Skip to main content
sharethis

สำนักข่าวประชาธรรม


หากยังจำกันได้ ระหว่างวันที่ 27 ..- 4 ..ที่ผ่านมา ข่าวคราวชาวประมงพื้นบ้านใน อ.ระโนด สิงหนคร และ อ.สทิงพระ จ.สงขลา นำเรือกว่า 500 ลำ ปิดปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาเพื่อเรียกร้องให้บริษัทนิวคอสตอล ซึ่งได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมันกลางอ่าวไทย ห่างจากชายฝั่ง จ.สงขลาเพียง 30 กิโลเมตร จ่ายค่าชดเชยแก่ชาวบ้านในการสูญเสียพื้นที่ทำมาหากินทางทะเลนั้นได้สร้างความฮือฮาไปทั่ว หลายคนอาจมึนงงเพราะที่ผ่านมาอาจได้ยินข่าวคราวการเรียกร้องของชาวบ้านหรือกลุ่มเกษตรกรที่อาจใช้วิธีการชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัด หรือการปิดถนน


แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีการใด สิ่งที่เกิดขึ้นบริเวณปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาในวันที่ 27 ..ย่อมสะท้อนความขัดแย้ง ความไม่พอใจของกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านที่ต้องเสียโอกาสในการทำมาหากินอันเป็นผลมาจากการสัมปทานขุดเจาะน้ำมันของบริษัทนิวคอสตอลได้อย่างมิต้องสงสัย...


ย้อนที่มา นิวคอสตอล


บริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งได้รับสัมปทานปิโตรเลียมกลางอ่าวไทยนั้นเป็นบริษัทต่างชาติ จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทยเมื่อวันที่ 21 เม.. 2546 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท คอสตอล เอเนอร์จี (ชื่อเดิมคือบริษัท PetroWorld corporation จดทะเบียนตั้งตามกฎหมายของเกาะเคย์แมน เมื่อวันที่ 26 .. 2547 ทุนจดทะเบียน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ดำเนินกิจการด้านบริหาร และจัดการ เพื่อสำรวจ พัฒนา และผลิตน้ำมัน และก๊าซ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Coastal Energy Company เมื่อวันที่ 27 .. 2547) มีสำนักงานในกรุงลอนดอน และฮูสตัน ประเทศอังกฤษ ส่วนสำนักงานของบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร และมีโกดัง และสำนักงานย่อยใน จ.สงขลา โดยเปิดสำนักงานสาขาเมื่อวันที่ 6 มี.. 2551 ที่ผ่านมานี้


กลางอ่าวไทยมี ขุมทรัพย์


ที่มาของสัมปทานของบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด นั้นเป็น 1 ใน 7 บริษัท ที่ได้รับสัมปทานปิโตรเลียมในสมัย นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในยุครัฐบาล พ...ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งมีการให้สัมปทานจำนวนรวม 8 แปลง กล่าวได้ว่าเป็นการให้สัมปทานปิโตรเลียมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จากอดีตที่มีการอนุมัติทีละรายเท่านั้น
 
สำหรับบริษัทผู้ได้รับสัมปทานจำนวน 7 บริษัทนั้น ประกอบด้วย 1.สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 1/2546/58 ให้แก่บริษัท ซีเอ็นพีซีเอชเค (ไทยแลนด์) จำกัด สำหรับแปลงสำรวจบนบกหมายเลข L21/46 2.สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 2/2546/59 ให้แก่บริษัท ไทยเชลล์ จำกัด ร่วมกับบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำหรับแปลงสำรวจบนบกหมายเลข L22/43 3.สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 3/2546/60 และ 5/2546/62 ให้แก่บริษัท แปซิฟิค ไทเก้อร์ รีซอสเซส (ประเทศไทย) จำกัด สำหรับแปลงสำรวจบนบกหมายเลข L44/43 และ L33/43


