Skip to main content
sharethis

 


แฟ้มภาพ รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ (ที่มาของภาพ: Wikipedia)

ในการประชุม ถึงเวลานับหนึ่ง กับ กฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยให้คนไทยพลัดถิ่น เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2552 ที่ ผ่านมา ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ โดยประเด็นของการประชุมอยู่ที่การแก้ไขช่องโหว่ทางกฎหมายของ พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 เพื่อให้มีการแก้ไขตัวกฎหมายให้ชีช่องทางคืนสัญชาติให้กับคนไทยพลัดถิ่นซึ่งเป็นบุคคลผู้เสียสัญชาติจากการเสียดินแดนของรัฐ

รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้อภิปรายหัวข้อ “ร่างกฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น: ความเป็นไปได้ในกระบวนการนิติบัญญัติของไทย ซึ่งเขาเสนอว่ายังมีช่องทางและมีความชอบธรรม ในการแก้ไขกฎหมายคืนสัญชาติแก่คนไทยพลัดถิ่น

เรื่อง นี้ไม่ใช่เรื่องของการไปออกกฎหมายที่จะบังคับที่จะไปบังคับให้รัฐมารับคน กลุ่มนี้ว่าเป็นคนไทยนะครับ คนเหล่านี้เป็นคนไทยอยู่แล้ว แต่ความไม่แจ่มชัดในทางกฎหมาย ในทางประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุต่างๆ แล้วกฎหมายฉบับนี้จะทำให้มันแจ่มชัดขึ้นมา ไม่ใช่มารับรองใครไม่รู้มาเป็นคนไทยรศ.ดร.บรรเจิดกล่าวตอนหนึ่งของการอภิปราย

โดยเนื้อหาที่ รศ.ดร.บรรเจิด อภิปรายมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

 

000

ร่างกฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทยแก่กลุ่มคนไทยพลัดถิ่น:
ความเป็นไปได้ในกระบวนการนิติบัญญัติของไทย

รศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

ก่อน จะพูดถึงกรณีของประเทศไทย ผมอยากจะยกตัวอย่างให้เห็นมิติบางประการของประเทศเยอรมัน ก่อนแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันภายใต้การปกครองของรัฐบาลนาซี ได้มีการฆ่าผู้คนจำนวนมาก ชาวยิวหกล้านคน มีนักวิทยาศาสตร์คนเก่งที่หนีออกนอกประเทศไปจำนวนมาก ไอน์สไตน์ก็เป็นคนหนึ่ง

หลังเยอรมันแพ้สงคราม ปี 1948 สัมพันมิตรเข้ามาแบ่งเป็น 4 ส่วน ช่วงนี้เองที่เยอรมันร่างรัฐธรรมนูญภายใต้การกำกับของสัมพันธมิตร

รัฐธรรมนูญปี 1949 ในบทเฉพาะกาล มาตรา 116 ได้เขียนถึงสัญชาติของชาวเยอรมัน

(1) ชาวเยอรมันในความหมายของรัฐธรรมนูญนี้ และภายใต้เงื่อนไขของกฎเกณฑ์ตามกฎหมายอื่น ชาวเยอรมัน หมายถึง บุคคลซึ่งมีสัญชาติเยอรมัน หรือเป็นผู้ลี้ภัย หรือเป็นผู้ถูกขับออกจากประเทศเยอรมัน หรือเป็นคู่สมรส หรือเป็นผู้สืบสันดานของบุคคลดังกล่าว ซึ่งเป็นบุคคลที่อยู่ในเขตแดนของอาณาจักรเยอรมัน ตามที่ปรากฏในวันที่ 31 ธันวาคม 1931 (พ.ศ. 2474) บุคคลเหล่านี้ คือ คนที่มีสัญชาติเยอรมัน

(2) ผู้มีสัญชาติเยอรมันมาก่อน หากได้เสียสัญชาติ ในระหว่างวันที่ 30 มกราคม 1933 ถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 ด้วยเหตุผลทางการเมือง ทางเชื้อชาติ ทางศาสนา ให้ผู้สืบเชื้อสายยื่นคำร้องเพื่อให้ได้รับสัญชาติคืน บุคคลดังกล่าวไม่ให้ถือว่าถูกเพิกถอนสัญชาติ หากบุคคลเหล่านั้นได้กลับมามีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศเยอรมันอีกครั้ง หลังวันที่ 8 พฤษภาคม 1945 และไม่ได้แสดงออกโดยชัดแจ้งว่า จะไม่ใช้สัญชาติเยอรมัน

