Skip to main content
sharethis

 


 


แผนที่แสดงสถานที่แข่งขันในกีฬาโอลิมปิกและลานประท้วง (ที่มาภาพ: RFA)


 


 


"ลานประท้วง" ในปักกิ่งว่างเปล่าและไม่มีคนใช้ นักกิจกรรมบอกว่าถูกลดทอนกำลังใจในการชุมนุมมากเกินไป


 


ฮ่องกง - กลุ่มนักกิจกรรมรายงานว่า เจ้าหน้าที่รัฐในปักกิ่งปฏิเสธไม่ให้หลายองค์กรเข้าใช้ "ลานประท้วง" ในเมืองหลวงซึ่งทางการเคยมีมติอนุญาตให้ใช้


 


โฆษกของกลุ่มที่มีผู้เข้าร่วม 32 คน จากเมือง Linyi เผยว่า "เมื่อพวกเราเข้าไปยื่นคำร้องขอใช้สถานที่...พวกเขาก็สอบถามเกียวกับสาเหตุและจะให้เราเซ็นในอีกใบ จากนั้นพวกเขาก็ไม่ยอมรับแบบฟอร์มจากเรา"


 


จาง เฟิง ที่กลุ่มของเขาถูกรัฐบาลท้องถิ่นไล่ที่พูดอีกว่า "เจ้าหน้าที่บอกว่าคำร้องของพวกเราไม่ได้รับการรับรองเพราะว่าไม่สามารถให้อนุญาตได้ในเบื้องต้น ทำให้พวกเราควรจะรอดูว่าเราจะสามารถต่อรองได้หรือเปล่า ไม่เช่นนั้นพวกเราก็ยังสามารถยื่นคำร้องได้ในหนที่สอง"


 


 


ความหวังอันเลือนลาง


สมาชิกกลุ่มของจางรวมสี่คนเดินทางไปยังสำนักงานสันติบาลท้องถิ่นกรุงปักกิ่งเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อยื่นแบบฟอร์มกับมือ จางบอกว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่สอบถาม ซึ่งเจ้าหน้าที่บันทึกไว้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ได้รับอนุญาตในนามของกฏหมายว่าด้วยการชุมนุมในที่ชุมชนของจีน


 


สิ่งที่จางรับรู้มาคือ หากคำร้องขออนุญาติทำการประท้วงในวันที่ 20 สิงหาคม ทางหน่วยงานสันติบาลควรจะตอบรับภายในช่วงเวลาราววันที่ 18 สิงหาคม แต่พวกเขาก็รู้ว่า ความหวังของเขาดูเลือนลาง


 


ในงานกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ผ่าน ๆ มาก็จัดให้มีลานประท้วงเช่นเดียวกัน รวมถึงที่ ซอลท์ เลค ซิตี้ และ กรุงเอเธนส์ ด้วย


 


ทางก้านจีนได้เปิดลานประท้วงขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม แต่คนจำนวนมากบอกว่าคำร้องขอชุมนุมของพวกเขาได้รับการปฏิเสธ ไม่ว่าจะเป็นที่ เพอร์เพิล แบมบู พาร์ค ในเขตตะวันตกของปักกิ่ง หรือที่ เทมเปิล ออฟ เฮฟเว่น ทางตอนใต้


 


 ทางผู้รับผิดชอบสถานที่ เพอร์เพิล แบมบู พาร์ค ให้คำตอบทางโทรศัพท์ว่าไม่มีการประท้วงเกิดขึ้นเลยนับแต่มีการประกาศอนุญาตตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม แต่เขาก็บอกว่าไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมถึงไม่มีการประท้วง


 


ขณะที่เจ้าหน้าที่สันติบาลท้องถิ่นผู้รับผิดชอบเรื่องลานประท้วงปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์


 


 


จับกุม


จากการรายงานของกลุ่มผู้ต่อต้านกับสื่อต่างประเทศ ผู้ที่ถูกทางการจับกุมเนื่องจากพยายามประท้วงในช่วงโอลิมปิกมีอยู่สองคนคือ Tang Xuecheng และ Ji Sizun นักสิทธิมนุษยชนจาก Fujian โทรศัพท์ของทั้ง Tang และ Ji ไม่สามารถติดต่อได้ในวันที่ 15 ที่ผ่านมา


 


Li Xiongbing นักกฏหมายด้านสิทธิมนุษยชนของปักกิ่งเผยว่า เขาเองก็รู้สึกเหมือนกันว่าการยื่นคำร้องขอประท้วงนั้นเป็นไปได้ยากมาก ๆ ที่จะผ่านการพิจารณา ซึ่งเป็นเช่นนี้ทั้งช่วงโอลิมปิกและช่วงก่อนหน้านี้


 


"ให้มองจากตรงนี้แล้ว บอกได้ว่าตัวระบบมันมีไว้แค่ที่จะจัดการกับการชุมนุมเท่านั้นเอง" Li กล่าว


 


 


จ้าง—ไม่ให้ไปประท้วง


Zheng Enchong นักกฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนจากเซี่ยงไฮ้บอกว่า ผู้ต่อต้านรัฐบาลหลายคนยังคงถูกกักตัวไว้ในเมืองหลังจากที่มีมากกว่า 10 คนเดินทางไปปักกิ่งเพื่อทำการประท้วงเองหลังจากที่คำร้องของพวกเขาถูกปฏิเสธโดยตำรวจ


