Skip to main content
sharethis





































3 ม.ค. 2552 ขณะที่ปฏิบัติการทางทหารต่อพื้นที่ฉนวนกาซาโดยกองทัพอิสราเอลดำเนินติดต่อกันเป็นวันที่ 7 และอิสราเอลจะเริ่มส่งกำลังภาคพื้นดินเข้าไปยังฉนวนกาซาแล้ว แต่อีกด้านหนึ่งการปฏิบัติการเพื่อเรียกร้องให้อิสราเอลยุติสงครามก็ดำเนินต่อเนื่องเช่นกันในหลายภูมิภาคทั่วโลก ทั้งการเดินขบวน จุดเทียน ภาวนา แม้แต่ปาก้อนหิน ปารองเท้าเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการต่อต้าน เผาธงชาติ กระทั่งเผารถยนต์!


 


โดยภาพการชุมนุมในหลายภูมิภาคทั่วโลก เพื่อเรียกร้องให้อิสราเอลยุติสงคราม เมื่อ 3 ม.ค. มีรายละเอียดดังต่อไปนี้


 



ปาเลสไตน์


(1) ชาวปาเลสไตน์ร่วมกันจุดเทียนและประกาศคำขวัญต่อต้านอิสราเอล ระหว่างการประท้วงในเมืองรามัลเลาะห์ (Ramallah) เขตเวสต์แบงก์ เมื่อ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: MUHAMMED MUHEISEN/AP/daylife.com) ) (2) นักศึกษามหาวิทยาลัยปาเลสไตน์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สนับสนุนกลุ่มฟาตา เข้าร่วมเดินขบวนที่เมืองเฮบรอน (Hebron) เขตเวสต์แบงก์ เพื่อต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล ที่โจมตีทางอากาศในเขตฉนวนกาซา ของปาเลสไตน์ (ที่มาของภาพ: AFP/Getty Images/daylife.com) (3) ชาวปาเลสไตน์ตะโกนคำขวัญต่อต้านอิสราเอลระหว่างการชุมนุมในเมืองนาบลัส (Nablus) เขตเวสต์แบงก์ เมื่อ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: AFP/Getty Images/daylife.com


 


 


 



อิสราเอล


(4) ชายชาวอิสราเอลเชื้อสายอาหรับ ยืนจากบนอาคารมองผู้ชุมนุมชาวอิสราเอลเชื้อสายอาหรับหลายพันคนที่เดินขบวนในเมืองซาคนิน (Sakhnin) ทางตอนเหนือของอิสราเอล เพื่อต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลในเขตฉนวนกาซา เมื่อ 3 ม.ค. (5) โดยผู้ชุมนุมบางส่วนนำธงและผ้าโพกหัวของกลุ่มฮามาสมาใช้เป็นสัญลักษณ์ด้วย (6) ภาพผู้ชุมนุมหลายพันคนเดินขบวนในเมืองซาคนิน ทางตอนเหนือของอิสราเอล โดยผู้ชุมนุมนำธงชาติปาเลสไตน์มาโบกด้วย สำหรับเมืองดังกล่าวมีชาวอิสราเอลเชื้อสายอาหรับอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (ที่มาของภาพ: Anja Niedringhaus/AP Photo/daylife.com)


 


 



อิสราเอล


(7 - 8) นักกิจกรรมปีกซ้ายในกรุงเทล-อาวีฟ (Tel Aviv) เมืองหลวงของอิสราเอล ออกมาประท้วงการปฏิบัติการทางทหารในฉนวนกาซาของทหารอิสราเอล เมื่อ 3 ม.ค. (9) ขณะที่นักกิจกรรมปีกขวาก็ออกมาชุมนุมเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลเช่นกัน (ที่มาของภาพ: Reuters/daylife.com)


 


ไซปรัส


(10) ผู้ชุมนุมชาวไซปรัสพากันนำร่างของเพื่อนที่ได้รับบาดเจ็บออกจากที่ชุมนุม ระหว่างการประท้วงปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล เมื่อ 3 ม.ค. ที่หน้าสถานทูตอิสราเอล ประจำกรุงนิโกเซีย เมืองหลวงของประเทศไซปรัส เกาะที่ใหญ่ที่สุดกลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ที่มาของภาพ: AFP/Getty Images/daylife.com)


