Skip to main content
sharethis

อาทิตย์ คงมั่น รายงาน


 


 


 


 


 


หลังจากเมื่อต้นปีใหม่กลุ่มชาวบ้านและคณะกรรมการลุ่มน้ำแม่ยะ-แม่ปอน ได้ทำการเปิดพิธี ปักหลักหมุดแนวเขตการจัดการที่ดินแล้ว (อ่าน: แนวกันไฟป้องกันไฟป่าของชาวปกาเก่อญอ กิจกรรมต้านโลกร้อนด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน) จากนั้นกลุ่มนักกิจกรรมชาวบ้าน จึงมีแนวคิดที่จะทำกิจกรรมให้ครบด้านทั้ง ป่า น้ำ โดยเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2552 ที่ผ่านมาจึงมีการร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยเฉพาะในล้ำแม่ยะที่ถือว่าเป็นแม่น้ำสายหลักของการดำรงชีวิตในเขตนี้


 


ทั้งนี้ กิจกรรมมีมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อยกระดับสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันตลอดจนเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเป็นขวัญ สร้างกำลังใจ ความเชื่อมั่น รู้จักคุณค่าจากการใช้ประโยชน์และสร้างความร่วมมือกับสังคมร่วมรับผิดชอบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม


 


กิจกรรมนี้ มีผู้ให้การสนับสนุน คือ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์,  องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง, เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ยะ-แม่ปอน, มูลนิธิการพัฒนาที่ยั่งยืน, สมาคม Impect, โรงเรียนบ้านขุนยะ, กลุ่มอนุรักษ์บนพื้นที่สูง อ.จอมทอง,คณะกรรมการหมู่บ้านใหม่ห้วยเฮี๊ยะ ฯลฯ และมีชุมชนบ้านห้วยหลวง ม.23 ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง เป็นเจ้าภาพสำหรับพื้นที่จัดกิจกรรม


 



 


กิจกรรมดังกล่าวเริ่มด้วยการทำพิธีกรรมทางความเชื่อดั้งเดิมของปกาเก่อญอ และศาสนาคริสต์ตามลำดับ หลังเสร็จพิธีทั้งสองเป็นช่วงที่รอการถวายเครื่องเซ่นไหว้ จึงเป็นการเสวนาจากตัวแทนผู้เข้าร่วม โดยมีเนื้อหาสรุปได้ว่า เนื่องด้วยสถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย อยู่ในสภาพเหมือนผู้ป่วย จากปรากฏ เช่น น้ำเริ่มแห้งแล้ง ป่าเสื่อมโทรม โลกร้อน อย่างที่ทราบทรัพยากรธรรมชาติรอการเยียวยา รักษา อาการป่วยเหล่านี้จึงส่งผลกระทบต่อ คน-ชุมชน-สังคมเป็นอย่างมากอย่างไม่มีทางหลีกเลียงได้เมื่อวิเคราะห์ถึงเหตุอาการปัญหาดังกล่าวแล้วพบว่าเกิดจากการพพัฒนาประเทศที่ผ่านมามุ่งเน้นความเจริญด้านวัตถุ-อุตสาหกรรม ยึดหลักคิดและแนวทางความเชื่อแบบวิทยาศาสตร์เชิงเดี่ยว ตลอดจนการบริหารการจัดการทรัพยากร ป่า น้ำ ดิน ที่ผ่านมามีลักษณะรวมศูนย์โดยหน่วยงานรัฐเท่านั้น ในขณะที่ขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างจริงจัง และที่สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมาของชุมชนก็ยังขาดความเข้าใจจากหลายฝ่าย อย่างแท้จริง


 


ในการทำพิธีนี้ "พิธีหลื่อที " เป็นพิธีกรรมที่มาจากความเชื่อของปกาเก่อญอ แต่หากจะตีความหมายคือ เป็นการสืบชะตาน้ำ และในพื้นที่ที่ทำพิธีกรรมนั้นก็มีผู้เฒ่าผู้แก่ที่มาทำพิธี ซึ่งเปรียบเหมือนการสาปแช่งและการอวยพร แต่โดยหลักการของเราในการทำกิจกรรมนี้ พิธีกรรม "หลื่อที" เป็นพิธีกรรมของชนเผ่าปกาเก่อญอ โดยสิ่งที่ทำเป็นการอนุรักษ์ทุกอย่างที่อยู่ในน้ำและบริเวณที่เรากำหนด โดยอาศัยองค์ความรู้ภูมิปัญญาความเชื่อของเผ่านำมาใช้เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นปัจจัยสี่ของชาวปกาเก่อญอ


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net