Skip to main content
sharethis

เวลา 7.30 น. ของวันที่ 16 พ.ค. 52 รายการ “มองคนละมุม” ผลิตโดยโครงการพื้นที่ทางสังคมและสื่อทางเลือก ดำเนินรายการโดยนายมานพ คีรีภูวดล กระจายเสียงทางสถานีวิทยุเสียงสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ FM 100 MHz โดยรายการวันดังกล่าวได้เชิญวันดี สันติวุฒิเมธี บรรณาธิการบริหารนิตยสารสาละวินโพสต์มาร่วมรายการ เพื่อสัมภาษณ์เป็นตอนที่ 2 กรณีสถานการณ์ปัจจุบันในพม่าล่าสุด ที่

นายจอห์น วิลเลียม ยีททอว์ (John William Yettaw) ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบอินยามายัง บ้านพักริมทะเลสาบของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคเอ็นแอลดี ทำให้นางซูจีจะถูกดำเนินคดีข้อหาให้ที่พักแก่บุคคลที่ไม่ใช่ชาวพม่า และกรณีชาวโรฮิงยา
 
ผู้ดำเนินรายการถามว่า ตาม ที่เป็นข่าวกรณีการขยายเวลาการกักขังนางออง ซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านในพม่า เรื่องเป็นอย่างไร วันดี อธิบายว่า ถือว่าออง ซาน ซูจี ถูกกักอยู่ในบริเวณบ้าน ไม่ใช่การขังอยู่ในคุก   ฉะนั้น ผู้ที่จะเข้าออกได้ก็จะเป็นหมอ พยาบาล และคนใกล้ชิด ส่วนคนต่างชาติหรือคนอื่นๆ จะเข้าไปไม่ได้ ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารก่อน เนื่องจากบ้านของซูจี อยู่ติดกับทะเลสาบอินยา แล้วในกฎของพม่าเขาก็จะห้ามว่ายน้ำในทะเลสาบอิงยา เพื่อป้องกันไม่ให้คนเข้าไปหาออง ซาน ซูจี และบริเวณถนนหน้าบ้านก็จะมีทหารมากั้นไว้ตั้งแต่หัวถนนมา เพราะฉะนั้นเขตที่อยู่ของ ซูจี ก็จะถูกควบคุมทั้งทางบกและทางน้ำ
 
อย่าง ที่ทราบมาคือ ฝรั่งที่ว่ายน้ำข้ามทะเลสาบ ถึงบ้านของซูจี แล้วเข้าไปหลบอยู่ในบ้านซูจี 2 วัน โดยที่หลายส่วนยังไม่รู้เลยว่าการเข้ามาของเขามีวัตถุประสงค์อะไร ทำให้ซูจีถูกตั้งข้องหาว่ามีชาวต่างชาติเข้ามาพักอยู่ในบ้าน เรื่องนี้หากคนไทยเรารู้อาจจะงง แต่เป็นเพราะกฎหมายของพม่านั้นห้ามชาวต่างชาติเข้ามาพักในบ้านชาวพม่า ซึ่งเป็นเรื่องที่พม่าจะมองคนต่างชาติที่เข้ามานอนในบ้านทั่วไปเป็นสายลับ แต่กรณีของซูจีซึ่งเป็นที่กักขังอยู่แล้ว ก็มีฝรั่งเข้ามา ซูจีเองอาจจะไม่รู้เรื่องและยังส่งผลต่อการที่ซูจีจะต้องเข้าไปอยู่ในคุก ด้วย เพราะว่าเป็นการกระทำการผิดกฎหมายที่ระบุไว้เลยว่า "ห้ามชาวต่างชาติเข้ามาพักในบ้านของประชาชนชาวพม่า" ก็เลยกลายเป็นซูจีกระทำผิดกฎหมายไป
 
แล้ว เมื่อเข้าไปอยู่ในคุกแล้วก็น่าหนักใจอยู่ในเรื่องของบทลงโทษ ซึ่งอาจทำให้ถูกขังอยู่ในคุกนาน เพราะว่ากระบวนการยุติธรรมในพม่าไม่เหมือนที่อื่น คือเมื่อถูกรัฐบาลทหารพม่าตั้งข้อหาแล้วโอกาสที่จะหาทนายมาแก้ต่างยากมาก เพราะไม่มีศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ เมื่อถูกจับแล้วก็เข้าไปอยู่ในคุกเลย อย่างบางคนเมื่อเห็นจำนวนปีที่ต้องจำคุกแล้ว ไม่รู้ว่าชาติหน้าจะได้ออกไปหรือเปล่า แล้วรัฐบาลยังสามารถที่จะยืดเวลาได้อีก ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของทางการ ช่วงที่ผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่ในคุก
 
ผู้ ดำเนินรายการ ถามว่า เรื่องนี้จะมีผลต่อการกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง บก.สาละวินโพสต์ผู้นี้ตอบว่า ที่ซูจีถูกกักอยู่ในบริเวณที่ผ่านมาไม่ใช่การกระทำการผิดกฎหมาย เหตุผลของรัฐบาลทหารพม่าคือ เพื่อความปลอดภัยของนางออง ซาน ซูจี เพราะก่อนหน้าที่มีการจับกุมครั้งสุดท้ายเดือนพฤษภาคมปี 2546 นั้น มีกลุ่ม USDA ที่ คล้ายกับลูกเสือชาวบ้านเรา ที่เป็นการจัดตั้งของรัฐบาลทหารพม่ามาต่อต้านที่บ้านของซูจี ทหารจึงอ้างความปลอดภัยแล้วกักไว้ไม่ให้ออกจากบ้านตั้งแต่นั้นมา แต่ทีนี้ซูจีกลายเป็นคนผิดกฎหมาย ซึ่งต่างจากการกักขังที่อ้างเพื่อความปลอดภัย
 
ผู้ ดำเนินรายการ ถามว่า จะมีโอกาสที่ซูจีจะออกมาเคลื่อนไหวกับประชาชนหรือเปล่า วันดีตอบว่า คงเป็นเรื่องยากที่พม่าจะปล่อยตัวออกมาเคลื่อนไหวจนกว่าการเลือกตั้งในปี หน้าจะแล้วเสร็จ เมื่อมีการเลือกตั้งพรรคทหารพม่าอาจชนะการเลือกตั้ง ได้จัดตั้งรัฐบาลโดยทหาร แล้วอาจจะมีการปล่อยตัวก็ได้ เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลทหารพม่าบอกว่า มีคนเห็นด้วยเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ และมีคนออกมาใช้สิทธิ์ลงคะแนน 99 เปอร์เซ็นต์มากกว่าบ้านเราอีก และรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวมีทหารอยู่ในสภาครึ่งหนึ่งที่เข้ามาปูทางให้ นักการเมือง
 
จาก ตัวเลขการลงประชามติที่ปรากฏขัดกับความจริงในเรื่องการรับบริการจากภาครัฐ มากเลยทีเดียว อย่างที่พูดคราวก่อน คือเมื่อมีเหตุการณ์นาร์กีสถล่มเอาบ้านเรือนไปหมดทุกอย่างสูญหายหมด หลังจากนั้นไม่นานก็มีการออกมาลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และยังมีคนบอกว่าไม่มีการสำรวจสำมะโนประชากรนานแล้วเป็น 10 ปี แล้วอย่างนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าคนที่ออกมาใช้สิทธิ์เป็นจำนวนที่เป็นจริงในเมื่อไม่มีการสำรวจนานแล้ว เพราะฉะนั้นต้องคิดเอาเองว่าคะแนนเสียงเหล่านี้มาจากไหน ขณะที่เนื้อหาของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นรัฐธรรมนูญที่ครึ่งหนึ่งเป็นของ ทหารก็ยังเป็นเผด็จการทางทหารอยู่เพียงแต่เปลี่ยนเสื้อจากทหารมาเป็นนัก บริหารประเทศแทน แล้วจะเป็นจริงได้หรือเมื่อพูดถึงประชาธิปไตยที่ทั่วโลกต้องการ
 
วัน ดี กล่าวว่า ไม่ได้บอกว่าเผด็จการทหารเป็นการปกครองที่เลวร้าย แต่รูปแบบการใช้อำนาจเผด็จการใช้กันในทางไหน ถ้าหากว่ามีทหารประจำการอยู่ทั่วประเทศแต่ไม่มีการคุกคาม ไม่ได้กดขี่ข่มเหงประชาชน ถ้าเป็นแบบนี้แม้จะมีผู้นำ หรือผู้มีอำนาจ เป็นทหาร แต่เขามี คุณธรรม จริยธรรม ก็เป็นที่ยอมรับกับได้
 
เคย มีทูตในประเทศพม่าบอกว่ารูปแบบการปกครองในเอเชียหลายประเทศยังเป็นรูปแบบ เผด็จการอยู่ แต่เขามีจริยธรรม ไม่ได้ข่มเหงประชาชน ซึ่งต่างไปจากพม่า จริงๆ แล้วประชาคมโลกคงไม่ต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าหรอก หากเขามีความเห็นอกเห็นใจประชาชนของเขา ทำให้เขามองว่าเงินที่ได้มาจากการบริหารประเทศมาพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนการ ต่อต้านก็จะน้อยกว่านี้ อย่างกรณีนาร์กีสมีผู้ต้องการความช่วยเหลือเยอะ คนจะช่วยเหลือก็เยอะ ประเทศอื่นพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือ แต่กลับเป็นรัฐบาลทหารพม่าที่ไม่ให้เข้าไปช่วยเหลือและกีดกันตลอด ส่วนการช่วยเหลือที่ได้มาก็แบ่งเข้ากระเป๋าตัวเอง สิ่งเหล่านี้คงต้องติดตามกันต่อไป
 
ผู้ ดำเนินรายการถามว่า ถึงประเด็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาว่าเป็นการขับไล่จากพม่าหรือเปล่า หรือว่าเป็นการไปสร้างความขัดแย้งทางภาคใต้หรือไม่ วันดีตอบว่าจริงๆ แล้วชาวโรฮิงยาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่น่าสงสารเนื่องจากไปอยู่ที่ไหนไม่มี ใครต้อนรับ โดยเมื่อดูประวัติย่อๆ ชาวโรฮิงยาเป็น ชนกลุ่มหนึ่งอยู่ในรัฐยะไข่ ซึ่งเป็นชายแดนระหว่างสหภาพพม่ากับบังกลาเทศ และชาวโรงฮิงยาจะอยู่กันทั้ง 2 ฝั่ง ปัญหาคือพม่าไม่ยอมรับชาวโรฮิงยาเป็นชาวพม่าเพราะมีคนนับถือศาสนาอิสลาม ที่มาจากบังกลาเทศ ในขณะที่ฝั่งบังกลาเทศก็ไม่ยอมรับเช่นกัน
 
พอเป็นอย่างนี้เรื่องสิทธิไม่ต้องพูดถึงเลย จนเมื่อประมาณปี 2533 ได้มีการกวาดล้าง กดขี่ชาวโรฮิงยา จนมีคนอพยพไปบังกลาเทศหลายแสนคน แม้ตอนนั้นรัฐบาลบังกลาเทศจะมีการตั้งค่ายลี้ภัยให้แต่ก็มีการส่งกลับภาย หลัง จนกระทั่งส่วนหนึ่งได้ทำการรับจ้างสร้างเรือเพื่อจะล่องไปหาประเทศที่ 3 เช่น ไทย มาเลเซีย แต่พอมาขึ้นฝั่งไทย ไทยก็ไม่ยอมรับอีก กลายเป็นว่าไม่มีแผ่นดินไหนต้อนรับ
 
รัฐบาล พม่ามองชาวโรฮิงยา โดยใช้ประวัติศาสตร์ก่อนที่อังกฤษจะเข้ามา โดยที่ทางการพม่าบอกว่าผู้ที่เป็นชาวพม่าจะนับเฉพาะประชาชนที่อยู่ในประเทศ โดยที่ไม่ได้นับชาวโรฮิงยา แต่จริงๆ แล้ว เขาก็อยู่มานาน หากเปรียบเทียบก็เหมือนคนจีนในประเทศไทย พม่าไม่มีหรือแม้แต่เคยรับชาวโรฮิงยาเป็นชาวพม่าเลย และยังบอกว่าชาวโรฮิงยานั้นพวกอังกฤษเอาเข้ามา แต่มีบ้างช่วงก่อนที่หลายคนได้บัตรประชาชนเป็นชาวพม่าแต่ช่วงหลังไม่มีแล้ว
 
เมื่อ เป็นปัญหาเช่นนี้ข้อเสนอที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา คือน่าจะมีกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของชาวโรฮิงยา ทุกประเทศให้มาคุยกันว่าจริงๆ แล้วคนเหล่านี้เขามาจากที่ไหน ในขณะที่พม่าเองก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบการปกครองอาจจะไม่เหมือนประเทศ ประชาธิปไตยประเทศอื่นแต่ให้เป็นที่ยอมรับกันได้ในระดับสากลและก็ต้องยอมรับ ว่าเป็นประชาชนของตนเอง เพราะว่าคนอยู่บนโลกนี้อย่างน้อยเขาต้องมีที่มา
 
วัน ดี ตอบคำถามผู้ดำเนินรายการ กรณีกลุ่มผู้อพยพชาติพันธุ์อื่นๆ ในพม่า โดยวันดีกล่าวว่าในประเทศพม่ามีการสู้รบกันเยอะผู้คนต้องอพยพบ่อย เมื่อมีการสู้รบเกิดขึ้นบ่อยเช่นนี้ การที่ทางการจะรับพิสูจน์สถานะจึงน้อยมากเนื่องจากต้องหนีตลอด ผู้ที่หนีจึงกลายเป็นผู้ไร้รัฐไร้แผ่นดินอยู่ ในขณะที่เมื่อมองตัวเลขจำนวนประชากรต่างทั้งหมดในประเทศพม่า เกินกว่าครึ่งที่ไม่มีสถานะชาวพม่าแต่อยู่ในประเทศพม่า เพราะฉะนั้นในสภาถ้าต้องการเป็นสหภาพพม่าจริงๆ ตามที่กลุ่มต่างๆ เรียกร้อง คือต้องการให้ชนชาติพม่ามี 1 เสียงในสภาเท่ากับชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่ม เช่น กะเหรี่ยง 1 กลุ่ม โหวตได้ 1 เสียง นี่เป็นสิ่งที่ชนกลุ่มต่างๆ ต้องการ
 
ผู้ดำเนินรายการ ถามว่า เดือนนี้เป็นเดือนครบรอบเหตุการณ์ 1 ปี พายุนาร์กีสถล่ม อยากทราบว่า สถานการณ์ความช่วยเหลือกันไปถึงไหน วันดีตอบว่า ส่วนหนึ่งก็อยากจะฟื้นสภาพตามที่พอจะมี เช่น ผู้ที่ยังพอเหลือเมล็ดพันธุ์ก็จะพยายามไม่ไปไหน แต่ที่ไม่เหลืออะไรเลยก็ต้องแสวงหาหรือหาที่ใหม่ โดยช่วงแรกจะย้ายไปที่ย่างกุ้งก่อน แล้วมาที่แม่สอด หลังจากนั้นก็จะค่อยๆ อพยพข้ามมาฝั่งไทย ส่วนการช่วยเหลือเท่าที่มีข้อมูลอยู่ยังเป็นข้อมูล เมื่อประมาณ 6 เดือนที่แล้ว ส่วนหนึ่งก็มาจากการปิดกั้นของสื่อ เพราะฉะนั้น ชีวิตความเป็นอยู่จะดีขึ้นขนาดไหนไม่มีตัวเลขที่ชัดเจน และดูเหมือนข่าวอาจจะเงียบไป แต่ถามว่ามีการเข้าไปช่วยเหลืออยู่ไหม ก็มีที่เข้าไปช่วยเหลืออยู่อย่างหน่วยงานพัฒนาเอกชน บางหน่วยงาน บางองค์กรของไทย ก็มีทั้งกลุ่มพระ กลุ่มเกษตร หาเมล็ดพันธุ์เพื่อเข้าไปอบรมในพื้นที่ประสบภัย แต่ส่วนของรัฐบาลนโยบายให้ความร่วมมือระหว่างประเทศยังไม่ชัดเจน
 
 
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
บล็อกที่เกี่ยวข้อง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net