 


เลบานอน


(11) สตรีมุสลิมชูป้ายประท้วงอิสราเอล ที่หน้าที่ทำการสหประชาชาติในกรุงเบรุต เมืองหลวงของประเทศเลบานอน เมื่อ 3 ม.ค. (ที่มาของภาพ: HUSSEIN MALLA/daylife.com)


 


 



ตุรกี


(12 - 13) ผู้ชุมนุมต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลที่กรุงอังการา (Ankara) เมืองหลวงของตุรกี เมื่อ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: REUTERS/daylife.com) (14) เด็กหญิงชาวตุรกีโบกธงชาติปาเลสไตน์ ระหว่างการประท้วงปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลเมื่อ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา ที่เมืองอิสตันบุล (Istanbul) ประเทศตุรกี (ที่มาของภาพ: Ibrahim Usta/AP/daylife.com)


 


จอร์แดน


(15) นักกิจกรรมชาวจอร์แดนตะโกนคำขวัญต่อต้านอิสราเอลและสหรัฐอเมริการะหว่างการประท้วงที่หน้ารัฐสภาในกรุงอัมมาน (Amman) ประเทศจอร์แดน (ที่มาของภาพ: Nader Daoud/AP/daylife.com)


 


สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์


(16) ผู้ชุมนุมจุดเทียน และถือป้าย "ปลดปล่อยกาซ่า" (Free Gaza) ระหว่างการประท้วงที่เมืองดูไบ (Dubai) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล เมื่อ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: Reuters/daylife.com)


 


 



อิหร่าน


(17) ที่กรุงเตหะราน (Tehran), อิหร่าน ผู้ชุมนุมชาวอิหร่านเผาหุ่นนางซิฟี ลิฟนี (Tzipi Livni) รัฐมนตรีต่างประเทศของอิสราเอล ในการชุมนุมประท้วงอิสราเอลหน้าสถานทูตอังกฤษ เมื่อ 3 ม.ค. (ที่มาของภาพ: Reuters/daylife.com)


 


อินเดีย


(18) สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์อินเดีย (CPI) เผาหุ่นนายเอฮุด โอเมิร์ด (Ehud Olmert) นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ระหว่างการประท้วงปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลที่เมืองศรีนากา (Srinagar) ประเทศอินเดีย เมื่อ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: Reuters/daylife.com)


 


อินโดนีเซีย


(19) ที่กรุงจาการ์ตา (Jakarta), อินโดนีเซีย ผู้ประท้วงชาวมุสลิมตะโกนคำขวัญอัลเลาะฮ์ยิ่งใหญ่ ("Allahu Akbar") ระหว่างประท้วงต่อต้านอิสราเอลที่หน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกา เมื่อ 3 ม.ค. (ที่มาของภาพ: Reuters/daylife.com)


 


แอลจีเรีย


(20) นักศึกษาชาวแอลจีเรียตะโกนคำขวัญต่อต้านอิสราเอล ภายในมหาวิทยาลัยแอลเจียร์ (Algiers University) เมื่อ 3 ม.ค. (ที่มาของภาพ: Reuters/daylife.com)


 


แอฟริกาใต้


(21) ผู้ชุมนุมเดินขบวนประท้วงต่อต้านอิสราเอล กลางงานคาร์นิวัลประจำปีในเมืองเคปทาวน์ (Cape town) แอฟริกาใต้ เมื่อ 3 ม.ค. โดยงานดังกล่าวมีประชาชนหลายพันคนร่วมชมขบวนคาร์นิวัลสองข้างทาง (ที่มาของภาพ: SCHALK VAN ZUYDAM/AP/daylife.com)


 


 



อิตาลี


(22) ผู้ชุมนุมมิลาน คุกเข่าสักการะหน้ามหาวิหารโกธิกในมิลาน ระหว่างประท้วงปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลที่มิลาน (Milan) ประเทศอิตาลี เมื่อ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: LUCA BRUNO/AP/daylife.com) (23) ผู้ชุมนุมถือธงชาติปาเลสไตน์ขนาดใหญ่ ระหว่างเดินขบวนต่อต้านอิสราเอลกลางกรุงโรม (Rome) อิตาลี เมื่อ 3 ม.ค. ที่ผ่านมา (ที่มาของภาพ: AFP/Getty Images/daylife.com)