 

จากมาตรานี้ผมสรุป สาระสำคัญ 2 ประการ

ประการแรก-ทำไม เขาถึงนิยามว่า ชาวเยอรมัน หมายถึง ใคร เพราะว่ามันจะยึดโยงกลับไปสู่การเป็น “ผู้ทรงสิทธิในรัฐธรรมนูญ” เพราะรัฐธรรมนูญเยอรมัน สะท้อนชัดว่า ผู้ทรงสิทธิตามรัฐธรรมนูญ แยกเป็น 2 กลุ่มคือ หนึ่ง-ชาวเยอรมัน และสอง-บุคคล ทั่วไป หมายถึงใครก็ได้ ที่เป็นคน เพราะชาวเยอรมันจะมีสิทธิบางประการ ที่รัฐธรรมนูญสงวนไว้สำหรับชาวเยอรมัน เพราะฉะนั้นจึงต้องไปนิยามให้ได้ว่า ใครคือชาวเยอรมัน เพราะมันจะเชื่อมโยงกับไปสู่สถานการณ์เป็นผู้ทรงสิทธิตามรัฐธรรมนูญจึงต้อง ไปนิยามให้ได้ว่าใครคือชาวเยอรมัน

ประการที่สอง-มัน คือการสะท้อนความรับผิดชอบของรัฐต่อคนสัญชาติของตน ผมว่าตรงนี้สำคัญนะครับ เป็นการสะท้อนความรับผิดชอบของรัฐต่อคนสัญชาติของตน ต่อเลือดเนื้อเชื้อไขของตน ไม่ว่าคุณจะไปอยู่ ณ ที่ใด ในโลกนี้ วันหนึ่งถ้าคุณกลับมา คุณมีสัญชาติเยอรมัน กฎหมายฉบับใดที่เคยเพิกถอนคุณ ถือว่ากฎหมายฉบับนี้ให้คุณกลับมามีสัญชาติเยอรมัน นี่คือกฎหมายที่สะท้อนความรับผิดชอบของรัฐ ที่ยอมรับในเลือดเนื้อเชื้อไขของตน ประเด็นใหญ่อยู่ตรงนี้นะครับ ไม่ก่อให้เกิดภาระต่อการมีสัญชาติ  เพราะมันจะยึดโยงกลับไปสู่การเป็นผู้ทรงสิทธิตามรัฐธรรมนูญ

มาตรา 116 หมาย ถึงอะไรครับ หมายถึง กฎหมายเป็นเครื่องมือที่จะรับใช้ความยุติธรรมเท่านั้น กฎหมายเป็นเครื่องมือที่จะรับใช้ความยุติธรรมของมนุษยชาติ รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

มาตรา 1 รัฐเยอรมันจะเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

ถาม ว่าทำไมรัฐธรรมนูญของเยอรมันถึงบอกว่าจะเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพราะว่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในรัฐธรรมนูญของเยอรมัน มาจากชีวิตคนยิว 6 ล้านคน ที่รัฐเยอรมันได้ฆ่าคนยิวไปอย่างทารุณโหดร้าย ดังนั้น เขาจึงประกาศให้ชาวโลกรู้ว่า ต่อไปนี้รัฐนี้จะเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

และในมาตรา 116 คือ การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนเยอรมัน เคารพในเลือดเนื้อเชื้อไขของชาวเยอรมัน และท้ายที่สุดมันจะเชื่อมโยงกลับไปสู่การเป็นผู้ทรงสิทธิ

 

ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

ในทางตำราของไทยแปลคำว่า “บุคคล” หมายถึง คนไทย เท่านั้น ท้ายที่สุด แม้คนๆ หนึ่งจะมีเลือดเนื้อเชื้อไขไทย ซึ่งอาจมีปัญหาทางกฎหมาย ในทางตำราแล้ว อาจไม่สามารถใช้หรืออ้างสิทธิได้เลย เพราะการแปลว่า “บุคคล” หมายถึง คนไทย บุคคลเหล่านั้นอาจไม่สามารถเป็นผู้ทรงสิทธิตามรัฐธรรมนูญได้เลย

