหมาะสมในการสิ้นสุดการใช้มาตรการ


 


6 มาตรการ 6 เดือน ทำคะแนนนิยมรัฐบาลเพิ่มขึ้น


 


สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้เปิดเผยผลสำรวจว่า หลังจากรัฐบาลประกาศใช้ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน"ส่งผลให้ความนิยมของสาธารณชนต่อนายสมัคร ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพิ่มสูงขึ้นเป็นร้อยละ 57.1 จากเดิมเดือน มี.ค. อยู่ที่ร้อยละ 30.7 และเมื่อถึงเดือน มิ.ย. มาอยู่ร้อยละที่ 52


 


ส่วนสวนดุสิตโพลล์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" พบว่าความนิยมของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลเพิ่มขึ้น 27.36 %


 


ทั้งนี้สวนดุสิตโพลล์ได้มีการสำรวจแล้วแยกออกเป็นหัวข้อต่างๆ โดยได้สำรวจในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวน 2,801 คน (กรุงเทพฯ 1,280 คน (ร้อยละ45.70) ต่างจังหวัด 1,521 คน (ร้อยละ 54.30)) สำรวจระหว่างวันที่ 16-18 ก.. 2551 สรุปผลได้ดังนี้…  


 


1. ความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ของรัฐบาล


        - แยกตามพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด


        - แยกตามคนที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท และมากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป


 




























































 


 


มาตรการ


พื้นที่


รายได้


กทม.


ต่างจังหวัด


น้อยกว่า 10,000


มากกว่า 10,000


เห็นด้วย


(ร้อยละ)


เห็นด้วย


(ร้อยละ)


เห็นด้วย


(ร้อยละ)


เห็นด้วย


(ร้อยละ)


1.การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน


74.19


77.92


63.15


64.55


2.ชะลอการปรับก๊าซหุงต้ม LPG ในภาคครัวเรือน


84.42


81.25


69.67


70.51


3.ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปา


61.29


71.08


57.72


55.12


4.ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าครัวเรือน


67.48


63.89


58.06


59.24


5.ลดค่าใช้จ่ายเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง (ขสมก.)


54.92


54.43


52.46


44.87


6.ลดค่าใช้จ่ายเดินทางด้วยรถไฟ ชั้น 3


58.20


50.00


53.39


43.71


ภาพรวม


66.75


66.42


59.08


56.34


ตารางแสดงความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ของรัฐบาล (ที่มา: สวนดุสิตโพลล์)


 


คนกรุงเทพฯและคนต่างจังหวัดเห็นด้วยกับมาตรการชะลอการปรับก๊าซหุงต้ม LPG ในภาคครัวเรือนมากที่สุด ในขณะที่คนที่มีรายได้น้อย กว่า 10,000 บาท และคนที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาท ก็มีความเห็นด้วยกับมาตรการดังกล่าวเช่นกัน


 


2. ความพึงพอใจของประชาชน ที่มีต่อ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ของรัฐบาล (เป็นการเรียงลำดับ โดย 1 = มาตรการที่พอใจมากที่สุด 2 3 4 5 6)


        - แยกตามพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและต่างจังหวัด


        - แยกตามคนที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท และมากกว่า 10,000 บาทขึ้นไป


 

















































 


มาตรการ


พื้นที่


รายได้


กทม.


(ร้อยละ)


ต่างจังหวัด


(ร้อยละ)


น้อยกว่า 10,000


(ร้อยละ)


มากกว่า 10,000


(ร้อยละ)


1.การลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน


17.78


18.80


16.99


17.01


2.ชะลอการปรับก๊าซหุงต้ม LPG ในภาคครัวเรือน


17.19


19.44


17.21


17.35


3.ลดค่าใช้จ่ายน้ำประปา


16.40


16.45


16.76


16.49


4.ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าครัวเรือน


16.80


15.60


16.57


16.84


5.ลดค่าใช้จ่ายเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง (ขสมก.)