 


อย่างไรก็ตามผู้ต่อต้านเหล่านั้นก็ถูกจับกุมตัวหลังกลับมาจากปักกิ่ง Zheng กล่าว


 


"ในบางพื้นที่พวกเขาก็ได้รับเงินจำนวน 2,000 หยวน (290 ดอลล่าร์สหรัฐฯ) เพื่อให้พวกเขาสัญญาว่าจะไม่ประท้วงในช่วงโอลิมปิก แต่ในอีกบางพื้นที่พวกเขาอาจจะต้องไปรายงานตัวสัปดาห์ละครั้งเพื่อที่จะได้รับเงิน" Zheng กล่าว "นอกจากนี้ในอีกบางพื้นที่อาจจะต้องไปรายงานตัวทุก ๆ บ่ายเพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขายังไม่ออกจากเซี่ยงไฮ้ แล้วจะได้รับ 50 หยวน"


 


 


อดอาหารประท้วง


Shen Peilan ผู้ต่อต้านรัฐบาลจากเซี่ยงไฮ้อยู่ภายใต้การสอดส่องของเจ้าหน้าที่รัฐตลอด 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม มาแล้ว


 


Zheng เล่าว่า ในช่วงเช้าวันที่ 6 สิงหาคม Shen วางแผนจะไปที่สำนักงานร้องทุกข์ของทางการในเซี่ยงไฮ้ แต่ก็ถูกสกัดไว้โดยเจ้าหน้าที่รัฐและถูกทุบตี ตำรวจท้องที่ไม่ยอมรับการร้องเรียนของเธอและเธอได้ตัดสินใจทำการอดอาหารประท้วง


 


Shan Chun ตัวแทนของกลุ่มตำรวจเกษียณอายุปักกิ่ง ต้องยื่นคำร้องถึงสองครั้ง เพื่อจะได้รับอนุญาตให้ประท้วงในเขตที่โอลิมปิกจัดไว้ให้สำหรับการประท้วง


 


"ในวันที่ 7 สิงหาคม ฉันไปยื่นคำร้องแต่ก็ถูกตอบปฏิเสธกลับมาโดยทันที ในวันที่ 8 สิงหาฯ ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มีพิธีเปิด ฉันคิดว่าบางทีอาจจะมีการเปลี่ยนแปลง" Shan กล่าว "ฉันไปยื่นคำร้องที่นั่นอีกครั้ง แต่ก็ถูกบอกกลับมาหน้าซื่อ ๆ ว่าผมไม่สามารถประท้วงในประเด็นนี้"


 


Shan เล่าต่อว่า เจ้าหน้าที่บอกเธอ ว่าเรื่องที่เธอต้องการประท้วงเป็นประเด็นที่กระทบต่อเบื้องสูง แต่ไม่นานหลังจากนั้น พวกเขาก็กลับบอกอย่างตรงไปตรงมากับเธอว่า เธอมสามารถทำการประท้วงได้


 


"พวกเขาบอกว่า ฉันไม่ควรพูดเกี่ยวกับข้อเรียกร้องนี้ และบอกว่ามันไม่หมายความว่าจะได้เป็นประเด็นที่ได้รับอนุญาตหรือไม่ แต่มันจะถูกให้ความหมายว่าเป็นเรื่องไร้ประเด็น" เธอบอก


 


"ในที่สุดแล้วประเทศของพวกเราก็มีนโยบายที่เปิดทางให้พวกเราสามารถประท้วง ... พวกเราจะต้องอาศัยโอกาสเดียวนี้ในการแสดงความคิดเห็นของพวกเราเองออกมา" เธอกล่าว


 


"พวกเราสามารถจะทำสิ่งเหล่านี้ได้และยังคงอยู่ภายใต้กฏข้อบังคับ แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น พวกเขากลับปฏิเสธที่จะทำให้ความคิดนี้มีชีวิตขึ้นมา และมันก็เหมือนกับแจกันบนโต๊ะ ดูสวยงาม แต่ใช้การอะไรไม่ได้เลย" เธอพูดเกี่ยวกับลานประท้วง "ประชาชนจีนคงไม่มีราคาพอจ่ายให้กับสิทธิมนุษยชนนี้ หากคำมั่นพวกนี้เป็นจริง พวกเขาต้องยอมรับคำร้องทุกข์พวกเราแล้ว"


สำนักงานสันติบาลประจำกรุงปักกิ่งเคยรายงานว่า มี 74 ใน 77 คำร้องขอประท้วงที่ถูกเพิกถอน เนื่องจากประเด็นของพวกเขาได้รับการแก้ไขแล้ว


Shan โต้ข้ออ้างดังกล่าวว่า "มันเป็นเรื่องโกหก ฉันรู้ว่ามันเป็นเรื่องโกหกเพราะว่าตัวฉันเองก็ได้ไปยื่นคำร้อง ยังมีอีกหลายคนที่เป็นพยานในเรื่องนี้ได้ ฉันได้ดำเนินการตามขั้นตอนมาตรฐาน พวกเขาก็ยังปฏิเสธที่จะรับคำร้องของพวกเรา จากนั้นยังบอกพวกเราอีกว่าให้ล้มเลิกการยื่นเรื่องพิจารณาของพวกเราเสีย "


 


……


ที่มา
China"s Empty Protest Zones , Radio Free Asia , 
18/08/2008


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net