กรณี คนไทยพลัดถิ่น ผมเห็นว่าในแง่ของหลักการต่างๆ เห็นว่าได้มีการพัฒนา ตกผลึกในระดับหนึ่ง จึงไม่ใช่การเริ่มต้นจากหนึ่งแน่นอน อย่างไรก็ตาม สภาพการของสังคม การเมือง มีความเปลี่ยนแปลงพอสมควร ดังนั้น แนวทางในการให้สัญชาติไทยกลับคืนมานั้น ผมมีประเด็น 2-3 ประเด็น ซึ่งเป็นคำตอบจากของฟากประชาชน อย่างไรก็ตามต้องมีการทำความเข้าใจกับภาคการเมืองต่อไปนะครับ มิฉะนั้น เราคงเดินต่อไปไม่ได้เหมือนกัน

ผมมีข้อเสนอดังนี้

ประเด็น แรก-ต้องตอบในเชิงหลักการของการทำงานในส่วนภาคประชาชนว่าพระราชบัญญัติ สัญชาติฉบับปัจจุบันสามารถนำมาใช้กับคนไทยพลัดถิ่นได้มากน้อยเพียงใด

หาก เห็นว่ากฎหมายสัญชาติฉบับที่ใช้บังคับอยู่ ไม่อาจนำมาใช้กับคนไทยพลัดถิ่นได้ รวมถึงการไม่ใช้กลไกการแปลงสัญชาติเพราะเขาไม่ใช่คนต่างด้าว หากคำตอบคือแบบนี้ ก็จะไปสู่ประเด็นที่สอง คือร่างกฎหมายนั้นจะเรียกชื่อร่างฯ ว่าอย่างไร มีหลักการอย่างไร

ประเด็น นี้ไม่ใช่เรื่องการนับหนึ่ง ประเด็นของเรื่องคือ การคืนสัญชาติ หรือการยอมรับสถานะการมีสัญชาติไทย ซึ่งเท่ากับการยอมรับ รับรองว่าเขามิใช่ต่างด้าว แต่ด้วยเหตุผลต่างๆ ทำให้การมีสัญชาติไทยทำให้ถูกพร่ามัว ทำให้ไม่อาจได้รับสิทธิเช่นคนไทยทั่วไป ดังนั้น หากมองว่าร่างกฎหมายนี้ คือ การคืนสัญชาติ ก็จะสอดรับกับพื้นฐานความคิดว่า “เขาไม่ใช่ต่างด้าว” ดังนั้น จึงอาศัยเรื่องการแปลงสัญชาติไม่ได้ เพียงแต่เหตุผลทางกฎหมาย หรือสถานการณ์บ้านเมืองทำให้ความมีสัญชาติไทย พร่ามัวไประยะหนึ่ง

 

แนวทางในการเสนอร่างกฎหมาย

ผม คิดว่า ช่วงของ สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ปัจจัยที่ทำให้กฎหมายผ่านได้คือ เกิดจากความเข้าใจของภาคราชการ โดยเฉพาะในประเด็นละเอียดอ่อน เพราะในกลุ่มของ สนช. มีคนเห็นความสำคัญของปัญหาของพี่น้องประชาชน แต่สภาพการของการเมืองบนฐานของพรรคการเมืองอาจจะมีความแตกต่าง ดังนั้น แนวทางในการการเสนอร่างกฎหมาย ผมคิดว่าภาควิชาการต้องเป็นหลักแน่นอน

โดยผมเห็นว่าการเสนอร่างกฎหมายที่มองจากฟากของประชาขน มี 2 แนวทางที่อาจต้องดำเนินการ

แนวทาง แรก ร่างกฎหมายที่จัดทำขึ้นในส่วนภาคประชาชน ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายการเมืองด้วย เพราะในกระบวนการในตรากฎหมายต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายการเมือง ดังนั้น จึงต้องมีการทำความเข้าใจกับนักการเมืองที่เห็นปัญหาของพี่น้องประชาชนเป็น เรื่องสำคัญ