4.สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 4/2546/61 ให้แก่บริษัท เชฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำหรับแปลงสำรวจในอ่าวไทยหมายเลข G4/43 5.สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 6/2546/63 ให้แก่บริษัท เอสวีเอส เอเนอร์จี รีซอสเซส จำกัด สำหรับแปลงสำรวจบนบกหมายเลข L71/43 6.สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 7/2546/64 ให้แก่บริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด สำหรับแปลงสำรวจในอ่าวไทยหมายเลข G5/43 7.สัมปทานปิโตรเลียมเลขที่ 8/2546/65 ให้แก่ บริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด สำหรับแปลงสำรวจในอ่าวไทยหมายเลข G9/43


กางแผน ล่าขุมทรัพย์ กลางอ่าวไทย 


สำหรับบริษัท นิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสัมปทานหมายเลข G5/43 ซึ่งมีพื้นที่นอกฝั่ง จ.สงขลา นั้น เดิมทีมีแผนเริ่มดำเนินการติดตั้งแท่นหลุมผลิตและแท่นผลิต ระหว่างเดือน มี..-.. 2551 สำหรับการผลิตปิโตรเลียมจะเริ่มเดือน มิ.. 2551 เป็นต้นไป และต่อเนื่องไปจนหมดอายุของแหล่งปิโตรเลียมในปี 2554 รวมระยะเวลา 3 ปี โดยคาดว่าสามารถผลิตน้ำมันได้ประมาณ 1.2 ล้านบาร์เรล/ปี กำลังผลิตสูงสุดที่อัตรา 5,000 บาร์เรล/วัน การผลิตปิโตรเลียมของโครงการจะช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศได้ถึงร้อยละ 2.9


สำหรับแท่นผลิตจะทำการตั้งแท่นผลิต 2 แท่นคู่ ห่างฝั่งด้าน อ.สทิงพระ ประมาณ 30 กิโลเมตร มีเรือบรรทุกน้ำมันทอดสมอห่างจากแท่น 700 เมตร มีทุ่นลอยเตือนเขตอันตรายเนื่องจากการทำงานขุดเจาะล้อมรอบบริเวณแท่นและเรือในระยะ 500 เมตร แต่เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งมีสัตว์น้ำชุกชุม และมีการวางปะการังเทียมของกรมประมงตลอดแนวชายฝั่งด้วย ดังนั้นการลุกขึ้นมาคัดค้านการดำเนินการของชาวประมงพื้นบ้าน ด้วยเหตุผลการสูญเสียพื้นที่ทำมาหากิน รวมทั้งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นผลให้โครงการดังกล่าวต้องชะลอการดำเนินการออกไปแล้วหลายครั้ง


นายเจริญ ทองมา ประธานกลุ่มประมงชายฝั่ง 3 อำเภอ จ.สงขลา กล่าวว่า การได้รับสัมปทานเข้ามาขุดเจาะและผลิตน้ำมันดิบของบริษัทนิวคอสตอล ที่ผ่านมาได้มีการประชุมตัวแทนชาวบ้าน และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องมาหลายครั้งแล้ว แต่การมีส่วนรับรู้ของชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้น้อยมาก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ทราบ และไม่ได้มีการลงพื้นที่พบปะกับชาวบ้านโดยตรง และเมื่อทราบว่าจะมีการขุดเจาะน้ำมันห่างจากฝั่งเพียง 30 กิโลเมตรก็ยิ่งสร้างความวิตกกังวลถึงผลกระทบต่ออาชีพสูง เนื่องจากเป็นพื้นที่ทำประมงของชาวบ้านในแถบนั้นตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ และปัจจุบันยังคงมีปลาชุกชุมคุ้มค่าต่อการลงทุนแม้ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นแตะ 40 บาท/ลิตรก็ตาม