15.81


14.74


17.43


16.67


6.ลดค่าใช้จ่ายเดินทางด้วยรถไฟ ชั้น 3


16.02


14.97


15.04


15.64


ตารางแสดงความพึงพอใจของประชาชน ที่มีต่อ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ของรัฐบาล (ที่มา: สวนดุสิตโพลล์)


 


คนกรุงเทพฯ มีความพึงพอใจต่อมาตรการลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน มากที่สุด ในขณะที่คนต่างจังหวัดมีความพึงพอใจต่อมาตรการ ชะลอการปรับก๊าซหุงต้ม LPG ในภาคครัวเรือนมากที่สุด โดยคนที่มีเงินเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท มีความพึงพอใจต่อมาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางด้วยรถโดยสารประจำทาง (ขสมก.) มากที่สุดในขณะที่คนที่มีเงินเดือนมากกว่า 10,000 บาท มีความพึงพอใจต่อมาตรการชะลอการปรับก๊าซหุงต้ม LPG ในภาคครัวเรือน มากที่สุด


 


3. ประชาชนคิดว่า "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ของรัฐบาลจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร


 



































 


 


อันดับ


 


ภาพรวม


(ร้อยละ)


พื้นที่


รายได้


กทม.


(ร้อยละ)


ต่างจังหวัด


(ร้อยละ)


น้อยกว่า 10,000


(ร้อยละ)


มากกว่า 10,000


(ร้อยละ)


1. ดีขึ้น เพราะเป็นการช่วยลดภาระบางส่วนให้ประหยัดลงได้ ,เป็นการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรมชัดเจน ฯลฯ


 


51.43


 


50.73


 


51.35


 


51.49


 


52.14


2. เหมือนเดิม เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ,ได้รับประโยชน์เฉพาะกลุ่ม ,ควรพิจารณาเรื่องเพิ่มค่าแรง เพิ่มเงินเดือนจะดีกว่า ฯลฯ


 


44.01


 


44.85


 


45.04


 


42.57


 


43.59


3. แย่ลง เพราะ ของกินของใช้ยังคงมีราคาสูง ,รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ,ดูเหมือนประชาชนได้รับประโยชน์แต่รัฐบาลอาจมีการเก็บภาษีจากทางอื่นมากขึ้น ฯลฯ


 


4.56


 


4.42


 


3.61


 


5.94


 


4.27


ตารางแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ว่าจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร (ที่มา: สวนดุสิตโพลล์)


 


4. จาก "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" จะทำให้ความนิยมของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลเป็นอย่างไร


 



































 


 


อันดับ


 


ภาพรวม


(ร้อยละ)


พื้นที่


รายได้


กทม.


(ร้อยละ)


ต่างจังหวัด


(ร้อยละ)


น้อยกว่า 10,000


(ร้อยละ)


มากกว่า 10,000


(ร้อยละ)


1. เหมือนเดิม เพราะ เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเพียงเล็กน้อย,ไม่ได้มีความจริงใจในการแก้ปัญหา เป็นการหวังผลในการเพิ่มคะแนนความนิยมของรัฐบาลเท่านั้น ฯลฯ


 


 


45.38


 


 


37.84


 


 


47.06


 


 


48.51


 


 


48.11


2. มากขึ้น เพราะ เป็นมาตรการที่สามารถช่วยเหลือประชาชนได้จริงและเป็นรูปธรรม ,คนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ ฯลฯ


 


40.99


 


47.75


 


39.21


 


38.61


 


38.37


3. น้อยลง เพราะ เป็นการสร้างภาพ สร้างกระแสเพื่อกลบข่าวอื่นๆของรัฐบาล,ควรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนมานานแล้ว ,ยังไม่เชื่อมั่นในการทำงานของคณะรัฐบาลชุดนี้ ฯลฯ


 


13.63


 


14.41


 


13.73


 


12.88


 


13.52


ตารางแสดงความคิดเห็นของประชาชนต่อ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ว่าจะทำให้ความนิยมของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลเป็นอย่างไร (ที่มา: สวนดุสิตโพลล์)


 


 


…………….


แหล่งอ้างอิง


 


6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, July 21, 2008)


คลังเล็งลดภาษีนิติบุคคล-เลี้ยบสั่ง สศค.กระตุ้น ศก. (ผู้จัดการรายวัน, July 21, 2008)


ประเมินผล "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทย"... บรรเทาผลจากเงินเฟ้อได้ แต่รัฐบาลอาจขาดดุลพุ่งสูงขึ้น (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, July 15, 2008)


สมัครยกโพล รัฐบาลทำถูก เรตติ้งกระฉูด (โพสต์ ทูเดย์, July 21, 2008)


สวนดุสิตโพลล์: ความคิดเห็นของประชาชน ที่มีต่อ "6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อไทยทุกคน" ของรัฐบาล (สวนดุสิตโพลล์, July 21, 2008)


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net