แนวทาง ที่สอง การเสนอร่างกฎหมายของภาคประชาชนเอง ตรงนี้จะเป็นข้อดีในแง่ที่ว่า หากทางภาคราชการ หรือการเมืองล่าช้า ตัวร่างกฎหมายของภาคประชาชนจะเป็นตัวกระตุ้น ตัวเร่งการทำงานของภาคราชการและภาคการเมือง เพราะทางภาคราชการและการเมืองต้องทำร่างกฎหมายของตนเองมาประกบร่างของภาค ประชาชน ทั้งยังเป็นเรื่องของการสร้างความเข้าใจในส่วนของภาคประชาชน ที่จะร่วมสร้างกระบวนการของภาคประชาชนในการผลักดันให้ตนเองได้รับสิทธิ

 

ประเด็นปัญหาในทางรัฐธรรมนูญ มาตรา 163 มีจุดอ่อนคือ

1.ส่วนแรกการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมาย หนึ่ง-ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายจะต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สอง-จำนวน 10,000 ชื่อ, สาม-ร่างกฎหมายต้องเป็นร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด 3 (สิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย) และหมวด 5 (นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ)

ดังนั้น จึงต้องอธิบายให้ได้ว่า ร่างกฎหมายนี้ มันอยู่ใน 2 ขอบเขตของหมวด 3 และ 5 แล้วการเสนอร่างมาตรา 22 (เพื่อขอแก้ไข พ.ร.บ.สัญชาติ คืนสัญชาติให้คนไทยพลัดถิ่น) อยู่ในขอบเขตของหมวด 3 และหมวด 5 หรือไม่

ประเด็นต่อมา ข้ออ่อนในวรรค 3 หลักเกณฑ์และวิธีการเข้าชื่อ และการตรวจสอบรายชื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายที่บัญญัติกฎหมายฉบับนี้อยู่ ระหว่างการร่างอยู่ จุดอ่อนที่อาจถูกหยิบยก ก็คือยังไม่มีสิทธิ เพราะกฎหมายกำหนดรายละเอียดยังไม่มี

อย่างไรก็ดี ตามมาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญ [1] สิทธิเสรีภาพที่เขียนไว้ ผูกพันหน่วยงานรัฐโดยตรง หมายความว่า สิทธิตามรัฐธรรมนูญ มิได้มีขึ้นหลังจากที่มีกฎหมายบัญญัติ สิทธิมันก่อตั้งขึ้นทันทีที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ ไม่ใช่จะมีผลเมื่อมีกฎหมายออกรายละเอียด ส่วนภาครัฐจะตรวจสอบอย่างไร เป็นเรื่องของภาครัฐ จะอาศัยการไม่มีกฎหมายแล้วก่อให้เกิดการไม่อาจใช้สิทธิของภาคประชาชนไม่ได้ เพราะสิทธิมันได้เกิดขึ้นแล้ว

ผม เห็นว่า การเสนอกฎหมายของภาคประชาชน มันแสดงถึงการตื่นตัวของประชาชนที่ตระหนักถึงว่า รัฐไทยควรให้ความเป็นธรรมกับคนไทยที่ไม่ได้สัญชาติไทย คนไทยด้วยกัน มองสภาพการณ์แล้วเห็นคนไทยลูกหลานไทย ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงลุกขึ้นมาเสนอร่างกฎหมาย มันสะท้อนนัยในเชิงการเมืองและขับเคลื่อนให้เรื่องเข้าสู่กระบวนการ ผมเห็นว่าตรงนี้เป็นแนวทางสำคัญ ให้เห็นว่าเราไม่ได้รอภาครัฐ หรือภาคการเมือง แต่ลุกขึ้นมาผลักดัน บนรากฐานของหลักการทางกฎหมาย

2.ส่วนที่สอง เนื่องจากร่างมาตรา 22 จะต้องนำไปสู่กระบวนการ เพราะมันไม่ได้เป็นกระบวนการโดยอัตโนมัติ ร่างมาตรา 22 เป็นเพียงการกำหนดขอบเขต เงื่อนไข ซึ่งเป็นประเด็นเนื้อหา ผมขอเรียนว่า ผมไม่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายสัญชาติ

ประเด็นที่ต้องถกเถียงคือขอบเขตของบุคคล ที่อาจารย์วีนัส [2] เสนอว่ามีการถกเถียงกันมากนั้น มีความชัดเจน สามารถครอบคลุม เพียงพอกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เพียงใด

สอง-ใน แง่ของกระบวนการการพิสูจน์จะมีความต่างจากกระบวนการอื่นหรือไม่ เช่น ต่างจากกระบวนการของคนต่างด้าวหรือไม่ ดีกรีมันต้องแตกต่างนะครับ เพราะมิฉะนั้น คุณก็ไม่จำเป็นต้องมาใช้ช่องทางใหม่  มัน สะท้อนว่า สาระสำคัญมันไม่เหมือนกัน จึงไปใช้กฎหมายเดิม ไม่ได้ ดังนั้น กระบวนการในการพิสูจน์จึงควรต้องมีดีกรีในการเรียกร้องที่แตกต่างกัน

3.ท้าย ที่สุด อย่าให้กระบวนการทั้งหลายทั้งปวง ไปขึ้นกับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ ที่อาจนำไปสู่ปัญหาในทางปฏิบัติ หมายความว่า เกณฑ์จะต้องมีความชัดเจน ที่ลดทอนดุลพินิจในบางส่วน เพราะในทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ดุลพินิจนั้นเอง ที่อาจเป็นตัวก่อปัญหา แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนกฎหมายจะไม่มีทางเขียนให้ชัดเจน แน่นอนตายตัว แต่ดุลพินิจจะต้องสามารถแสดงในเชิงภาวะวิสัย ในเชิงประจักษ์ได้

กฎหมาย แม่บท ควรต้องโยนรายละเอียด โดยกำหนดกรอบกว้างๆ ในตัวกฎหมาย และไปกำหนดรายละเอียดในระดับกลไกของกฎหมายลำดับรอง รวมถึงการนำกลไกของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ที่จะช่วยคลายความแข็งตัวของการใช้อำนาจของรัฐมนตรี โดยให้การพิสูจน์ไปผ่านจากเจ้าหน้าที่ที่มาจากหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดการอ่อนตัวในการทำความเข้าใจสภาพการณ์ต่างๆ

ผม เองสรุปในชั้นสุดท้ายตรงนี้ครับว่า คนเหล่านี้เขามีความชอบธรรมโดยสมบูรณ์ เขามีความชอบธรรมโดยสมบูรณ์ที่จะอยู่ในผืนแผ่นดินนี้ โดยสิ่งที่เกิดขึ้นหาได้เป็นความผิดที่จะอยู่ในวิสัยที่เขาจะแก้ได้ เขาเป็นผลพวงจากปัญหาดังกล่าว เพราะฉะนั้นในแง่ของรัฐไทยจึงต้องอาศัยเครื่องมือของรัฐเพื่อเข้าไปแก้ปัญหา เหล่านี้ เท่ากับเป็นการไปลดทอนปัญหาที่มันจะขยายรุนแรงมากขึ้น ความขัดแย้งในเชิงวัฒนะธรรม ท้ายที่สุดมันอาจนำไปสู่ความขัดแย้งในเชิงการเมือง ในเชิงสังคม ขัดแย้งในเชิงสงครามได้ถ้ารัฐไม่ตัดทอน ลดปัญหา ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของรัฐไทยที่ต้องรับผิดชอบ

ใน ผลพวงต่างๆ เหล่านี้ เพราะเขาเป็นคนไทย เขามีความชอบธรรม กฎหมายเป็นเพียงเครื่องมือที่จะไปรับใช้ความเป็นธรรมเท่านั้น ผมไม่คิดว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ถ้ากฎหมายจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คนกลุ่มหนึ่ง ที่เขามีความชอบธรรมที่จะยืนบนแผ่นดินนี้อย่างภาคภูมิใจ กฎหมายของรัฐจะต้องเร่งเข้าไป ถ้ากฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถแก้ไขได้ และประชาชนควรเดินหน้าในส่วนของภาคประชาชน  และเร่ง ทำความเข้าใจกับภาคการเมือง อย่างไรก็ดี ในส่วนของภาคการเมืองจะช้าเร็วเพียงใด ภาคประชาชนไม่จำเป็นต้องรอ ผมคิดว่าเดินหน้าไปเลยครับ ขอบคุณครับ

 

การเริ่มต้นของภาคประชาชน

(ผู้ดำเนินรายการถามอาจารย์บรรเจิด - “หากภาคประชาชนคิดว่าจะเริ่มเดินหน้า น่าจะมีการเริ่มต้นอย่างไร หรือเตรียมตัวเตรียมการอย่างไรที่จะเริ่มทำในกระบวนการที่อาจารย์แนะนำ”)

(บรรเจิด ตอบ) คือถ้าเราไม่ไปเชื่อมโยงข้อมูลกับภาคราชการ ประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายก็คือว่า “ร่างกฎหมายที่จะเสนอนั้น จะให้ครอบคลุมใคร” อันนี้เป็นจุดสำคัญ การครอบคลุมใครนั้นมีตัวเลขแน่นอนชัดเจน มีหลักฐานในการพิสูจน์ในทางทะเบียนราชแค่ไหน อย่างไร ตรงนี้มันจะนำไปสู่เกณฑ์ที่จะออกในตอนท้ายว่ามันจะพิสูจน์อย่างไรนั่นเอง ฉะนั้นหลักการใหญ่ก็คือว่า หากคุณจะคืนสัญชาติคนที่จะได้รับคืนสัญชาติคือใคร นี่คือสิ่งที่ภาคประชาชนจะต้องตอบ หลักการเดียวจะเป็นหลักการเดียวกับมาตรา 22 หรือไม่ ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่ในส่วนของภาคประชาชนเองก็คงต้องมานั่งขบคิดว่า ตรงนี้จะหมายถึงใคร มีหลักฐาน มีเกณฑ์ มีจำนวนมากน้อยแค่ไหนอย่างไร อันนี้คือจุดที่หนึ่ง ที่ต้องมาประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนในเชิงหลักการ ในเชิงข้อมูล

 

หลัง จากที่ได้หลักการต่างๆ ชัดเจนแล้วผมคิดว่าอาจต้องเปิดให้มีกระบวนการการรับฟังความคิดเห็น การมีส่วนร่วมจากภาคต่างๆ จริงๆ แล้วในการตรากฎหมายในภาครัฐเองก็มีกระบวนการเหล่านี้ซึ่งข้อนข้างจะถูก บังคับเหมือนกันว่า กฎหมายเหล่านี้ไปเกี่ยวข้อง ไปกระทบกับใครอย่างไร

เพราะ ฉะนั้นในส่วนของภาคประชาชนเองก็เชิญบุคคลที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐภาคราชการทั้งหลาย หรือกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องมารับฟังว่า ร่างที่เราเสนอไปมีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร ผมคิดว่าภาคประชาชนเองก็ทำได้ เชิญนักวิชาการ เชิญหน่วยภาครัฐภาคเอกชนเข้ามาดูว่าร่างที่เราเสนอนั้นเป็นไปได้หรือไม่ มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไรและนำข้อเสนอที่รับฟังความคิดเห็นเหล่านั้นมา ปรับปรุงร่าง จนเป็นที่ยุติแล้วก็เอาร่างนั้นไปสู่การเข้าชื่อของประชาชน และในขณะการรับฟังความคิดเห็นก็อาจมีการประชาสัมพันธ์ว่าร่างนี้ก็จะนำไปสู่ การเข้าชื่อเสนอกฎหมายของภาคประชาชน แต่ตัวร่างจะต้องยุติก่อนและถึงจะนำไปสู่การเข้าชื่อของประชาชน

และเมื่อได้หมื่นชื่อแล้ว ก็จะนำไปสู่ประเด็นปัญหาที่ว่ามันเกี่ยวกับหมวด 3 หมวด 5 หรือไม่ อย่างที่ผมยกตัวอย่างในกรณีของประเทศเยอรมัน ถามว่าทำไมรัฐธรรมนูญเยอรมันจะต้องเชื่อมโยไปสู่บทเฉพาะการว่าคนเยอรมันหมาย ถึงอะไรเพราะความเป็นเยอรมัน มันเป็นต้นทางของการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ และถามว่ามันจะไม่เกี่ยวกับหมวด 3 กับหมวด 5 ได้อย่างไร เพราะมันคือต้นทางในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เพียงแต่ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องการไปออกกฎหมายที่จะบังคับรัฐ ว่าจะต้องรับคนนั้นคนนี้มาเป็นคนไทย