เมื่อน้ำมันทำ ประมงพื้นบ้าน เสียโอกาส


สำหรับชาวประมงพื้นบ้านที่ออกมาเคลื่อนไหวต่อโครงการดังกล่าวนั้นมาจาก 3 อำเภอใน จ.สงขลา คือ อ.ระโนด สิงหนคร และ อ.สทิงพระ ซึ่งปัจจุบัน 3 อำเภอนี้มีประมงพื้นบ้านทั้งหมด 1,365 ลำ แยกเป็นเรือขนาดใหญ่ 1,165 ลำ มีรายได้ประมาณ 700 บาท/วัน และเรือขนาดเล็ก 200 ลำ มีรายได้ประมาณ 400 บาท/วัน โดยสามารถทำการประมงได้ 6 เดือนต่อปี


นอกจากนี้ ประเด็นด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่มีการวิตกกันนั้น อาทิ ผลจากการขุดเจาะทั้งเศษหินและโคลนทำให้น้ำบริเวณดังกล่าวมีสภาพขุ่น รวมทั้งเศษหินและโคลนที่นำมากองไว้ตามแนวชายฝั่งจะทำให้น้ำบริเวณใกล้เคียงที่มีการขุดเจาะจะเกิดตะกอนและฝุ่น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับสัตว์น้ำทุกชนิด อีกทั้งคุณภาพน้ำทะเลที่เปลี่ยนไปยังส่งผลกระทบกับนากุ้งโดยตรงอีกด้วย นอกจากนี้ เศษดินเศษหินจากการขุดเจาะจะส่งผลกระทบต่อแนวปะการังเทียมที่มีอยู่ตลอดแนวชายฝั่ง


อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานั้นโครงการดังกล่าวใช้ทางออกในการจัดการความขัดแย้งด้วยการที่บริษัทนิวคอสตอลต้างจ่ายค่าชดเชยให้กับกลุ่มประมงพื้นบ้าน แต่ดูเหมือนว่าทางออกดังกล่าวยังหาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากยอดรวมของจำนวนเงินชดเชยที่ต่างกันลิบลับ กล่าวคือบริษัทนิวคอสตอลได้เสนอเงินชดเชยให้ปีละ 1.1 ล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี โดยอ้างอิงข้อมูลจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่างในการคำนวณค่าชดเชย โดยการประเมินปริมาณปลาที่จับได้แต่ละปี ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีผลผลิตปีละ 220,000 บาท และใช้อิงราคาปลาในช่วงที่สูงสุด อันเป็นที่มาของเงินชดเชยกลุ่มชาวประมง 1.1 ล้านบาทต่อปี


ทว่าตัวเลขดังกล่าวชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถยอมรับได้ และได้เสนอให้บริษัทนิวคอสตอลจ่ายค่าชดเชยเป็นรายลำ ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว ตกเรือประมงพื้นบ้านลำละ 700 บาทต่อวัน รวมจำนวนเรือประมาณ 1,200 ลำ ส่วนเรืออวนลากได้เสนอไปประมาณ 1,500 บาทต่อลำ รวมจำนวนเรือประมาณ 253 ลำ เมื่อรวมค่าชดเชยทั้งหมดแล้วตกประมาณ 800 ล้านบาท


ต่อเรื่องนี้ นายเจริญ กล่าวว่า ตัวเลขที่บริษัทนิวคอสตอลหยิบยกมานั้นเป็นตัวเลขที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เนื่องจากชาวประมงพื้นบ้านมีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น และหากต้องสูญเสียพื้นที่จับปลาในบริเวณดังกล่าว ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ มีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ จะทำให้ชาวประมงหลายร้อยลำเรือที่จับปลาในบริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อน ขาดรายได้ จึงได้เรียกร้องขอค่าชดเชยเฉลี่ยสำหรับเรือประมงขนาดเล็กลำละ 700 บาทต่อวัน ส่วนเรืออวนลากคิดในอัตราลำละ 1,500 บาทต่อวัน ภายในระยะเวลา 3 ปี และเหล่านี้คือที่มาของตัวเลข 800 ล้านบาท  

