เริ่มแล้ว "มหกรรมประชาชนอาเซียน" 20-22 ก.พ.นี้ ที่จุฬาฯ

20 ก.พ.52  ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคารมหิศตลาธิเบศร์ จุฬาฯ มีการจัดเวที "มหกรรมประชาชนอาเซียน" ซึ่งเป็นเวทีคู่ขนานของภาคประชาสังคมและประชาชนในอาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาของแต่ละัประเทศในภูมิภาค โดยมีผู้เข้าร่วมนับพันคน ทั้งจากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนอกภูมิภาค โดยข้อเสนอจากการประชุม จะเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 14 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ก.พ.-1 มี.ค. ที่หัวหินด้วย 

 

สวา อุปฮาด ตัวแทนสมัชชาคนจน กล่าวเปิดงานว่า ที่ผ่านมา ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสายสัมพันธ์กันมานาน รักกันบ้าง กระทบกันบ้างตามประสาคนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ความเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ทำให้เรียนรู้ว่าจะต้องจับมือกัน อยู่ร่วมกันอย่างสันติ สงครามและระเบิดไม่ได้ทำให้ชีวิตของประชาชนคนธรรมดาดีขึ้น นอกจากนั้นการแย่งชิงทรัพยากรก็เป็นสงครามแบบหนึ่งเช่นกัน ดังนั้นประชาชนในอาเซียนต้องจับมือกันไว้ให้มั่น ร่วมกันสร้างสันติภาพ ประชาธิปไตย และความสมบูรณ์ให้ทุกชีวิตบนทุกภูมิภาคบนผืนโลก

 

ด้านราเฟนดิ ดามิน คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชน อินโดนีเซีย กล่าวว่า ภาคประชาชนตั้งคำถามต่อการประชุมอาเซียนหลายข้อ อาทิ กฏบัตรอาเซียนจะสามารถสร้างความสามัคคีเป็นปึกแผ่นและการใส่ใจประชาชนหรือไม่ี จะสามารถแก้ปัญหาช่องว่างทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคหรือเปล่า และสร้างความเป็นภูมิภาคนิยมในความสมพันธ์กับประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคได้หรือไม่ ทั้งนี้ที่ผ่านมา อาเซียนพยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ของประเทศต่างๆ โดยไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมจึงเกิดช่องว่างระหว่างคนทำนโยบายกับประชาชนในภูมิภาค

 

เขากล่าวว่า บางคนอาจไม่เห็นด้วยในการออกแถลงการณ์ร่วมกันยื่นให้ผู้นำ บางคนอาจเห็นว่า เป็นยุทธศาสตร์ที่เราทำได้ แต่เหตุผลหนึ่งคือ การมาในวันนี้เพื่อทำให้อาเซียนพัฒนาไปในทางที่จะใส่ใจประชาชนมากขึ้น  

 

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ มีการถ่ายทอดสดผ่านทางเว็บไซต์ http://www.apf2008.org/apf-live โดยในช่วงเช้า จะมีการอภิปรายในหัวข้อ "ประเด็นท้าทายสำคัญที่เผชิญโดยประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้วันนี้" ประเด็นวิกฤตอาหารและวิกฤตเศรษฐกิจ โดยวอลเดน เบลโล FOCUS วิกฤตพลังงานและวิกฤตสิ่งแวดล้อม โดยเปรมฤดี ดาวเรือง โครงการ TERRA มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ สิทธิมนุษยชนและสันติภาพ โดย เชีย แวนเนธ Centre for Social Development / Star Kampuchea People"s Participation and Democracy ประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของประชาชน ขิ่น โอมาร์ Burma Partnership และแรงงานและแรงงานอพยพ โดยคาร์ลา นาธาน จูน   Migrant Forum in Asia

 

ส่วนช่วงบ่ายจะมีการอภิปรายในหัวข้อ "สถานการณ์ในประเทศไืทย" ร่วมอภิปรายโดย จอน อึ๊งภากรณ์ ที่ปรึกษา กป.อพช. สุนี ไชยรส คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประทิน เวคะวากยานนท์ ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค และ อาเต็ฟ โซ๊ะโก เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)

 

กำหนดการจัดงาน http://www.scribd.com/doc/12637559/

 

 

"ชิ สุวิชา" เล่น "เตหน่า" เครื่องดนตรีพื้นเมืองของชนเผ่าปกาเกอะญอพร้อมร้องเพลงและขับกวีที่มีความหมายเกี่ยวกับการเดินทางของเมล็ดข้าวและวิถีชีวิตของคนชนเผ่าในภาคเหนือของไทย

 

 

การแสดง "เต้นกำรำเคียว" จากเด็กนักเรียนโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี  จ.เพชรบุรี 

 

 

คณะกรรมการจัดงาน "มหกรรมประชาชนอาเซียน" พร้อมกับตัวแทนเยาวชนของแต่ละประเทศร่วมกันเปิดงาน


 

 

แอคชั่นเอด ประเทศไทย รณรงค์ "Hunger free" ขจัดความอดยากในภูมิภาคอาเซียน โดยสวมหน้ากากผู้นำทั้ง 10ประเทศของอาเซียน  

 

 


ผู้เข้าร่วมงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท