Skip to main content
sharethis

15 พ.ค.52 เมื่อเวลา 13.40 น. ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ แถลงกับสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศถึงท่าทีของไทยต่อเหตุการณ์ในพม่าในขณะนี้ ว่า ขอแสดงความห่วงใยเกี่ยวกับต่ออาการเจ็บป่วยของนางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่า และกรณีที่มีข่าวว่าจะมีการยืดเวลาการควบคุมตัวนางอองซาน ซึ่งจะสิ้นสุดเวลาการกักกันตัว ครบ 6 ปี ในวันที่ 27 พ.ค.นี้ โดย รัฐบาลไทยหวังว่าจะมีการปล่อยตัวนางอองซาน และนักโทษการเมืองทั้งหมด เพื่อให้รัฐบาลพม่าสามารถดำเนินการตามแผนกระบวนการปรองดองแห่งชาติหรือ โรดแมปเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งในปีหน้า และเกิดความสงบสุขในพม่า สำหรับกรณีที่มีข่าวว่าชายชาวอเมริกันที่ว่ายน้ำเข้าไปภายในบริเวณบ้านพัก ของนางอองซานนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังคงมีความคลุมเครือ ดังนั้นขอให้ทางการพม่าออกมาชี้แจงข้อเท็จจริง โดยมีหลายประเด็นที่ยังไม่ชัดเจน ตั้งแต่ชายชาวอเมริกันคนนั้นเป็นใคร มีจุดประสงค์อะไร สามารถผ่านการตรวจจากฝ่ายความ มั่นคงมาได้อย่างไร ทั้งที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของทหารพม่าอย่างเข้มงวด หรือว่ายน้ำมาจากไหน และหวังว่ารัฐบาลพม่าคงจะให้ความกระจ่างต่อนานาประเทศได้เพราะเป็นประเด็น ที่ทุกประเทศให้ความสนใจอย่างมาก

นายกษิต กล่าวว่า อย่างไรก็ตามรัฐบาลไทยหวังว่าการพิจารณาคดีนี้ในวันที่ 18 พ.ค.นี้ จะดำเนินการอย่างโปร่งใส ไทย พร้อมที่จะส่งตัวแทนจากสถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง เข้ารับฟังการพิจารณาคดี หากรัฐบาลพม่าเปิดโอกาสให้เข้าฟัง สำหรับท่าทีของประเทศอาเซียนต่อเรื่องนี้คาดว่าในการประชุมระดับปลัดกระทรวง การต่างประเทศ สมาชิกประเทศอาเซียน และคู่เจรจา ในวันที่ 19 พ.ค.นี้ ที่ จ.ภูเก็ต จะมีการประชุมนอกรอบกับประเทศอาเซียนเพื่อหารือร่วมกันว่าอาเซียนจะมีท่าที ต่อเหตุการณ์ในพม่าด้วยหรือไม่ อย่างไร โดยก่อนหน้านี้ในคำแถลงการณ์อาเซียน 2552 ชะอำ-หัวหิน ก็มีเขียนไว้ชัดเจนว่าได้เรียกร้องให้ปลดปล่อยนักโทษการเมือง และขอให้นำไปสู่กระบวนการเลือกตั้งตามกระบวนการปรองดอง อย่างไรก็ตามท่าทีของไทยวันนี้ก็ได้บอกให้กับสถานทูตพม่าประจำประเทศไทยได้ รับทราบแล้ว ซึ่งเขาน่าจะเข้าใจ ในฐานะที่เราเป็นทั้งเพื่อนบ้านและประธานอาเซียนที่จะต้องมีท่าทีกับเรื่อง นี้ เพราะพม่าย่อมรู้ดีว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของชาวโลก แต่ยืนยันว่าไทยจะไม่มีการกดดันหรือบีบคั้นเพื่อนบ้านแน่นอน
 “ใน เรื่องพม่า เรื่องแรกเป็นเรื่องการเจ็บป่วยของท่านอองซาน ซูจี เราก็ได้พูดกับทางสถานทูตพม่าในไทยและสถานทูตไทยที่ย่างกุ้ง เพราะตอนแรกมีข่าวออกมาว่ามีความล่าช้าเรื่องการเข้าถึงซึ่งการแพทย์ เราได้แสดงความห่วงใยไปแล้วว่าอยากให้มีการเข้าถึงเรื่องการรักษาพยาบาลโดย ด่วน หลังจากนั้นมาทางรัฐบาลพม่าก็ดำเนินการแล้ว ซึ่งเป็นที่ยินดี เพราะเราก็เป็นห่วงเป็นใยในเรื่องสุขภาพของท่านอองซานซูจี เหมือนคนทั่วโลก
ส่วน ที่สองคงจะทราบกันดีว่าการกักตัวท่านอองซานซูจี จะสิ้นสุดลงในเร็ววันนี้ แล้วมีประเด็นปัญหาที่ถามว่าจะมีการยืดเวลาการคุมตัวหรือไม่ ก็เป็นที่หวังว่าจะมีการปล่อยตัว ซึ่งจะไปสะท้อนถ้อยแถลงของอาเซียนที่อยากจะให้กระบวนการทางการเมืองของพม่า เป็นไปตามโรดแมพ และก็ให้ขบวนการทางการเมืองที่จะมีการเลือกตั้งนั้น ให้ทุกฝ่ายทุกส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งหมายถึงการปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด จะเป็นหนทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การปรองดองแห่งชาติในพม่า เราอยากจะเห็นการปรองดองในพม่าเกิดขึ้น เพราะแน่นอนคงเป็นที่ยินดีต่อประชาชนชาวพม่าเป็นที่ยินดีต่อเพื่อนๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนและประชาคมโลก
ส่วน ที่สามเป็นเรื่องที่มีฝรั่งคนหนึ่งว่ายน้ำข้ามทะเลสาบไปที่บ้านที่คุมขังของ ท่านอองซานซูจี อันนี้ข้อเท็จจริงก็ดูคลุมเครือ ว่ายน้ำเข้ามาได้อย่างไร ผ่านการตรวจสอบของฝ่ายความมั่นคงได้อย่างไร มาด้วยจุดประสงค์อันใด ด้วยเหตุผลอันใด เรื่องต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นที่หวังว่าทางรัฐบาลพม่าคงจะให้ความกระจ่างได้ โดยเฉพาะกระบวนการยุติธรรม ที่จะมีการนำตัวอองซานซูจี ขึ้นสู่ศาลในวันที่ 18 พ.ค. ก็ต้องการความโปร่งใส ต้องการทราบข้อเท็จจริง ว่าไม่ใช่ว่ามีอะไรคลุมเครือหรือมีการวางแผนล่วงหน้าอะไรต่างๆ จะด้วยจุดประสงค์อะไรต่างๆ ของใคร เป็นยังไง มันก็ไม่สามารถจะเดาได้ คาดว่าทุกอย่างจะเป็นไปด้วยความโปร่งใสมีการตรวจสอบข้อเท็จจริง และแน่นอนขบวนการยุติธรรมก็ต้องยุติธรรม หวังว่าจะเป็นเช่นนี้ ไม่อยากจะให้มีผลกระทบในทางลบต่อรัฐบาลพม่าเองซึ่งการอะไรที่เขาทำด้วยความ โปร่งใสก็ดีต่อประเทศพม่า สังคมพม่า”นา ยกษิต กล่าวและว่า ทั้งหมดนี้คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับพม่าและเป็นความ ปรารถนาอันสูงส่งของรัฐบาลไทยประชาชนชาวไทยที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงไป ทิศทางที่ดีมีคามปรองดองแห่งชาติ มีความสงบ เนื่องจากหากมีอะไรเกิดขึ้นในประเทศพม่าซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านมีชายแดน ติดต่อกันสองพันกว่ากิโลเมตร ย่อมมีผลกระทบต่อประเทศไทยทั้งทางตรงทางอ้อม ที่เห็นๆกันอยู่ก็เรื่องผู้ลี้ภัย ปัญหาการสู้รบชายแดน เรื่องอาชญากรรมข้ามชาติและแรงงานผลัดถิ่นที่เข้าประเทศไทยกว่า 3 ล้านคน เราต้องการเสถียรภาพและความสงบสุขและลดผลกระทบต่อไทยด้วย”
 
กษิต ถามความโปร่งใส ยูเนสโกทำอะไรให้เคารพอธิปไตยไทยด้วย
นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ยูเนสโกไปสำรวจพื้นที่ในปราสาทพระวิหาร ว่า ไทย แจ้งด้วยวาจาต่อยูเนสโกแล้ว และจะมีหนังสือแจ้งตามอีกครั้ง ขอให้ยูเนสโกดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความโปร่งใสไม่คลุมเครือ คำนึงถึงความรู้สึกและอธิปไตยของประเทศไทยด้วย เนื่องจากไทยเป็น 1 ในสมาชิกของยูเนสโกเช่นกัน
“เรื่อง ที่ยูเนสโกส่งบุคคลากรเข้าไปที่ตัวปราสาทพระวิหาร เราได้บอกกล่าวไปทางวาจาและจะได้มีหนังสือถามไปว่าจะทำอะไรไม่ทำอะไร ต้องด้วยความโปร่งใสเพราะเราเป็นประเทศสมาชิกของยูเนสโกอยู่ และยูเนสโกเป็นองค์กรที่ต้องตอบสนองปรเทศสมาชิก ต้องมีความโปร่งใสไม่คลุมเครือ การจะเข้าออกต่างๆ ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของเรา และเรื่องอำนาจอธิปไตยบูรณภาพเหนือดินแดนของเราด้วย จะทำอะไรไม่ทำอะไรต้องให้เราได้รับทราบและต้องเคารพในอธิปไตยของเรา นี่เป็นสิ่งที่จะบอกกล่าวซึ่งได้พูดจาทางวาจาแล้ว และจะมีหนังสือไปอย่างเป็นทางการ”
 
พบพ่อเด็กลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น เข้าประเทศ 3-4 ปีที่แล้ว
นา ยกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงความคืบหน้าการติดตามหาพ่อชาวญี่ปุ่น ของ ด.ช.เคอิโงะ ซาโตะ ชาวพิจิตร ว่า พบข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศไทยของพ่อ ด.ช.เคอิโงะ ครั้งสุดท้ายเมื่อ 3-4 ปี ที่แล้ว โดยกระทรวงการต่างประเทศจะติดตามความคืบ หน้าเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด แต่การจะดำเนินการอะไรขอให้ทุกฝ่ายโดยเฉพาะสื่อใช้ความระมัดระวัง และเคารพในสิทธิความเป็นส่วนตัวของครอบครัวด.ช.เคอิโงะ ซึ่งการจะเปิดเผยรายละเอียดรัฐบาลทั้งสองประเทศจะต้องหารือกับครอบครัวของด.ช.เคอิโงะ ก่อน   อย่างไร ก็ดีเมื่อมีความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าว กระทรวงการต่างประเทศจะกราบบังคมทูลฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผ่านสำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวังเป็นระยะๆ 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net