 


ออสเตรีย


(24) นักกิจกรรมถือป้ายรณรงค์ต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล ที่กรุงเวียนนา (Vienna) ประเทศออสเตรีย เมื่อ 3 ม.ค. (ที่มาของภาพ: AFP/Getty Images/daylife.com)


 


เนเธอร์แลนด์


(25) ผู้ชุมนุมออกมาต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลที่อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เนเธอร์แลนด์ เมื่อ 3 ม.ค. (ที่มาของภาพ: AFP/Getty Images/daylife.com)


 


สเปน


(26) ผู้ประท้วงเผาธงชาติอิสราเอลระหว่างการประท้วงการโจมตีของอิสราเอล ที่หน้ากระทรวงการต่างประเทศ กรุงมาดริด (Madrid) ของสเปน เมื่อ 3 ม.ค. (ที่มาของภาพ: Reuters/daylife.com)


 


 



ฝรั่งเศส


(27) ผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ออกมาเดินขบวนในกรุงปารีส (Paris) เมื่อ 3 ม.ค. (ที่มาของภาพ: Rueters/daylife.com) (29) และต่อมามีผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งก่อเหตุเผารถยนต์ (ที่มาของภาพ: AFP/Getty Images/daylife.com)


 


(28) ส่วนที่มาร์เซย (Marseille) ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ก็มีผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ต่างออกมาถือธงชาติปาเลสไตน์ บางส่วนถือป้าย "อิสราเอลผู้ก่อการร้าย สหภาพยุโรปสมรู้ร่วมคิด" การชุมนุมดังกล่าวยังมีการขว้างรองเท้าและก้อนหินเพื่อประท้วงปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลด้วย (ที่มาของภาพ: CLAUDE PARIS/AP/daylife.com)


 


เยอรมนี


 


(30) ที่ดุซเซลดอล์ฟ (Duesseldorf) มีผู้ชุมนุมราว 4,000 คนออกมาเดินขบวนต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอล (ที่มาของภาพ: Roberto Pfeil/AP/daylife.com) (31) ส่วนที่เบอร์ลิน ผู้ชุมนุมถือป้ายข้อความ "กาซ่ายืนยง" ระหว่างการเดินขบวนสนับสนุนปาเลสไตน์เช่นกัน (ที่มาของภาพ: AFP/Getty Images/daylife.com)


 


 



อังกฤษ


(32) ประชาชนในลอนดอนออกมาเดินขบวนต่อต้านปฏิบัติการทางทหารของอิสราเอลไปยังจัตรัสทราฟัลการ์ (Trafalgar Square) เมื่อ 3 ม.ค. (33) นอกจากนี้ยังมีการโยนรองเท้าเข้าไปที่หน้าบ้านพักเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่งสตรีท ซึ่งเป็นบ้านประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) เพื่อประท้วงอิสราเอลและรัฐบาลอังกฤษด้วย จนหน้าบ้านเลขที่ 10 กลายเป็นทะเลรองเท้า (ที่มาของภาพ: Getty Image/daylife.com)


 


กรีซ


(34) ที่เอเธนส์ ผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ออกมาชุมนุมเช่นกัน โดยในภาพ ผู้ชุมนุมกำลังสวดอธิษฐานโดยเบื้องหลังที่เห็นเป็นแถวของตำรวจปราบจลาจลกรีซ (ที่มาของภาพ: REUTERS/daylife.com)


 


สหรัฐอเมริกา


(35) ผู้ประท้วงจำนวนมากเดินขบวนมายังจัตุรัส Times Square กลางมหานครนิวยอร์ก เรียกร้องให้อิสราเอลยุติปฏิบัติการทางทหาร เมื่อ 3 ม.ค. (36) ขณะที่อีกฟากของถนนก็มีผู้สนับสนุนกองทัพอิสราเอลออกมารณรงค์เช่นกัน (ที่มาของภาพ: David Goldman/AP/daylife.com)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net