นายบังเฉม เรืองเจริญ แกนนำกลุ่มประมงพื้นบ้านฝ่ายข้อมูล จ.สงขลา กล่าวว่า ตนเห็นว่าเงินจำนวน 800 ล้านบาท ที่กลุ่มประมงใน จ.สงขลา เรียกร้องไปนั้นไม่มากเทียบกับ 3 ปีที่บริษัทนิวคอสตอลมาขุดเจาะเอาน้ำมันไป ผลกระทบมากขนาดไหน ต่ออาชีพคนทำประมงนับพันลำใน จ.สงขลา แหล่งน้ำมันตรงนี้บริษัทจะได้ถึง 3 ล้านบาเรล ในระยะเวลาสัมปทาน หากคิดเป็นเงินแล้ววันนี้น้ำมันบาเรลละ 130 เหรียญ จะเป็นจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 15,000 ล้านบาท เขาคุ้มค่าแน่นอน แต่ความสูญเสียของพี่น้องชาวประมงทั้งจังหวัดเขาจ่ายชดเชยเพียงเศษเงินแค่ 1.1 ล้านบาทมันจะคุ้มกันหรือไม่ ดังนั้นพวกเราเห็นว่าไม่คุ้ม และจะขัดขวางแน่หากดึงดันขุดเจาะต่อไปโดยที่ยังตกลงกันไม่ได้


อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอของกลุ่มชาวประมงที่เกิดขึ้นนั้น บริษัทนิวคอสตอลไม่เห็นด้วย และแม้ที่ผ่านมาจะมีการประชุมเพื่อหาทางออกกันหลายครั้งแต่ก็ไม่อาจหาข้อตกลงกันได้ ดังนั้นระหว่างวันที่ 27 ..- 4 .. 2551 ที่ผ่านมา ชาวประมงพื้นบ้านใน 3 อำเภอได้นำเรือกว่า 500 ลำ ปิดปากร่องน้ำทะเลสาบสงขลาเพื่อเรียกร้องให้บริษัทนิวคอสตอลดำเนินการตามข้อเสนอ กรณีที่เกิดขึ้นเป็นผลให้บริษัทนิวคอสตอล จำกัด ยินยอมเพิ่มค่าชดเชยให้ เป็นเงิน 25 ล้านบาทต่อปี ตลอดอายุสัมปทานของบริษัท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน หรือรายงวดผ่านทาง จ.สงขลา


กระทั่งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ..ที่ผ่านมา นายไกรฤทธิ์ นิลคูหา อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ นายสนธิ เตชานันท์ ผู้ว่าราชการ จ.สงขลา ตัวแทนจากบริษัทนิวคอสตอล และตัวแทนกลุ่มประมงพื้นบ้าน นำโดย นายเจริญ ทองมา เข้าประชุมหารือ ณ ห้องประชุมศาลากลาง จ.สงขลา เพื่อทำข้อตกลงเบื้องต้นในการเพิ่มเติมสัญญาสัมปทานระหว่างบริษัทผู้รับสัมปทานกับกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นหลักประกันต่อความรับผิดชอบที่บริษัทจะมีต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ อันเป็นแหล่งอาหารสำคัญของประชาชน ความรับผิดชอบต่อสุขภาพ หลักประกันที่จะดำรงวิถีประมงพื้นบ้าน


กรณีที่เกิดขึ้นจะเห็นว่า ความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับกลุ่มทุน รวมทั้งภาครัฐเองนั้น ที่ผ่านมานับเป็นปัญหาใหญ่ที่ลุกลามไปทั่วและดูเหมือนว่านับวันยิ่งจะขยายวงออกไปเรื่อยๆ หลายกรณีความขัดแย้งได้ข้อยุติ ทว่าอีกหลายต่อหลายกรณีความขัดแย้งได้นำไปสู่การเผชิญหน้าจนยากที่จะแก้ไข กล่าวสำหรับความขัดแย้งระหว่าง นิวคอสตอล กับ ประมงพื้นบ้าน ในเบื้องต้นอาจได้ข้อยุติ แต่ในระยะยาวแล้วยังไม่มีใครรับประกันได้ว่าปัญหา ผลกระทบต่างๆ จะไม่ตามมา ดังนั้นเรื่องนี้สังคมต้องช่วยกันติดตามและตรวจสอบกันอย่างใกล้ชิด.


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net