คน เหล่านี้เป็นคนไทยอยู่แล้ว แต่ความไม่แจ่มชัดในทางกฎหมาย ในทางประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุต่างๆ แล้วกฎหมายฉบับนี้จะทำให้มันแจ่มชัดขึ้นมา ไม่ใช่มารับรองใครไม่รู้มาเป็นคนไทย ในเชิงเนื้อหา วัฒนธรรม ประเพณี เรายอมรับว่าเขาเป็นคนไทยในจิตวิญญาณ แต่ไม่ปรากฏในเอกสารของทางราชการ กฎหมายฉบับนี้จึงไปคืนความยุติธรรมให้แก่เขา ไม่ใช่เป็นการเขียนกฎหมายเพื่อให้สัญชาติกับใครไม่รู้ และนี่คือความชอบธรรมที่เกี่ยวกับหมวด 3 เพราะมันเป็นต้นทางแห่งการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ เมื่อโดยจิตวิญญาณเขาเป็นคนไทย ไฉนเขาจึงไม่มีสิทธิเท่าคนไทย

เอาอะไรมาอธิบายนะครับ  ท่านดูในมาตรา 30 [3] ครับ ของรัฐธรรมนูญนะครับ มาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญไทยบอกว่า การ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

เพราะฉะนั้นเขาก็อาจจะโต้แย้งได้ว่าทำไมเขาถึงไม่มีสิทธิ์เหมือนที่เราได้ดูวีดีทัศน์ไป  ทั้ง ที่ยอมรับกันโดยสภาพแล้วว่าเป็นคนไทย เพราะฉะนั้นผมจึงคิดว่าประเด็นต่างๆ เหล่านี้ก็คงจะเป็นประเด็นที่จะได้รับการอธิบายบนพื้นฐานของกฎหมาย

และ ที่สำคัญผมเรียนนะครับว่าภาคประชาชนจะต้องอาศัยแนวทางในทางวิชาการสนับสนุน ด้วยนะครับเพราะผมเห็นหลายเรืองนะครับถ้าไปโดยลำพังโดยไม่มีฐานเหล่านี้พอไป ขึ้นสู่ทางการก็จะถูกตีตกโดยอัตโนมัติเลยครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้จึงต้องเป็นเรื่อนี้จึงต้องเป็นการทำงานของภาคประชาชนที่ มีการสนับสนุนจากทางวิชาการเพราะมันต้องมีเรื่องวิชาการสนับสนุน มิฉะนั้นแล้วเขาก็จะมองว่าเรื่องของชาวบ้านคิดแบบชาวบ้านไม่มีฐานวิชาการ สนับสนุนเพราะฉะนั้นกวาดตกโต๊ะไปตั้งแต่แรกแล้ว เพราะฉะนั้นต้องมีภาควิชาการสนับสนุนเพื่อให้สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นการคิด บนพื้นฐานของกฎหมาย บนฐานของสิทธิอันชอบธรรมตามรัฐธรรมนูญนะครับ

000

เชิงอรรถเพิ่มเติมจากประชาไท

[1] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550

มาตรา 27 สิทธิ และเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยายหรือ โดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมาย และการตีความกฎหมายทั้งปวง

[2] หมาย ถึง วีนัส สีสุข อดีตเลขานุการ คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และที่ปรึกษาโครงการเวทีระดมสมองเพื่อยกร่างกฎหมายว่าด้วยการคืนสัญชาติไทย ให้แก่คนพลัดถิ่นเชื้อสายไทย

[3] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550

มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เท่าเทียมกัน

ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การ เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่อง ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ หรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้

มาตรการ ที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้ สิทธิและ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม)

 

 

หมายเหตุ: ขอขอบคุณสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ ที่อนุเคราะห์ข้อมูลสำหรับการเรียบเรียงบทอภิปรายดังกล่าว

 

 

บทความและข่าวที่เกี่ยวข้อง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net